ประตูน้ำ 26 เม.ย.-ไทย-เยอรมัน เดินหน้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนในท้องถิ่นรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามแม่บทของประเทศ นำร่องแล้ว17จังหวัด เน้นส่วนร่วมจากภาคประชาชนเป็นหลัก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน(GIZ) จัดประชุมเพื่อสรุปผลการศึกษาและถอดบทเรียนการแปลงนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสู่การปฏิบัติ ภายใต้ความร่วมมือดำเนินการ 4ปี ระหว่างปี 2557 -2560 และรองรับแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของประเทศพ.ศ.2558 – 2593
นางวีรวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสผ. กล่าวว่า รัฐบาลเยอรมันและGiZ ให้การสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินการแผนรองรับการเปลี่บนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระยะเวลา4ปี ซึ่งได้คัดเลือกพื้นที่นำร่อง 17จังหวัดท32เทศบาลทุกภูมิภาค เช่นจังหวัดเชียงราย น่าน เพชรบุรี ระยอง กระบี่พระนครศรีอยุธยา อุบลราชธานี ขอนแก่นและสงขลา ให้ผู้เกี่ยวข้องมาฝึกอบรมเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เชื่อมโยงกับบริบทการพัฒนาของแต่ละท้องถิ่น และปรับแผนท้องถิ่นเข้าสู่แผนระดับจังหวัด
โดยนำข้อมูลภูมิอากาศในอดีตถึงปัจจุบัน รวมถึงข้อมูลการคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในอนาคตมาวิเคราะห์ผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้สามารถกำหนดเป้าหมายแผนได้อย่างชัดเจน เช่น แผนปฏิบัติพลังงานทดแทนจังหวัดน่าน ปี2579 ซึ่งมีเป้าหมายใช้พลังงานทดแทนแบบร้อยเปอร์เซนต์ โดยเป็นพลังงานจากขยะร้อยละ7 พลังงานชีวภาพร้อยละ 63 พลังงานแสงอาทิตย์ร้อยละ10 และพลังงานน้ำร้อยละ 10 ซึ่งแต่ละภาคส่วนกำหนดกิจกรรมที่จะนำไปสู่เป้าหมายอย่างชัดเจน
เลขาธิการ สผ. กล่าวด้วยว่า ขณะนี้การทำแผนเสร็จเรียบร้อยแล้ว กำลังเข้าสู่ขั้นตอนสำคัญ คือการแปรแผนสู่การปฏิบัติ ซึ่งชุมชนและท้องถิ่นต้องมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางและลำดับความสำคัญของแต่ละแผนจะเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในแต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัดในการลดการปลอดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะภาคการเกษตร ภาคสาธารณสุข การบริหารจัดการน้ำและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ จึงเน้นหนักลงท้องถิ่นและพื้นที่ให้มากที่สุดเพื่อตอบโจทย์ของประเทศ และจะขยายผลไปให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศโดยเร็ว .-สำนักข่าวไทย