รุดหน้า “ต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ”

กรุงเทพ 5 พ.ย.- กทปส.สรุปผลการจัดสรรเงินกองทุนปี 63 กว่า 2,600 ล้านบาท สู่ 85 โครงการ พร้อมลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าและตรวจสอบการใช้งาน “ต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ” ของสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยฯ


กองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) สรุปผลการจัดสรรเงินกองทุนปี 2563 มูลค่ากว่า 2,600 ล้านบาท สู่ 85 โครงการเพื่อประโยชน์สาธารณะ พร้อมลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าและตรวจสอบการใช้งาน “ต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ” ของสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้กองทุนประเภทที่ 1

นวัตกรรม “ต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ” เป็นระบบติดตามสภาพอากาศเรียลไทม์ ด้วยคลื่นความถี่และเน็ตไฮสปีด หนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินแนวทางป้องกันภัยพิบัติ ระบุพิกัดทีมค้นหาและช่วยเกษตรกรวางแผนเพาะปลูกแนวใหม่ หลังพบประเทศไทยและเพื่อนบ้านเผชิญสภาพภูมิอากาศแปรปรวน ทั้งนี้ สถานีดังกล่าวผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและมาตรฐาน จากสมาคมวิทยุสมัครเล่นฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และล่าสุดได้รับการติดตั้งทั่วประเทศรวม 40 จุด


​นายนิพนธ์ จงวิชิต ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เปิดเผยว่า กทปส. มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านการจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานต่างๆ สู่การพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นรูปธรรมอย่าง “นวัตกรรม/งานวิจัย” ที่เกี่ยวข้องในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชน เศรษฐกิจ และสังคมในภาพรวม โดยที่ผ่านมา ในปี 2563 กทปส.ดำเนินการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา รวมกว่า 2,600 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

• ทุนประเภทที่ 1 (Open Grant) ครอบคลุม 41 โครงการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 256 ล้านบาท

• ทุนประเภทที่ 2 ประกอบด้วย ทุนมุ่งเน้นการบรรลุความสำเร็จตามนโยบายคณะกรรมการบริหารกองทุน มีประกาศ TOR จำนวน 33 โครงการ รวม 606 ล้านบาท ทุนต่อเนื่อง ที่ให้กับโครงการวิจัยที่เคยได้รับทุนและต้องการต่อยอดงานวิจัย จำนวน 2 โครงการ รวม 33.3 ล้านบาท และ ทุนกรณีทำความตกลงกับหน่วยงานของรัฐ จำนวน 4 โครงการ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา


• ทุนประเภทที่ 3 ทุนตามที่ กสทช.กำหนด ครอบคลุม 4 งานหลัก รวมเป็นเงินกว่า 1,310 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการสนับสนุนการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม (Must Carry) ปี 2563 โครงการสนับสนุนอุปกรณ์คำบรรยายแทนเสียง และบรรยายเสียงแทนภาพ (AD,CC) โครงการสนับสนุนสถานพยาบาลและโรงพยาบาลภาคสนามในการต่อสู้สถานการณ์ โควิด-19 (COVID-19) กรอบวงเงิน 750,000,000 บาท และโครงการสนับสนุนการถ่ายทอดกีฬาโอลิมปิก

• ทุนประเภทที่ 4 ทุนสนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จำนวน 500 ล้านบาท

​โดยล่าสุด กทปส.ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานติดตั้ง และตรวจสอบประสิทธิภาพ “ต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ” ของสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่จังหวัดกระบี่ หนึ่งในโครงการที่ได้รับทุนประเภทที่ 1/2561 ซึ่งเป็นระบบติดตามสภาพอากาศเรียลไทม์ ด้วยคลื่นความถี่และเน็ตไฮสปีด หนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินแนวทางป้องกันภัยพิบัติ ระบุพิกัดทีมค้นหา และช่วยเกษตรกรวางแผนเพาะปลูกแนวใหม่ ภายใต้โครงการ “โครงข่ายสื่อสำรองฉุกเฉินไร้สายระบุพิกัดอัจฉริยะ เพื่อการติดตามเฝ้าระวังภัยธรรมชาติและ SAR” หลังพบว่าหลายพื้นที่ในประเทศไทย เผชิญสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น การมีเทคโนโลยีที่ช่วยคาดการณ์สภาพภูมิอากาศ หรือรายงานข้อมูลทางธรรมชาติที่จำเป็น โดยการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายไร้สายประสิทธิภาพสูง จึงนับมีส่วนสำคัญยิ่ง ในการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต นายนิพนธ์ กล่าวทิ้งท้าย

​ด้าน ดร.จักรี ห่านทองคํา นายกสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นักวิจัยเจ้าของผลงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ต้นแบบสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ ประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้ 1.สถานีรับข้อมูล (igate WX station) เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางธรรมชาติและข้อมูลประกอบแต่ละจังหวัด 2.อุปกรณ์ตรวจวัด (Sensor) ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เพื่อส่งข้อมูลต่อไปยังสถานีรับข้อมูล 3.อุปกรณ์ระบบสายอากาศย่าน VHF ความถี่ 144.390 MHz และ 4.สายนำสัญญาณ แหล่งจ่ายพลังงาน พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วงส่วนต่างๆ

ขั้นตอนการทำงานของสถานีฯ คือ sensor จะตรวจวัดค่าทุก 10 นาที แล้วส่งข้อมูลมาที่สถานีรับข้อมูล igate จากนั้นจะส่งต่อข้อมูลมายังศูนย์รวมกลางเพื่อเก็บรวบรวม เพื่อนำข้อมูลมาประมวล และแสดงผล ตามที่ต้องการ ซึ่งสามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้งานในบริบทต่าง ๆ ได้ใน 3 มิติ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

• ช่วยรัฐวางแผนเฝ้าระวัง/ป้องกันภัยธรรมชาติ ระบบจะทำการรายงานข้อมูลทางธรรมชาติที่จำเป็นแบบเรียลไทม์ (Real Time) จากอุปกรณ์ตรวจวัด (Censor) ในทุกพื้นที่ของประเทศ อาทิ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความกดอากาศ ปริมาณน้ำฝน ทิศทางลม ค่าฝุ่นในอากาศ (PM2.5) เพื่อเป็นข้อมูลแก่ทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน พลเรือน หน่วยงานของรัฐ ในการติดตาม เฝ้าระวัง และวางแผนป้องกัน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล ผ่านการสื่อสารในรูปแบบคลื่นความถี่วิทยุย่านความถี่ VHF ที่ไม่จำกัดโดยลักษณะภูมิศาสตร์ พร้อมทั้งแสดงผลในรูปแบบภาพกราฟิก ที่ง่ายต่อการเข้าใจและนำไปใช้งาน จึงทำให้ประชาชนทุกคน มีโอกาสในการเลือกรับข้อมูลที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

• ปักหมุดค้นหาและช่วยเหลือแบบเรียลไทม์ ระบบจะทำการประมวลผลภูมิศาสตร์ พร้อมปักหมุดค้นหาและแสดงผลแบบเรียลไทม์ ในลักษณะ (ไฟแดงกระพริบที่โปรแกรม) โดยสามารถระบุ/จำแนกสิ่งต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งบุคคล รถยนต์ เครื่องบิน เรือ และพาหนะต่างๆ อีกทั้งยังสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ในทุกพื้นที่ จากทุกมุมโลกผ่านอินเตอร์เน็ต (Internet) โดยผู้ใช้งานสามารถกำหนดขอบเขต หรือเส้นทางการช่วยของทีมได้แบบเรียลไทม์ สามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ตามสถานการณ์เฉพาะหน้า โดยไม่จำเป็นต้องลงพื้นที่จริง เพื่อให้ผู้บริหารหรือผู้บัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉิน สามารถปฏิบัติการค้นหาช่วยเหลือระยะไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

• ช่วยเกษตรกรวางแผนเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิต ระบบจะแสดงข้อมูลที่จำเป็นต่อการวางแผนเพาะปลูกในหลากมิติ อาทิ ปริมาณน้ำฝน ความชุ่มชื้นของดิน ระดับน้ำในแม่น้ำ/คลอง ความเร็วลม สภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังเก็บข้อมูลเป็นสถิติเพื่อนำมาใช้ในการพิจารณา รวมถึงวางแผนทำการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) หรือเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในอนาคต นอกจากนี้ ยังเป็นข้อมูลสำคัญในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติการทำฝนหลวง ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ด้านการบริหารจัดการด้านการบิน ในอนาคต

​ทั้งนี้ ผลงานดังกล่าวเป็นผลงานภายใต้ความร่วมมือกับภาควิชาวิศวกรรมโยธาโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยปัจจุบันทางสมาคมฯ ดำเนินการติดตั้งสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ เป็นที่เรียบร้อยแล้วรวม 40 จุด ครอบคลุม 40 จังหวัดทั่วประเทศ โดยพร้อมรองรับการใช้งานได้ในทุกแพลตฟอร์ม ทั้งคอมพิวเตอร์ ไอโอเอส (iOS) และแอนดรอยด์ (Android) อีกทั้งยังผ่านการทดสอบประสิทธิภาพ โดยสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พ่อเลี้ยงล่วงละเมิด

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA ส่วนเด็กอาการดีขึ้น

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA เชื่อ แม่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แค่เชื่อผัวเพราะลูกเคยโกหก เผย ตอนแม่รู้ความจริงว่าใครทำลูกถึงกับร้องไห้โฮโผกอดลูก ส่วนเด็ก 10 ขวบอาการดีขึ้น แต่ต้องรักษาตัวอีกหลายสัปดาห์

งานแต่งธนกร

วิวาห์ชื่นมื่น “ธนกร-แคทลีน” คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น

งานวิวาห์ “ธนกร-แคทลีน” ชื่นมื่น คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น ด้าน “ทักษิณ” ไม่ได้มาร่วม แต่ส่งของขวัญแสดงความยินดี

ทรัมป์สั่งปลด

“ทรัมป์” สั่งปลดประธานคณะเสนาธิการร่วมตามแผนปรับปรุงกลาโหม

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ออกคำสั่งในวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นปลด พลอากาศเอก ซี. คิว. บราวน์ จูเนียร์ (Charles Quinton Brown Jr.) เป็นประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐออกจากตำแหน่ง

ข่าวแนะนำ

จับหนุ่มอินเดียขนเงินกว่า 15 ล้านบาท เข้าไทย

หนุ่มอินเดียหอบเงินสด 15.7 ล้านบาท เดินเท้าจากปอยเปตเข้าไทย อ้างเล่นพนันได้ เจ้าหน้าที่เร่งขยายผล หวั่นพัวพันคอลเซ็นเตอร์

โฆษกรัฐบาล นำบุกร้านขายบุหรี่ไฟฟ้า แต่ไหวตัวทันไม่เจออะไร

โฆษกรัฐบาล นำ สคบ.-สธ. บุกร้านลอบขายบุหรี่ไฟฟ้าย่านสายไหม หลังได้รายงานลับ แต่ร้านไหวตัวทัน ปิดหนีหมดไม่เจออะไร เตรียมเสนอนายกฯ ตั้ง กก.ปราบจริงจัง เผยตัวเลขขายปีละ 5 พันล้าน อ้างเป็นสินค้าผ่านแดน แต่ปล่อยหลุดเข้าไทย

รวบหนุ่มจีนพร้อมสาวไทย เอี่ยวฟอกเงินหลอกลงทุนคริปโต

ตำรวจไซเบอร์รวบหนุ่มจีนพร้อมสาวไทย กินหรูอยู่สบาย เอี่ยวฟอกเงินขบวนการหลอกลงทุนคริปโต พบเกี่ยวพันอีก 28 คดี มูลค่าความเสียหายกว่า 30 ล้านบาท

“ทักษิณ” ถึงนราธิวาส กลับมาในรอบ 19 ปี

“ทักษิณ” ถึงนราธิวาส บอกคนนราธิวาสน่ารักเสมอ ต้อนรับอบอุ่นกับการกลับมาในรอบ 19 ปี ก่อนเดินทางต่อตามกำหนดเดิม แม้มีระเบิดที่สนามบิน