หนุ่มสาวเกาหลีใต้ลังเลจะแต่งงานกันมากขึ้น

สำนักงานสถิติของเกาหลีใต้รายงานว่า คนหนุ่มสาวในเกาหลีใต้ลังเลจะแต่งงานกันมากขึ้นในปี 2022 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

จีนเฝ้าระวังน้ำหลากท่วมที่ลุ่มแม่น้ำจูเจียงเพิ่มขึ้น

กระทรวงทรัพยากรน้ำของจีนรายงานในวันพุธว่า พื้นที่ลุ่มแม่น้ำจูเจียงทางตอนใต้ของประเทศมีแนวโน้มเผชิญน้ำหลากท่วมมากกว่าสามรอบในช่วงไม่กี่วันข้างหน้า พร้อมเรียกร้องการตระเตรียมการรับมือที่เกี่ยวข้อง

จีนเดินหน้าปรับปรุงสภาพแวดล้อมธุรกิจเพื่อการลงทุนจากต่างชาติ

วิทยากรรับเชิญผู้เข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมทางเศรษฐกิจแห่งประเทศจีน (China Economic Roundtable) ที่จัดโดยสำนักข่าวซินหัว กล่าวย้ำว่าจีนจะเดินหน้าปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

นักลงทุนต่างชาติได้ประโยชน์จากนโยบายเปิดกว้างของจีน

เจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ของจีน ซึ่งเข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมทางเศรษฐกิจแห่งประเทศจีน (China Economic Roundtable) ที่จัดโดยสำนักข่าวซินหัว กล่าวว่าการดำเนินสารพัดนโยบายเปิดกว้างของจีน

นายกฯ ไทยให้สัมภาษณ์สื่อจีนเรื่องบีอาร์เอฟ

ปักกิ่ง 20 ต.ค. – นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีของไทยให้สัมภาษณ์สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนเมื่อวานนี้เกี่ยวกับการประชุมสายแถบและเส้นทางหรือบีอาร์เอฟ  (BRF) ครั้งที่ 3 และการเยือนจีนอย่างเป็นทางการ นายกรัฐมนตรีเศรษฐาเผยกับซินหัวว่า บีอาร์เอฟเป็นโอกาสที่ผู้นำนานาประเทศได้รวมตัว เพื่อแนะนำแผนการพัฒนาของตนเอง และแสดงความตั้งใจจะทำงานร่วมกันเพื่อต่อยอดข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางหรือบีอาร์ไอ (BRI) ให้เป็นปึกแผ่นและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน บีอาร์ไอที่นำเสนอโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนเชื่อมโยงนานาประเทศ สร้างประโยชน์ต่อมนุษยชาติด้วยการสนับสนุนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การค้าและการลงทุน การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและระหว่างประชาชน สุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสีที่กล่าวในพิธีเปิดการประชุมได้สื่อสารความมุ่งมั่นของจีนในการพัฒนาอย่างสันติและขยับขยายการเปิดกว้างยิ่งขึ้น ซินหัวรายงานว่า นายกรัฐมนตรีของไทยได้เจรจาพูดคุยกับบริษัทผู้ประกอบการของจีนหลายแห่งระหว่างอยู่ปักกิ่ง เพื่อดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ไทย โดยกล่าวว่า การเดินทางมาครั้งนี้เพื่อส่งสารถึงบรรดาบริษัทผู้ประกอบการของจีนว่าไทยพร้อมต้อนรับกลุ่มนักลงทุนจากจีน สำหรับแผนการส่งเสริมความร่วมมือไทย-จีน นายกรัฐมนตรีไทยกล่าวว่าทั้งสองประเทศได้พัฒนาความร่วมมือในหลายด้าน  สำหรับด้านการพัฒนาพลังงานใหม่นั้นปัจจุบันมีบริษัทยานยนต์พลังงานใหม่ของจีนหลายแห่งเข้ามาลงทุนและก่อสร้างโรงงานในไทย ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกรถยนต์พลังงานใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน  ส่วนความร่วมมือการเกษตรระหว่างสองประเทศ นายกรัฐมนตรีเศรษฐายกการส่งออกทุเรียนเป็นตัวอย่างว่า ชาวจีนนิยมรับประทานทุเรียนอย่างมาก และคาดหวังว่าไทยจะสามารถส่งออกทุเรียนที่มีคุณภาพสูงสู่จีนเพิ่มขึ้นในอนาคต นายกรัฐมนตรีไทยปิดท้ายว่า ความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างไทยและจีนนั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ประชาชนของสองประเทศได้ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันฉันญาติสนิทมิตรสหาย ขณะเดียวกันไทยมีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดี จึงหวังว่าจะเกิดความร่วมมือกับกลุ่มบริษัทผู้ประกอบการของจีนภายใต้บีอาร์ไอเพิ่มขึ้น ส่งเสริมการค้าระหว่างสองประเทศและเดินหน้าการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ซินหัวรายงานไทยเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวยอดฮิตของจีน

สำนักข่าวซินหัว รายงานจีนเริ่มต้นดำเนินโครงการนำร่องการท่องเที่ยวต่างประเทศแบบหมู่คณะ หรือกรุ๊ปทัวร์ พร้อมธุรกิจ “บัตรโดยสารเครื่องบิน+โรงแรม” สำหรับการเดินทางท่องเที่ยว 20 ประเทศ โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดของชาวจีน

สูง 41 เมตร! ยลโฉม ‘หอคอยน้ำแข็ง’ ตระการตาในฮาร์บิน

ฮาร์บิน, 5 ม.ค. (ซินหัว) — ชวนส่องประติมากรรมน้ำแข็งสูง 41 เมตร ชื่อว่า “มงกุฎน้ำแข็งและหิมะ” (Crown of Ice and Snow) ซึ่งเป็นหอคอยหลักของงานโลกน้ำแข็ง-หิมะฮาร์บิน (Harbin Ice-Snow World) ประจำปีนี้ ในนครฮาร์บิน เมืองเอกของมณฑลเฮยหลงเจียงทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน อนึ่ง ประติมากรรมดังกล่าวออกแบบโดยใช้ดอกไลแลคซึ่งเป็นดอกไม้ประจำนครฮาร์บินเป็นต้นแบบ และสร้างขึ้นจากน้ำแข็งถึง 11,000 ลูกบาศก์เมตร คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230104/20c874cf1b044dbdb9a53dc1511ee5c2/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/330505_20230105ขอบคุณภาพจาก Xinhua

บรูไน-มาเลฯ-สิงคโปร์-ไทย เตรียมเสนอชุด ‘เคบายา’ เป็นมรดกโลก

บันดาร์เสรีเบกาวัน, 1 ธ.ค. (ซินหัว) — เมื่อวันพุธ (30 พ.ย.) สื่อท้องถิ่นบรูไนรายงานว่าบรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทยจะร่วมเสนอการขึ้นทะเบียนชุด “เคบายา” (Kebaya) ในบัญชีรายชื่อตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้แห่งมวลมนุษยชาติขององค์การยูเนสโก (UNESCO) เคบายาเป็นเครื่องแต่งกายดั้งเดิมของผู้หญิงในภูมิภาคดังกล่าว ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงคาบเกี่ยวเข้าศตวรรษที่ 20 และยังคงถูกสวมใส่จวบจนปัจจุบัน โดยชุดชนิดนี้ประกอบด้วยเสื้อท่อนบนแบบเปิดหน้าที่มีแขนยาว ซึ่งเดิมทำจากผ้าหลายชนิดและมักประดับด้วยงานเย็บปักถักร้อยที่ประณีต รายงานระบุว่าบรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทยตกลงทำงานร่วมกันเพื่อเสนอการขึ้นทะเบียน เนื่องจากชุดเคบายาเป็นตัวแทนและการฉลองประวัติศาสตร์ร่วมกันของภูมิภาค ทั้งยังส่งเสริมความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม โดยทั้งสี่ประเทศยินดีต้อนรับประเทศอื่นเข้าร่วมการเสนอดังกล่าว ซึ่งจะดำเนินการในเดือนมีนาคม 2023 และคาดว่าจะประกาศผลในช่วงปลายปี 2024-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/asiapacific/20221201/21d2462d111b4ff584cb8355e8720916/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/inter/323810_20221201ขอบคุณภาพจาก Xinhua

เครื่องบินโดยสารฝีมือจีน C919 คว้าใบอนุญาตการผลิต

ปักกิ่ง, 30 พ.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันอังคาร (29 พ.ย.) สำนักบริหารการบินพลเรือนแห่งประเทศจีน ได้ออกใบอนุญาตการผลิตเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ รุ่นซี919 (C919) ซึ่งถูกพัฒนาภายในประเทศ บริษัทอากาศยานพาณิชย์แห่งประเทศจีนหรือโคแมก (COMAC) ผู้พัฒนาเครื่องบินรุ่นดังกล่าว ได้รับใบอนุญาตการผลิตจำนวนมาก (mass production) จากสำนักบริหารฯ ระดับภูมิภาคจีนตะวันออก เครื่องบินรุ่นนี้ทำการบินเที่ยวแรกสำเร็จในปี 2017 และได้รับใบรับรองแบบอากาศยานเมื่อปลายเดือนกันยายน ซึ่งบ่งชี้ว่าการออกแบบผ่านมาตรฐานความสมควรเดินอากาศและข้อกำหนดทางสิ่งแวดล้อม อนึ่ง มีการคาดการณ์ว่าเครื่องบินโดยสาร รุ่นซี919 ลำแรก จะถูกส่งมอบแก่สายการบินไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ส (China Eastern Airlines) ภายในเดือนธันวาคมนี้-สำนักข่าวซินหัว 点击浏览中文新闻 (คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาจีน) http://sh.news.cn/2022-11/30/c_1310680694.htmคลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20221130/ce6fc783198446d783462e5673071a22/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/323519_20221130ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนพบซาก ‘บ้าน’ เก่าแก่กว่า 5,000 ปี พร้อมคูน้ำ-โบราณวัตถุ

เจิ้งโจว, 29 พ.ย. (ซินหัว) — เมื่อไม่นานนี้ คณะนักโบราณคดีได้ขุดค้นซากฐานของบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งมีอายุมากกว่า 5,000 ปี ในหมู่บ้านหย่างเสา มณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน หลี่ซื่อเหว่ย เจ้าหน้าที่สถาบันมรดกวัฒนธรรมและโบราณคดีมณฑลเหอหนาน ระบุว่าบ้านหลังนี้อาจเคยเป็นอาคารขนาดใหญ่ที่มีกำแพงดินอัด และอาจมีพื้นที่มากกว่า 130 ตารางเมตร โดยสันนิษฐานว่ามาจากยุควัฒนธรรมหย่างเสาตอนปลาย “นับเป็นการค้นพบซากบ้านขนาดใหญ่ครั้งแรก หลังจากมีการขุดค้นแหล่งโบราณคดีหมู่บ้านหย่างเสาในปี 1921 โดยการค้นพบนี้มอบข้อมูลใหม่สำหรับการศึกษาประเภท รูปทรง และเทคนิคการสร้างบ้านในยุคดังกล่าว” หลี่กล่าว คณะนักโบราณคดียังขุดพบคูระบายน้ำ 4 แห่ง และโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมจำนวนหนึ่ง ซึ่งรวมถึงขวานหยกที่เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจทางการทหาร หลี่ระบุว่าการค้นพบซากบ้านโบราณแสดงให้เห็นว่าชุมชนยุควัฒนธรรมหย่างเสามีประชากรจำนวนมาก การพัฒนาที่รุ่งเรือง และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการป้องกันที่สมบูรณ์ ซึ่งมีนัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาความซับซ้อนและกระบวนการกำเนิดอารยธรรมในลุ่มแม่น้ำเหลืองช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ อนึ่ง จีนขุดค้นแหล่งโบราณคดีหมู่บ้านหย่างเสาในอำเภอเหมี่ยนฉือครั้งแรกในปี 1921 ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของโบราณคดีจีนสมัยใหม่ ขณะการขุดค้นทางโบราณคดี ครั้งที่ 4 ซึ่งเริ่มต้นวันที่ 22 ส.ค. 2020 ยังคงดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน สำหรับวัฒนธรรมหย่างเสา มีต้นกำเนิดบริเวณตอนกลางของแม่น้ำเหลือง ถือเป็นต้นธารสำคัญของอารยธรรมจีน และเป็นที่รู้จักในวงกว้างจากเทคโนโลยีทำเครื่องปั้นดินเผาขั้นสูง-สำนักข่าวซินหัว 点击浏览中文新闻 (คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาจีน) http://www.news.cn/local/2022-11/28/c_1129168004.htmคลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20221129/f1932355263d46308a31693ba7efc22f/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง […]

ทีมนักบินอวกาศจีน ‘รวมตัวในอวกาศ’ ครั้งประวัติศาสตร์

ปักกิ่ง, 30 พ.ย. (ซินหัว) — วันพุธ (30 พ.ย.) ทีมนักบินอวกาศจีนสามคนประจำภารกิจยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมเสินโจว-15 (Shenzhou-15) ได้เข้าสู่สถานีอวกาศจีน และพบปะกับทีมนักบินอวกาศอีกสามคน ซึ่งนับเป็นการรวมตัวครั้งประวัติศาสตร์ที่เพิ่มบุคลากรประจำห้องปฏิบัติการอวกาศในวงโคจรเป็น 6 คนครั้งแรก เฉินตง ผู้บัญชาการภารกิจเสินโจว-14 เปิดประตูสถานีอวกาศตอน 07.33 น. ตามเวลาปักกิ่ง โดยนักบินอวกาศทั้งสามบนสถานีอวกาศทักทายและมอบกอดอันอบอุ่นแก่นักบินที่เพิ่งเดินทางมาถึง พร้อมถ่ายรูปหมู่ชูนิ้วโป้งและตะโกนพร้อมกันว่า “สถานีอวกาศจีนคุ้มค่าแก่การรอคอยเสมอ” องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน ระบุว่าการพบปะรวมตัวกันครั้งนี้ได้เปิดฉากการผลัดเปลี่ยนนักบินในวงโคจรบนสถานีอวกาศจีนเป็นครั้งแรก โดยคาดว่านักบินอวกาศทั้งหกจะใช้ชีวิตและทำงานร่วมกันราว 5 วัน เพื่อปฏิบัติพันธกิจที่กำหนดและส่งต่องาน- สำนักข่าวซินหัว 点击浏览中文新闻 (คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาจีน) http://www.news.cn/photo/2022-11/30/c_1129172760.htmคลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20221130/3b3032b3a7f7443e91b4e153f453c3e8/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/323495_20221130ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนเผย 10 ความท้าทายวิทยาศาสตร์ด้าน ‘การบินในอวกาศ’

ไห่โข่ว, 22 พ.ย. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรด้านอวกาศของจีน เผยแพร่ความท้าทายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 10 ประการ สำหรับสาขาการบินในอวกาศ ประจำปี 2022 ที่การประชุมว่าด้วยอวกาศของจีน (China Space Conference) ซึ่งจัดขึ้นนาน 4 วัน ณ นครไห่โข่ว เมืองเอกของมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน รายการความท้าทายดังกล่าว ประกอบด้วยพลังงานจากพลวัตของจักรวาล (cosmic dynamics) การค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่อาศัยอยู่ได้และสัญญาณของสิ่งมีชีวิต เทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับระบบขนส่งอวกาศแบบกระสวย การสังเกตการณ์และการป้องกันดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก และการพัฒนาวัสดุสังเคราะห์แสงประดิษฐ์สำหรับการยังชีพนอกโลก เทคโนโลยีการถ่ายโอนพลังงานสูงแบบไร้สายระยะไกล การก่อสร้างบนพื้นผิวดวงจันทร์โดยใช้ตะกอนฝุ่นหิน (regolith) การควบคุมเครื่องบินข้ามสื่อ การทำงานร่วมบนกลุ่มดาวในอวกาศแบบอัตโนมัติและใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการคาดการณ์วิวัฒนาการสนามการไหลของบรรยากาศชั้นบนโลกที่มีความแม่นยำสูง ถูกรวมเป็นความท้าทายในการสำรวจอวกาศเช่นกัน หวังเวย ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาของบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศแห่งประเทศจีน ประกาศรายการความท้าทายดังกล่าวผ่านทางระบบวิดีโอระหว่างการประชุมฯ ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันจันทร์ (21 พ.ย.) หวังกล่าวว่า การปฏิวัติเทคโนโลยีรอบใหม่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานใหม่ วัสดุใหม่ และความฉลาดทางดิจิทัล กำลังยกระดับการขับเคลื่อนในภูมิทัศน์อวกาศระดับโลก โดยรายการความท้าทายเหล่านี้จะมีบทบาทสนับสนุนการวิจัยของจีนด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และความก้าวหน้าต่างๆ ในโครงการด้านวิศวกรรม -สำนักข่าวซินหัว […]

1 2 3
...