กองทัพอากาศช่วยผู้ประสบอุทกภัย อ.สิชล นครศรีฯ
กองทัพอากาศช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
กองทัพอากาศช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ทีมข่าวสำนักข่าวไทยลงพื้นที่ไปดูสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จ.นราธิวาส โดยเฉพาะที่บ้านมูโน๊ะ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ชาวบ้านในพื้นที่บอกว่าเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้หนักสุดในรอบ 30 ปี.
อธิบดีกรมชลประทาน ระบุเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังพื้นที่ต่างๆ ในภาคใต้อย่างเต็มที่ตามข้อสั่งการของ รมว.เกษตรฯ เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน ส่วนประตูระบายน้ำมูโนะ จ.นราธิวาส ที่น้ำไหลล้นตลิ่งข้ามพนังกั้นน้ำประตูระบายน้ำ เจ้าหน้าที่นำบิ๊กแบ็กมากั้นชะลอน้ำ พร้อมทำทำนบดิน จนสามารถควบคุมการไหลของน้ำให้ผ่านประตูระบายน้ำได้แล้ว
กอ.รมน. ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง
กัวลาลัมเปอร์ 27 ธ.ค.- มาเลเซียจะของบประมาณจากกองทุนสภาพภูมิอากาศสีเขียวหรือจีซีเอฟ (GCF) ของสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) เพื่อพัฒนาแผนการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หลังจากเผชิญกับอุทกภัยใหญ่อยู่ในขณะนี้ มาเลเซียมีฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม ทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้าง มีผู้เสียชีวิตแล้ว 48 คน ใน 8 รัฐ และมีเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลต้องปรับปรุงการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับสภาพอากาศรุนแรงในอนาคต ปลัดกระทรวงสิ่งแวดล้อมและน้ำของมาเลเซียตอบข้อถามสื่อเป็นลายลักษณ์อักษรเรื่องแผนการปรับตัวกับสภาพภูมิอากาศว่า กระทรวงจะของบประมาณ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 100 ล้านบาท) จากจีซีเอฟ เพื่อนำมาพัฒนาแผนการปรับตัวแห่งชาติภายในสิ้นปี 2565 แผนนี้จะให้ความสำคัญเรื่องน้ำ การเกษตร ความมั่นคงด้านอาหาร สาธารณสุข ป่าไม้และโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้กระทรวงยังมีแผนระยะยาวที่จะของบประมาณจากกองทุนนี้มาดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย อย่างไรก็ดี งบประมาณสำหรับวางแผนการปรับตัวดังกล่าวถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับงบประมาณ 2,330 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 78,100 ล้านบาท) ที่รัฐบาลมาเลเซียจัดสรรไว้ดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัย เช่น สร้างทำนบกั้นน้ำ สร้างพื้นที่รับน้ำ ขุดลอกแม่น้ำ ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มไคลมาแอกชันมาเลเซียชี้ว่า การปรับตัวต้องใช้งบประมาณสูงมากเมื่อเทียบกับการบรรเทาภัย เพราะต้องยกเครื่องการวางผังเมืองทั้งหมด ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้เงินมหาศาล.-สำนักข่าวไทย
อธิบดีกรมชลประทาน เผยเร่งดำเนินโครงการตามแผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง เสริมแนวทางบริหารจัดการที่มีอยู่ โดยมี 6 โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และอีก 3 โครงการอยู่ระหว่างเสนอ กนช. และ ครม. ตามลำดับ หากแล้วเสร็จทั้งหมดจะบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้มาก
จ.นราธิวาส น้ำท่วมสูง 7 อำเภอ หลังฝนตกหนักต่อเนื่อง ประชาชนเดือดร้อน 15,069 คน ถนนเสียหาย 31 เส้นทาง
กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนฝนตกหนักถึงหนักมากภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ซึ่งจะมีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 27-30 พ.ย.
อธิบดีกรมชลประทานสั่งโครงการชลประทานทุกแห่งพร้อมรับมือฝนตกหนักภาคใต้ โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนซึ่งกรมอุตุฯ คาดการณ์ฝนตกหนัก 23-26 พ.ย. ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมได้
ก.คมนาคม รายงานเส้นทางคมนาคมได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 10 จังหวัด ขณะที่รถไฟ-บขส. เดินรถได้ตามปกติทั้งหมดแล้ว
รมว.เกษตรฯ ห่วงน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ลุ่มภอของจังหวัดเพชรบุรี สั่งกรมชลประทานเสริมเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำให้เร็วที่สุด พร้อมกำชับรับฝนหนัก 14 จังหวัดภาคใต้
ธ.ก.ส. ออกมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู เพื่อเป็นค่าลงทุนในการประกอบอาชีพ สร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย รายละไม่เกิน 500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 4.5 ต่อปี และสินเชื่อฉุกเฉิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในครัวเรือน รายละไม่เกิน 50,000 บาท ดอกเบี้ย 0% 6 เดือน ให้กับเกษตรกรผู้ประสบอุ