ทูตยูเอ็นขออาเซียนหนุนทุกฝ่ายในเมียนมาร่วมแก้วิกฤต

วอชิงตัน 13 ม.ค.- ดร.โนลีน เฮเซอร์ ทูตพิเศษสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เรื่องเมียนมาขอให้สมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนสนับสนุนความพยายามของนานาชาติที่ต้องการให้ทุกฝ่ายในเมียนมาได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขวิกฤตประเทศ ยูเอ็นแถลงวันนี้ว่า ดร.เฮเซอร์ ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการใหญ่ยูเอ็นด้านเมียนมา ได้หารือเสมือนจริงกับนายกรัฐมนตรีฮุน เซนของกัมพูชาที่เป็นประธานอาเซียนวาระปัจจุบัน โดยได้ขอให้ร่วมมือเรื่องจัดส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และหาทางทำให้แผนสันติภาพฉันทามติ 5 ข้อที่ชะงักงันมีความคืบหน้า ดร.เฮเซอร์สนับสนุนให้มีมาตรการสร้างความไว้วางใจกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในเมียนมา นอกเหนือไปจากองค์กรกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธ และขอให้นายปรัก สุคน รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาร่วมกับเธอและประชาคมโลกสร้างยุทธศาสตร์ที่มุ่งไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจรจาแบบครอบคลุมทุกฝ่าย เพราะวิธีการแก้ปัญหาต้องมาจากเข้าไปข้องเกี่ยวโดยตรง และรับฟังทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบอย่างเอาใจใส่ ทูตของบรูไนเคยกำหนดเงื่อนไขการเยือนเมียนมาในช่วงที่บรูไนดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนปีก่อนว่า ต้องการพบกับทุกฝ่ายในเมียนมา แต่นายปรัก สุคน แย้งว่า เป็นวิธีที่ไม่ได้ผล ล่าสุดนายกรัฐมนตรีฮุน เซนของกัมพูชาเพิ่งนำคณะไปเยือนเมียนมาเป็นเวลา 2 วันเมื่อสัปดาห์ก่อน และได้พบหารือกับพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่ายของเมียนมา แต่ไม่ได้พบกับนางออง ซาน ซู จี ผู้นำพลเรือนที่ถูกกองทัพรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปีก่อน และคุมขังอยู่จนถึงขณะนี้.-สำนักข่าวไทย

กัมพูชาเลื่อนประชุม รมว. ต่างประเทศอาเซียนสัปดาห์หน้า

พนมเปญ 13 ม.ค.- กัมพูชาในฐานะประธานสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนวาระปัจจุบันแจ้งว่า การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่กำหนดมีขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 มกราคม จะถูกเลื่อนออกไป โดยยังไม่ได้กำหนดวันประชุมใหม่ กัมพูชาแจ้งว่า การประชุมที่กำหนดมีขึ้นที่เมืองเสียมราฐ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชาถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากรัฐมนตรีต่างประเทศหลายประเทศมีปัญหาในการเดินทางมาประชุม เว็บไซต์สำนักข่าวเกียวโดนิวส์ของญี่ปุ่นตั้งข้อสังเกตว่า แม้เป็นการประชุมตามปกติ แต่ถือว่ามีความสำคัญเพราะเป็นโอกาสที่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะได้ประชุมแบบพบหน้ากันครั้งแรก นับตั้งแต่กัมพูชารับหน้าที่ประธานในปีนี้ แหล่งข่าวเผยว่า อินโดนีเซียและมาเลเซียต้องการประชุมแบบเสมือนจริงเพราะติดปัญหาในประเทศ ขณะที่บรูไนเตรียมจัดพระราชพิธีเสกสมรสของเจ้าหญิงฟัดซิลลาห์ ลูบาบูล โบเกียห์ พระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซานัล โบลเกียห์ระหว่างวันที่ 17-24 มกราคม นายกรัฐมนตรีฮุน เซนของกัมพูชาเพิ่งไปเยือนเมียนมา 2 วันเมื่อสัปดาห์ก่อน เป็นผู้นำต่างชาติคนแรกที่ไปเยือนนับจากกองทัพเมียนมารัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปีก่อน กัมพูชาสนับสนุนให้เมียนมาได้กลับเข้าสู่การทูตของอาเซียน หลังจากอาเซียนไม่ให้พลเอกอาวุโสมิน อ่องหล่าย ผู้นำสูงสุดของเมียนมาเข้าร่วมประชุมสุดยอดเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน เกียวโดรายงานว่า อาเซียนกำลังหารือกันว่าจะให้รัฐมนตรีต่างประเทศเมียนมาที่แต่งตั้งโดยกองทัพได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหรือไม่.-สำนักข่าวไทย

ผู้นำทหารเมียนมาจะให้ผู้แทนอาเซียนพบทุกฝ่าย

เนปิดอว์ 8 ม.ค.- พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมารับปากว่า จะให้ผู้แทนพิเศษของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนพบทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเหตุไม่สงบทางการเมืองในขณะนี้ พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่ายกล่าวระหว่างแถลงที่กรุงเนปิดอว์ร่วมกับนายกรัฐมนตรีฮุน เซนของกัมพูชาที่ไปเยือนเมื่อวันศุกร์ว่า จะให้การรับรองว่าทูตพิเศษอาเซียนจะได้พบกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเหตุไม่สงบทางการเมืองในขณะนี้ รวมทั้งชนกลุ่มน้อยติดอาวุธ และจะสนับสนุนให้ทูตพิเศษอาเซียนได้ทำตามอำนาจที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติตามแผนสันติภาพฉันทามติ 5 ข้อที่เมียนมาตกลงกับอาเซียนเมื่อเดือนเมษายน หนึ่งในนั้นมีการเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงในเมียนมาโดยทันที ด้านนายกรัฐมนตรีฮุน เซนของกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนวาระปัจจุบันแสดงความสนับสนุนผู้นำเมียนมาว่า สันติภาพที่สมบูรณ์และความปรองดองแห่งชาติไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ได้เข้าร่วมและตกลงด้วย โดยอ้างถึงบทเรียนที่กัมพูชาเรียนรู้จากกระบวนการสันติภาพที่ใช้เวลาตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษหลังปี 1980 จนถึงต้นคริสต์ทศวรรรษหลังปี 1990 นายกรัฐมนตรีฮุน เซนเป็นผู้นำต่างชาติคนแรกที่เยือนเมียนมา นับตั้งแต่กองทัพเมียนมารัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ฝ่ายต่อต้านในเมียนมาพากันประท้วงการเยือนครั้งนี้.-สำนักข่าวไทย

“ฮุน เซน” จะตั้ง รมว.ต่างประเทศกัมพูชาเป็นทูตพิเศษเมียนมา

พนมเปญ 15 ธ.ค. – นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา เผยวันนี้ว่า จะแต่งตั้งนายปรัก สุคน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของกัมพูชาให้ดำรงตำแหน่งทูตพิเศษด้านกิจการเมียนมาคนใหม่ของอาเซียน หลังจากที่กัมพูชาได้รับมอบตำแหน่งประธานอาเซียนประจำปี 2565 ต่อจากบรูไน นายกรัฐมนตรีฮุน เซน กล่าวคำปราศรัยในพิธีเปิดโรงแรมหรูแห่งหนึ่งที่กรุงพนมเปญของกัมพูชาว่า เขาขอยืนยันว่าจะแต่งตั้งนายปรัก สุคน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของกัมพูชาให้ดำรงตำแหน่งทูตพิเศษด้านกิจการเมียนมาคนใหม่ของอาเซียน ทั้งยังระบุว่า เขาจะเดินทางเยือนเมียนมาในวันที่ 7-8 มกราคมปีหน้า และกัมพูชาจะพยายามอย่างสุดความสามารถในฐานะประธานอาเซียนประจำปี 2565 เพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นครอบครัวเดียวกัน ทั้งนี้ นายสุคนจะดำรงตำแหน่งทูตพิเศษด้านกิจการเมียนมาของอาเซียนต่อจากนายเอรีวัน ยูซอฟ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของบรูไน โดยที่ตำแหน่งดังกล่าวมีขึ้นเพื่อติดตามการปฏิบัติตามหลักฉันทามติ 5 ข้อที่รัฐบาลทหารเมียนมาได้ตกลงไว้กับอาเซียนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา รวมถึงหน้าที่อำนวยความสะดวกในขั้นตอนเจรจา และการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมา.-สำนักข่าวไทย

นักข่าวติดตามคณะ “บลิงเคน” เยือนอาเซียน ติดโควิด

กัวลาลัมเปอร์ 15 ธ.ค.- กระทรวงต่างประเทศสหรัฐแจ้งว่า ผู้สื่อข่าวคนหนึ่งที่ติดตามคณะของนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเยือนอังกฤษ และ 3 ชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผลตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เป็นบวก โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐแถลงว่า ผู้สื่อข่าวคนหนึ่งในคณะผู้สื่อข่าว 12 คน มีผลตรวจหาเชื้อเป็นบวกเมื่อวันพุธที่มาเลเซีย ส่วนผู้สื่อข่าวคนอื่น ๆ รวมทั้งนายบลิงเคนและคณะเจ้าหน้าที่ไม่มีใครมีผลตรวจเป็นบวก นายบลิงเคนเดินทางจากกรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย มาถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซียเมื่อเย็นวันอังคาร และเดินทางต่อมาที่ไทยเป็นจุดหมายสุดท้ายในวันนี้ โดยได้ไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มชาติอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือจี 7 (G7) ที่เมืองลิเวอร์พูลของอังกฤษเป็นแห่งแรกเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศสหรัฐตรวจหาเชื้อด้วยวิธีพีซีอาร์ (PCR) ทุกวันกับทุกคนที่เดินทางด้วยเครื่องบินลำเดียวกับนายบลิงเคน ส่วนผู้สื่อข่าวที่มีผลตรวจเป็นบวกที่มาเลเซีย เพิ่งมีผลตรวจเป็นลบที่อังกฤษและจาการ์ตา ขณะนี้ถูกแยกกักโรคแล้ว.-สำนักข่าวไทย

“บลิงเคน” เผยสหรัฐจะใช้มาตรการเพิ่มกดดันเมียนมา

กัวลาลัมเปอร์ 15 ธ.ค. – นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ เผยวันนี้ว่า สหรัฐกำลังพิจารณาใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา พร้อมเชิญผู้นำประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน เข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำร่วมกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐ ในเดือนมกราคมปีหน้า นายบลิงเคนกล่าวในระหว่างเดินทางเยือนมาเลเซียว่า สหรัฐตั้งตารออย่างยิ่งต่อการจัดประชุมสุดยอดผู้นำนัดพิเศษร่วมกับอาเซียนในวันที่ 19 มกราคมปีหน้า สหรัฐจะใช้เวลาที่เหลืออยู่ก่อนถึงการประชุมดังกล่าวเพื่อพิจารณาใช้ขั้นตอนและมาตรการเพิ่มเติมในการกดดันให้เมียนมาหวนคืนสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอีกครั้ง และกำลังทบทวนอย่างจริงจังเกี่ยวกับการกระทำของรัฐบาลทหารเมียนมาว่าเข้าข่ายการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือไม่ นายบลิงเคนยังระบุว่า นอกจากประเด็นสถานการณ์วิกฤตในเมียนมาแล้ว คาดว่าการประชุมสุดยอดดังกล่าวจะมีการหารือในประเด็นต่าง ๆ เช่น การระบาดของโรคโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลงทุน และระบบโครงสร้างพื้นฐาน ขณะนี้ นายบลิงเคน ซึ่งเคยระบุว่า 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก กำลังปฏิบัติภารกิจเยือนประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้เดินทางเยือนมาเลเซียเป็นประเทศที่สองในวันนี้ หลังเสร็จสิ้นภารกิจเยือนอินโดนีเซียเมื่อวันอังคาร โดยเขาระบุในกรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซียว่า สหรัฐได้ดำเนินยุทธศาสตร์เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในสนธิสัญญาไมตรีกับทวีปเอเชียด้วยข้อเสนอเพื่อส่งเสริมการทำงานด้านข่าวกรองและการป้องกันร่วมกับพันธมิตรในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่มีความวิตกกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการขยายอิทธิพลของจีน.-สำนักข่าวไทย

รมว.ต่างประเทศสหรัฐถึงอินโดฯเพื่อกระชับสัมพันธ์อาเซียน

จาการ์ตา 13 ธ.ค.- นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเดินทางถึงอินโดนีเซียแล้วในวันนี้ เริ่มต้นการตระเวนเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับภูมิภาคนี้ ที่กลายเป็นสนามรบทางยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐกับจีน นายบลิงเคนเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นครั้งแรกตั้งแต่รับตำแหน่งในดือนมกราคม เขาจะเยือน 3 ประเทศประกอบด้วยอินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย นักการทูตสหรัฐเผยก่อนหน้านี้ว่า บลิงเคนจะผลักดันเป้าหมายของประธานาธิบดีโจ ไบเดนที่ต้องการยกระดับการติดต่อกับ 10 ชาติในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน และจะหารือวิสัยทัศน์ของไบเดนเรื่องแนวทางการตั้งกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก อย่างไรก็ดี จนถึงขณะนี้รัฐบาลไบเดนยังไม่ได้แจกแจงวิสัยทัศน์ดังกล่าวอย่างชัดเจน รอยเตอร์มองว่า รัฐบาลไบเดนเห็นว่า การกระชับความสัมพันธ์กับอาเซียนมีความสำคัญต่อการต้านทานการขยายอิทธิพลของจีน หลังจากรัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ถอนสหรัฐออกจากข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกหรือทีพีพี (TPP) ในปี 2560 ทำให้สหรัฐถูกจำกัดความสามารถในการแผ่อิทธิพลทางเศรษฐกิจ ในขณะที่จีนหาทางเพิ่มความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศในภูมิภาคนี้.-สำนักข่าวไทย

“บลิงเคน” จะเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมประเทศไทย

นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ จะออกเดินทางตระเวนเยือน 3 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทยในสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐที่ต้องการสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความมั่นคงกับภูมิภาคนี้ และแสวงหาความร่วมมือเพื่อรับมือกับการแผ่อิทธิพลของจีนในแถบอินโด-แปซิฟิก

รมว.ต่างประเทศจี 7 จะประชุมโดยมีอาเซียนร่วมครั้งแรก

ลิเวอร์พูล 11 ธ.ค.- รัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มชาติอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือจี 7 (G7) จะประชุม 2 วันที่เมืองลิเวอร์พูลของอังกฤษเริ่มตั้งแต่วันนี้ ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดจากจีนและรัสเซีย โดยจะมีรัฐมนตรีต่างประเทศจากสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนเข้าร่วมการประชุมด้วยเป็นครั้งแรก สหรัฐกำลังกดดันจีนให้แก้ไขเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชนและความตึงเครียดกับไต้หวัน ขณะที่ประเทศตะวันตกในยุโรปกำลังกดดันรัสเซียที่สั่งสมกำลังพลใกล้พรมแดนด้านยูเครน เอลิซาเบท ทรัสส์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษออกข่าวประชาสัมพันธ์ก่อนการประชุมว่า วันเสาร์และอาทิตย์นี้ กลุ่มประเทศประชาธิปไตยทรงอิทธิพลที่สุดในโลกจะแสดงจุดยืนต่อต้านผู้รุกรานที่หาทางสั่นคลอนเสรีภาพ และจะส่งสารที่ชัดเจนถึงการเป็นแนวร่วมที่เป็นเอกภาพ รัฐมนตรีต่างประเทศจี 7 ซึ่งประกอบด้วยอังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐ และสหภาพยุโรปหรืออียู จะหารือในประเด็นต่าง ๆ ตั้งแต่เรื่องการสร้างหลักประกันการฟื้นตัวให้แก่เศรษฐกิจโลก ยุคหลังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ไปจนถึงการคว่ำบาตรทางการทูตที่นำโดยสหรัฐต่อการจัดโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ที่กรุงปักกิ่งของจีน ส่วนการประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในวันอาทิตย์ คาดว่าจะเป็นการหารือเรื่องท่าทีก้าวร้าวของจีนในทะเลจีนใต้ นอกจากนี้อังกฤษในฐานะประธานจี 7 ประจำปีนี้ยังได้เชิญออสเตรเลีย เกาหลีใต้และอินเดียมาหารือ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือเรื่องความมั่นคงแห่งชาติและมาตรการรับมือโรคโควิด-19 ในยามที่มีกำลังกระแสวิตกเรื่องไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศจี 7 มีขึ้นหลังจากสหรัฐเพิ่งเสร็จสิ้นการเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตยครั้งแรกที่จัดขึ้นแบบออนไลน์เมื่อวันที่ 9-10 ธันวาคม มี 111 […]

สหรัฐยืนยันพลิกโฉมยกระดับความสัมพันธ์กับอาเซียน

นายแดเนียล คริเทนบริงค์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐด้านกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าวในวันพุธ ยืนยันว่า สหรัฐมีความมุ่งมั่นในการยกระดับความสัมพันธ์กับสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียนไปสู่ระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

“ฮุน เซน” เผย รบ.ทหารเมียนมามีสิทธิร่วมประชุมอาเซียน

พนมเปญ 7 ธ.ค. – นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา ระบุเมื่อวันจันทร์ว่า เขาได้วางแผนเดินทางเยือนเมียนมาเพื่อหารือกับพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา และกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทหารเมียนมาควรได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน นายกรัฐมนตรีฮุน เซน กล่าวในระหว่างพิธีเปิดโครงการก่อสร้างที่ได้รับเงินสนับสนุนจากจีนว่า เมื่อถึงเวลาที่กัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียนในปีหน้า ตัวแทนของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุม เมียนมาถือเป็นสมาชิกในครอบครัวอาเซียนและต้องมีสิทธิเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่เขาจะเดินทางเยือนกรุงเนปิดอว์ของเมียนมาเพื่อเข้าพบพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย และทำงานร่วมกัน ทั้งยังกล่าวว่า หากเขาไม่ทำงานร่วมกับผู้นำเมียนมา แล้วจะต้องทำงานร่วมกับใคร และภายใต้กฎบัตรอาเซียน ประเทศสมาชิกไม่มีสิทธิขับไล่สมาชิกรายอื่น สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานวันนี้ว่า นายวันนา หม่อง ลวิน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลทหารเมียนมา ได้เดินทางไปกัมพูชาเพื่อเปิดการหารือร่วมกันในวันนี้ หลังจากที่เมื่อวานนี้รัฐบาลทหารเมียนมาเพิ่งถูกทั่วโลกประณามจากคำตัดสินจำคุกนางออง ซาน ซู จี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นเวลา 4 ปีในคดียุยงปลุกปั่นและละเมิดมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ขณะที่ภาพถ่ายที่ได้รับการเผยแพร่โดยรัฐบาลกัมพูชาแสดงให้เห็นว่า นายวันนา หม่อง ได้เข้าพบนายกรัฐนตรีฮุน เซน ที่อาคารวิมานสันติภาพในกรุงพนมเปญ โดยที่ทั้งสองได้ทักทายกันด้วยการใช้ศอกชนกันก่อนเปิดการหารือร่วมกัน สถานภาพของเมียนมาในฐานะสมาชิกของอาเซียนถูกจับตามาโดยตลอดนับตั้งแต่เกิดเหตุรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 […]

อาเซียน-เกาหลีใต้เห็นพ้องเร่งกระบวนการศุลกากร

โซล 6 ธ.ค.- สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนและเกาหลีใต้เห็นพ้องกันว่า จะแก้ไขประเด็นปัญหาเรื่องกระบวนการศุลกากรเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือเอฟทีเอ (FTA) ได้ดียิ่งขึ้น กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังเกาหลีใต้แถลงว่า เกาหลีใต้และอาเซียนตกลงกันว่า บริษัทเกาหลีใต้จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเมื่อส่งออกสินค้ามายัง 10 ชาติสมาชิกอาเซียน ด้วยการยื่นสำเนาหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (certificates of origin) โดยไม่จำเป็นต้องส่งหนังสือต้นฉบับ เพราะสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เป็นเหตุให้การส่งหนังสือต้นฉบับมีความล่าช้า และทำให้บริษัทเกาหลีใต้เสียโอกาส เกาหลีใต้เสนอให้ทั้งสองฝ่ายยอมรับสำเนาดังกล่าวร่วมกันไปจนกว่าจะสามารถควบคุมการระบาดได้ และอาเซียนก็ตอบตกลง ทั้งสองฝ่ายจะหารือร่วมกันในภายหลังว่าจะยุติมาตรการนี้เมื่อใด การค้าอาเซียน-เกาหลีใต้เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่านับตั้งแต่เอฟทีเอมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน 2550 ปัจจุบันอาเซียนเป็นคู่ค้าใหญ่อันดับ 2 ของเกาหลีใต้ มูลค่าการค้าสูงถึง 143,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.8 ล้านล้านบาท) ในปี 2563 เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจาก 61,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2 ล้านล้านบาท) ในปี 2549.-สำนักข่าวไทย

1 15 16 17 18 19 52
...