ททท.เปิดตัวฝูงบินท่องเที่ยวไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม
ททท. ร่วมกับพันธมิตร เปิดตัว “ฝูงบินท่องเที่ยวไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม” จัดโปรโมชั่น 6 สายการบิน กระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ
ททท. ร่วมกับพันธมิตร เปิดตัว “ฝูงบินท่องเที่ยวไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม” จัดโปรโมชั่น 6 สายการบิน กระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ
ซิดนีย์ 11 มี.ค. – ออสเตรเลียเผยโครงการเงินสนับสนุนการท่องเที่ยวที่ใช้งบประมาณ 1,200 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (28,400 ล้านบาท) เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ในขณะที่เส้นทางบินระหว่างประเทศยังคงปิดให้บริการ เนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน ของออสเตรเลียกล่าวว่า โครงการเงินสนับสนุนการท่องเที่ยวจะช่วยให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปโรงแรมหรือคาเฟ่ และออกไปสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น แนวทางนี้จะทำให้เกิดการจ้างงานและการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบินในขณะที่ออสเตรเลียกำลังพยายามควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหลายแห่ง อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจออสเตรเลีย และสร้างรายได้ราว 60,800 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (1.4 ล้านล้านบาท) ในผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือจีดีพี อีกทั้งยังมีอัตราการจ้างงานคิดเป็นร้อยละ 5 ของประเทศ อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เมื่อรัฐบาลออสเตรเลียประกาศใช้มาตรการปิดพรมแดนระหว่างประเทศเมื่อหนึ่งปีก่อน เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงการปิดพรมแดนระหว่างรัฐและดินแดนในช่วงที่พบการระบาดในชุมชน ซึ่งทำให้สถานการณ์ของอุตสาหกรรมดังกล่าวย่ำแย่ลง โครงการเงินสนับสนุนการท่องเที่ยวดังกล่าวจะมอบเงิน 200 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (4,730 ล้านบาท) ให้แก่สายการบินแควนตัส และสายการบินเวอร์จิน ออสเตรเลีย ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงตุลาคม เพื่อเป็นค่าบำรุงรักษาเครื่องบินที่ต้องจอดไว้ ค่าใช้จ่ายในการนำเครื่องบินออกจากโรงเก็บเครื่องบิน และค่าจ้างพนักงานฝ่ายการบินระหว่างประเทศ รวมถึงการมอบส่วนลดตั๋วเครื่องบินร้อยละ 50 […]
โซล 14 ก.พ.- กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และคมนาคมเกาหลีใต้แจ้งวันนี้ว่า ปีที่แล้วยอดผู้โดยสารเครื่องบินของเกาหลีใต้ลดลงถึงร้อยละ 68 เพราะสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ระบาด แถลงการณ์ของกระทรวงระบุว่า จำนวนผู้โดยสารเครื่องบินในประเทศและต่างประเทศลดลงจาก 123.3 ล้านคนในปี 2562 เหลือ 39.4 ล้านคนในปี 2563 เนื่องจากประเทศต่าง ๆ เข้มงวดการเข้าประเทศเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด หากแยกเฉพาะผู้โดยสารระหว่างประเทศลดลงถึงร้อยละ 84 จาก 90.4 ล้านคนเหลือ 14.2 ล้านคน รัฐบาลจะยังคงให้การสนับสนุนสายการบินในประเทศต่อไป เนื่องจากโรคโควิด-19 ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ต่อธุรกิจสายการบินในปีนี้ หลังจากสายการบินเหล่านี้ระงับเส้นทางบินระหว่างประเทศตั้งแต่ต้นปีก่อน เพราะการเดินทางลดลงมาก สายการบินใหญ่ของเกาหลีใต้อย่างโคเรียนแอร์และเอเชียนาแอร์ไลน์หันมาเน้นบริการขนส่งสินค้า ชดเชยจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง โคเรียนแอร์ต้องจำหน่ายธุรกิจรองเพื่อให้มีทุนดำเนินธุรกิจต่อไป และเริ่มขนส่งสินค้าด้วยถุงใส่สินค้าที่ผูกกับที่นั่งผู้โดยสาร เช่นเดียวกับสายการบินอื่นทั่วโลกที่ปรับเปลี่ยนเครื่องบินโดยสารเป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าด้วยการติดตั้งถุงใส่สินค้าหรือถอดที่นั่งผู้โดยสารออก ขณะที่สายการบินราคาประหยัดอย่างจินแอร์ เชจูแอร์ แอร์ปูซาน แอร์โซล อีสตาร์เจ็ท และทีเวย์แอร์มีปัญหามากกว่าเนื่องจากพึ่งพาผู้โดยสารเป็นหลัก.-สำนักข่าวไทย
เวลลิงตัน 14 ก.พ.- นิวซีแลนด์แจ้งวันนี้ว่า พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในชุมชนจำนวน 3 คน หลังจากพบครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ 24 มกราคม นายคริส ฮิปกินส์ รัฐมนตรีรับมือกับโรคโควิด-19 แจ้งในการแถลงข่าวที่จัดขึ้นอย่างรีบเร่งในวันนี้ว่า ผู้ป่วยใหม่ 3 คน เป็นพ่อ แม่ และลูกสาวชาวเมืองออกแลนด์ เจ้าหน้าที่กำลังตรวจทางพันธุกรรมเพื่อหาว่าเป็นไวรัสปรับปรุงสายพันธุ์ที่ติดเชื้อง่ายหรือไม่ และกำลังรวบรวมข้อเท็จจริงทั้งหมดอย่างรวดเร็วที่สุด ณ เวลานี้ทางการยังไม่คิดเปลี่ยนแปลงระดับการเตือนภัยแต่อย่างใด ขอรวบรวมข้อมูลก่อนตัดสินใจอีกครั้ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าครอบครัวนี้ติดเชื้อได้อย่างไร เป็นการติดจากคนในชุมชนหรือเป็นการเริ่มต้นวงจรการแพร่เชื้อ ทางการนิวซีแลนด์แจ้งว่า เพื่อเป็นการป้องกันล่วงหน้าจะปิดโรงเรียนมัธยมที่ลูกสาวครอบครัวนี้ศึกษาอยู่ในวันจันทร์และวันอังคารเพื่อตั้งศูนย์ตรวจหาเชื้อ และได้แจ้งไปยังสายการบินหลายแห่ง เนื่องจากผู้เป็นแม่ทำงานในส่วนซักรีดของบริษัทจัดทำอาหารให้สายการบิน การพบผู้ป่วยในชุมชนล่าสุดทำให้นายกรัฐมนตรีจาซินดา อาร์เดิร์นต้องยกเลิกกำหนดการเข้าร่วมงานพาเหรดกลุ่มคนหลากหลายทางเพศในเมืองออกแลนด์บ่ายวันนี้ รีบกลับกรุงเวลลิงตันทันที นิวซีแลนด์ไม่พบผู้ป่วยโรคโควิด-19 มานานกว่า 2 เดือน จนกระทั่งมาพบในวันที่ 24 มกราคมว่าผู้กลับมาจากต่างประเทศมีผลตรวจหาเชื้อเป็นบวกหลังออกจากศูนย์กักโรค ยอดผู้ป่วยสะสมอยู่ที่กว่า 2,300 คน เสียชีวิต 25 คน และได้เริ่มโครงการฉีดวัคซีนให้ประชากร 5 ล้านคนตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์หลังได้รับวัคซีนจากไฟเซอร์/ไบออนเทคเร็วกว่าคาด.-สำนักข่าวไทย
วอชิงตัน 19 ม.ค.- โฆษกของนายโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐเผยว่า ไบเดนจะเร่งลงนามขยายคำสั่งจำกัดการเดินทางมาจากยุโรปและบราซิล หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ลงนามคำสั่งยกเลิก ทันทีที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งจะพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคมตามเวลาสหรัฐ ลงนามคำสั่งเมื่อวันจันทร์ ยกเลิกมาตรการจำกัดการเดินทางมาจากยุโรปและบราซิลที่ใช้ตั้งแต่ต้นปีก่อนโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม เจน ซากี ว่าที่โฆษกทำเนียบขาวทวีตว่า ตามที่ได้รับคำแนะนำจากคณะผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ รัฐบาลไบเดนจะไม่ยกเลิกมาตรการในวันที่ดังกล่าว สถานการณ์การแพร่ระบาดที่มีแต่เลวร้ายลง และมีเชื้อปรับปรุงสายพันธุ์เกิดขึ้นใหม่ทั่วโลก จึงไม่ใช่เวลาที่จะยกเลิกมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ คำสั่งของทรัมป์เป็นการยกเลิกสิ่งที่เขาประกาศตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมปีก่อนห้ามผู้ที่ไม่ใช่พลเมืองอเมริกันเข้าสหรัฐ หากอยู่ในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และ 26 ประเทศในเขตเชงเกนในช่วง 14 วันก่อนเดินทาง ตามด้วยประกาศลักษณะเดียวกันกับบราซิลในเดือนพฤษภาคมปีก่อน กำหนดการยกเลิกในวันที่ 26 มกราคมยังสอดคล้องกับที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐหรือซีดีซี (CDC) ลงนามคำสั่งเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคมเป็นต้นไปผู้โดยสารเครื่องบินเข้าสหรัฐเกือบทุกคนต้องแสดงผลตรวจหาเชื้อเป็นลบหรือหลักฐานยืนยันว่าหายดีจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ธุรกิจสายการบินหวังว่า การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเข้าประเทศของซีดีซีจะเปิดทางให้รัฐบาลยกเลิกมาตรการจำกัดที่ทำให้การเดินทางจากยุโรปเข้าสหรัฐลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 อย่างไรก็ตาม คนในรัฐบาลเองมีความเห็นขัดแย้งกันมาหลายเดือนแล้วในเรื่องนี้ บางส่วนเห็นว่าควรยกเลิก บางส่วนแย้งว่าควรคงไว้เพราะยุโรปเองยังห้ามชาวอเมริกันเข้าประเทศ.-สำนักข่าวไทย
ไทเป 29 ธ.ค. – สายการบินอีวีเอแอร์ (EVA Air) ของไต้หวันไล่ออกลูกเรือ 8 คนที่ฝ่าฝืนข้อบังคับในการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 นับตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา แถลงการณ์ของสายการบินอีวีเอแอร์ระบุว่า สายการบินสั่งไล่ออกลูกเรือทั้งหมด 8 คนตั้งแต่เดือนมีนาคม ในจำนวนนี้มีนักบิน 4 คน และพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 4 คนที่ฝ่าฝืนข้อบังคับในการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งถือเป็นการกระทำที่น่าผิดหวัง สายการบินให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติตามระเบียบวินัย โดยเสมอมา และลูกเรือส่วนใหญ่ที่ปฏิบัติงานในแนวหน้าล้วนปฏิบัติตามแนวทางเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในเที่ยวบินด้วยความระมัดระวังอย่างเคร่งครัด สายการบินจะยังคงปฏิบัติตามข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อป้องกันการระบาดอย่างรัดกุม ก่อนหน้านี้ รัฐบาลไต้หวันประกาศใช้ข้อบังคับที่เข้มงวดยิ่งขึ้นกับลูกเรือสายการบินที่รวมถึงการสั่งให้ลูกเรือเข้าสู่มาตรการกักตัวหลังเดินทางกลับมายังไต้หวัน และการสั่งปรับเงินสายการบินอีวีเอแอร์จำนวน 35,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว1,050,000 บาท) ในเหตุการณ์ที่นักบินชาวนิวซีแลนด์ไม่ยอมเปิดเผยผู้ที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดและสถานที่ทั้งหมดที่เดินทางไป รวมถึงไม่สวมหน้ากากอนามัยขณะอยู่ในห้องขับเครื่องบิน ทางการไต้หวันกล่าวโทษนักบินคนดังกล่าวว่าเป็นต้นเหตุให้ไต้หวันพบผู้ป่วยติดเชื้อในชุมชนรายแรกในรอบกว่า 8 เดือน สายการบินอีวีเอแอร์ได้ไล่ออกนักบินคนนี้แล้วเมื่อสัปดาห์ก่อน ไต้หวันมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 สะสม 795 คน ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ และมีผู้เสียชีวิต 7 คน. -สำนักข่าวไทย
วอชิงตัน 21 ธ.ค.- สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ของสหรัฐกำลังประสานกับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคหรือซีดีซี (CDC) เรื่องตามตัวผู้โดยสารที่อาจเสี่ยงรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 หลังจากมีผู้โดยสารบนเที่ยวบินเสียชีวิต เว็บไซต์สถานีโทรทัศน์เอ็นบีซีนิวส์รายงานว่า ยูไนเต็ดแอร์ไลน์แถลงว่าเหตุเกิดบนเที่ยวบินจากเมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดาไปนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อวันจันทร์ที่แล้ว นักบินเปลี่ยนเส้นทางไปลงจอดที่เมืองนิวออร์ลีน รัฐลุยเซียนาเมื่อผู้โดยสารชายคนหนึ่งป่วยกะทันหัน เจ้าหน้าที่แพทย์นำตัวส่งโรงพยาบาลท้องถิ่น ซึ่งประกาศในเวลาต่อมาว่าเขาเสียชีวิต ช่วงที่เปลี่ยนเส้นทางนั้นสายการบินได้รับข้อมูลว่าเขาเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น จึงให้ผู้โดยสารคนอื่น ๆ เลือกว่าจะรอเที่ยวบินถัดไปหรือโดยสารเที่ยวบินเดิม ขณะนี้ซีดีซีได้ติดต่อมายังสายการบินโดยตรงขอข้อมูลผู้โดยสารที่อาจเสี่ยงได้รับหรือติดเชื้อเพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขท้องถิ่นติดต่อต่อไป และสายการบินได้ให้ข้อมูลดังกล่าวแล้ว ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ระบุด้วยว่า ผู้โดยสารชายที่เสียชีวิตกรอกข้อมูลก่อนขึ้นเครื่องว่า ไม่มีผลตรวจโควิดเป็นบวกและไม่มีอาการป่วย แต่ดูเหมือนว่าเขาให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ผู้โดยสารหญิงคนหนึ่งในเที่ยวบินดังกล่าวเล่าว่า เห็นชายคนนี้นั่งในท่าศีรษะตกและหายใจลำบาก พยาบาลและเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินทางการแพทย์ช่วยกันผายปอดกู้ชีพให้เขา เธอและผู้โดยสารคนอื่น ๆ ได้ยินภรรยาของเขาพูดว่า สามีมีอาการคล้ายโรคโควิด-19 ด้านสมาคมพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเผยว่า พนักงาน 4 คนบนเที่ยวบินดังกล่าวเริ่มการกักตัวเป็นเวลา 14 วันทันทีที่เครื่องบินลงจอดที่ลอสแอนเจลิส ขอให้ผู้โดยสารปฏิบัติตามนโยบายสายการบินของซีดีซีอย่างเคร่งครัดและกักตัวอยู่บ้านหากไม่สบาย.-สำนักข่าวไทย
ซิดนีย์ 15 ธ.ค. – องค์การระหว่างประเทศ ผู้รับประกันภัย และผู้เชี่ยวชาญเตือนสายการบินต่าง ๆ ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษในการนำเครื่องบินกลับมาขึ้นบินอีกครั้ง หลังถูกจอดทิ้งไว้เป็นเวลานานในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ข้อมูลของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ระบุว่า ปีนี้มีเรื่องการจัดการย่ำแย่หรือขาดความสม่ำเสมอพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของการลงจอดที่รุนแรงกว่าปกติ การลื่นไถลออกนอกทางวิ่ง และเครื่องบินชน ขณะที่หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมการบินทวีปเอเชียของเอออน บริษัทผู้ให้บริการจัดการความเสี่ยงชั้นนำของโลกตั้งข้อสงสัยว่า สายการบินได้ฝึกนักบินเป็นพิเศษในเรื่องการลงจอดหรือไม่ ด้านองค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป (EASA) เผยว่า ได้รับรายงานเรื่องเครื่องบินที่ขึ้นบินครั้งแรกหลังจอดทิ้งไว้เป็นเวลานานมีปัญหาค่าความเร็วอากาศยานและค่าระดับความสูงเชื่อถือไม่ได้ ทำให้ต้องยกเลิกการบินขึ้นหรือนำเครื่องบินกลับมายังฐานปฏิบัติการ ปัญหาส่วนใหญ่ล้วนมีสาเหตุมาจากการตรวจไม่พบว่า มีรังแมลงอยู่ในอุปกรณ์วัดความเร็วลมที่อยู่ด้านหน้าอากาศยาน เป็นสาเหตุให้สายการบินเช่าเหมาลำแห่งหนึ่งของตุรกีตกหลังขึ้นสู่ท้องฟ้าเหนือสาธารณรัฐโดมินิกันได้ไม่นาน และทำให้ผู้โดยสาร 189 คนเสียชีวิตทั้งลำในปี 2539 องค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรปเผยด้วยว่า ปัญหาที่พบในเครื่องบินที่ถูกจอดทิ้งไว้เป็นเวลานาน ได้แก่ เครื่องยนต์หยุดทำงานในระหว่างบินหลังพบปัญหาขัดข้องทางเทคนิค การปนเปื้อนในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง แรงดันห้ามล้อที่ลดลง และแบตเตอรี่ฉุกเฉินเสื่อมประสิทธิภาพ ขณะที่ตัวแทนสมาพันธ์นักบินนานาชาติ (IFALPA) เน้นย้ำว่า นักบินจำเป็นต้องได้รับการประเมินตามความเป็นจริงเรื่องทักษะการบินและความมั่นใจก่อนกลับมาปฏิบัติการบิน. -สำนักข่าวไทย
ดูไบ 12 พ.ย.- เอมิเรตส์ สายการบินแห่งชาติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออี (UAE) แจ้งว่า ขาดทุนรายครึ่งปีเป็นครั้งแรกในรอบ 30 กว่าปี เพราะได้รับผลกระทบหนักจากการปิดเมืองเพราะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 แพร่ระบาดที่ทำให้การบินแทบนิ่งสนิท เชค อาเหม็ด บิน ซาอีด อัล มัคตุม ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอ (CEO) ของเอมิเรตส์แถลงว่า สถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกับอุตสาหกรรมการบินและการเดินทางในขณะนี้ ทำให้ปีการเงิน 2563-2564 กลุ่มเอมิเรตส์ขาดทุนครึ่งปีเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี โดยขาดทุน 14,100 ล้านดีแรห์ม (ราว 116,379 ล้านบาท) เนื่องจากมีผู้โดยสารใช้บริการระหว่างวันที่ 1 เมษายน-30 กันยายน เพียง 1.5 ล้านคน ลดลงมากถึงร้อยละ 95 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากโรคโควิด-19 ทำให้เอมิเรตส์ระงับการดำเนินงานชั่วคราวตั้งแต่ต้นปีการเงิน ก่อนทยอยกลับมาให้บริการอีกครั้ง อย่างไรก็ดี บริษัทได้รับแรงสนับสนุนจากธุรกิจการขนส่งที่แข็งแกร่ง จากการเปลี่ยนไปมุ่งเน้นการขนส่งสิ่งของทั่วโลก รวมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์และช่องทางดำเนินธุรกิจอื่น ๆ ในช่วงที่จำนวนผู้โดยสารหดหาย ช่วยให้บริษัทมีรายได้ร้อยละ […]
หอการค้าไทยจับมือบางกอกแอร์เวย์สมอบสิทธิพิเศษสมาชิก กระตุ้นท่องเที่ยวดันธุรกิจฟื้น
โตเกียว 30 ต.ค. – เจแปนแอร์ไลน์ สายการบินของญี่ปุ่นคาดการณ์ว่า จะมีผลขาดทุนสุทธิประจำปีกว่า 2,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (71,740 ล้านบาท) หลังเกิดการระบาดรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินทั่วโลก แถลงการณ์ของเจแปนแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสายการบินใหญ่อันดับที่ 2 ของญี่ปุ่นระบุว่า อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโรคโควิด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และทำให้สายการบินตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ขณะที่หลายประเทศยังไม่มีทีท่าว่าจะควบคุมการระบาดของโรคโควิดได้ ส่งผลให้สายการบินประสบปัญหาในการให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ เจแปนแอร์ไลน์เผยว่า สายการบินมีผลขาดทุนสุทธิ 161,000 ล้านเยน (48,090 ล้านบาท) ในช่วงเดือน เม.ย. – ก.ย. ที่ผ่านมาจากเดิมที่มีกำไรสุทธิ 54,200 ล้านเยน (16,190 ล้านบาท) ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และมียอดขายลดลงถึงร้อยละ 70 เหลือเพีง 194,800 ล้านเยน (58,190 ล้านบาท) รวมถึงมีผลขาดทุนจากการดำเนินงาน 224,000 ล้านเยน (66,910 ล้านบาท) ทั้งนี้ สายการบินระบุว่า ความต้องการของเที่ยวบินในประเทศเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น […]
กัวลาลัมเปอร์ 6 ต.ค.- แอร์เอเชียเอ็กซ์ สายการบินระยะไกลราคาประหยัดของมาเลเซียเสนอขอปรับโครงสร้างหนี้และลดทุนที่ออกและชำระแล้วเพื่อเลี่ยงการต้องขายทอดตลาด แอร์เอเชียเอ็กซ์แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียในวันนี้ว่า ทางกลุ่มกำลังหาทางปรับโครงสร้างหนี้มูลค่าราว 63,500 ล้านริงกิต (ราว 478,640 ล้านบาท) และบัญชีใด ๆ ที่อาจได้รับการยกเว้น บริษัทกำลังเผชิญข้อจำกัดด้านสภาพคล่องอย่างรุนแรงในการชำระหนี้และภาระผูกพันทางการเงินอื่น ๆ แม้พยายามควบคุมค่าใช้จ่าย ประกอบด้วยการจอดเที่ยวบินทั้งหมด ลดเงินเดือน และลดค่าใช้จ่ายภายในกลุ่ม เมื่อประเมินจากฐานะการเงินในปัจจุบันและแนวโน้มอุตสาหกรรมการบินแล้ว บริษัทจะไม่สามารถชำระหนี้และภาระผูกพันทางการเงินอื่น ๆ ระยะสั้น ดังนั้นเพื่อเลี่ยงการต้องชำระบัญชีและเพื่อให้สายการบินบินได้อีกครั้ง ทางเลือกเดียวของแอร์เอเชียเอ็กซ์คือต้องปรับโครงสร้างธุรกิจและหนี้ของกลุ่ม และปรับปรุงรูปแบบการทำธุรกิจให้สามารถอยู่รอดในระยะยาว แอร์เอเชียเอ็กซ์ระบุด้วยว่า การปรับขนาดการบริหารงานและภาระผูกพันทางการเงินคือเงื่อนไขเบื้องต้นของการระดมทุนครั้งใหม่ ซึ่งจะประกอบด้วยหุ้นและหนี้สิน เพื่อสนับสนุนแผนธุรกิจที่ปรับใหม่ของบริษัท.-สำนักข่าวไทย