IMF ชี้เยนอ่อนค่าเร็วอาจกระทบเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัว

วอชิงตัน 25 เม.ย.- กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) เตือนว่า เงินเยนญี่ปุ่นที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ อาจเป็นอุปสรรคต่อการที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัวอย่างมั่นคงจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 นายรานิล ซัลกาโด หัวหน้าคณะทำงานด้านญี่ปุ่นของไอเอ็มเอฟให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเกียวโดนิวส์ของญี่ปุ่นเมื่อไม่นานมานี้ว่า เยนที่อ่อนค่าที่สุดในรอบ 20 ปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วสะท้อนภาพธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือบีโอเจ (BOJ) ที่ยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย สวนทางกับธนาคารกลางเศรษฐกิจใหญ่อื่น ๆ ที่พากันดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด เขามองว่า บีโอเจควรคงนโยบายนี้ต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะบรรลุเป้าหมายที่ร้อยละ 2 เพราะอัตราเงินเฟ้อจะลดลงทันทีที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์นำเข้าเริ่มลดลง อัตราเงินฟ้อญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากปีก่อน เร็วที่สุดในช่วง 2 ปี แต่ยังคงห่างจากเป้าหมายอยู่มาก อย่างไรก็ดี เยนที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็วอาจทำให้ความต้องการในประเทศลดลง และสินค้านำเข้ามีราคาแพงขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เยนเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงแล้วเกือบร้อยละ 15 ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม โดยหลุดแนวรับที่ 129 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐไปเมื่อวันพุธที่แล้ว ปกติแล้วเยนที่อ่อนค่าจะเป็นผลดีต่อการส่งออก เพราะจะทำให้ได้กำไรมากขึ้นเมื่อแลกเงินต่างประเทศกลับเป็นเงินเยน และทำให้สินค้าญี่ปุ่นมีราคาถูกเมื่อเทียบกับสินค้าประเทศอื่น แต่ขณะเดียวกันจะเป็นผลเสียต่อญี่ปุ่นที่ต้องนำเข้าพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ เพราะต้องจ่ายแพงขึ้น คาดว่าบีโอเจจะคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปในการประชุมวันพุธและวันพฤหัสบดีนี้.-สำนักข่าวไทย

คาดท่องเที่ยวโลกจะฟื้นตัวภายในปี 2566

สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก หรือดับเบิลยูทีทีซี (WTTC) คาดการณ์ว่า การเดินทางและการท่องเที่ยวโลกจะฟื้นตัวกลับไปอยู่ระดับก่อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระบาดได้ภายในปี 2566 ส่วนอาเซียนจะฟื้นตัวเต็มที่อย่างช้า ๆ

สาวเกาหลีใต้ ออกจากงานหลังแต่งงานมากถึง 1 ใน 6

โซล 23 พ.ย.-สำนักงานสถิติเกาหลีแจ้งว่า สตรีเกาหลีใต้ที่แต่งงานแล้วลาออกจากงานมากกว่า 1 ใน 6 ในปีนี้เพื่อเลี้ยงลูกและดูแลครอบครัว ขณะที่อัตราจ้างงานสตรีแต่งงานแล้วเพิ่มขึ้น สะท้อนว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว ข้อมูลของสำนักงานสถิติระบุว่า สตรีวัย 15-54 ปีที่ลาออกจากงานหลังแต่งงานมีจำนวน 1 ล้าน 4 แสน 5 หมื่นคนในเดือนเมษายนปีนี้ ลดลงร้อยละ 3.8 จากเดือนเมษายนปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.4 ของสตรีที่แต่งงานทั้งหมด 8 ล้าน 3 แสน 2 หมื่นคน ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 17.6 ในเดือนเมษายนปีก่อน ตัวเลขที่ลดลงในปีนี้ สอดล้องกับตัวเลขสตรีแต่งงานที่ลดลงเช่นเดียวกัน ในบรรดาสตรีที่ตัดสินใจลาออกจากงานหลังจากแต่งงาน ร้อยละ 43.2 ให้เหตุผลว่า เพื่อทุ่มเทเวลาให้แก่การเลี้ยงลูก ร้อยละ 27.4 บอกว่า เป็นเพราะแต่งงานมีครอบครัวแล้ว และร้อยละ 22.1 บอกว่าเป็นเพราะตั้งครรภ์และคลอดบุตร สตรีกลุ่มอายุ 30-39 ปี เป็นกลุ่มที่ลาออกจากงานหลังแต่งงานมากที่สุด ตามด้วยสตรีกลุ่มอายุ 40-49 […]

รมว. เอเปกชี้ค้าเสรีจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจจากโควิด

เวลลิงตัน 10 พ.ย.- รัฐมนตรีการค้าและรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกหรือเอเปก (APEC) เห็นพ้องกันในการประชุมแบบเสมือนจริงว่า การค้าเสรีและเศรษฐกิจแบบเปิดจะขับเคลื่อนเอเปกให้ฟื้นตัวจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 รัฐมนตรีจาก 21 สมาชิกเอเปกประชุมออนไลน์หารือเรื่องการรับมือกับโรคโควิด-19 ระหว่างวันที่ 8-9 พฤศจิกายน ก่อนที่จะมีการประชุมระดับผู้นำในวันที่ 13 พฤศจิกายน นายแดเมียน โอคอนเนอร์ รัฐมนตรีการค้านิวซีแลนด์ในฐานะเจ้าภาพการประชุมแถลงวันนี้ว่า ประเด็นสำคัญในการประชุมได้แก่ การสมัครใจระงับการให้เงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล การรับปากเปิดเสรีภาษีวัคซีนโควิดและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง และการเห็นพ้องกันอย่างกว้างขวางว่าจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการตั้งอุปสรรคทางการค้า เพราะการค้าที่เสรี เป็นธรรมและเปิดกว้างจะช่วยให้เศรษฐกิจเอเปกพ้นจากสถานการณ์การระบาด และขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก แม้โควิดทำให้เอเชียแปซิฟิกมีคนว่างงานมากถึง 81 ล้านคนและห่วงโซ่อุปทานถูกกระทบอย่างสำคัญ แต่เอเปกก็ไม่ยอมใช้นโยบายการปกป้องทางการค้า ด้านนางนาไนอา มาฮูตา รัฐมนตรีต่างประเทศนิวซีแลนด์ในฐานะเจ้าภาพการประชุมอีกคนแถลงว่า สมาชิกเอเปกเห็นพ้องกันว่าจะส่งสารที่ชัดเจนเรื่องระงับการเพิ่มเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล เพราะเอเปกเสียเงินอุดหนุนจำนวนมหาศาล  แต่ผลกระทบที่แท้จริงกลับเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมที่ทุกต้องต้องอาศัยอยู่ สำหรับประเด็นในการประชุมสุดยอดเอเปกวันเสาร์นี้ประกอบด้วย มาตรการเปิดประเทศโดยไม่ทำให้เชื้อไวรัสแพร่ระบาด การทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเท่าเทียม และการเดินหน้าไปสู่เศรษฐกิจปราศจากคาร์บอน.-สำนักข่าวไทย

“ไบเดน” จะขอให้ผู้ผลิตพลังงานใน G20 เพิ่มกำลังผลิต

โรม 30 ต.ค.- ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐจะขอให้ผู้ผลิตพลังงานในกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่หรือจี 20 (G20) ที่มีศักยภาพส่วนเกิน เพิ่มกำลังผลิตเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐกล่าวว่า ขณะนี้เป็นช่วงเวลาเปราะบางของเศรษฐกิจโลก สิ่งสำคัญคือการทำให้ปริมาณพลังงานโลกมีเพียงพอกับความต้องการใช้ ผู้ผลิตพลังงานหลายรายมีศักยภาพส่วนเกิน ประธานาธิบดีไบเดนจึงจะขอให้ประเทศเหล่านั้นเพิ่มกำลังผลิต อย่างไรก็ดี ผู้นำกลุ่มจี 20 จะไม่เจาะจงไปที่กลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันหรือโอเปก ซึ่งมีซาอุดีอาระเบียเป็นทั้งสมาชิกจี 20 และโอเปก และจะไม่กำหนดเป้าหมายการผลิตแต่อย่างใด สมาชิกกลุ่มจี 20 มีความเห็นต่างกันเรื่องสมาชิกที่ผลิตพลังงาน เช่น ซาอุดีอาระเบียและรัสเซียไม่ยอมเพิ่มกำลังการผลิตตามความต้องการของสมาชิกที่เป็นผู้นำเข้าพลังงานรายใหญ่ ในขณะที่ราคาน้ำมันและก๊าซปรับสูงขึ้น จนสร้างความวิตกเรื่องจะเกิดภาวะขาดแคลนและทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ประธานาธิบดีเอมานูว์แอล มาครงของฝรั่งเศสให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ เรียกร้องให้ที่ประชุมสุดยอดจี 20 ที่กรุงโรมของอิตาลีในวันที่ 30-31 ตุลาคมนี้ผลักดันให้ราคาพลังงานมีเสถียรภาพ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังโควิด-19 หลังจากราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปปรับขึ้นเกือบ 6 เท่าแล้วในปีนี้ เพราะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวขณะที่ปริมาณสำรองมีน้อย.-สำนักข่าวไทย

10 อุตสาหกรรมไทยส่งออกครึ่งหลังปีส่อแววฟื้นตัว

ส.อ.ท.ชี้แนวโน้ม 10 อุตสาหกรรมเด่นของไทยจะส่งออกครึ่งหลังปี 64 มีโอกาสฟื้นตัวได้ดี ย้ำมีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์ในปัจจุบัน

ชี้การท่องเที่ยวระหว่างประเทศยังไม่ฟื้นตัวก่อนปี 2023

สหประชาชาติกล่าววันนี้ว่า การท่องเที่ยวยังคงจะอยู่ในสภาพซบเซาในปีนี้ ยกเว้นในตลาดการท่องเที่ยวในประเทศตะวันตกบางแห่ง ทำให้ต้องเผชิญกับภาวะขาดทุน 2.4 ล้านล้านดอลาร์ และเชื่อว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศจะยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ก่อนปี 2023

เศรษฐกิจอังกฤษกำลังเดินหน้าสู่ภาวะฟื้นตัว

เศรษฐกิจของอังกฤษขยายตัวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ร้อยละ 2.1 ซึ่งสูงกว่าที่คาดหมายไว้ ซึ่งเป็นอีกหนี่งก้าวที่ทำให้คาดหมายว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ดีในปีนี้ หลังจากประสบภาวะซบเซาอย่างมากในปี 2020 เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

เศรษฐกิจจีนสร้างสถิติขยายตัวร้อยละ 18.7 ในไตรมาสแรก

เศรษฐกิจของจีนขยายตัวในอัตราที่สูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ หลังจากที่ประสบภาวะตกต่ำเมื่อปีที่แล้วจากปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศและการที่รัฐบาลสนับสนุนบริษัทขนาดเล็กอย่างต่อเนื่อง

คาดไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐจีนโตเกือบร้อยละ 19

ปักกิ่ง 14 เม.ย.- นักวิเคราะห์คาดว่า ไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวมากเป็นประวัติการณ์เพราะฟื้นตัวจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากการส่งออกและการบริโภคในประเทศ สำนักข่าวเอเอฟพีสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จาก 15 สถาบัน ได้ผลคาดการณ์โดยเฉลี่ยว่า ไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 18.7 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ส่วนปีนี้ทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 8.5 เพิ่มขึ้นมากจากปี 2563 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 นักเศรษฐศาสตร์ของมูดี้ส์ อะนาลิติกส์ชี้ว่า ดัชนีรายเดือนที่เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ล้วนชี้ตรงกันว่า เศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในไตรมาสแรกของปีนี้ ผลผลิตภาคการผลิตเติบโตอย่างมากเพราะความต้องการทั้งภายในและภายนอกประเทศยังคงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การเร่งฉีดวัคซีนจะช่วยให้ภาคบริการฟื้นตัว ตลาดแรงงานมีเสถียรภาพ และคนมีรายได้เพิ่มขึ้น นักเศรษฐศาสตร์ของราโบแบงก์ตั้งข้อสังเกตว่า ตัวเลขไตรมาสแรกปีนี้ของจีนสูงเป็นพิเศษเพราะเทียบกับตัวเลขไตรมาสแรกปีก่อนที่เป็นช่วงที่โรคกำลังระบาดทำให้ธุรกิจทั้งหมดหยุดชะงัก ด้านนักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันการเงินระหว่างประเทศระบุว่า การที่คนงานต่างถิ่นไม่เดินทางกลับบ้านในช่วงตรุษจีนตามคำขอของรัฐบาลเพราะเกรงนำเชื้อกลับไประบาดในชนบทมีส่วนช่วยให้การผลิตในไตรมาสแรกมีความต่อเนื่อง เทียบกับปีที่ผ่านมาที่มักลดลงเพราะคนงานกลับบ้าน ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเอเอ็นซีชี้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในจีนคึกคักมากหลังตรุษจีน ยอดค้าปลีกดีดตัวเพราะทางการยกเลิกมาตรการจำกัดภายในประเทศ และมีการเดินทางในประเทศมากขึ้น.-สำนักข่าวไทย

คาดปี 65 ธุรกิจครอบครัวฟื้นตัวจากโควิด-19

PwC ประเทศไทย เผยแนวโน้มผลการดำเนินงานธุรกิจครอบครัวฟื้นตัวจากโควิด-19 ในปี 65 โดยปีนี้ธุรกิจครอบครัวขนาดเล็กและบริษัทอื่น ๆ เสี่ยงผิดนัดชำระหนี้และอาจมีปิดกิจการเพิ่มขึ้น

ฮ่องกงมีสัญญาณภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น

ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของฮ่องกงที่ดำเนินมาเป็นเวลายาวนานเริ่มมีสัญญาณว่าจะดีขั้นในไตรมาสที่ 3 เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศและจากภายนอก ซึ่งได้แก่จีนที่เศรษฐกิจของจีนเริ่มปรับตัวดีขึ้น และจากการที่การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในฮ่องกงเริ่มลดลงและกิจกรรมในตลาดการเงินในฮ่องกงเริ่มคึกคัก

1 2 3 4
...