ชัวร์ก่อนแชร์ : กินปลาแถมปรอท จริงหรือ ?

26 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์คลิปเตือนว่า เชยแล้ว “กินปลาแล้วฉลาด” เพราะสมัยนี้ “กินปลาแถมปรอท” น่าตกใจ ไทย อันดับ 9 ของโลกนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร​์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี อาจารย์หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “จากคลิปเป็นการนำข้อมูลมาจากหลายแหล่ง มีการตัดต่อคำพูดจนทำให้ผู้บริโภคตระหนกตกใจ” สารปรอท มักพบปนเปื้อนอยู่ใน อากาศ น้ำ และดิน สาเหตุมาจากการเผาขยะ โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งสารปรอทสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายรูปฟอร์ม ได้แก่  Methyl Mercury และ Ethyl Mercury ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รวบรวมข้อมูลผลตรวจวิเคราะห์ปรอททั้งหมดในปลา ก็ไม่ได้พบค่าปนเปื้อนสูงกว่ามาตรฐาน แสดงว่าการรับประทานปลาของคนไทยยังคงมีความปลอดภัย สัมภาษณ์เมื่อ : 18 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ พบปลาหน้าเหมือนมนุษย์ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความว่ามีการค้นพบปลาที่มีใบหน้าเหมือนมนุษย์นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อเป็นภาพที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ (เอไอ-ปัญญาประดิษฐ์) และไม่เคยมีหลักฐานการค้นพบปลาชนิดดังกล่าว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factly.in ได้ตรวจสอบและเผยแพร่เมื่อ 2 ก.พ. 2567 ยืนยันว่า ไม่มีรายงานการค้นพบปลาดังกล่าว และทะเลสาบที่อ้างว่าชื่อ Samsara ก็ไม่มีอยู่จริง ขณะที่ sportskeeda ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อ 22 ม.ค. 2567 ก็ยืนยันในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ หากมีการค้นพบดังกล่าว จะต้องมีการรายงานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก แต่กลับไม่พบการรายงานข่าวอย่างกว้างขวางแต่อย่างใด และปลา Homo Piscis ที่กล่าวอ้างก็ไม่อยู่จริงแต่อย่างใด [เว็บตรวจสอบข้อเท็จจริง] https://factly.in/an-ai-generated-video-of-a-human-faced-fish-is-being-shared-as-real/https://www.sportskeeda.com/pop-culture/fact-check-is-homo-piscis-fish-real-fake-story-behind-human-faced-fish-explored ขณะที่ภาพประกอบในคลิปทั้งหมดนั้น ตรวจสอบย้อนรอยภาพ พบว่า มาจากช่อง YouTube ชื่อ Headtap Videos ซึ่งระบุคำอธิบายช่องว่าเป็น “การทดลองในด้านวิดีโอและกราฟิก” (Experiements in video and […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check Factsheet : รู้จัก และเข้าใจ “น้ำมันเครื่อง”

20 กุมภาพันธ์ 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องทำหน้าที่อะไร และมีให้เลือกใช้กี่รูปแบบ รวมทั้งควรดูแลรักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ น้ำมันเครื่องคืออะไร ? น้ำมันเครื่อง คือ สารหล่อลื่นที่ป้องกันไม่ให้ชิ้นโลหะเสียดสีกันทำหน้าที่เป็นฟิล์มเคลือบชิ้นส่วนโลหะ สามารถช่วยลดการเสียดสีและการสึกหรอของวัตถุโลหะขณะที่มีการเคลื่อนไหวของเครื่องยนต์ อีกทั้งช่วยระบายความร้อนให้ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ป้องกันการเกิดสนิม คราบตะกรันเหนียวที่อาจทำให้เกิดการอุดตันภายในชิ้นส่วนเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้ 1. น้ำมันเครื่องจากปิโตรเลียม  เป็นน้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ประมาณ 5,000 กิโลเมตร หรือไม่เกิน 6 เดือน  2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) เป็นน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้น้ำมันธรรมชาติเป็นฐานและเติมสารสังเคราะห์เพิ่ม เพื่อให้มีคุณสมบัติสูงขึ้น ใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กิโลเมตร หรือไม่เกิน 6 เดือน  3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ (Fully Synthetic) เป็นน้ำมันหล่อลื่นที่เป็นสารสังเคราะห์ดัดแปลง 100% มีสิ่งแปลกปลอมเจือปนน้อย ใช้งานได้ประมาณ 10,000-20,000 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนระวัง หลอดเลือดสมองแตกหลังอาบน้ำ จริงหรือ ?

19 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์ข่าวเตือนว่า ชายหลอดเลือดสมองแตกหลังอาบน้ำ เหตุเจออากาศเย็น ถูกส่งโรงพยาบาลพบความดันสูง หลอดเลือดสมองตีบ อันตรายถึงชีวิตนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวริสา วงศ์ภาณุวิชญ์ นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ อธิบายว่า ข้อมูลในเนื้อข่าวยังขาดข้อมูลปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น โรคประจำตัว การดื่มสุราเป็นประจำหรือไม่  “เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง ธรรมชาติของร่างกายจะมีกลไกขยายหรือหดตัวของหลอดเลือดที่ผิวหนัง เพื่อคุมให้อุณภูมิในร่างกายให้คงที่ เพราะฉะนั้นเมื่ออุณหภูมิที่ต่างกันมาก จะมีผลหลัก ๆ ที่เส้นเลือดที่ผิวหนังมากกว่าถึงหลอดเลือดที่อยู่ข้างในตัว” การอาบน้ำส่งผลต่อหลอดเลือดในสมองหรือไม่ ? การอาบน้ำไม่ได้ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดในสมองถึงจะมีอุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นจัด ก็ไม่เกี่ยวกับอาการหลอดเลือดในสมองแตกแต่อย่างใด ตามข่าวอาจเป็นความบังเอิญมาเกิดอาการหลอดเลือดในสมองแตกหลังอาบน้ำพอดี ในความเป็นจริง หลอดเลือดสมองสามารถแตกตอนไหนก็ได้ เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันแต่ไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลเกี่ยวข้องกัน ส่วนโรคเส้นเลือดในสมอง มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ที่ทำให้สมองอยู่ในภาวะขาดเลือด โดยอาจเกิดจากการที่หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน จากการที่มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ หรือไขมันที่สะสมเป็นเวลานาน เข้าไปขวางการไหลเวียนของเลือดที่จะเข้าไปเลี้ยงสมอง และอาจเกิดจากหลอดเลือดสมองปริแตก ฉีกขาด เพราะหลอดเลือดสมองอาจมีความเปราะบาง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัญหาการต่อขนตา

15 กุมภาพันธ์ 2567 ปัญหาจากการต่อขนตาปลอมที่พบได้มีอะไรบ้าง และเราควรสังเกต ป้องกัน และดูแลอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 มกราคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สังเกต-เยียวยา โรคแพนิก

16 กุมภาพันธ์ 2567 รู้ได้อย่างไร ว่าเข้าข่ายเป็นโรคแพนิก มีสัญญาณความเสี่ยงตรงไหนบ้าง และจะเยียวยารักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 21 ธันวาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : SIGHTONG ? — ความสัมพันธ์แบบผี ที่อยู่ดี ๆ ก็หายไป

17 กุมภาพันธ์ 2567 สิ่งนี้… เปรียบเสมือนผีในสังคมดิจิทัล และสิ่งนี้… กลายเป็นวิธีจบความสัมพันธ์ยอดนิยมของผู้คนสมัยใหม่ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 12 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วัคซีนที่ผู้สูงอายุควรฉีด

18 กุมภาพันธ์ 2567 วัคซีนที่ผู้สูงอายุควรได้รับมีอะไรบ้าง และมีความจำเป็นแค่ไหน ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล อุปนายก สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 1 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

พลาดท่าบอกข้อมูลโจร ทำยังไงดี ?  | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

15 กุมภาพันธ์ 2567 ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้มิจฉาชีพนั้นได้แฝงตัวอยู่เกือบทุกกิจกรรมการดำเนินชีวิต คอยหลอกล่อให้เราสูญเสียทั้งเงินและข้อมูลส่วนตัว  ทั้ง โทรศัพท์มาหลอก ส่ง SMS ปลอม  Line ปลอม  เว็บไซต์ปลอม รวมถึงเพจเฟซบุ๊กปลอม  หลายครั้งที่ช่องทางเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นอย่างแยบยล จนเราไม่ทันสังเกตเห็น ทำให้หลายคนพลาดท่าเสียข้อมูลส่วนตัวและทรัพย์สินให้กับโจรออนไลน์ จนเกิดความกังวลใจว่าแบบนี้มีความเสี่ยงอะไรหรือไม่ ? แล้วควรจะทำอย่างไรดี ?  วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 มีคำตอบจาก พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาคลายความกังวลให้ทุกคนกันค่ะ  ถาม : รับสายมิจฉาชีพไปแล้ว ทำอย่างไรดี ? “รับสายเบอร์แปลก มีโอกาสถูกแฮกข้อมูลหรือไม่”“รับมือเบอร์โทรศัพท์มิจฉาชีพ““มิจฉาชีพโทรมาควรทำอย่างไร” พล.ต.ต.นิเวศน์ ตอบ : แจ้งเครือข่ายโทรศัพท์ให้ทราบ เพื่อปิดเบอร์นั้น หากรับสายโทรศัพท์แล้วไม่มั่นใจว่าเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ แนะนำให้วางสาย และขอเป็นฝ่ายโทรศัพท์กลับ เพราะถ้าเป็นเบอร์ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่จริง แน่นอนว่าเราจะสามารถโทรศัพท์กลับไปหาได้  ถาม : เผลอบอกเลขบัญชีธนาคารไปแล้ว ต้องปิดบัญชีไหม ?“การที่บอกเลขที่บัญชี และชื่อบัญชีธนาคารของเราให้คนอื่นรู้ จะมีคนสามารถโจรกรรมบัญชีเราได้ไหม”“โดนหลอกให้ส่งเลขบัญชีไปเป็นไรไหมคะ”“ส่งบัตรประชาชน เลขที่บัญชี ให้คนแปลกหน้า อันตรายไหม”  […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แค่รับสาย ก็โดนดูดเงินหายได้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนว่า แก็งคอลล์เซ็นเตอร์ มีเทคโนโลยีใหม่ สามารถดูดเงิน โดยไม่ต้องกดลิงค์ หรือลงแอป นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด (ACIS) ได้รับการยืนยันว่า ในปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีในลักษณะดังกล่าว ที่เพียงแค่รับสาย แล้วจะดูดเงินออกจากบัญชีได้ สามารถติดตามรายละเอียดได้ : https://www.youtube.com/live/xq2Pjs9RDDY?si=J5VQemUc56ovb3ZG ด้าน TB-CERT ภายใต้สมาคมธนาคารไทย เผยแพร่ข้อมูลยืนยันว่า ปัจจุบันธนาคารไม่มีการใช้เสียงในการยืนยันตัวตนเพื่อโอนเงิน ดังนั้นเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริงและยังไม่พบเหตุการณ์ความเสียหายเกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าว ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ระบบของธนาคารมีการป้องกันและพัฒนาการพิสูจน์ยืนยันตัวตนอย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรการให้ยืนยันตัวตนผ่านการสแกนหน้า ควบคู่กับข้อมูลส่วนบุคคล และรวมถึงการกำหนดวงเงินในการทำธุรกรรม และ TB-CERT ภายใต้สมาคมธนาคารไทย รวมถึงธนาคารสมาชิก ได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection) ของลูกค้าทุกคน พร้อมปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการธนาคาร และสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและประชาชน [แถลงการณ์จาก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาแพ้แสง

11 กุมภาพันธ์ 2567 ภาวะตาแพ้แสงเป็นอย่างไร เกิดจากสาเหตุใด และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 มกราคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สรุปสิทธิทำฟัน ประกันสังคม

12 กุมภาพันธ์ 2567 – สรุปแล้วถือสิทธิประกันสังคม มีสิทธิทำฟันแบบไหนได้บ้าง แบบไหนมีวงเงิน แบบไหนไม่เกี่ยวกับวงเงิน แล้วถ้าอยากใส่ฟันปลอม ครอบคลุมแค่ไหน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 15 16 17 18 19 199
...