ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังขนมเค้กยัดยาทำให้เป็นอัมพาต จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความเตือน ระวังขนมเค้กที่ผลิตในอิสราเอลและส่งออกไปยังประเทศอาหรับ มียาเม็ดทำให้เป็นอัมพาต นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของตุรกี Teyit ได้ตรวจสอบ พบคลิปวิดีโอต้นฉบับเผยแพร่บน youtube ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2562 และคาดว่าวิดีโอดังกล่าวน่าจะถ่ายทำที่เคอร์ดิสถานทางตอนเหนือของอิรัก เนื่องจากตอนท้ายคลิปมีการใช้ภาษาโซรานี ซึ่งเป็นภาษาเคิร์ด และยี่ห้อไก่ “As Piliç” ที่อยู่ในตู้เย็น จำหน่ายอย่างแพร่หลายในภูมิภาคนั้น รวมถึงได้ตั้งข้อสังเกตว่า ขนมเค้กในวิดีโอมีร่องรอยของการถูกเจาะ สำหรับคลิปวิดิโอที่แชร์กันนั้น แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีความเป็นจริงมากเพียงใด หรือมีการหลอกลวงมากเพียงใด แต่หากมองในแง่โอกาสการจงใจสร้างวิดีโอเพื่อให้เกิดความตื่นตระหนก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทำ อาจจะใช้วิธีเปิดห่อขนมอีกด้านหนึ่ง เพื่อกดเม็ดยาเข้าไปในขนม จากนั้นปิดห่อกลับให้คล้ายเดิมแล้ววางไว้ใต้ขนมห่ออื่น และเมื่อถ่ายทำ ก็จงใจหยิบห่อที่ได้ดัดแปลงนั้นมาฉีกดู นอกจากนั้น หากมียาเม็ดในขนมเค้กที่มีลักษณะนุ่ม และวางขายเป็นอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวางระดับประเทศ เป็นไปได้ยากที่จะมีคลิปวิดีโอเพียงคลิปเดียว หรือขนมห่อเดียวถูกค้นพบ ขณะที่เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่าง snopes และ factly.in ก็ยืนยันในทางเดียวกันว่า ไม่จริงและไม่มีหลักฐานยืนยันว่ายาที่อยู่ในขนมนั้นทำให้เป็นอัมพาตได้ ในทางการแพทย์ ยาไม่สามารถทำให้เกิดโรคสมองพิการในเด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรง ด้านโฆษกบริษัทผู้ผลิตขนมเค้ก Luppo ได้ออกประกาศยืนยันว่า โรงงานมีกระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัย ใช้เครื่องจักรทุกขั้นตอน ปราศจากการสัมผัสด้วยมือของมนุษย์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดข้อห้ามและวิธีสังเกตอาการแมว จริงหรือ ?

13 พฤศจิกายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์สารพัดข้อห้ามและวิธีสังเกตอาการแมว ทั้งหนวดแมวห้ามตัด เพราะแมวใช้หนวดในการวัดระยะ รวมถึงอาเจียนและปัสสาวะของแมวนั้นบ่งบอกอาการบาดเจ็บของแมวได้ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.สพ.ญ.ดร.รสมา ภู่สุนทรธรรม หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.น.สพ.ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์ คณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ ม.เกษตรศาสตร์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สิ่งที่สามารถใช้แทนน้ำยาล้างรถได้ จริงหรือ ?

12 พฤศจิกายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ สิ่งของที่สามารถใช้แทนน้ำยาล้างรถได้ เช่น น้ำยาล้างจาน และ แชมพูสระผม เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามได้ใน ซีรีส์ ชัวร์ก่อนแชร์ มอเตอร์เช็ก กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.ดร ณัฐชา เพ็ชร์ยิ้ม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมีและวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สัมภาษณ์เมื่อ 17 กันยายน 2567 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปวดหัว ยิ่งกินยา ยิ่งติดยา จริงหรือ ?

11 พฤศจิกายน 2567 – ปวดหัวแค่ไหน ถึงควรใช้ยา จริงหรือไม่ ยิ่งปวดหัว ยิ่งกินยา ยิ่งติดยา และทำให้ยิ่งปวดหัวกว่าเดิม 🎯 ตรวจสอบกับ อ.นพ.ประกิต อนุกูลวิทยา อายุรแพทย์โรคระบบประสาท คลินิกโรคปวดศีรษะ สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรรมการชมรมศึกษาโรคปวดศีรษะ ภายใต้สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สายตายาวตามวัย

8 พฤศจิกายน 2567 – สายตายาวตามอายุจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เราจะแก้ไข หรือชะลอปัญหาสายตายาวได้ยังไงบ้าง ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 22 ตุลาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : TGBIAIN ? — ภัยอันตราย จากการล่อลวง !

9 พฤศจิกายน 2567 – สิ่งนี้…คือ ภัยอันตรายที่มิจฉาชีพมักใช้รางวัล หรือสิ่งตอบแทนมาเป็นเหยื่อล่อ และ สิ่งนี้ …เป็นหนึ่งในรูปแบบกลวิธีจิตวิทยา Social Engineering ที่ใช้หลอกลวงผู้คน คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน 🎯 ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ 5 กันยายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุ อาการ และการรักษาไข้เลือดออก

10 พฤศจิกายน 2567 – ไข้เลือดออกอาการเป็นอย่างไร ควรพบแพทย์เมื่อไหร่ และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สาเหตุของโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสแดงกี (Dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน ซึ่งออกหากินในเวลากลางวันและดูดเลือดคนเป็นอาหาร เมื่อยุงลายดูดเลือดจากผู้ป่วยในระยะที่มีไข้ เมื่อยุงที่มีเชื้อไปกัดคนอื่น เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ก่อนให้เกิดการติดเชื้อและป่วยตามมาหลังจากถูกกัดประมาณ 3-15 วัน ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้ การรักษา เนื่องจากยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับไวรัสแดงกี การรักษาตามอาการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยให้ยาพาราเซตามอล ในบ่วงที่มีไข้สูง ห้ามใช้ยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน เพราะจะทำให้เลือดออกรุนแรงขึ้น สัมภาษณ์เมื่อ : 22 ตุลาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ MotorCheck : คลิปน้ำมันฉุกเฉิน จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปที่แนะนำว่า เมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้หมดหรือหมดแล้ว ให้กดปุ่มเปิด-ปิดไฟฉุกเฉินติดกัน 3 ครั้ง เมื่อกดครบแล้ว จะมีน้ำมันฉุกเฉิน เพิ่มขึ้นมา เพื่อให้รถสามารถขับต่อไปได้ บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้ทำการตรวจสอบ และสอบถามไปยัง ดร.นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ยืนยันว่า คลิปนี้ไม่จริง ไม่สามารถเป็นไปได้ “เนื่องจากปุ่มที่กดในคลิปนั้น เป็นปุ่มเปิด-ปิด ไฟฉุกเฉิน ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้า และไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกับระบบวงจรไฟฟ้าของน้ำมันเชื้อเพลิงเลย คลิปนี้จึงไม่เป็นความจริง“ 10 พฤศจิกายน 2567 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดเมนูอาหารเช้าอันตราย จริงหรือ ?

6 พฤศจิกายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์สารพัดอาหารเช้าอันตราย ทั้งเตือน กาแฟและนมจืด ไม่ควรดื่มตอนท้องยังว่าง และปาท่องโก๋ที่เรากินกันนั้น มีแอมโมเนีย กินแล้วเสี่ยงไตพังได้ ?! 🎯 ตรวจสอบกับ วสุนธรี เสรีสุชาติ นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมโภชนาการวัยทำงานและสูงอายุ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย รศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ภญ.พิมพิกา กาญจนดำเกิง ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อ.ดร.อมรรัตน์ อรุณนวล คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ต.อ.หญิง สุรีรัตน์ จารุหทัย นายแพทย์ (สบ 4) กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลตำรวจ อ.นพ.วิทวัส แนววงศ์ อายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อฯ เบาหวาน ไทรอยด์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก ก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในรถยนต์

5 พฤศจิกายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติที่ใช้กับรถยนต์ว่า มาจากที่ใด มีกี่รูปแบบ และแต่ละแบบต่างกันอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญใน ชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 25 ตุลาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปวดหัวแบบคลัสเตอร์

4 พฤศจิกายน 2567 – ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ คือ โรคแบบใด อาการเป็นอย่างไร ใครมีความเสี่ยงจะเป็น และหากเป็นแล้ว จะดูแลรักษาอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อ.นพ.ประกิต อนุกูลวิทยา อายุรแพทย์โรคระบบประสาท คลินิกโรคปวดศีรษะ สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรรมการชมรมศึกษาโรคปวดศีรษะ ภายใต้สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : VERGEEN NPRO ? — ภัยคุกคาม เพื่อหวังแก้แค้น !

2 พฤศจิกายน 2567 สิ่งนี้…ถือเป็นความรุนแรงทางเพศบนโลกออนไลน์ เพื่อหวังแก้แค้น และ สิ่งนี้ …ผู้กระทำมักเป็นคนใกล้ชิด ที่เหยื่อที่เหยื่อให้ความรัก และไว้วางใจ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 4 กันยายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

1 2 3 199
...