หน่วงน้ำเจ้าพระยาให้ทุ่งป่าโมก-ผักไห่ได้เกี่ยวข้าว

กรุงเทพฯ 30 ส.ค. – อธิบดีกรมชลประทาน เผยจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา แต่จะหน่วงและชะลอการเพิ่มไว้จนกว่าข้าวนาปีของเกษตรกรทุ่งป่าโมกและผักไห่เก็บเกี่ยวหมดเพื่อลดผลกระทบ คาดแล้วเสร็จภายในอีก 1 สัปดาห์ ขณะที่ปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เนื่องจากน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำลดลงแล้ว นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า มีความจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เนื่องจากน้ำเหลือไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น โดยเช้านี้ปริมาณน้ำไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ 1,762 ลบ.ม./วินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ ซึ่งอยู่ที่ 1,678 ลบ.ม./วินาที อีกทั้งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติคาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์นี้ อาจมีปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้ต้องเพิ่มการระบายน้ำ วันนี้กรมชลประทานระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 1700 ลบ.ม/วินาที โดยจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนถึง 1,800 ลบ.ม/วินาที แต่การปรับเพิ่มจะทยอยปรับ โดยจะใช้เขื่อนเจ้าพระยาหน่วงน้ำไว้ให้ได้มากและนานที่สุด เพื่อให้พื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งป่าโมก จ.อ่างทอง และทุ่งผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เก็บเกี่ยวข้าวให้หมดก่อน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในสัปดาห์แรกของเดือน ก.ย.นี้ ปัจจุบันกรมชลประทานเพิ่มการรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อแบ่งการระบายผ่านเขื่อนเจ้าพระยา แต่ต้องรับในเกณฑ์ที่ไม่กระทบต่อพื้นที่เกษตรในทุ่งทั้ง 2 ฝั่งด้วย ส่วนน้ำที่ระบายผ่านเขื่อนเจ้าพระยาสู่พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างได้กำชับให้บริหารจัดการตลอดเส้นทางน้ำแต่ละพื้นที่แบบเชื่อมโยงกัน จนกระทั่งออกไปสู่ทะเลเพื่อป้องกันไม่ให้กระทบต่อประชาชน ส่วนเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี […]

ปรับลดระบายน้ำเขื่อนอุบลรัตน์คืนนี้

กรุงเทพฯ 29 ส.ค. – อธิบดีกรมชลประทาน ระบุเขื่อนอุบลรัตน์จะปรับลดการระบายน้ำลงชั่วคราว เพื่อให้กรมชลประทานซ่อมแซมและเสริมความแข็งแรงของพนังกั้นน้ำลำห้วยยาง ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของลำน้ำพอง จากนั้นจะกลับมาระบายในอัตราปัจจุบันเพื่อเร่งระบายน้ำแม่น้ำชีสู่แม่น้ำมูล ขณะที่การระบายน้ำแม่น้ำมูลออกสู่แม่น้ำโขงกำลังดำเนินการอย่างเต็มศักยภาพในจังหวะที่ระดับน้ำแม่น้ำโขงลดลงเพื่อให้มีพื้นที่รองรับน้ำจากฝนที่จะตกลงมาเพิ่ม นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า คณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำที่ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานทั้งกรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการระบายน้ำ (กทม.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ประชุมเพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่างๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ล่าสุด กฟผ. แจ้งปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น โดยก่อนหน้านี้ได้ปรับเพิ่มการระบายเป็นวันละ 25 ล้าน ลบ.ม. เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเกินเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ แต่เนื่องจากพนังกั้นน้ำของลำห้วยยาง ซึ่งเป็นสาขาลำน้ำพองด้านท้ายเขื่อนบริเวณรอยต่อ ต.ทุ่งโป่ง และโคกสูง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ชำรุดทำให้มีน้ำไหลเข้าสู่พื้นที่เกษตร ดังนั้น ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของคืนนี้จะทยอยปรับลดเหลือ 22 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน เพื่อให้กรมชลประทานซ่อมแซมพนังกั้นน้ำลำห้วยยางให้แล้วเสร็จ จากนั้นจะปรับเพิ่มเป็นอัตราวันละ 25 ล้าน ลบ.ม. […]

ฝนถล่มกรุงแต่เช้า “ชัชชาติ” ลงพื้นที่ น้ำท่วม-รถติดบางจุด

เช้าวันนี้ช่วง 7 โมง หลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ฟ้ามืดครื้ม มีฝนตกลงมาอย่างหนัก ผู้ว่าฯ กทม.ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ ด้านอธิบดีกรมชลประทานสั่งช่วยระบายน้ำกรุงเทพฯ-ปริมณฑล จากฝนที่ตกต่อเนื่องระยะนี้

กรมชลฯ ช่วยสูบน้ำจากกรุงเทพฯ ทยอยปรับเพิ่มระบายเขื่อนเจ้าพระยา

อธิบดีกรมชลประทานสั่งช่วยระบายน้ำกรุงเทพฯ -ปริมณฑลจากฝนที่ตกต่อเนื่องในระยะนี้ ย้ำคลองที่เชื่อมต่อกับคลองของกรุงเทพฯ รวมถึงคลองชายทะเลต้องพร่องน้ำรอ แล้วใช้ประตูระบายน้ำของกรมชลประทานช่วยสูบระบายน้ำออกอ่าวไทย ขณะที่เร่งระบายน้ำเหนือผ่านเขื่อนเจ้าพระยาและป่าสัก โดยอาจจะทยอยปรับการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเป็นอัตรา 1,800 เพื่อรองรับน้ำจากฝนที่จะตกเพิ่มในต้นเดือนก.ย. นี้

ซ่อมเขื่อนดินอ่างเก็บน้ำลำตะโคง จ. บุรีรัมย์เสร็จแล้ว

อธิบดีกรมชลประทานระบุ การซ่อมแซมทำนบดินอ่างเก็บน้ำลำตะโคง จังหวัดบุรีรัมย์ที่ถูกน้ำกัดเซาะแล้วเสร็จ พร้อมก่อสร้างทำนบชั่วคราวโอบล้อมอีกชั้นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออก ขณะนี้กำลังเตรียมเสริมความสูงและความแข็งแรงของทำนบเพื่อเก็บกักน้ำ กำชับให้เร่งสูบระบายน้ำออกจากพื้นที่เกษตรลุ่มต่ำ 1,100 ไร่ที่มีน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วม

ระบายน้ำเขื่อนแควน้อยฯ-ป่าสักฯ เพิ่ม

อธิบดีกรมชลประทานเผย ปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ทำหนังสือแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกให้ประชาสัมพันธ์ประชาชนรับทราบและเฝ้าระวังระดับน้ำท้ายเขื่อนที่จะสูงขึ้น 0.50-2.00 เมตร ส่วนเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ระบายน้ำในอัตรา 500 ลบ.ม.ต่อวินาทีซึ่งระดับน้ำท้ายเขื่อนจะสูงขึ้น 1.00-1.50 เมตร ย้ำเป็นการปรับเพิ่มเพื่อให้น้ำอ่างเก็บน้ำอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมและมีพื้นที่รองรับน้ำจากฝนที่จะตกเพิ่มขึ้นในเดือนก.ย. นี้

น้ำเจ้าพระยาทรงตัว เร่งสูบระบายน้ำอ่างทอง-อยุธยา

กรมชลประทาน ระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 1,500 ลบ.ม./วินาที ต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ระดับน้ำหน้าเขื่อนอยู่ในเกณฑ์ควบคุม ขณะที่ระดับน้ำท้ายเขื่อนเริ่มทรงตัว เร่งสูบระบายน้ำที่ท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำใน จ.อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

กรมชลฯ เปิดแผนรับน้ำรับหลาก-พายุปลายฤดูฝน

กรุงเทพฯ 24 ส.ค. – อธิบดีกรมชลประทานระบุ เดินหน้าตามแผนรับสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูน้ำหลากเดือนก.ย. -พ.ย. ที่อาจมีพายุจรเคลื่อนสู่ประเทศไทย เน้นบริหารจัดการน้ำต่อเนื่องตลอดลุ่มน้ำ “ต้นเก็บ-กลางหน่วง-ปลายระบาย” เพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ขณะเดียวกันเมื่อสิ้นสุดฤดูฝนต้องมีน้ำในอ่างเก็บน้ำเพียงพอใช้ตลอดฤดูแล้ง นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า ได้ดำเนินการตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนในปี 2565 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมรับสถานการณ์ช่วงฤดูน้ำหลากระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงขณะนี้ ปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติซึ่งเป็นค่าเฉลี่ย 30 ปีย้อนหลังประมาณ 16% กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) คาดการณ์ว่า จะมีพายุเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในเดือนกันยายน-ตุลาคมและมีทิศทางการเคลื่อนตัวผ่านพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือล่าง และภาคกลางตอนบน โดยคาดว่า จะส่งผลต่อปริมาณน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขณะนี้สั่งการให้โครงการชลประทานในพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่อยู่ตามเแนวร่องฝนและที่มีแนวโน้มว่า จะได้รับอิทธิพลจากพายุ โดยบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำแบบพลวัต (Dinamic Operation Curve) ซึ่งต้องสอดคล้องกับการคาดการณ์ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเนื่องจากคำนึงการเก็บกักน้ำให้มากที่สุด สำหรับการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำต่างๆ เป็นไปตามแนวทาง “ต้นเก็บ-กลางหน่วง-ปลายระบาย” คือ ต้นน้ำต้องเก็บน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำ กลางน้ำต้องหน่วงน้ำเพื่อไม่ให้น้ำเหนือไหลลงสู่ตอนล่างอย่างรวดเร็วเกินไปจนทำให้เกิดน้ำท่วม และปลายน้ำต้องเร่งระบายน้ำและพร่องน้ำในลำน้ำเพื่อรองรับน้ำจากพื้นที่ตอนบน นายประพิศกล่าวถึงสถานการณ์น้ำปัจจุบันว่า ปริมาณฝนบริเวณตอนบนของประเทศไทยลดลงจึงอาศัยจังหวะนี้เร่งระบายน้ำจากเขื่อนต่างๆ ได้แก่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์และเขื่อนอุบลรัตน์ซึ่งมีน้ำเกินเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ พร้อมกันนี้กำลังพิจารณาปรับเพิ่มการระบายจากเขื่อนจุฬาภรณ์และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลซึ่งปริมาณน้ำไหลเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด […]

เพิ่มระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เตือน 6 จังหวัดเฝ้าระวัง

กรมชลประทาน ทำหนังสือแจ้งเตือน 6 จังหวัด รวม กทม.และปริมณฑล ให้เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำป่าสัก เนื่องจากจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. เพื่อรองรับน้ำเหนือที่จะไหลลงมาจาก จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้น้ำแม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่เขื่อนพระรามหก ลงไปถึง อ.พระนครศรีอยุธยา มีระดับสูงขึ้น 1.00-1.50 เมตร

พร่องน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยา รับน้ำเหนือ

กรมชลประทาน พร่องน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อรองรับน้ำเหนือที่จะไหลลงมาเพิ่ม จึงปรับเพิ่มการระบายขึ้นอีก 50 ลบ.ม./วินาที จะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มขึ้นอีก 10 ซม. และไม่ขยายวงพื้นที่น้ำท่วมขัง ขณะเดียวกัน สั่งการให้โครงการชลประทานลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง พร้อมรับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูง ระหว่างวันที่ 24-29 ส.ค.นี้

ระดมทุกมาตรการระบายน้ำชี-มูล ป้องกันล้นตลิ่ง

อธิบดีกรมชลประทานระบุ เดินหน้าช่วยเหลือภาคอีสาน ระดมติดตั้งเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อเร่งระบายน้ำแม่น้ำชีและมูลออกสู่แม่น้ำโขง ป้องกันน้ำล้นตลิ่ง พร้อมสูบระบายน้ำที่ท่วมขังออกจากพื้นที่ ย้ำให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงเนื่องจากจะยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ระหว่าง 24-26 ส.ค. นี้ตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา 

น้ำเจ้าพระยา-ป่าสักทรงตัว คงระบายน้ำเขื่อน

อธิบดีกรมชลประทานระบุ ปริมาณน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาและป่าสักทรงตัวจึงคงอัตราการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ป่าสักชลสิทธิ์ รวมถึงพระรามหก พร้อมกางแผนป้องกันกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยพร่องน้ำคลองที่เป็นรอยต่อกับกรุงเทพฯ ให้มีระดับกว่าเกณฑ์เฝ้าระวังเพื่อให้มีพื้นที่รองรับน้ำเพิ่ม 

1 18 19 20 21 22 49
...