ซ่อมเขื่อนดินอ่างเก็บน้ำลำตะโคง จ. บุรีรัมย์เสร็จแล้ว

อธิบดีกรมชลประทานระบุ การซ่อมแซมทำนบดินอ่างเก็บน้ำลำตะโคง จังหวัดบุรีรัมย์ที่ถูกน้ำกัดเซาะแล้วเสร็จ พร้อมก่อสร้างทำนบชั่วคราวโอบล้อมอีกชั้นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออก ขณะนี้กำลังเตรียมเสริมความสูงและความแข็งแรงของทำนบเพื่อเก็บกักน้ำ กำชับให้เร่งสูบระบายน้ำออกจากพื้นที่เกษตรลุ่มต่ำ 1,100 ไร่ที่มีน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วม

ระบายน้ำเขื่อนแควน้อยฯ-ป่าสักฯ เพิ่ม

อธิบดีกรมชลประทานเผย ปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ทำหนังสือแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกให้ประชาสัมพันธ์ประชาชนรับทราบและเฝ้าระวังระดับน้ำท้ายเขื่อนที่จะสูงขึ้น 0.50-2.00 เมตร ส่วนเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ระบายน้ำในอัตรา 500 ลบ.ม.ต่อวินาทีซึ่งระดับน้ำท้ายเขื่อนจะสูงขึ้น 1.00-1.50 เมตร ย้ำเป็นการปรับเพิ่มเพื่อให้น้ำอ่างเก็บน้ำอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมและมีพื้นที่รองรับน้ำจากฝนที่จะตกเพิ่มขึ้นในเดือนก.ย. นี้

น้ำเจ้าพระยาทรงตัว เร่งสูบระบายน้ำอ่างทอง-อยุธยา

กรมชลประทาน ระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 1,500 ลบ.ม./วินาที ต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ระดับน้ำหน้าเขื่อนอยู่ในเกณฑ์ควบคุม ขณะที่ระดับน้ำท้ายเขื่อนเริ่มทรงตัว เร่งสูบระบายน้ำที่ท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำใน จ.อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

กรมชลฯ เปิดแผนรับน้ำรับหลาก-พายุปลายฤดูฝน

กรุงเทพฯ 24 ส.ค. – อธิบดีกรมชลประทานระบุ เดินหน้าตามแผนรับสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูน้ำหลากเดือนก.ย. -พ.ย. ที่อาจมีพายุจรเคลื่อนสู่ประเทศไทย เน้นบริหารจัดการน้ำต่อเนื่องตลอดลุ่มน้ำ “ต้นเก็บ-กลางหน่วง-ปลายระบาย” เพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ขณะเดียวกันเมื่อสิ้นสุดฤดูฝนต้องมีน้ำในอ่างเก็บน้ำเพียงพอใช้ตลอดฤดูแล้ง นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า ได้ดำเนินการตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนในปี 2565 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมรับสถานการณ์ช่วงฤดูน้ำหลากระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงขณะนี้ ปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติซึ่งเป็นค่าเฉลี่ย 30 ปีย้อนหลังประมาณ 16% กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) คาดการณ์ว่า จะมีพายุเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในเดือนกันยายน-ตุลาคมและมีทิศทางการเคลื่อนตัวผ่านพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือล่าง และภาคกลางตอนบน โดยคาดว่า จะส่งผลต่อปริมาณน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขณะนี้สั่งการให้โครงการชลประทานในพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่อยู่ตามเแนวร่องฝนและที่มีแนวโน้มว่า จะได้รับอิทธิพลจากพายุ โดยบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำแบบพลวัต (Dinamic Operation Curve) ซึ่งต้องสอดคล้องกับการคาดการณ์ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเนื่องจากคำนึงการเก็บกักน้ำให้มากที่สุด สำหรับการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำต่างๆ เป็นไปตามแนวทาง “ต้นเก็บ-กลางหน่วง-ปลายระบาย” คือ ต้นน้ำต้องเก็บน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำ กลางน้ำต้องหน่วงน้ำเพื่อไม่ให้น้ำเหนือไหลลงสู่ตอนล่างอย่างรวดเร็วเกินไปจนทำให้เกิดน้ำท่วม และปลายน้ำต้องเร่งระบายน้ำและพร่องน้ำในลำน้ำเพื่อรองรับน้ำจากพื้นที่ตอนบน นายประพิศกล่าวถึงสถานการณ์น้ำปัจจุบันว่า ปริมาณฝนบริเวณตอนบนของประเทศไทยลดลงจึงอาศัยจังหวะนี้เร่งระบายน้ำจากเขื่อนต่างๆ ได้แก่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์และเขื่อนอุบลรัตน์ซึ่งมีน้ำเกินเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ พร้อมกันนี้กำลังพิจารณาปรับเพิ่มการระบายจากเขื่อนจุฬาภรณ์และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลซึ่งปริมาณน้ำไหลเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด […]

เพิ่มระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เตือน 6 จังหวัดเฝ้าระวัง

กรมชลประทาน ทำหนังสือแจ้งเตือน 6 จังหวัด รวม กทม.และปริมณฑล ให้เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำป่าสัก เนื่องจากจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. เพื่อรองรับน้ำเหนือที่จะไหลลงมาจาก จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้น้ำแม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่เขื่อนพระรามหก ลงไปถึง อ.พระนครศรีอยุธยา มีระดับสูงขึ้น 1.00-1.50 เมตร

พร่องน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยา รับน้ำเหนือ

กรมชลประทาน พร่องน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อรองรับน้ำเหนือที่จะไหลลงมาเพิ่ม จึงปรับเพิ่มการระบายขึ้นอีก 50 ลบ.ม./วินาที จะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มขึ้นอีก 10 ซม. และไม่ขยายวงพื้นที่น้ำท่วมขัง ขณะเดียวกัน สั่งการให้โครงการชลประทานลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง พร้อมรับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูง ระหว่างวันที่ 24-29 ส.ค.นี้

ระดมทุกมาตรการระบายน้ำชี-มูล ป้องกันล้นตลิ่ง

อธิบดีกรมชลประทานระบุ เดินหน้าช่วยเหลือภาคอีสาน ระดมติดตั้งเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อเร่งระบายน้ำแม่น้ำชีและมูลออกสู่แม่น้ำโขง ป้องกันน้ำล้นตลิ่ง พร้อมสูบระบายน้ำที่ท่วมขังออกจากพื้นที่ ย้ำให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงเนื่องจากจะยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ระหว่าง 24-26 ส.ค. นี้ตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา 

น้ำเจ้าพระยา-ป่าสักทรงตัว คงระบายน้ำเขื่อน

อธิบดีกรมชลประทานระบุ ปริมาณน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาและป่าสักทรงตัวจึงคงอัตราการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ป่าสักชลสิทธิ์ รวมถึงพระรามหก พร้อมกางแผนป้องกันกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยพร่องน้ำคลองที่เป็นรอยต่อกับกรุงเทพฯ ให้มีระดับกว่าเกณฑ์เฝ้าระวังเพื่อให้มีพื้นที่รองรับน้ำเพิ่ม 

เตรียมปรับเพิ่มระบายน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

กรมชลประทาน เตรียมปรับเพิ่มการระบายน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ให้ปริมาณน้ำในอ่างอยู่เกณฑ์เหมาะสม พร้อมเดินเครื่องผลักดันน้ำ เร่งระบายน้ำในแม่น้ำชี รวมถึงลำน้ำยังและลำน้ำปะทาว ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาตามการแจ้งเตือนของ กอนช.

เตรียมแผนป้องกันน้ำท่วม อ.วารินชำราบ-เมืองอุบลฯ

อธิบดีกรมชลประทานเผย กำลังเร่งติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 100 เครื่องเพื่อเร่งระบายน้ำแม่น้ำมูลออกสู่แม่น้ำโขง โดยจะเดินเครื่องได้ในอีก 2 วัน โดยมีแผนติดตั้งเพิ่มอีก 200 เครื่อง พร้อมเตรียมกระสอบทรายและเครื่องสูบน้ำไว้ใช้ป้องกันน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมอ. วารินชำราบและอ. เมือง จ. อุบลราชธานี ล่าสุดแขวนบานระบายน้ำเขื่อนลำโดมใหญ่ที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูลแล้วเพื่อช่วยระบายน้ำที่ท่วมขังพื้นที่เกษตรริมลำน้ำโดมใหญ่

ปรับเพิ่มระบายน้ำเขื่อนป่าสัก ระดับน้ำจะสูงขึ้น 1.90-2.00 เมตร

กรมชลประทานแจ้งเตือน 3 จังหวัดท้ายเขื่อนป่าสักให้เฝ้าระวังระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน 1.90-2.00 เมตรเนื่องจากการปรับเพิ่มการระบายน้ำเขื่อนป่าสักเพิ่ม โดยปรับแบบขั้นบันไดจาก 280 ลูกบาศก์เมตร/วินาทีเป็น 400 ลูกบาศก์เมตร/วินาทีในวันพรุ่งนี้

ยกประตูระบายน้ำทุกเขื่อนเร่งระบายน้ำชีออกสู่โขง

อธิบดีกรมชลประทานเผย กำลังเร่งระบายน้ำจากแม่น้ำชีจากตอนบนของลุ่มน้ำออกสู่แม่น้ำโขง โดยยกบานระบายน้ำของเขื่อนทุกเขื่อน พร้อมติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำเพื่อเร่งอัตราการไหล

1 19 20 21 22 23 50
...