กรมอนามัยห่วงเสิร์ฟอาหารในรถ ที่แคบ กินรวมกันเสี่ยงโควิด-19

กรมอนามัย ห่วงบริการอาหารแบบใหม่ เสิร์ฟในรถส่วนตัว เหตุเป็นพื้นที่แคบ อากาศไม่ถ่ายเท กินรวมกัน อาจทำให้เสี่ยงโควิด-19 เน้นซื้อกลับไปกินบ้านปลอดภัยมากกว่า

กรมอนามัย แนะศูนย์เด็กเล็กเข้มป้องกันโควิด-19 ยกการ์ดสูง

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะแนวทางสำหรับศูนย์เด็กเล็กปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงแพร่ระบาดโรค

กรมอนามัยแนะรับส่งพัสดุปลอดภัยจากโควิด

สธ. 20 เม.ย.-กรมอนามัย แนะผู้ประกอบการ พนักงานคลังสินค้าและส่งพัสดุภัณฑ์ ผู้รับบริการรับส่งสินค้าอาหาร เข้มปฏิบัติตามแนวทางด้านสาธารณสุข ป้องกันโควิด-19 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) สนับสนุนให้ประชาชนทำงานที่บ้าน (Work from home) เพื่อลดการเคลื่อนย้าย และความเสี่ยงในการติดและแพร่ระบาดของเชื้อ อาจทำให้มีการสั่งของออนไลน์ ประเภทอาหาร พัสดุภัณฑ์ และรับสินค้าประเภทต่างๆ กันมากขึ้น กรมอนามัยจึงมีคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการขนส่งสินค้า โดยให้มีการคัดกรองพนักงานและผู้มาติดต่อทุกวัน สวมหน้ากากตลอดเวลาที่ทำงาน จัดให้มีจุดล้างมือ พร้อมสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์สำหรับพนักงานให้เพียงพอ กำหนดระยะห่างระหว่างปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 เมตร ทำความสะอาดจุดที่ต้องสัมผัสร่วมกันบ่อยๆ จำกัดคนที่เข้ามาในสถานที่ โดยอาจจัดบริเวณที่รับ-ส่งของเฉพาะ พร้อมทั้งบันทึกผู้เข้ามาในสถานที่ทุกคน และจัดให้มีการระบายอากาศที่ดี สำหรับพนักงานปฏิบัติหน้าที่คลังสินค้า และพนักงานส่งพัสดุภัณฑ์ ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยให้ปิดทั้งจมูกและปาก ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน ล้างมือบ่อยๆ รักษาระยะห่างจากคนอื่นในระยะ 1 เมตร ส่วนประชาชนทั่วไปที่เป็นผู้รับของ เมื่อสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์มาส่งให้สวมหน้ากากทุกครั้งเมื่อรับ-ส่งสินค้า และล้างมือให้สะอาด ด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮออล์ ภายหลังรับและเปิดสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ […]

กรมอนามัย ย้ำ ‘สถานีขนส่ง – ปั๊มน้ำมัน’ ล้างจุดเสี่ยงในส้วม

​กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะปั๊มน้ำมัน ร้านอาหาร ล้างส้วมให้สะอาดรองรับการเดินทางกลับของประชาชนหลังเทศกาลสงกรานต์ เน้นย้ำจุดที่มีการสัมผัสบ่อย ลดเสี่ยงโควิด-19

งดนั่งแช่ในร้านอาหารเลี่ยงโควิด

สธ.4 ม.ค.- อธิบดีกรมอนามัย แจงประกาศ กทม.ห้ามนั่งร้านรับประทานอาหาร ช่วงค่ำถึงเช้า 19.00-06.00 น. หวังคุมพฤติกรรม คนนั่งเมาท์กินนานติดโควิด ย้ำสถานการณ์ไม่ปกติ ของดนั่งแช่ในร้าน เข้าร้านเช็คอินไทยชนะ กินอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้เวลาทานให้เร็ว จ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยรอดโควิด นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขกล่าวถึงมติคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ห้ามรับประทานในร้านอาหารตั้งแต่ เวลา 19.00-06.00 น.ว่า ประกาศดังกล่าวเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับพฤติกรรมของคนที่ส่วนใหญ่มักนิยมพบปะสังสรรค์รับประทานอาหารกันในช่วงเย็นและพบว่าส่วนใหญ่คนมักทานมื้อเย็นเป็นมื้อหนัก ใช้เวลารับประทานนาน สำหรับประชาชนทั่วไปที่จะเข้าไปใช้บริการร้านอาหารในช่วงเวลา 06.00-19.00 น.นั้น ก็ขอให้คำนึง ใน 3 ข้อ ได้แก่ 1.ทางร้านมีมาตรการคัดกรอง วัดไข้ จัดบริการเจลล้างมือ 2.เว้นระยะห่างหรือไม่ ต้องมีการจัดวางโต๊ะ ไม่ให้แออัด 3. ต้องมีการเช็คอินไทยชนะเสมอ สิ่งนี้ถือเป็นหลักในการปฏิบัติตัว นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า สำหรับร้านอาหารเอง ผู้ปรุงอาหารต้องมีการ สวมถุงมือ ผ้ากันเปื้อนหมวกคลุมและจัดช้อนกลางไว้บริการเสมอ มีการทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส ส่วนการชำระเงินตอนนี้ขอให้คิดว่าสถานการณ์ไม่ปกติ ทุกคนมีความเสี่ยง ขอให้เลือกการชำระด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์แทน […]

กรมอนามัยย้ำ “อาหารทะเล” บริโภคได้

กรมอนามัยลงพื้นที่สำรวจมาตรฐานความสะอาด และความสดสินค้าอาหารทะเล ที่ห้างขายส่ง ย้ำอาหารทะเลบริโภคได้ตามปกติ ไม่ติดโควิด

ซื้อเสื้อกันหนาวมือสอง เสี่ยงสะสมโรค

กรุงเทพฯ 13 พ.ย.- กรมอนามัย ย้ำประชาชนที่นิยมใช้เสื้อกันหนาวมือสอง แนะก่อนใช้ต้องซักทำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับเสื้อผ้า ป้องกันโรคกลาก เกลื้อน ภูมิแพ้ และผิวหนัง นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ช่วงหน้าหนาวประชาชนส่วนใหญ่นิยมหาซื้อเสื้อกันหนาวมือสองตามตลาดนัดทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดเนื่องจากราคาถูก รูปแบบทันสมัย โดยบางส่วนนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีการใช้แล้ว รวมถึงจากการรับบริจาค สอดคล้องกับข้อมูลของกรมศุลกากรที่พบว่าในช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน 2563 มีปริมาณการนำเข้าเสื้อผ้าและของอื่นๆ ที่ใช้แล้ว จำนวนถึง 54,512 ตัน จึงต้องใส่ใจเรื่องการเลือกซื้อเสื้อกันหนาวมือสองเป็นพิเศษ โดยควรเลือกซื้อจากร้านที่สะอาดปลอดภัย ไม่วางเสื้อผ้ากองไว้กับพื้น ไม่แขวนเสื้อผ้าติดกันจนแน่น ขณะเลือกซื้อควรสวมหน้ากากปิดปากปิดจมูกเพื่อป้องกันการสูดฝุ่นละอองที่มากับเสื้อผ้า เลือกเสื้อผ้ามีสภาพดี ตรวจสอบรอยด่างดำ รอยคราบสารคัดหลั่ง รวมไปถึงไม่มีกลิ่นอับชื้น หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่ทำจากหนังสัตว์ ขนสัตว์ ประเภทขนฟู เนื่องจากทำความสะอาดยาก อาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้ นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า เสื้อผ้าที่ไม่ผ่านการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี อาจทำให้ผู้ซื้อเสี่ยงต่อการเกิดโรคกลากเกลื้อน ซึ่งจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง มีขุยรอบๆและมีอาการคัน ทำให้เป็นผื่นแพ้ และติดเชื้อหรืออาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ทั้งที่เกิดจากฝุ่นใยผ้าและฝุ่นที่ติดตามกระสอบบรรจุระหว่างการขนส่ง หรือจากการแพ้น้ำยารีดผ้าเรียบที่ใช้รีดก่อนจำหน่าย ซึ่งจะใช้น้ำยาที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้ระคายเคืองผิวหนังได้ โดยเฉพาะผู้เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วอาจเกิดอาการรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งอาจเกิดโรคผิวหนังจากพาหะนำโรคที่ชอบอาศัยอยู่ในใยผ้าที่สกปรก ได้แก่ เห็บ […]

เด็กเล็กติดจอมือถือ เสี่ยงพัฒนาการช้า

กรมอนามัย 3 พ.ย.-กรมอนามัย เตือนเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี หลีกเลี่ยงการใช้สื่อมีจอทุกชนิด “มือถือ-แท็บเล็ต-โทรทัศน์” อาจส่งผลให้พัฒนาการล่าช้าในหลายด้าน เน้นการใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว ช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่ดีของเด็กได้ นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ทุกวันนี้หลายๆ ครอบครัวมักนำเทคโนโลยีเข้ามาเลี้ยงลูกกันมากขึ้น หรือปล่อยให้เด็กอยู่กับสื่อเทคโนโลยี เช่น มือถือ แท็บเล็ต หรือให้ดูทีวีทั้งวัน เพื่อให้สงบนิ่งหรือหยุดร้องไห้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะในเด็กวัยต่ำกว่า2ปี ไม่ควรเล่นหรือดูสื่อเหล่านี้เด็ดขาด เพราะมีผลทำให้พัฒนาการล่าช้า และในเด็กแรกเกิดถึง 3ปีเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุด ในการเรียนรู้ เนื่องจากสมองของเด็กจะพัฒนาสูงสุด ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมโดยรอบจะเป็นตัวกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมองในช่วงต้น หากปล่อยให้เด็กใกล้ชิดสื่อเหล่านี้มากเกินไปโดยไม่กำหนดเวลาดูหรือเลือกสื่อ ที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลเสียหลายด้าน คือ1) ด้านการสื่อสาร พูดช้า พูดไม่ชัด ขาดความคิดสร้างสรรค์ และ การจ้องมองจอภาพเป็นเวลานานจะส่งผลเสียกับดวงตาได้ เช่น ทำให้สายตาสั้น ดวงตาแห้ง2) ด้านร่างกาย จะไม่แข็งแรง เหนื่อยง่าย ขาดการเคลื่อนไหวออกกำลังกายตามที่ควรจะเป็นหรืออาจส่งผลให้เป็นเด็กขี้เกียจได้3) ด้านอารมณ์ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ เพราะเด็กแยกแยะโลกของอินเทอร์เน็ตกับความจริงไม่ได้ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน รอคอยไม่เป็น […]

ลอยกระทงออนไลน์ ยุคโควิดลดเสี่ยงโรค

กรมอนามัย 28 ต.ค.-กรมอนามัย แนะประชาชนลอยกระทงออนไลน์ใน ช่วงการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 อย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการเพิ่มปริมาณขยะ นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์การเฝ้าระวังโรคโควิด-19 การจัดงานประเพณีลอยกระทงตามสถานที่ต่างๆ จะทำให้มีการรวมตัวของกลุ่มคนเป็นจำนวนมากและใกล้ชิดกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของโรคโควิด-19ได้ ดังนั้น ประชาชนยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 โดยยึดหลักสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง1-2เมตรและล้างมือด้วยสบู่และน้ำบ่อย ๆ กรมอนามัยแนะนำให้ประชาชนเลือกลอยกระทงออนไลน์ เพื่อลดเสี่ยงโรคโควิด-19 และช่วยลดปริมาณขยะ สำหรับประชาชนที่ต้องการออกไปลอยกระทงนอกบ้าน ให้เลือกกระทงให้เหมาะกับแหล่งน้ำที่จะไปลอย เช่นกระทงขนมปังหรือกระทงกรวยไอศกรีม ควรลอยในแหล่งน้ำที่มีปลา กระทงหยวกกล้วยเหมาะกับแหล่งน้ำที่มีเจ้าหน้าที่เก็บขนขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เช่น นำไปหมักทำปุ๋ย เลือกกระทงที่ทำจากวัสดุจากธรรมชาติ เก็บขนได้ทัน ไม่เป็นมลพิษต่อแหล่งน้ำ ป้องกันน้ำเน่าเสีย เช่น ทำจากหยวกกล้วย ใบตอง และไม่ใช้วัสดุหลากหลายเกินไป เพื่อลดภาระการคัดแยกก่อนนำไปกำจัด เลี่ยงกระทงที่มีเข็มหมุด พลาสติก โฟม เพราะย่อยสลายยากและเป็นขยะในแหล่งน้ำได้ นอกจากนี้ ควรลดขนาดกระทงให้เล็ก เพราะใช้วัสดุน้อยกว่า หากมาเป็นครอบครัว กลุ่มเพื่อน มาเป็นคู่หรือมากับแฟน ให้ลอยกระทงร่วมกันโดยใช้ 1 กระทง เป็นการสานสัมพันธ์ที่ดี เพื่อช่วยกันลดปริมาณขยะ ลดมลพิษ […]

โควิดกระทบโภชนาการเด็กไทย

กรมอนามัย 9 ต.ค.-สถานการณ์โรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อโภชนาการของเด็กไทยและทุกกลุ่มวัย จากการใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น กินอาหารไม่หลากหลาย กรมอนามัยจัดแอปพลิเคชัน FoodChoice สร้างความรอบรู้ด้านโภชนาการ และความปลอดภัยทางอาหาร นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14 ณ โรงพยาบาลเทพธารินทร์ กรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแสดงความห่วงใยต่อภาวะโภชนาการของเด็กไทย เนื่องจากพบทั้งเด็กอ้วนและเด็กขาดสารอาหาร เด็กอ้วนก็พบว่ามีฟันผุ อาจเกิดจากพฤติกรรมการกินในโรงเรียน เช่น ขนมและน้ำหวาน และทรงห่วงใยต่อปัญหาโรคขาดสารอาหาร โดยเฉพาะสารอาหารสำคัญ เช่น ไอโอดีน และธาตุเหล็ก เป็นต้น จึงเป็นภารกิจของกรมอนามัยที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ลดน้อยลง ซึ่งจากข้อมูลภาวะโภชนาการของคนไทยพบว่า เด็ก 0-5 ปี มีภาวะเตี้ยร้อยละ 12.9 ภาวะ เริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 9.9 ส่วนเด็กวัยเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนมากขึ้น ร้อยละ 13.1 และเตี้ยร้อยละ 9.9 ประกอบกับสถานการณ์โรคโควิด- 19 ในประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างมากต่อโภชนาการของเด็ก […]

1 17 18 19 20 21 35
...