ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 โรค 2 ภัย ที่ทุกวัยต้องระวังช่วงฤดูร้อน

ช่วงนี้ประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด แดดแรง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อที่ปนเปื้อนในน้ำและอาหาร ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขอนามัย และนำไปสู่โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง นอกจากนี้ สภาพอากาศที่ร้อนจัดยังอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางอ้อมได้อีกด้วย การตระหนักรู้และป้องกันอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการเฝ้าระวัง “3 โรค 2 ภัย” ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และรักษาคุณภาพชีวิตของตนเองและคนรอบข้างให้ปลอดภัย 3 โรค ต้องระวัง! 1. โรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)โรคอาหารเป็นพิษ นับเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสบางชนิดได้เป็นอย่างดี หากบริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้เข้าไป อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และนำไปสู่ภาวะเจ็บป่วยได้ สาเหตุ : เกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสโปรโตซัว หรือสารพิษที่สร้างจากเชื้อแบคทีเรีย ความรุนแรงของโรคอาจทำให้เสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดและปริมาณของเชื้อก่อโรค อาการมักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันหลังรับประทานอาหารปนเปื้อน ได้แก่– คลื่นไส้– อาเจียน– ปวดท้อง– อาจถ่ายเหลว จากข้อมูลโรคอาหารเป็นพิษย้อนหลัง 5 ปี (ระหว่างปี พ.ศ. […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ฮีตสโตรก ทำไมต้องอย่าให้หัวร้อน

เมื่ออุณหภูมิพุ่งสูงจนร่างกายปรับตัวไม่ทัน สิ่งที่เราต้องเผชิญอาจไม่ใช่แค่ความไม่สบายตัว แต่คือภัยเงียบที่แฝงตัวอยู่ภายใต้แสงแดดจ้า นั่นคือ “ฮีตสโตรก” ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อนจัดอย่างที่ประเทศไทยกำลังเผชิญในขณะนี้ การรู้เท่าทัน ป้องกัน และรับมืออย่างถูกวิธี จึงอาจเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยรักษาชีวิตของคุณและคนรอบข้างเอาไว้ได้ โรคฮีตสโตรกเกิดตอนไหน?“โรคฮีตสโตรก” (Heatstroke) โรคลมร้อน เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิความร้อนสูงมาก โดยเฉพาะอุณหภูมิที่มากกว่า 40 องศาเซลเซียส จนทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ โรคฮีตสโตรก แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ1. โรคฮีตสโตรกทั่วไป (classical or nonexertional heat stroke; NEHS)– พบในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง– เกิดจาก การอยู่ในสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง ทำให้กลไกการระบายและควบคุมความร้อนทำงานล้มเหลว ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนจึงมีอุณหภูมิแกนของร่างกายสูงขึ้นเกิน 40 องศาเซลเซียส  2. โรคฮีตสโตรกจากการออกกำลังกาย (exertional heat stroke; EHS)– พบในวัยหนุ่มสาว– เกิดจาก การทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายอย่างหนักกลางแจ้งเป็นเวลานานหรือในสภาพอากาศร้อนจัด ทำให้เพิ่มการสร้างความร้อนของร่างกายมากกว่าที่ร่างกายจะสามารถระบายความร้อนได้ทัน จนกระทั่งอุณหภูมิแกนของร่างกายสูงขึ้นเกิน 40 องศาเซลเซียส จากการรวบรวมรายงานการเสียชีวิตที่อาจจะเกี่ยวข้องกับความร้อน จากภาวะอากาศร้อนในปี […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หมอสั่งสูงวัย “ห้ามล้ม”

13 เมษายน “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” อย่าลืมใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ “การหกล้ม” ปัญหาใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม อาจนำไปสู่อาการบาดเจ็บรุนแรง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ ผู้สูงอายุหกล้มทุกปีข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุ 60 ปี หกล้มทุกปี ซึ่งการหกล้มเพียงครั้งเดียวนั้น อาจส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บรุนแรง นำไปสู่ภาวะทุพพลภาพหรือจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การหกล้ม1. ปัจจัยเสี่ยงด้านร่างกายอันดับที่ 1 โรคประจำตัว เช่น อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด จากโรคความดันโลหิต หรือภาวะปลายประสาทเสื่อมจากโรคเบาหวาน เป็นต้นอันดับที่ 2 การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ทำให้ระบบกล้ามเนื้อและการทรงตัว รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายไม่แข็งแรงอันดับที่ 3 ภาวะขาดสารอาหาร เช่น การขาดโปรตีน ธาตุอาหาร วิตามินอันดับที่ 4 การบาดเจ็บของเท้า ที่ส่งผลให้ประสาทสัมผัสการรับรู้บกพร่อง 2. ปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมจากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 65 หกล้มภายในบ้าน โดยสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น– พื้นลื่น/มีสิ่งกีดขวาง มองไม่เห็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : โดนสาดไม่ใช่แค่เปียก สงกรานต์นี้ระวัง 5 โรคแอบแฝง

เข้าสู่เทศกาลสงกรานต์อย่างเป็นทางการ หลายคนออกไปร่วมสนุกกับกิจกรรมสาดน้ำอย่างชุ่มฉ่ำทั่วประเทศ ทั้งคลายร้อนทั้งสร้างรอยยิ้ม แต่ท่ามกลางความสนุกนั้น อย่าลืมใส่ใจเรื่องความปลอดภัย เพราะอาจมีเชื้อโรคแอบแฝงมาโดยไม่รู้ตัว และ ก่อน-ระหว่าง-หลัง เล่นน้ำควรทำอย่างไรให้ปลอดภัยลดความเสี่ยง ควบคู่กับความสนุกเย็นฉ่ำ อย่าลืมว่า “น้ำ” ก็อาจทำหน้าที่เป็นตัว “นำ” พาเชื้อก่อโรคมาสู่ร่างกายเราได้ และหากเล่นน้ำกลางแดดเปรี้ยงก็อาจเสี่ยงป่วยได้!มาทำความรู้จักกับ 5 โรคที่แอบแฝง ที่ควรระวังในช่วงสงกรานต์นี้ เพื่อให้สนุกได้อย่างมั่นใจ และปลอดภัยตลอดเทศกาล 1. โรคตาแดงโรคตาแดง (Red Eye) คือภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณตาขาว ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะในกลุ่ม อะดีโนไวรัส (Adenovirus) และบางกรณีอาจเกิดจาก เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) โรคนี้สามารถ แพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้คนรวมตัวกันหนาแน่น เช่น งานเทศกาล โรงเรียน ซึ่งเทศกาลสงกรานต์ก็มีการรวมตัวกันของผู้คนจำนวนมาก ทำให้อาจติดเชื้อจากการสัมผัสน้ำและอุปกรณ์ปนเปื้อนเชื้อ หรือมีผู้ป่วยตาแดงอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ โรคตาแดง สามารถหายได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี หรือรีบมาพบจักษุแพทย์เพื่อรับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ 2. ฮีตสโตรกแม้จะเล่นน้ำเปียก ๆ เย็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ริกเตอร์หรือแมกนิจูด? ไขความต่างของสองคำที่มาพร้อมแรงสั่นสะเทือน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ ในประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนตระหนักและเริ่มให้ความสนใจกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวมากยิ่งขึ้น โดยคำศัพท์ที่ได้ยินจากการรายงานข่าว ได้แก่ “ริกเตอร์” และ “แมกนิจูด” มักก่อให้เกิดความสับสนว่า แท้จริงแล้วแผ่นดินไหวมีวิธีการวัดขนาดอย่างไร และค่าที่รายงานนั้นหมายถึงอะไรกันแน่ ดร.สุทธิพงษ์ น้อยสกุล อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลผ่านรายการ Mahidol Science Café ถามตอบข้อสงสัยแผ่นดินไหว เอาไว้ว่า แท้จริงแล้วในการวัดค่าแผ่นดินไหวนั้น “ไม่มีหน่วยวัด” แต่ “ริกเตอร์” คือชื่อมาตราวัดขนาดแผ่นดินไหว ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลาย ประเทศไทยก็ใช้มาตราริกเตอร์ในการวัดขนาดแผ่นดินไหวด้วยเช่นกัน ริกเตอร์ กรมทรัพยากรธรณีให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตราริกเตอร์ (Richter scale) ไว้ดังนี้ มาตราริกเตอร์ (Richter scale) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2478 โดย Charles F.Richter […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัญหาถุงใต้ตาบวม

16 มีนาคม 2568 – ปัญหาถุงใต้ตาบวมเกิดได้จากสาเหตุใดได้บ้าง ถุงใต้ตาบวมแบบไหนควรรีบพบแพทย์ และจะมีวิธีการดูแลและแก้ไขอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สาเหตุของถุงใต้ตาบวม: ถุงใต้ตาบวมแบบถาวร: เมื่ออายุมากขึ้น เนื้อเยื่อรอบดวงตาจะอ่อนลง ทำให้ไขมันเคลื่อนตัวและสร้างถุงได้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด ถุงใต้ตาบวมแบบชั่วคราว: อาการแพ้สามารถทำให้เกิดอาการบวมรอบดวงตาได้ นอกจากนี้ การนอนหลับไม่เพียงพอสามารถทำให้ของเหลวสะสมใต้ดวงตาได้ ถุงใต้ตาบวมแบบเฉียบพลัน: หากถุงปรากฏขึ้นอย่างกะทันหัน โดยเฉพาะหลังจากได้รับบาดเจ็บ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที แล้วเมื่อใดควรไปพบแพทย์ ? หากบริเวณใต้ตาเป็นแผล โดยเฉพาะหลังจากเกิดอุบัติเหตุ กรณีเด็ก หากบริเวณใต้ตามีอาการบวมอย่างกะทันหันอาจบ่งบอกถึงโรคร้ายแรงได้ การดูแลและคำแนะนำ: หากเกิดอาการบวมที่ทั้งสองข้าง อาจเกิดจากอาการแพ้และไม่เป็นอันตราย สามารถบรรเทาอาการได้โดยการทานยาแก้แพ้หรือประคบเย็น หากเกิดอาการบวมข้างเดียว เป็นเรื่องเสี่ยงและควรไปพบแพทย์ สัมภาษณ์เมื่อ : 26 กุมภาพันธ์ 2568ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคข้าวผัด

13 มีนาคม 2568 – โรคข้าวผัด หรือ Fried Rice Syndrome คืออะไร เกี่ยวอะไรกับข้าวผัด จะมีอาหารอื่นเป็นสาเหตุอีกหรือไม่ และจะเป็นอันตรายอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล(สัมภาษณ์เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2568) โรคข้าวผัดคืออะไร ? โรคข้าวผัด หรือ Bacillus cereus Syndrome เป็นโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus cereus ในอาหารประเภทข้าวผัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวผัดที่ทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน เชื้อนี้สามารถพบได้ในอาหารประเภทอื่น ๆ ที่มีข้าวและแป้งเป็นส่วนประกอบ เช่น พาสต้าและก๋วยเตี๋ยว  การปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย การปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียอาจเกิดจากการสุขาภิบาลอาหารที่ไม่ดี, การไม่ล้างมือ, หรือการปนเปื้อนจากอาหารอื่น ๆ เชื้อนี้อาจมีอยู่ในอากาศและปนเปื้อนลงในอาหารได้  ความเสี่ยง ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหากปรุงอาหารเสร็จแล้วทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนานกว่า 2 ชั่วโมง การอุ่นอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ Bacillus cereus อาจไม่สามารถทำลายเชื้อได้เนื่องจากต้องใช้ความร้อนสูง  การป้องกัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ผลเสียการจ้องจอในที่มืด

6 มีนาคม 2568 – การเล่นโทรศัพท์ในที่มืดจะส่งผลเสียต่อดวงตาอย่างไร จะมีวิธีการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลเสียได้อย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย (สัมภาษณ์เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2568) การใช้โทรศัพท์ในที่มืดส่งผลเสียต่อดวงตาอย่างไร ? กลไกที่ทำให้เกิดจอประสาทตาเสื่อมจากการจ้องจอในที่มืด อันตรายและผลกระทบต่อดวงตา วิธีดูแลดวงตาและข้อแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สรุป : การปรับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมในการใช้สายตาเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ดวงตาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สัญญาณและการรักษา กระดูกสันหลังคด

13 มกราคม 2568 – รู้ได้อย่างไร ว่าเป็น กระดูกสันหลังคด หากเป็นกระดูกสันหลังคดแล้ว ควรจะทำอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.กภ. มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์ อาจารย์คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์เมื่อ 14 สิงหาคม 2567 สาเหตุของกระดูกสันหลังคด การสังเกตอาการ การรักษา ข้อควรระวัง ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การดูแลดวงตาในผู้สูงอายุ

12 มกราคม 2568 – ผู้สูงวัยมีปัญหาโรคตาใดบ้างที่จะพบเจอเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น และจะมีวิธีการสังเกตปัญหาทางดวงตาอย่างไรบ้าง ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย โรคตาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การดูแลดวงตาในผู้สูงอายุ ข้อควรระวัง สรุป วิดีโอนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพตาในผู้สูงอายุ โดยแนะนำให้ตรวจสุขภาพตาประจำปี ปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ และระวังการหลงเชื่อข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากโซเชียลมีเดีย สัมภาษณ์เมื่อ : 18 ธันวาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วิธีตรวจตาด้วยตัวเอง

2 มกราคม 2568 – หลากหลายปัญหาทางดวงตา อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันสังเกต เราอาจรู้ตัวได้ง่าย ๆ ผ่านหลากหลายวิธีที่ทำได้ที่บ้าน ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย (สัมภาษณ์เมื่อ 18 ธันวาคม 2567) วิธีตรวจตาเบื้องต้น ข้อควรระวัง สรุป การตรวจตาเบื้องต้นเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการตรวจสอบสุขภาพตาของเราเอง หากพบความผิดปกติทางสายตา ควรปรึกษาแพทย์ทันที ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ภาวะการมองเห็นภาพบิดเบี้ยว

6 ธันวาคม 2567 – ภาวะการเห็นภาพบิดเบี้ยวเกิดจากสาเหตุใด จะเกิดขึ้นกับคนกลุ่มไหน และจะเป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 2 3 10
...