เร่งรับน้ำจืด สกัดกั้นน้ำเค็มรุกคลองประเวศฯ

กรมชลฯ เร่งรับน้ำผ่านประตูระบายน้ำต่างๆ สกัดน้ำเค็มรุกล้ำคลองประเวศบุรีรมย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา สาเหตุจากน้ำทะเลหนุนสูง คืนน้ำจืดให้ประชาชนใช้สอยตามปกติ

กรมชลฯ วอนงดนาปรังรอบ 2 คาดฝน 67 มีน้ำเพียงพอเพาะปลูก

กรุงเทพฯ 15 มี.ค. – อธิบดีกรมชลประทานเผย สถานการณ์เอลนีโญอ่อนกำลังลงและจะเข้าสู่ภาวะลานีญาเดือนก.ค. นี้ตามคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ระหว่างนี้ขอความร่วมมือเกษตรกรงดทำนาปรังรอบ 2 เพื่อสงวนน้ำไว้สำหรับฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ โดยวางแผนบริหารจัดการให้มีน้ำเพียงพอทุกภาคส่วน นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า ได้สั่งการโครงการชลประทานทั่วประเทศประชาสัมพันธ์เพื่อขอความร่วมมือเกษตรกรงดทำนาปรังรอบ 2 จากการสำรวจสถานการณ์การเพาะปลูกข้าวนาปรังทั้งประเทศในฤดูแล้งนี้ มีการทำนาปรังไปแล้วประมาณ 8.82 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 152 ของแผนเพาะปลูก เฉพาะลุ่มเจ้าพระยา ทำนาปรังไปแล้วประมาณ 5.68 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 188 ของแผนเพาะปลูก สำหรับพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรังในลุ่มเจ้าพระยาเริ่มคงที่เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรได้เริ่มทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จึงเร่งประชาสัมพันธ์ให้เว้นการเพาะปลูกไปก่อนเพื่อลดความเสียผลผลิตข้าวเสียหายจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอ  นอกจากนี้ยังได้กำชับให้โครงการชลประทานในพื้นที่เร่งเข้าสำรวจพื้นที่ที่เก็บเกี่ยวแล้วเพื่อวางแผนปรับลดการรับน้ำเข้าพื้นที่โดยไม่กระทบต่อการรักษาระบบนิเวศซึ่งเป็นการประหยัดน้ำและสงวนไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ ตลอดจนสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง นับตั้งแต่เข้าสู่ฤดูแล้งในวันที่ 1 พ.ย. 66 จนถึงขณะนี้ มีการจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 ทั้งประเทศไปแล้ว 17,312 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 69% ของแผนการจัดสรรน้ำ เฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 6,339 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 73% […]

คุมเข้มจัดสรรน้ำ เหตุน้ำต้นทุนแล้งนี้น้อยกว่าปีที่แล้ว

กรุงเทพฯ 8 มี.ค. – อธิบดีกรมชลประทานเผย คุมเข้มการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ในห้วงเวลาเดียวกัน ปีนี้ปริมาณน้ำต้นทุนน้อยกว่า 2,600 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำที่มีน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 มี 2 แห่ง ในระหว่างนี้เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงจึงปรับแผนการระบายน้ำเพื่อควบคุมค่าความเค็มในแม่น้ำสายหลักเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาและการเกษตร นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า ได้สั่งการให้โครงการชลประทานทั่วประเทศบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัดเพื่อให้มีน้ำเพียงพอใช้ทุกภาคส่วน ตลอดจนมีน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนด้วย จากการติดตามอย่างใกล้ชิดพบว่า สามารถส่งน้ำได้ตามแผน สำหรับสถานการณ์น้ำล่าสุด (ข้อมูล ณ วันที่ 7 มี.ค.67) ปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศ (อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และกลางรวม 470 แห่ง) 49,819 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 65% ของความจุรวม เมื่อเทียบกับปี 2566 ในห้วงเวลาเดียวกันอยู่ที่ 52,461 ล้าน ลบ.ม. ปีนี้น้อยกว่า 2,642 ล้าน ลบ.ม. ส่วนปริมาณน้ำใช้การมี 25,878 ล้าน […]

“ธรรมนัส” ลดผลกระทบสร้างอ่างเก็บน้ำญวน จ. พะเยา

พะเยา 11 ก.พ. – รมว. ธรรมนัสเห็นใจชาวบ้านในพื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำญวน อ. เชียงคำ จ. พะเยา สั่งปรับลดระดับเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำซึ่งจะสามารถสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำ โดยไม่ทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง ขณะจะเดินทางกลับ เห็นเด็กๆ มาถ่ายรูปกับฮ. ฝนหลวงจึงเปิดโอกาสให้ได้ขึ้นไปนั่ง สร้างความตื่นเต้นให้เด็กๆ เป็นอย่างมาก ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ได้สั่งการให้กรมชลประทานปรับลดการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำญวน ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาเนื่องจากเห็นใจราษฎรที่จะได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง โดยได้ประชุมรับฟังความคิดเห็นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2567 อ่างเก็บน้ำดังกล่าว มีแผนในการก่อสร้างเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียวและระบบส่งน้ำคลองส่งน้ำดาดคอนกรีต เมื่อรับฟังเสียงของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ จึงเห็นสมควรทำให้กรมชลประทานปรับลดการก่อสร้าง จากระดับน้ำเก็บกักที่ 466.50 ม.รทก. ความจุ 30 ล้าน ลบ.ม. เหลือที่ระดับน้ำเก็บกักที่ 460.80 ม.รทก. ความจุ 20 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจะทำให้ราษฎรในพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง จากนี้ไปกรมชลประทานจะขออนุญาตการใช้พื้นที่จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างโดยเร็วที่สุด เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถส่งน้ำสนับสนุนช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกท้ายอ่างในลุ่มน้ำน้ำญวนและลุ่มน้ำแม่ลาวในเขตอำเภอเชียงคำ ช่วยเหลือในเรื่องการอุปโภค-บริโภคของราษฎรและการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่โครงการและบริเวณใกล้เคียง บรรเทาอุทกภัยตามแนวลำน้ำน้ำญวนและน้ำแม่ลาวทางด้านท้ายน้ำของเขื่อนในเขตอำเภอเชียงคำ อีกทั้งยังเป็นแหล่งขยายพันธุ์ปลาและแหล่งทำการประมง พร้อมออกแบบถนนรอบคันคลอง […]

กรมชลฯ เร่งคลี่คลายสถานการณ์น้ำจ. ปัตตานีที่สูงต่อเนื่อง

ปัตตานี 26 ธ.ค.- อธิบดีกรมชลประทานสั่งเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำจังหวัดปัตตานี โดยฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำสายบุรีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กำชับสำนักงานชลประทานที่ 17 เฝ้าระวังจุดเสี่ยง พร้อมระดมเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังใน 7 อำเภอเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

“ธรรมนัส” สั่งเร่งซ่อมคันกั้นน้ำมูโนะ พร้อมเร่งระบายน้ำภาคใต้

นราธิวาส 26 ธ.ค. – รมว. เกษตรฯ สั่งกรมชลประทานเร่งซ่อมคันดินกั้นน้ำปตร. ปากคลองมูโนะฝั่งขวา จ. นราธิวาสที่ทรุดตัวลง พร้อมระบายน้ำที่ท่วมขังจากฝนตกหนักบริเวณพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ตลอดจนระดมเครื่องจักรเครื่องมือพร้อมช่วยเหลือประชาชนจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ

กรมชลฯ วางแผนปรับลดการระบายน้ำลำน้ำสายหลัก

กรมชลประทาน วางแผนปรับลดการระบายน้ำ เนื่องจากสถานการณ์ฝนเริ่มคลี่คลาย ย้ำแนวทางบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องสถานการณ์ คำนึงถึง 4 ด้านคือ น้ำในพื้นที่ น้ำเหนือ น้ำฝน และน้ำทะเลหนุน

“ธรรมนัส” ย้ำบริหารน้ำลดผลกระทบน้ำท่วมทุกลุ่มน้ำ

กรุงเทพฯ 11 ต.ค. – รัฐมนตรีเกษตรฯ ติดตามสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ กำชับกรมชลประทานบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำสายหลักที่มีน้ำท่วมบางพื้นที่เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนตามข้อห่วงใยของนายกฯ เผยฝนที่ตกชุกช่วงปลายฤดู ทำให้มีแนวโน้มที่จะสามารถสนับสนุนการทำการเกษตรได้ทุกประเภทในช่วงฤดูแล้งนี้ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำที่กรมชลประทาน โดยมีนายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเข้าร่วมด้วย โดยประชุมกับสำนักชลประทานที่ 1-17 ผ่านระบบออนไลน์ (Video Conference) ทั้งนี้ได้รับรายงานว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณเกินร้อยละ 80 ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เขื่อนกิ่วลม เขื่อนแม่มอก เขื่อนห้วยหลวง เขื่อนน้ำอูน เขื่อนน้ำพุง เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำปาว เขื่อนสิรินธร เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนประแสร์ และเขื่อนนฤบดินทรจินดา ร้อยเอกธรรมนัสกำชับว่า กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ระยะนี้จะยังมีฝนตกต่อเนื่องและตกหนักบางพื้นที่ จึงขอให้บริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะในลุ่มน้ำชี-มูล และลุ่มน้ำเจ้าพระยาซึ่งมีน้ำท่วมบางพื้นที่ ให้สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด ตามข้อห่วงใยของนายกรัฐมนตรี สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้รับรายงานจากกรมชลประทานว่า ได้บริหารจัดการน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ด้วยการตัดยอดน้ำเข้าระบบคลองชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยารวม 397 ลบ.ม./วินาที พร้อมกับควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราประมาณ […]

กรมชลฯ ปรับเพิ่มระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา คาดระดับสูงท้ายเขื่อนสูงขึ้น 20-80 ซม.

กรุงเทพฯ 9 ต.ค. – กรมชลประทานคาดน้ำเหนือจะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น จากฝนที่ตกระหว่างวันที่ 8-11 ต.ค. จึงเพิ่มการรับน้ำเข้าระบบชลประทาน 2 ฝั่ง แต่ยังจำเป็นเพิ่มปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเป็น 1,500-1,800 ลบ.ม./วินาที จะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาด้านท้ายเขื่อนสูงขึ้น 20-80 เซนติเมตร สทนช. เตือน 26 จังหวัด 4 ลุ่มน้ำ เฝ้าระวังน้ำท่วม-น้ำหลาก และน้ำล้นตลิ่งระหว่าง 9-15 ต.ค.นี้ กรมชลประทานแจ้งว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงที่ผ่านมาร่องมรสุมทำให้เกิดฝนตกหนักสะสมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้มีน้ำในลำน้ำเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งคาดการณ์ว่า ในช่วงวันที่ 8 – 11 ตุลาคม 2566 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ทำให้น้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ ในช่วงวันที่ 9 – 15 ตุลาคม 2566 โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำ ซึ่งเขื่อนเจ้าพระยาต้องการระบายน้ำในอัตรามากกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้คาดการณ์ปริมาณน้ำที่สถานีวัดน้ำท่า C.2 จ.นครสวรรค์ […]

“ธรรมนัส” สั่งกรมชลฯ ติดตามสถานการณ์น้ำใกล้ชิด

กรุงเทพฯ 6 ต.ค.- รมว. ธรรมนัสสั่งกรมชลประทานให้เตรียมรับน้ำเหนือที่จะไหลลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุดกรมชลประทานแบ่งน้ำด้านเหนือกทม. ออกแม่น้ำบางปะกง ปกป้องพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ เชื่อมั่นกรมชลประทานบริหารจัดการน้ำได้ ส่วนลุ่มน้ำชี-มูลให้เพิ่มการหน่วงน้ำ ก่อนไหลลงไปสมทบที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน พร้อมย้ำให้ติดตามสถานการณ์ฝนที่จะยังตกต่อเนื่องถึง 9 ตุลาคมนี้

“ธรรมนัส” ยืนยันกรมชลฯ รับมือน้ำเหนือได้

รมว.ธรรมนัส รายงานสถานการณ์น้ำนายกฯ โดยกำชับให้เตรียมรับน้ำเหนือที่จะไหลลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุดกรมชลประทานแบ่งน้ำด้านเหนือกทม. ออกแม่น้ำบางปะกง ปกป้องพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ เชื่อมั่นกรมชลประทานบริหารจัดการน้ำได้

1 3 4 5 6 7 50
...