เกาหลีใต้มีเด็กเกิดใหม่เพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 8 ปี

โซล 28 ส.ค.- จำนวนทารกเกิดใหม่ในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 8 ปี ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ขณะที่เกาหลีใต้กำลังประสบปัญหามีอัตราเด็กเกิดใหม่ต่ำเป็นประวัติการณ์ ข้อมูลของสำนักสถิติเกาหลีระบุว่า ไตรมาสเดือนเมษายน-มิถุนายนที่ผ่านมา มีทารกเกิดใหม่ทั้งหมด 56,838 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 หลังจากเกาหลีใต้มีอัตราเด็กเกิดใหม่เพิ่มขึ้นครั้งหลังสุดในไตรมาส 4 ของปี 2558 หรือเมื่อกว่า 8 ปีก่อน ครั้งนั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ไตรมาส 2 ของปีนี้เกาหลีใต้มีอัตราเด็กเกิดใหม่เพิ่มขึ้น ตามตัวเลขของเดือนเมษายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ต่อปี และเดือนพฤษภาคมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ต่อปี สอดคล้องกับที่มีการแต่งงานเพิ่มขึ้นในช่วงผ่านพ้นโรคโควิด-19 ระบาด แม้ว่าเดือนมิถุนายนมีเด็กเกิดใหม่ลดร้อยละ 1.8 ต่อปีก็ตาม อย่างไรก็ดี อัตราการเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นจำนวนเด็กเกิดโดยเฉลี่ยต่อผู้หญิง 1 คนในไตรมาส 2 ของปีนี้ ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ 0.71 ต่ำกว่า 2.1 ซึ่งเป็นอัตราเจริญพันธุ์ที่จำเป็นต่อการคงจำนวนประชากรให้มีเสถียรภาพโดยไม่มีการอพยพ […]

เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 2 ฟื้นตัวมากกว่าคาด

โตเกียว 15 ส.ค.- เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ขยายตัวถึงร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี ถือว่าขยายตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจากช่วงไตรมาสแรก เป็นผลมาจากการจับจ่ายของภาคเอกชนฟื้นตัว ข้อมูลของรัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี (GDP) ของไตรมาสเดือนเมษายน-มิถุนายนขยายตัวร้อยละ 3.1 สูงกว่าที่ตลาดคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.1 หลังจากเมื่อช่วงไตรมาสแรกหดตัวลงร้อยละ 2.3  การบริโภคของภาคเอกชนที่ครองสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของจีดีพีปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1 ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ส่งผลให้จีดีพีไตรมาส 2 ฟื้นตัว ตัวเลขเหล่านี้สนับสนุนสิ่งที่ธนาคารกลางของญี่ปุ่น หรือบีโอเจ (BOJ) คาดการณ์ไว้ว่า การที่เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามเป้าที่ร้อยละ 2 เปิดทางให้บีโอเจสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกในอนาคต หลังจากเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 0-0.1 เป็นร้อยละ 0.25.-816(814).-สำนักข่าวไทย

นักวิชาการให้จับตาหลายปัจจัยเสี่ยงอาจกระทบเศรษฐกิจไตรมาสแรก

กรุงเทพฯ 4 ม.ค.-นักวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมองงบประมาณรายจ่ายปี 67 จำนวน 3.48 ล้านล้านบาทภาพรวมกระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะเมื่องบประมาณเบิกจ่ายต้องเร่งเบิกจ่ายเต็มทีไปพร้อมกับเงินนอกงบประมาณที่รัฐบาลจะนำเงินหลายแสนล้านมากระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวให้เศรษฐกิจไทยปี 67 โตได้ 3.2-3.5 % แต่ให้ติดตามยังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกได้

เศรษฐกิจจีนไตรมาส 2 ของปีนี้โต 6.3%

ปักกิ่ง 17 ก.ค.- ทางการจีนเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2 ของปี 2566 ว่า ขยายตัวร้อยละ 6.3 เป็นตัวเลขที่ขัดแย้งกับภาวะการฟื้นตัวหลังโควิดที่เชื่องช้า และถูกมองว่าสูงเนื่องจากเปรียบเทียบกับฐานต่ำในปี 2565 ซึ่งเป็นช่วงล็อกดาวน์เพราะโควิด สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนแถลงวันนี้ว่า เศรษฐกิจจีนกำลังเดินหน้าฟื้นตัวด้วยดี ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ในไตรมาสแรกของปี 2566 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 จากไตรมาสแรกของปี 2565 ส่วนไตรมาส 2 ของปี 2566 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 จากไตรมาส 2 ของปี 2565 อุปสงค์ในตลาดทยอยฟื้นตัว อุปทานการผลิตยังคงเพิ่มขึ้น การจ้างงานและราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปทรงตัว ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนจีนเผยแพร่ตัวเลขว่า เศรษฐกิจไตรมาส 2 ของจีนน่าจะฟื้นตัวในอัตราร้อยละ 7.1 และมองว่าตัวเลขของทางการจีนไม่ได้สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริง เนื่องจากเปรียบเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2565 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 เพราะมีการล็อกดาวน์อย่างกะทันหันเมื่อพบการระบาดใหม่ มีการจำกัดการเดินทางและปิดโรงงาน นอกจากนี้หากเปรียบเทียบเป็นรายไตรมาส เศรษฐกิจไตรมาส 2 […]

เอ็กโก กรุ๊ป กำไรไตรมาส 1/66 ลดลง 51%

กรุงเทพฯ 16 พ.ค.-บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป เผย ไตรมาส1/66 กำไรสุทธิ 2,022 ล้านบาทลดลงครึ่งหนึ่ง  สาเหตุหลักจากโรงไฟฟ้า เกาหลีใต้ และ ใน สปป.ลาว มีปริมาณการขายไฟฟ้าลดลง เตรียมพร้อมยื่นประมูลโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนส่วนขยายที่จะเปิดรอบเพิ่มเติมของภาครัฐ และแสวงหาโอกาสลงทุนธุรกิจไฟฟ้าและพลังงานที่เกี่ยวเนื่องในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง 

ราช กรุ๊ป โตต่อเนื่อง ไตรมาสแรกฟันกำไรสุทธิ 1,448 ล้านบาท 

กรุงเทพฯ 15 พ.ค.-บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ไตรมาส 1 ปี 2566 ยังเติบโตต่อเนื่อง ฟันกำไร 1,448 ล้านบาทจากโครงการที่ลงทุนใหม่ ทั้งในและต่างประเทศ ประกาศเดินหน้าแผนการลงทุนตามเป้า เพิ่มธุรกิจผลิตไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 700 เมกะวัตต์ นางสาวชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกปีนี้บริษัทฯ เริ่มรับรู้รายได้จากสินทรัพย์โรงไฟฟ้าที่ลงทุนใหม่ ได้แก่ โรงไฟฟ้าราช เอ็นเนอร์จี ระยอง 98 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานลมลินคอล์น แก็ป 1&2 กำลังผลิตรวม 212 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติสแนปเปอร์ พอยท์ ขนาด154 เมกะวัตต์ ในออสเตรเลีย โรงไฟฟ้าพลังน้ำค๊อคซาน 17.37 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังน้ำซ็องเกียง2 กำลังผลิต17.10 เมกะวัตต์ ในเวียดนาม รวมเป็นเงินประมาณ 1,479 ล้านบาท ซึ่งช่วยหนุนผลประกอบการของบริษัทฯ ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้ ธุรกิจไฟฟ้ายังคงสร้างรายได้หลักให้กับบริษัทฯ เป็นจำนวน 16,494 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 97 ของรายได้รวมโดยเป็นรายได้จากกลุ่มโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล จำนวน 14,603 ล้านบาท (ร้อยละ 88.5) และรายได้จากกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน จำนวน 1,891 ล้านบาท (ร้อยละ 11.5)  ส่วนกลุ่มธุรกิจ Non-Power เริ่มรับรู้รายได้เพิ่มขึ้น โดยไตรมาสนี้มีจำนวน 511 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3 ของรายได้รวม ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ สามารถดำเนินงานก้าวหน้าได้ตามแผน โดยส่วนขยายของโรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น ขนาดกำลังการผลิต 31.2 เมกะวัตต์เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์จำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำแก่ลูกค้าอุตสาหกรรมแล้วและโรงพยาบาลพริ้นซ์ สกลนคร ขนาด 59 เตียง ได้เปิดให้บริการแล้วเช่นกัน สำหรับการร่วมลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนไพตัน กำลังการผลิตติดตั้ง 2,045 เมกะวัตต์ ในอินโดนีเซีย คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในไตรมาส 2 ซึ่งบริษัทฯ จะสามารถรับรู้รายได้ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ นอกจากนี้ โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและกำหนดจะเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี 2567 จำนวน 8 โครงการ รวมกำลังการผลิตตามสัดส่วนการลงทุน 518.66 เมกะวัตต์ มีความคืบหน้าตามแผนงาน สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมหินกอง อยู่ระหว่างดำเนินการจัดหาเชื้อเพลิง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 3 ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์คาลาบังก้า ในฟิลิปปินส์  กำลังการผลิตตามสัดส่วนการลงทุน 36.33 เมกะวัตต์กำลังดำเนินการจัดหาเงินกู้โครงการและจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในเดือนมิถุนายน ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นความสำเร็จในการบุกเบิกธุรกิจในประเทศฟิลิปปินส์  “บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าแผนการลงทุนให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยธุรกิจผลิตไฟฟ้าต้องการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตใหม่ ทั้งประเภทเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งจะเน้นเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก และพลังงานทดแทน ไม่น้อยกว่า 700 เมกะวัตต์ ในประเทศเป้าหมาย ได้แก่ ประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย ส่วนธุรกิจ Non-Power บริษัทฯ มีแผนที่จะพัฒนาธุรกิจด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย การผลิตไฮโดรเจนสีเขียว ในประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่ กลุ่มประเทศยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และขยายฐานธุรกิจด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็บริหารประสิทธิภาพสินทรัพย์ เพื่อสร้างความมั่นคงของกระแสเงินสดและรายได้ พร้อมทั้งจัดเตรียมแผนการจัดหาเงินทุนโดยพิจารณาเครื่องมือทางการเงินและต้นทุนที่เหมาะสมกับประเภทโครงการ ซึ่งจะช่วยให้แผนการขยายธุรกิจของบริษัทฯ สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้” นางสาวชูศรี กล่าว ผลการดำเนินงานไตรมาสแรก ปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวม จำนวน 17,005 ล้านบาท ต้นทุนและค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 15,310 ล้านบาท และกำไรส่วนของบริษัท 1,448 ล้านบาท  สำหรับฐานะการเงินของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 มีสินทรัพย์รวมจำนวน 224,500 ล้านบาท หนี้สินรวมจำนวน 118,035 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวน 106,465 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังมีศักยภาพทางการเงินที่แข็งแกร่งสะท้อนจากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน 1.11 เท่า และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นร้อยละ 7.36 .-สำนักข่าวไทย

เศรษฐกิจอังกฤษรอดจากถดถอยอย่างเฉียดฉิว

ลอนดอน 10 ก.พ.- ข้อมูลของทางการอังกฤษระบุว่า เศรษฐกิจอังกฤษรอดพ้นจากการเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเฉียดฉิว หลังจากเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ไม่หดตัวเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน คำนิยามทางเทคนิคของภาวะเศรษฐกิจถดถอยหมายถึงเศรษฐกิจที่หดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษแถลงวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ไตรมาส 4 ของปี 2565 ขยายตัวที่ร้อยละ 0 สอดคล้องกับที่ตลาดคาดหมาย หลังจากหดตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาส 3 ของปีเดียวกัน ขณะที่เศรษฐกิจปี 2565 ทั้งปีขยายตัวร้อยละ 4.1 แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ แต่ยังคงขยายตัวน้อยกว่าปี 2564 ทั้งปีที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 นายเจเรมี ฮันต์ รัฐมนตรีคลังอังกฤษยินดีต่อรายงานข่าวเรื่องเศรษฐกิจอังกฤษรอดพ้นจากภาวะถดถอย แต่เตือนว่าเศรษฐกิจยังไม่พ้นจากวิกฤต โดยเฉพาะเรื่องอัตราเงินเฟ้อสูงที่ทำให้เกิดวิกฤตค่าครองชีพและการเคลื่อนไหวของคนทำงานในภาคส่วนต่าง ๆ อย่างไรก็ดี เขามองว่าเศรษฐกิจอังกฤษมีความยืดหยุ่นมากกว่าที่หลายฝ่ายกังวล.-สำนักข่าวไทย

เศรษฐกิจเกาหลีใต้หดตัวครั้งแรกนับจากต้นปี 2563

โซล 26 ม.ค.- เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาส 4 ของปี 2565 หดตัวเป็นครั้งแรกนับจากไตรมาส 2 ของปี 2563 เนื่องจากยอดการส่งออกลดลง อันเป็นผลจากการที่ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายหลังจากที่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ธนาคารกลางเกาหลีใต้แถลงวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ในไตรมาสเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 หดตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนของปีเดียวกัน การบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.4 เนื่องจากการบริโภคสินค้าและบริการลดลง ประกอบด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า สิ่งอำนวยความสะดวก อาหาร และความบันเทิง ยอดการส่งออกลดลงร้อยละ 5.8 ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และสารเคมี ขณะที่ยอดการนำเข้าลดลงร้อยละ 4.6 ส่วนใหญ่เป็นโลหะพื้นฐานและน้ำมันดิบ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ยังคงขยายตัวร้อยละ 1.4 เทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 และเศรษฐกิจทั้งปีขยายตัวร้อยละ 2.6 เทียบกับปี 2564 ส่วนปี 2566 ธนาคารกลางคาดว่า จะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.7 และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ธนาคารกลางเกาหลีใต้แจ้งตัวเลขดังกล่าวหลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมเป็นครั้งที่ 10 […]

เศรษฐกิจไต้หวันหดตัวมากที่สุดนับจากวิกฤตการเงินโลก

ไทเป 18 ม.ค.- ไต้หวันแจ้งว่า เศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนหดตัวรายไตรมาสมากที่สุดนับจากวิกฤตการเงินโลกในปี 2552 สำนักงานงบประมาณ การบัญชีและสถิติของไต้หวันเปิดเผยตัวเลขเบื้องต้นในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ลดลงร้อยละ 0.86 จากไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 เป็นการลดลงครั้งแรกนับจากไตรมาสปี 2559 และหดตัวรายไตรมาสมากที่สุดนับจากวิกฤตการเงินโลกในปี 2552 อีกทั้งยังย่ำแย่กว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ในเดือนพฤศจิกายนว่า จีดีพีไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.52 สำนักงานฯ ระบุว่า แรงกดดันจากเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทั้งสองอย่างยังคงกดดันความต้องการบริโภคทั่วโลก นอกจากนี้สถานการณ์โรคโควิด-19 ที่ระบาดมากขึ้นในจีน ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไต้หวัน  ยังกระทบต่อการบริโภคและการผลิตด้วย ยอดส่งออกของไต้หวันในไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ลดลงถึงร้อยละ 8.63 จากไตรมาสเดียวกันปี 2564 เฉพาะการส่งออกไปจีนและฮ่องกงลดลงมากถึงร้อยละ 15.6 ส่วนจีดีพีปี 2565 ทั้งปีคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.43 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.06.-สำนักข่าวไทย

ไทยเป็นจุดหมายยอดนิยมอันดับ 5 ของจีน

ปักกิ่ง 8 ม.ค.- เว็บไซต์จองท่องเที่ยวใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเผยว่า ไทยเป็นจุดหมายยอดนิยมอันดับ 5 สำหรับชาวจีนในขณะนี้ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ชาวจีนจะเริ่มท่องเที่ยวต่างประเทศในไตรมาส 2 ของปีนี้ และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เว็บไซต์ Trip.com ของ Trip.com Group เผยข้อมูลการจองท่องเที่ยวว่า จุดหมายยอดนิยม 5 อันดับแรกสำหรับชาวจีนได้แก่ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และไทย ส่วนจุดหมายระยะทางไกลยอดนิยมได้แก่ สหรัฐ สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย ยอดจองเที่ยวบินออกนอกประเทศจีนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 254 หรือ 2.5 เท่าในปลายเดือนธันวาคม 2565 หนึ่งวันหลังจากทางการจีนประกาศว่าจะยกเลิกมาตรการกักตัวกับคนเข้าประเทศตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2566 เที่ยวบินระยะทางสั้นเป็นที่นิยมเพราะค่าตั๋วถูกกว่า นอกจากนี้สิงคโปร์ เกาหลีใต้และญี่ปุ่นก็เป็นจุดหมายยอดนิยมของชาวจีนอยู่แล้วตั้งแต่ยังไม่มีโควิด ส่วนไทยเป็นจุดหมายอันดับหนึ่งในปี 2562 ช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด มีชาวจีนมาเที่ยวมากถึง 11 ล้านคน หรือกว่า 1 ใน 4 ของชาวต่างชาติที่มาเที่ยวไทยในปีนั้น ดร.วูลฟ์กัง […]

เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวครั้งแรกในปีนี้

โตเกียว 15 พ.ย.- เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 3 ของปีนี้หดตัวเป็นครั้งแรกของปี อันเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกเสี่ยงถดถอย เงินเยนอ่อนค่า และสินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้นกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคและกิจกรรมของภาคธุรกิจ ข้อมูลทางการญี่ปุ่นระบุว่า ไตรมาสเดือนกรกฎาคม-กันยายนปีนี้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ลดลงร้อยละ 1.2 ต่อปี และลดลงร้อยละ 0.3 ต่อไตรมาส สวนทางกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.1 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 0.3 ต่อไตรมาส เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 3 หดตัวเป็นครั้งแรกของปีนี้ หลังจากขยายตัวมา 3 ไตรมาสติดต่อกัน นอกเหนือจากแรงกดดันเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอการเติบโตและเรื่องภาวะเงินเฟ้อสูงแล้ว ญี่ปุ่นยังเผชิญความท้าทายจากเงินเยนที่อ่อนค่าที่สุดในรอบ 32 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นเพราะสินค้านำเข้าทุกอย่างตั้งแต่เชื้อเพลิงไปจนถึงอาหารมีราคาแพงขึ้น เดือนที่แล้วนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 260,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.3 ล้านล้านบาท).-สำนักข่าวไทย

1 2 3
...