“วิษณุ” ระบุเดินหน้าพิจารณาร่างแก้ รธน.แม้มีการยื่นศาลตีความ

ทำเนียบฯ 11 พ.ย.-“วิษณุ” ระบุเดินหน้าพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้มีการยื่นศาล รธน.ตีความ ส่วนกรณีพระสงฆ์ร่วมชุมนุม มหาเถรสมาคมมีข้อกำหนดอยู่แล้ว ย้ำทุกอย่างมีกฎเกณฑ์กติกา นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีทั้งการเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญและมีการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ จะเป็นการย้อนแย้งหรือไม่ ว่า ตามหลักกฎหมายสามารถทำได้ คาดว่าคงเล็งเห็นว่าอยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพียงแต่มีข้อสงสัย ดังนั้นหากไม่ได้ทำให้กระบวนการล่าช้า สามารถทำคู่ขนานกันไปได้ ส่วนจะทำให้สังคมเกิดความสับสนหรือไม่ ส่วนตัวมองว่ากลุ่มที่ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ คงมีข้อสงสัย ไม่ได้ต้องการไม่ให้แก้ไข ขณะที่รัฐบาลประกาศแนวทางที่ชัดเจนไปแล้วและเรื่องนี้เป็นเรื่องของรัฐสภาที่จะไปพิจารณาร่วมกันว่าจะให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความหรือไม่ ส่วนจะส่งหรือไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ต้องเดินหน้าพิจารณาอยู่แล้ว โดยไม่มีอะไรมาหยุดยั้งได้ และส่วนตัวเห็นว่าการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมานั้น ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนกรณีที่พระสงฆ์เข้าร่วมการชุมนุม นายวิษณุ กล่าวว่า มติมหาเถรสมาคมมีข้อกำหนดอยู่แล้วว่าพระสงฆ์ต้องไม่เข้าร่วมปราศรัยทางการเมือง ซึ่งหากมีความผิด พระสังฆาธิการ หรือผู้ปกครองพระ สามารถตักเตือน และหากยังทำความผิด อาจสั่งให้สละสมณเพศได้ ซึ่งทุกอย่างมีกฎเกณฑ์กติกาอยู่แล้ว ส่วนที่พระสงฆ์ชู 3 นิ้วนั้นผิดหรือไม่ ตนเห็นว่าตามพระธรรมวินัยและกฎของมหาเถรสมาคมก็ไม่ผิด แต่เป็นโลกวัชชะ คือ ทำให้สังคมเกิดข้อติเตียน ซึ่งหลายอย่างไม่ได้อยู่ที่กฎหมาย หรือวินัยเพียงอย่างเดียว ต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นด้วย สำหรับการจัดงานกิจกรรมปกป้องสถาบันของสำนักจุฬาราชมนตรี นายวิษณุ […]

“อนุชา” ระบุ พปชร.หนุนแก้ไข รธน.

ทำเนียบฯ 11 พ.ย.-“อนุชา” ระบุ พปชร.หนุนแก้ไข รธน. ปัดเล่นเกมการเมืองหลังมีส.ส.ของพรรคออกมาคัดค้าน ส่วนที่พระสงฆ์ร่วมชุมนุม มอบมหาเถรสมาคมตรวจสอบ ดำเนินการตามพระธรรมวินัย นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรี สั่งกำชับ ส.ส.พรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เกี่ยวกับการแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ตนไม่ขอแสดงความคิดเห็น เพราะเรื่องนี้ได้พูดคุยกันไปแล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องภายในพรรค นายอนุชา กล่าวอีกว่า ส่วนในการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ ทางพรรคมีจุดยืนสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน ส่วนรายละเอียดจะเห็นด้วยกับการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) หรือไม่ ขอไปพิจารณารายละเอียดก่อน เพราะเป็นเรื่องของสภาฯ ที่จะพิจารณาร่วมกันว่าการแก้ไขจะเดินหน้าไปสู่จุดใด ส่วนที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านการแก้ไขนั้น จะเป็นการยื้อเวลาหรือไม่นั้น เห็นว่าเป็นเรืองธรรมดา และทางพรรคไม่ได้เล่นเกม ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้ต้องการให้เกิดปัญหา ส่วนกรณีที่มีพระสงฆ์เข้าร่วมการชุมนุมนั้น นายอนุชา กล่าวว่า เรื่องนี้ทางมหาเถรสมาคม ได้นำมาหารือเป็นเรื่องเร่งด่วน และทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้สอบถามพนักงานสอบสวนว่าพระสงฆ์ที่ปรากฏว่าเข้าร่วมการชุมนุมนั้น เป็นพระจริงหรือไม่ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบก่อน และหากเป็นพระจริง ก็ต้องดำเนินการว่าผิดพระธรรมวินัยของสงฆ์หรือไม่ โดยตามกฎระเบียบ พระสงฆ์ไม่สามารถเข้าร่วมการชุมนุมได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และหากตรวจสอบแล้วมีความผิดจริง […]

พปชร.แจงยื่นศาล รธน.ตีความแก้ไขร่าง รธน.ไม่ใช่ยื้อเวลา

พปชร. 10 พ.ย.-พปชร. แจงยื่นศาล รธน.ตีความแก้ไขร่าง รธน.ไม่ใช่ยื้อเวลา เป็นเพียงการสร้างความมั่นใจให้ ส.ว.โหวตรับร่าง ด้าน เลขานุการวิปรัฐบาล ไม่กังวลเติมเชื้อไฟความขัดแย้งผู้ชุมนุม นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ เลขานุการวิปรัฐบาล และ 1 ใน ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่ร่วมลงชื่อเสนอญัตติส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ กล่าวยืนยันว่า ไม่ได้ยื้อเวลา เพราะกระบวนการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญของสภาฯ สามารถเดินหน้าควบคู่ไปได้ และการยื่นเรื่องจะดำเนินการหลังจากที่รัฐสภาลงมติรับหลักการในวาระแรกก่อน ส่วนสาเหตุที่ต้องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น เพื่อให้เป็นไปด้วยความถูกต้องปราศจากข้อสงสัยว่าทำได้หรือไม่ เพราะทั้ง ส.ว.และ ส.ส.บางส่วนมีความไม่สบายใจว่ามีอำนาจสามารถทำได้หรือไม่ และเชื่อว่าการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ จะทำให้ ส.ว.มั่นใจรับหลักการได้โดยไม่มีความกังวล ส่วนการยื่นศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นการเพิ่มเงื่อนไขสร้างความไม่พอใจต่อผู้ชุมนุมนำไปสู่ความขัดแย้งเพิ่มขึ้นหรือไม่ นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ไม่กลัวว่าจะเป็นการสร้างความขัดแย้งเพิ่มขึ้น เพราะการดำเนินการครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ชุมนุม เรื่องนี้เป็นคนละเรื่องกัน ผู้ชุมนุมมีหลายกลุ่ม มีความเห็นต่างกันจะฟังความเห็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ได้ และส่วนตัวมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ต้องมองที่หลักการให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความถูกต้อง ไม่ถูกตีตกในภายหลัง ด้านนายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวย้ำว่า การยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ได้กระทบต่อไทม์ไลน์การแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา เพราะหลังรับหลักการ จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณา หากศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกต้อง ทุกอย่างก็เดินหน้า ไม่มีอะไรสะดุด […]

“พล.อ.ประวิตร” ย้ำจุดยืนหนุนแก้ รธน.

ก่อนประชุม ครม. “พล.อ.ประวิตร” รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เตรียมถามเหตุผล ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ จะร่วมลงชื่อตีความความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ พร้อมย้ำจุดยืนสนับสนุนการแก้ไข รธน.

เตรียมถามเหตุผล ส.ส.พปชร.ร่วมลงชื่อตีความร่างแก้ไข รธน.

ทำเนียบฯ 10 พ.ย.-“พล.อ.ประวิตร” ไม่ทราบแกนนำคณะราษฎรขอลี้ภัยไปสหรัฐ เตรียมถามเหตุผล ส.ส.พปชร.ที่ร่วมลงชื่อตีความร่างแก้ไข รธน. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มี ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ร่วมลงชื่อกับ 48 ส.ว. เสนอญัญติต่อนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เพื่อให้ส่งเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจัยตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ ว่าตนไม่ทราบรายละเอียดว่าจะไปตีความอย่างไร และยังไม่ได้มีการพูดคุยกันกับ ส.ส. แต่หลังจากนี้จะไปพูดคุยเพื่อให้ทราบถึงเหตุผล พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า โดยส่วนตัวย้ำจุดยืนสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนจะต้องมีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) หรือไม่ จะต้องพิจารณาก่อนว่าจะมีการแก้ไขอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ ไม่ทราบว่าการยื่นตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นการยื้อเวลาหรือไม่ แต่นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ระบุแล้วว่าสามารถดำเนินการไปพร้อมๆ กันได้ พล.อ.ประวิตร กล่าวถึงกรณีที่นายสิระ เจนจาคะ และนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ มีท่าทีไม่สนับสนุนการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อหาทางออกของประเทศว่า ถือเป็นเรื่องส่วนตัว ซึ่งตนได้พูดคุยและเตือนไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เรื่องการตั้งคณะกรรมการดังกล่าว พรรคร่วมรัฐบาลจะมีการหารือพูดคุยกันและร่วมมือกับประธานรัฐสภาเพื่อร่วมกันหาทางออก ส่วนกรณีกระแสข่าวแกนนำกลุ่มคณะราษฎรขอลี้ภัยทางการเมืองไปสหรัฐอเมริกานั้น พล.อ.ประวิตร […]

เพื่อไทยลุ้นศาล รธน.จะรับคำร้องแก้ไข รธน.หรือไม่

พรรคเพื่อไทย 9 พ.ย.-พรรคเพื่อไทยลุ้นศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องแก้ไข รธน.หรือไม่ ยอมรับอาจเป็นการยื้อเวลา นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ ส.ว. และ ส.ส.เข้าชื่อยื่นต่อประธานรัฐสภา ขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าญัตติการแก้รัฐธรรมนูญของพรรคร่วมฝ่ายค้าน พรรคร่วมรัฐบาล และร่างฯ ของไอลอว์ แก้มาตรา 256 และตั้ง ส.ส.ร. มายกร่างฉบับใหม่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญปี 2560 หรือไม่ ว่า อาจมองว่าเป็นการยื่นเร็วไป ตามกระบวนการทำได้หลังโหวตผ่านวาระ 3 ส่วนจะทำให้กระบวนการแก้ไขล่าช้าออกไปหรือไม่ ต้องรอดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้วินิจฉัยหรือไม่ เพราะญัตติเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาแล้ว ส่วนคำร้องที่ยื่นไปนั้นที่ ส.ว.เห็นว่าเป็นการยกร่างฉบับใหม่อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญปี 2560 นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ตามร่างที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาก็เป็นการไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2560 แต่อาจเพราะภาษาพูดที่อาจสื่อความหมายว่าเป็นการยกร่างฉบับใหม่ โดยเห็นว่าไม่ใช่ประเด็นอะไร เพราะก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคิดว่าตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เคยมีมา เป็นการวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 291 แต่ปัจจุบันยกเลิกกฎหมายฉบับเดิมไปและไม่ควรนำคำวินิจฉัยกฎหมายฉบับเดิมมาอ้าง โดยตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กำหนดวิธีแก้ไขไว้แล้วตาม มาตรา 256 ที่หากจะแก้วิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ทำประชามติ และตั้งข้อสังเกตว่าการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ อยากจะยื้อเวลาหรือไม่.-สำนักข่าวไทย

ชี้ผู้ชุมนุมควรร่วมพูดคุยหาทางออกประเทศ

กรุงเทพฯ 6 พ.ย.-“อนุทิน” ชี้ผู้ชุมนุมควรร่วมพูดคุยหาทางออกประเทศ หวังทุกฝ่ายยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในการลงมติรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่กังวลเกิดปัญหา หากผ่านเฉพาะร่างของรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า สนับสนุนการตั้งคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ และพร้อมสนับสนุนทุกแนวทางที่จะทำให้ความขัดแย้งหมดไป ส่วนที่มีรายชื่ออดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานรัฐสภา มาร่วมนั้น ถือว่าเป็นคนที่มีประสบการณ์ มีวุฒิภาวะ มีความหวังดีต่อบ้านเมือง และเป็นผู้ใหญ่ที่มากบารมี จึงสนับสนุนให้กลุ่มคนเหล่านี้มาผลักดันให้บ้านเมืองเดินหน้า นายอนุทิน กล่าวอีกว่า สำหรับคนที่จะมานั่งเป็นประธานคณะกรรมการฯ ให้เป็นเรื่องของการเลือกกันเองภายใน อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวคาดหวังให้กลุ่มผู้ชุมนุมเข้าร่วมหาทางออกครั้งนี้ หากต้องการให้บ้านเมืองสงบและสามัคคี เพราะก่อนหน้านี้ก็มีการเสนอให้พูดคุยกัน ดังนั้นทุกฝ่ายควรจะเข้าร่วม และขอยืนยันว่ารัฐบาลและรัฐสภาได้ฟังเสียงของทุกฝ่ายแล้วในการแก้ไขปัญหาครั้งนี้ ทั้งมีการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญตามข้อเรียกร้อง นายอนุทิน กล่าวถึงข้อเสนอของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานก่อตั้งสถาบันสร้างไทย ในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย ที่เสนอให้ออก พ.ร.ก.แต่งตั้งคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ ว่า เป็นเรื่องที่เสนอได้ แต่ต้องเลือกแนวทางที่ดีที่สุดโดยให้ผู้ปฏิบัติตัดสินใจ สำหรับการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับที่จะมีขึ้นในวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ นายอนุทิน กล่าวว่า พรรคภูมิใจไทยสนับสนุนร่างของรัฐบาล คือ เดินหน้าแก้ไขมาตรา 256 และตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ […]

“วิษณุ” เผยส่งร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ ไปสภาฯ แล้ว

ทำเนียบฯ 4 พ.ย.-“วิษณุ” เผยส่งร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติแก้ รธน.ไปสภาฯ แล้ว มีโอกาสสูงไม่ทันให้ประชาชนลงมติพร้อมเลือกตั้ง อบจ. เหตุต้องใช้เวลาศึกษาข้อมูล ชี้หากมีคำถามพ่วงต้องให้คณะกรรมการคนกลางเป็นคนตั้งคำถาม นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลงนามร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างแก้รัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว และได้ส่งร่างดังกล่าวไปยังสภาฯ แต่ยังไม่ทราบว่าจะนำมาพิจารณาเมื่อใด เนื่องจากอยู่ในอำนาจของประธานรัฐสภา โดยจะต้องมีการประชุมหารือร่วมทั้ง 2 สภาฯ แต่กฎหมายดังกล่าวสามารถพิจารณาร่วมกับการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญได้ นายวิษณุ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นจะมีคำถามเดียว คือเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ส่วนหากจะมีคำถามพ่วง ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 166 ที่แม้จะให้อำนาจคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอคำถาม แต่ตนเห็นว่าไม่น่าจะเหมาะสม หากจะต้องถามในเรื่องที่ละเอียดอ่อนและรัฐบาลมีส่วนได้เสีย ดังนั้นจึงควรมีคณะกรรมการที่เป็นคนกลางทำหน้าที่เสนอคำถามจะเหมาะสมกว่า ซึ่งอาจจะเป็นคณะกรรมการสมานฉันท์ ที่นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เป็นผู้เสนอตั้งขึ้น เนื่องจากคณะกรรมการชุดดังกล่าวมีผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับ เป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรี และตนไม่ทราบว่าคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะมีตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าร่วมหรือไม่ รวมถึงตัวแทนจากรัฐบาล เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีการติดต่อทาบทามมาแต่อย่างใด ผู้สื่อข่าวถามว่า […]

หนุนพิจารณาร่างแก้ไข รธน. 6 ฉบับ พร้อมร่างไอลอว์

พรรคร่วมรัฐบาลหนุนพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับ พร้อมกับร่างของไอลอว์ ประธานวิปรัฐบาล ขอทุกฝ่ายรับฟังความคิดเห็น ร่วมเดินหน้าคณะกรรมการสมานฉันท์ เชื่อนายกฯ ลาออก ไม่ใช่ทางออก

“เสรี” จี้ตั้ง กก.ปรองดองสมานฉันท์ ก่อนแก้ รธน.

กรุงเทพฯ 28 ต.ค-“เสรี” จี้ตั้งคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ ก่อนแก้ รธน. วอนใช้เหตุผล อย่าจ้องเอาชนะคะคานกัน ไม่เช่นนั้นจะแก้ รธน. ไม่สำเร็จ นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวถึงข้อเสนอให้ 4 ฝ่ายหารือตั้งคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ ว่า เป็นเรื่องที่ต้องเร่งพูดคุย และในกระบวนการนี้ อยากให้เกิดขึ้นก่อนที่จะผลักดันเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเทศจึงจะเดินหน้าไปได้ เพราะหากยังคงมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย มีความเห็นไม่ตรงกัน การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ไม่สำเร็จ ส่วนที่ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวนั้น นายเสรี กล่าวว่า ไม่เป็นไร ปล่อยให้เป็นกลไกของสภาฯ ซึ่งหากไม่เห็นด้วยก็จะโยงใยกันไปหมด รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายใดไม่เอา แต่อยู่ที่เสียงส่วนใหญ่ ส่วนข้อเสนอหาทางออกประเทศด้วยการทำประชามตินั้น นายเสรี กล่าวว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดประเด็นว่าจะให้ประชาชนแสดงความเห็นอย่างไร ซึ่งหากเป็นเรื่องที่รัฐบาลทราบ และเป็นปัญหาสำคัญของบ้านเมือง ก็สามารถทำได้ในทางกฎหมาย แต่การเสนอทำประชามติว่านายกรัฐมนตรีควรอยู่หรือลาออกนั้น เป็นข้อเสนอที่แปลก เพราะหากจะไปถามประชาชนอีกรอบ แล้วจะมีระบบเลือกตั้งไว้ทำไม เมื่อนายกรัฐมนตรีก็มาจากเสียงส่วนใหญ่ และอยากย้อนถามว่าจะใช้มาตรฐานและวิธีการเช่นนี้อีกหรือ “ถ้าเลือกตั้งมาแล้ว ได้นายกฯ มาแล้ว อีกฝ่ายไม่พอใจ ออกมาขับไล่ พอเห็นยุ่งมาก […]

ชี้ประเทศไทยยังไม่ถึงทางตัน

“วันชัย” ชี้ประเทศยังไม่ถึงทางตัน สามารถแก้ปัญหาได้ตามกลไกรัฐธรรมนูญ นาทีนี้ไม่จำเป็นต้องเร่งแก้ ม.272 แต่ควรเร่งสร้างความปรองดอง-นิรโทษกรรมคดีการเมือง ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

1 4 5 6 7 8 12
...