อินโดนีเซียเพาะพันธุ์มังกรโคโมโดป้องกันสูญพันธุ์

สุราบายา 4 พ.ย. – สวนสัตว์ในอินโดนีเซียกำลังเพาะพันธุ์มังกรโคโมโด ซึ่งเป็นสัตว์ประจำถิ่นของอินโดนีเซีย เพื่อป้องกันไม่ให้พวกมันสูญพันธุ์ไปจากโลก เนื่องจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เจ้าหน้าที่ของสวนสัตว์แห่งหนึ่งในอินโดนีเซียระบุว่า การพยายามรักษามังกรโคโมโดไว้ให้อยู่คู่โลกใบนี้จะช่วยเรียกความสนใจจากผู้นำระดับโลกที่งานประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ที่เมืองกลาสโกว์ ของสกอตแลนด์ ให้ยกระดับการรับมือกับปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ นับตั้งแต่สวนสัตว์เริ่มโครงการเพาะพันธุ์มังกรโคโมโด ก็ทำให้จำนวนประชากรมังกรโคโมโดวัยผู้ใหญ่เพิ่มขึ้นเป็น 108 ตัว วัยเด็ก 35 ตัว และมีไข่ที่อยู่ในช่วงฟักตัวอีก 40 ฟอง ทั้งยังระบุว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้คนรุ่นต่อไปในอนาคตได้มีโอกาสเห็นมังกรโคโมโดตัวจริงที่ไม่ใช่การดูจากภาพถ่าย มังกรโคโมโดเป็นสัตว์ประจำถิ่นของอินโดนีเซีย และพบได้ในเฉพาะบนเกาะโคโมโดและเกาะที่อยู่ใกล้เคียง ทางตะวันออกของอินโดนีเซียเท่านั้น ขณะที่องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้จัดให้มังกรโคโมโดอยู่ในบัญชีแดง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีชีวิตที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เมื่อเดือนกันยายน โดยให้เหตุผลเกี่ยวกับภัยคุกคามเพิ่มขึ้นที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งคาดว่าจะทำให้ถิ่นที่อยู่ของมังกรโคโมโดหายไปกว่าร้อยละ 30 ในอีก 45 ปีข้างหน้า.-สำนักข่าวไทย

อินโดนีเซียอนุมัติใช้วัคซีนโนวาแวกซ์ชาติแรกของโลก

แมริแลนด์ 2 พ.ย. – หน่วยงานกำกับดูแลยาของอินโดนีเซียประกาศอนุมัติใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิดของโนวาแวกซ์เป็นกรณีฉุกเฉินเป็นประเทศแรกของโลก ในขณะที่นายสแตนลีย์ เอิร์ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอของโนวาแวกซ์ คาดว่า อินเดีย ฟิลิปปินส์ และอีกหลายประเทศจะอนุมัติใช้วัคซีนของบริษัทในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อจากนี้ โนวาแวกซ์ระบุว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิดของบริษัทที่ใช้ในอินโดนีเซียจะเป็นวัคซีนที่ได้รับการผลิตโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลก และจัดจำหน่ายโดยบริษัทอินเดียในชื่อแบรนด์ ‘โคโวแวกซ์’ (Covovax) โดยคาดว่าจะสามารถจัดส่งวัคซีนลอตแรกให้อินโดนีเซียได้ในเร็ว ๆ นี้ ขณะที่นายเอิร์คเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ส เมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลกกำลังพิจารณาข้อมูลเพื่อนุมัติใช้วัคซีนของโนวาแวกซ์ และคาดว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนดังกล่าวในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เขาคาดว่าบริษัทจะส่งมอบวัคซีนของโนวาแวกซ์จำนวนหนึ่งให้โครงการโคแวกซ์ขององค์การอนามัยโลกได้ภายในปีนี้ และจะส่งมอบวัคซีนจำนวนมากให้โครงการดังกล่าวในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า ขณะนี้ โนวาแวกซ์ยังอยู่ในระหว่างการเจรจากับสำนักงานอาหารและยาสหรัฐ หรือเอฟดีเอ และคาดว่าจะยื่นขออนุมัติใช้วัคซีนอย่างเต็มรูปแบบในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อจากนี้ และยังได้ยื่นขออนุมัติใช้วัคซีนในแคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น รวมถึงองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป หรืออีเอ็มเอ ทั้งนี้ ผลการทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่ในระยะสุดท้ายระบุว่า วัคซีนของโนวาแวกซ์มีประสิทธิภาพป้องกันโรคโควิดได้สูงกว่าร้อยละ 90 ซึ่งรวมถึงประสิทธิภาพต้านเชื้อโควิดสายพันธุ์ที่น่ากังวล เช่น เชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา.-สำนักข่าวไทย

อินโดนีเซียอนุมัติฉีดวัคซีนของซิโนแวคในเด็ก 6-11 ปี

จาการ์ตา 1 พ.ย. – สำนักงานอาหารและยาของอินโดนีเซียอนุมัติใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของซิโนแวคในเด็กอายุ 6-11 ปี หลังจากที่สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ หรือเอฟดีเอ อนุมัติใช้วัคซีนของไฟเซอร์/ไบออนเทคในเด็กอายุ 5-11 ปี หัวหน้าสำนักงานอาหารและยาของอินโดนีเซีย (BPOM) แถลงว่า การอนุมัติใช้วัคซีนของซิโนแวคในกลุ่มเด็กเล็กเป็นสิ่งที่น่ายินดี การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดให้แก่เด็กเล็กถือเป็นเรื่องด่วน โดยเฉพาะในตอนนี้ที่โรงเรียนต่าง ๆ เริ่มทดลองเปิดการเรียนการสอนในห้องเรียนมาเป็นเวลาสองเดือนแล้ว ขณะที่นายบูดี กูนาดี ซาดิคิน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย ระบุว่า ในช่วงนี้อินโดนีเซียพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดรายใหม่ในโรงเรียนค่อนข้างน้อย ส่วนเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียกล่าวว่า อินโดนีเซียอาจเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดให้กลุ่มเด็กเล็กในช่วงต้นปีหน้า เนื่องจากต้องรอคำแนะนำในการฉีดวัคซีนเพิ่มเติมจากสมาคมกุมารแพทย์อินโดนีเซียและรอกำหนดส่งมอบวัคซีนเพิ่มเติม ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซียเคยเป็นศูนย์กลางการระบาดของโรคโควิด-19 ในทวีปเอเชียเมื่อเดือนกรกฎาคม โดยมีเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้อินโดนีเซียมียอดผู้ป่วยติดเชื้อและผู้เสียชีวิตพุ่งสูงขึ้นก่อนที่จะลดลงในเวลาต่อมา ขณะนี้ อินโดนีเซียมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 4.2 ล้านคน และผู้เสียชีวิตกว่า 143,000 คน ซึ่งเป็นยอดผู้ป่วยติดเชื้อและผู้เสียชีวิตสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีอัตราฉีดวัคซีนครบโดสให้ประชาชนร้อยละ 27 จากประชากรทั้งหมด 270 ล้านคน.-สำนักข่าวไทย

อินโดนีเซียเพาะยุงมีแบคทีเรียสกัดไข้เลือดออก

ยอกยาการ์ตา 1 พ.ย.- คณะนักวิจัยในอินโดนีเซียพบวิธีต่อสู้กับโรคไข้เลือดออกเดงกี่ ด้วยการเพาะพันธุ์ยุงให้มีเชื้อแบคทีเรียที่สามารถสกัดไม่ให้เชื้อไวรัสเดงกี่เติบโตในตัวยุงได้ ชาวอินโดนีเซียที่ร่วมในโครงการยุงโลก ซึ่งเป็นโครงการไม่แสวงหากำไรเพื่อปกป้องประชาคมโลกจากโรคที่เกิดจากยุง เผยว่า หลักการคือการเพาะพันธุ์ยุงที่ดี ด้วยการนำยุงที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสเดงกี่มาผสมพันธุ์กับยุงที่มีเชื้อแบคทีเรียโวลบาเกีย จนได้ยุงที่มีเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวที่จะไม่ทำให้คนถูกกัดติดเชื้อ ปกติแล้วเชื้อแบคทีเรียโวลบาเกียพบอยู่ตามธรรมชาติในแมลงชนิดต่าง ๆ ประมาณร้อยละ 60 เช่น ยุง แมลงวันผลไม้ ผีเสื้อ แต่ไม่เคยพบในยุงลายที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสเดงกี่ มหาวิทยาลัยโมนาชในออสเตรเลียและมหาวิทยาลัยกัดจาห์ มาดาในอินโดนีเซียที่ร่วมในโครงการยุงโลกได้นำยุงมีเชื้อแบคทีเรียโวลบาเกียที่เพาะในห้องทดลอง ไปปล่อยในบางพื้นที่ของเมืองยอกยาการ์ตาที่มีโรคไข้เลือดออกเดงกี่ระบาด โดยทำมาตั้งแต่ปี 2560 พบว่า จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี่ลดลงมากถึงร้อยละ 77 และจำนวนผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลลดลงมากถึงร้อยละ 86 ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ช่วงหลายสิบปีมานี้ ทั่วโลกมีผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี่เพิ่มขึ้นเร็วมาก และมีประชากรโลกถึงครึ่งหนึ่งเสี่ยงป่วยด้วยโรคนี้ โดยมีรายงานพบผู้ป่วยปีละ 100-400 ล้านคน.-สำนักข่าวไทย

มาเลเซีย-อินโดนีเซียกังวลข้อตกลง “AUKUS”

มาเลเซียและอินโดนีเซียรู้สึกวิตกกังวลต่อการตัดสินใจของออสเตรเลียในการจัดหาเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ แม้แผนดังกล่าวไม่มีเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ก็ตาม

แผ่นดินไหวขนาด 4.8 ที่เกาะบาหลี-เสียชีวิต 3

สำนักงานค้นหาและกู้ภัยของอินโดนีเซียกล่าววันนี้ว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดความรุนแรง 4.8 ที่เกาะบาหลี สถานที่ท่องเที่ยวพักตากอากาศชื่อดังของอินโดนีเซียในช่วงเช้าวันเสาร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 ราย

ทีมอูเบอร์คัพไทย เฉือนชนะ อินโดฯ 3-2 คู่ เข้ารอบรองชนะเลิศ

ทีมแบดมินตันสาวไทย เฉือนเอาชนะ อินโดนีเซีย 3-2 คู่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศแบดมินตันอูเบอร์ คัพ พร้อมรับประกันเหรียญทองแดงแน่นอนแล้ว

อินโดนีเซียเปิดเกาะบาหลีรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

อินโดนีเซียเปิดเกาะบาหลี สถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศที่เป็นที่รู้จักทั่วไป เพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้งในวันนี้ หลังจากต้องปิดเกาะเนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ปรากฎว่า การเปิดครั้งนี้ยังไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดส่วนประกอบสำคัญคือยังไม่มีเที่ยวบินกลับมาเปิดเส้นทางมายังเกาะบาหลี

ปัญหาโลจิติกส์และขาดคนทำอินโดนีเซียฉีดวัคซีนช้า

จาการ์ตา 26 ก.ย.- ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ปัญหาโลจิติกส์และการขาดแคลนบุคลากรทำให้อินโดนีเซียฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ล่าช้ากว่าเพื่อนบ้าน ทั้งที่เริ่มโครงการฉีดเป็นประเทศแรก ๆ ของภูมิภาค เว็บไซต์สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานอัตราการฉีดวัคซีนในอินโดนีเซียว่า ประชากร 270 ล้านฉีดครบโดสแล้วเพียงร้อยละ 17.9 และฉีดเข็มแรกแล้วเพียงร้อยละ 32 นายดิกกี บูดิแมน นักระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยกริฟฟิธในออสเตรเลียที่ช่วยรัฐบาลอินโดนีเซียปรับปรุงอัตราการฉีดชี้ว่า ปัญหาไม่ใช่เรื่องปริมาณวัคซีนอีกแล้ว แต่เป็นเรื่องขาดแคลนศูนย์ฉีดและบุคลากร ความล่าช้าในการฉีดจะกระทบต่อความพยายามควบคุมการระบาดและการฟื้นเศรษฐกิจประเทศ ไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่แพร่ง่ายทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียเข้มงวดการเดินทางอีกครั้งตั้งแต่ต้นไตรมาส 3 ของปีนี้ ช่วยให้ยอดผู้เสียชีวิตรายสัปดาห์ลดลงแตะระดับต่ำสุด นับตั้งแต่ระบาดระลอกใหม่ในกลางเดือนเมษายน ทางการเผยว่า ได้รับวัคซีนแล้ว 273 ล้าน 6 แสนโดส ตั้งเป้าฉีดให้ประชาชน 208 ล้านคน โดยจะฉีดให้ได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 1 ล้านโดส เพื่อให้ถึงเป้าหมายร้อยละ 70 ก่อนสิ้นปีนี้ อินโดนีเซียมีผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 4 ล้าน 2 แสนคน เสียชีวิตกว่า 141,300 คน และมีผู้กำลังรักษาตัวราว 44,000 […]

อินโดนีเซียสังหารสมาชิกติดอาวุธที่ต้องการตัวมากที่สุด

กองทัพอินโดนีเซียแถลงว่า สังหารสมาชิกกลุ่มติดอาวุธพัวพันกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอส (IS) ที่ทางการต้องการตัวมากที่สุดได้แล้วเมื่อวันเสาร์ ระหว่างยิงปะทะกับเจ้าหน้าที่ที่ออกกวาดล้างกลุ่มสุดโต่งตามป่าเทือกเขาทุรกันดาร

อินโดนีเซียเตือนเรื่องการแข่งขันสะสมอาวุธ

อินโดนีเซียกล่าววันนี้ว่า รู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับการแข่งขันสะสมอาวุธในภูมิภาค หลังจากที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างออสเตรเลียประกาศแผนที่จะครอบครองเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่วของข้อตกลงความเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกกับสหรัฐและอังกฤษ

1 32 33 34 35 36 139
...