อนามัยโลกเตือนทั่วโลกเสี่ยงโควิดโอไมครอนสูงมาก

เจนีวา 29 พ.ย. – องค์การอนามัยโลกระบุวันนี้ว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนมีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดไปทั่วโลก และทำให้เกิดความเสี่ยงสูงมากทั่วโลก อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดการระบาดรุนแรงในบางประเทศ องค์การอนามัยโลกประกาศคำแนะนำทางเทคนิคให้แก่ประเทศสมาชิก 194 ประเทศทั่วโลก โดยเรียกร้องให้แต่ละประเทศเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดให้แก่ประชาชนที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิดสูง และสร้างความมั่นใจว่ายังคงใช้แผนแนวทางป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อปกป้องบริการสาธารณสุขที่จำเป็น ทั้งยังระบุเพิ่มเติมว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนมีการกลายพันธุ์ของโปรตีนบนส่วนหนามของไวรัสเป็นจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อวิถีของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความเสี่ยงของเชื้อดังกล่าวทั่วโลกในภาพรวมจึงได้รับการประเมินให้อยู่ในระดับเสี่ยงสูงมาก องค์การอนามัยโลกยังระบุว่า ทั่วโลกจำเป็นต้องศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนให้มากขึ้นเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการที่เชื้อจะหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนและการติดเชื้อในครั้งก่อน ๆ โดยคาดว่าจะได้รับข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์หน้า ขณะนี้ เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้แพร่ระบาดไปยังหลายประเทศทั่วโลกแล้ว เช่น อังกฤษ เยอรมนี ออสเตรเลีย และอิสราเอล. -สำนักข่าวไทย

อนามัยโลกว่ายังไม่ชัดโควิดโอไมครอนทำให้ป่วยหนักขึ้น

เจนีวา 29 พ.ย. –  องค์การอนามัยโลกเผยเมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่นว่า ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนสามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วขึ้น หรือทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงมากขึ้น เมื่อเทียบกับเชื้อโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ องค์การอนามัยโลกระบุในแถลงการณ์ว่า ข้อมูลในเบื้องต้นชี้ว่า อัตราผู้ป่วยติดเชื้อโควิดกำลังเพิ่มสูงขึ้นในแอฟริกาใต้ แต่อาจเป็นตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อโควิดโดยรวม และไม่ได้เป็นยอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ดี องค์การอนามัยโลกเน้นย้ำว่า มีหลักฐานเบื้องต้นระบุว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ และหายป่วยอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน องค์การอนามัยโลกกำลังทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนต่อมาตรการรับมือโรคโควิด-19 ซึ่งรวมถึงการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคโควิดด้วย ขณะนี้ องค์การอนามัยโลกยังไม่พบข้อมูลที่ชี้ว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนจะก่อให้เกิดอาการป่วยที่แตกต่างจากเชื้อโควิดสายพันธุ์อื่น รายงานเบื้องต้นที่เป็นผลการศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างระบุว่า ผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนที่มีอายุน้อยมีแนวโน้มที่จะมีอาการป่วยน้อยกว่าผู้ป่วยที่มีอายุมาก แต่การทำความเข้าใจเกี่ยวกับระดับความรุนแรงของอาการป่วยจะต้องใช้เวลาอีกหลายวันไปจนถึงหลายสัปดาห์. -สำนักข่าวไทย

ผู้ผลิตวัคซีนโควิดเร่งหาทางรับมือไวรัสกลายพันธุ์

วอชิงตัน 28 พ.ย.- บริษัทผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กำลังเร่งหาทางรับมือกับเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดระลอกใหม่ หลังจากองค์การอนามัยโลกประกาศให้ไวรัสโอไมครอนเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลเมื่อวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น เว็บไซต์สถานีวิทยุแห่งชาติหรือเอ็นพีอาร์ (NPR) ของสหรัฐได้รับการชี้แจงจากโมเดอร์นา ผู้ผลิตวัคซีนของสหรัฐว่า ได้ดำเนินยุทธศาสตร์แบบครอบคลุมเพื่อพยากรณ์ไวรัสสายพันธุ์น่ากังวลมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว ประกอบด้วยการเพิ่มปริมาณวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิจาก 50 ไมโครกรัมเป็น 100 ไมโครกรัม การศึกษาเรื่องฉีควัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิ 2 เข็มเพื่อป้องกันการกลายพันธุ์ดังที่พบในไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน และจะเร่งพัฒนาวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิที่สามารถป้องกันสายพันธุ์โอไมครอนได้โดยเฉพาะ ขณะที่จอห์นสันแอนด์จอห์นสันของสหรัฐชี้แจงต่อเอ็นพีอาร์ว่า ได้เริ่มการทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนกับไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนแล้ว ด้านบริษัทไฟเซอร์ของสหรัฐและไบออนเทคของเยอรมนีเผยกับรอยเตอร์ว่า คาดว่าจะเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์โอไมครอนได้ภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจว่าจะต้องปรับปรุงวัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันหรือไม่ หากต้องปรับปรุงก็พร้อมจะจัดส่งวัคซีนป้องกันสายพันธุ์โอไมครอนได้โดยเฉพาะภายในเวลาประมาณ 100 วัน องค์การอนามัยโลกได้รับรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนรายแรกเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนตามเวลาท้องถิ่น หลักฐานเบื้องต้นบ่งชี้ว่า สายพันธุ์นี้เสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำเนื่องจากมีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง สถานีโทรทัศน์อัลจาซีราห์รายงานว่า มีการยืนยันพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้แล้วในสหราชอาณาจักร อิตาลี เยอรมนี เบลเยียม อิสราเอล และฮ่องกง ด้านศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐหรือซีดีซี (CDC) แจ้งเมื่อวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ แต่ นพ.แอนโทนี เฟาชี หัวหน้าที่ปรึกษาด้านการแพทย์ของประธานาธิบดีสหรัฐเผยว่า ไม่แปลกใจหากจะพบเชื้อนี้ในสหรัฐ เพราะเป็นเชื้อที่แพร่ได้รวดเร็ว […]

อนามัยโลกจ่อประชุมด่วนสกัดโควิดกลายพันธุ์ในแอฟริกาใต้

องค์การอนามัยโลกเปิดประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญนัดเฉพาะกิจที่เมืองเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์ในเวลา 11.00 น. ของวันนี้ หรือตรงกับเวลา 17.00 น. ตามเวลาประเทศไทย เพื่อประเมินเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กลายพันธุ์ใหม่ที่พบในแอฟริกาใต้ ท่ามกลางความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก

อนามัยโลกเผยวัคซีนโควิดกันติดเชื้อได้แค่ 40%

เจนีวา 25 พ.ย. – องค์การอนามัยโลกระบุเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ราวร้อยละ 40 พร้อมทั้งเตือนให้ผู้คนทั่วโลกเลิกเข้าใจผิดว่าการฉีดวัคซีนโควิดทำให้ใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องระมัดระวังตัว ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิดครบโดสล้วนเข้าใจผิดว่าการฉีดวัคซีนทำให้ใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องระมัดระวังตัว แต่ที่จริงแล้วผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิดและแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ยิ่งเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาแพร่ระบาดได้มากขึ้น ก็หมายความว่าวัคซีนโควิดมีประสิทธิภาพป้องกันลดลง ดร.ทีโดรส ยังระบุว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลกกำลังวิตกกังวลเกี่ยวกับความเชื่อผิด ๆ ที่ว่าวัคซีนจะทำให้การระบาดของโรคโควิด-19 สิ้นสุดลง และผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค แม้วัคซีนจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ 100% ทั้งยังอ้างข้อมูลที่ระบุว่า ก่อนหน้านี้ วัคซีนโควิดมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อได้ราวร้อยละ 60 แต่หลังเกิดการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาก็มีประสิทธิภาพลดเหลือเพียงร้อยละ 40 เท่านั้น ดร.ทีโดรส ยังเน้นย้ำว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิดครบโดสหมายถึงผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำต่ออาการป่วยหนักและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 แต่ยังคงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดและแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ดังนั้น ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสจึงต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 เพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นด้วยการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด และไม่ควรออกไปพบผู้อื่นนอกบ้านโดยไม่จำเป็น.-สำนักข่าวไทย

อนามัยโลกหวั่นยุโรปเสียชีวิตจากโควิดเพิ่ม 700,000 คน

องค์การอนามัยโลกระบุเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นว่า ทวีปยุโรปยังคงเผชิญกับการระบาดรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 โดยคาดว่าอาจมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกราว 700,000 คนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

WHO เตือนโควิดระบาดหนักในยุโรป-เสียชีวิตครึ่งล้านปีหน้า

องค์การอนามัยโลกเตือนว่า ยอดผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 รายใหม่ที่พุ่งสูงขึ้นในทวีปยุโรปเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวล และอาจทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 500,000 คนในทวีปดังกล่าวภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

อนามัยโลกรับรองวัคซีนโควิดของอินเดียใช้ฉุกเฉิน

องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่พัฒนาโดยภารัต ไบโอเทค บริษัทเวชภัณฑ์ของอินเดีย เป็นกรณีฉุกเฉินเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นการเปิดทางให้วัคซีนดังกล่าวเป็นที่ยอมรับในประเทศยากจน

WHO หวังซื้อยารักษาโควิดคอร์สละ 10 USD

บรัสเซลส์ 19 ต.ค.- รอยเตอร์อ้างร่างเอกสารว่า โครงการนำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ต้องการให้ประเทศยากจนเข้าถึงวัคซีน การตรวจและยารักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ต้องการได้ยารักษาในราคาคอร์สละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 330 บาท) รอยเตอร์รายงานว่า ร่างเอกสารลงวันที่ 13 ตุลาคมได้กำหนดเป้าหมายของโครงการตัวเร่งในการเข้าถึงเครื่องมือโควิด-19 (ACT-A) จนถึงเดือนกันยายน 2565 ว่า ต้องการส่งมอบชุดตรวจให้แก่ประเทศยากจนประมาณ 1,000 ล้านชุด และจัดหายารักษาให้แก่ผู้ติดเชื้อสูงสุด 120 ล้านคนจากทั้งหมด 200 ล้านคนที่คาดว่าจะเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ร่างเอกสารไม่ได้ระบุชื่อ โมลนูพิราเวียร์ ซึ่งเป็นยารักษาโควิดที่อยู่ระหว่างการทดลองของเมอร์ค บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ แต่คาดหวังไว้ว่า จะสามารถซื้อยาต้านไวรัสชนิดรับประทานแบบใหม่ให้แก่ผู้ป่วยอาการปานกลางได้ในราคาคอร์สละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ ตั้งเป้าบรรลุข้อตกลงซื้อยาภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน และหวังว่าจะมียาให้จัดสรรตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2565 รอยเตอร์ระบุว่า โครงการนี้กำลังเจรจาซื้อยารักษากับเมอร์คและบริษัทผู้ผลิตยาสามัญ หากซื้อได้ในราคาคอร์สละ 10 ดอลลาร์สหรัฐจะถือว่าถูกมาก เพราะสหรัฐตกลงจะซื้อในราคาคอร์สละ 700 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 23,320 […]

สหรัฐจะยอมรับวัคซีนโควิดที่องค์การอนามัยโลกรับรอง

สำนักงานป่องกันและควบคุมโรคของสหรัฐ หรือ ซีดีซี กล่าวในวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า สหรัฐจะยอมรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศที่ฉีดวัคซีนที่หน่วยงานกำกับดูแลด้านยารักษาโรคของสหรัฐ หรือ องค์การอนามัยโลกให้การรับรอง

อนามัยโลกรับรองวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียขนานแรกของโลก

องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียขนานแรกของโลก และแนะนำฉีดวัคซีนดังกล่าวให้เด็กทั่วทวีปแอฟริกาเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรีย

เผยประเทศในทวีปแอฟริกาฉีดวัคซีนโควิดได้แค่ 2%

บราซซาวิล 1 ต.ค. – องค์การอนามัยโลกเผยเมื่อวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่นว่า ประเทศในทวีปแอฟริกากว่าครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด 54 ประเทศมีอัตราฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ครบสองโดสเพียงร้อยละ 2 หรือต่ำกว่านั้น องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีเพียง 15 ประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีอัตราฉีดวัคซีนครบสองโดสไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของประชากรแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายอัตราฉีดวัคซีนร้อยละ 10 ทั่วโลกภายในวันที่ 30 กันยายนที่สมัชชาอนามัยโลกตั้งไว้เมื่อเดือนพฤษภาคม ขณะที่นายริชาร์ด มิฮิโก ผู้ประสานงานการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดขององค์การอนามัยโลกประจำทวีปแอฟริกา กล่าวว่า ข้อมูลล่าสุดชี้ให้เห็นว่าทวีปแอฟริกามีอัตราฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายฉีดวัคซีนครบสองโดสร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ที่องค์การอนามัยโลกตั้งไว้ แม้ทวีปแอฟริกาจะได้รับวัคซีนเพิ่มมากขึ้น แต่แผนส่งมอบวัคซีนที่คลุมเครือยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่ทำให้การฉีดวัคซีนของทวีปดังกล่าวไม่คืบหน้า ทั้งนี้ ทวีปแอฟริกาได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 23 ล้านโดสในเดือนกันยายน ซึ่งเพิ่มขึ้น 10 เท่าจากจำนวนวัคซีนที่ได้รับในเดือนมิถุนายน องค์การอนามัยโลกระบุว่า ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกาที่มีอัตราฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดสูงกว่าร้อยละ 10 เป็นประเทศที่มีประชากรน้อย เช่น มอริเชียส ซึ่งมีประชากร 1.2 ล้านคน และเซเชลส์ ซึ่งมีประชากร 98,000 คน มีอัตราฉีดวัคซีนสูงกว่าร้อยละ […]

1 6 7 8 9 10 28
...