fbpx

ออมสินแจ้งลูกหนี้ผ่อนไม่ไหวรีบติดต่อธนาคาร

กรุงเทพฯ 15 มี.ค.-ออมสินแจ้งลูกหนี้ผ่อนไม่ไหวทุกสถานะ เร่งติดต่อธนาคารก่อนเสียประวัติเครดิต หลังมาตรการ 4 ไม่ ไม่ฟ้อง ไม่ยึดทรัพย์ ไม่ขายทอดตลาด และไม่ฟ้องล้มละลาย    สิ้นสุด 31 มี.ค. 67 

บ.จักรยานไฟฟ้าดังของเนเธอร์แลนด์ถูกสั่งล้มละลาย

กรุงเฮก 18 ก.ค.- แวนมูฟ (VanMoof) ผู้ผลิตจักรยานไฟฟ้าของเนเธอร์แลนด์ที่ได้รับความนิยมจนได้รับฉายาว่า “เทสลาแห่งจักรยานไฟฟ้า” แจ้งวันนี้ว่า ถูกศาลประกาศให้ล้มละลาย แวนมูฟระดมทุนได้ 128 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4,374 ล้านบาท) ในเดือนกันยายน 2564 หวังขยายกิจการในช่วงที่ตลาดจักรยานไฟฟ้าเฟื่องฟู เนื่องจากโรคโควิด-19 ระบาด ทำให้จักรยานไฟฟ้าเป็นทางเลือกใหม่ในการเดินทางอย่างปลอดภัย แต่หลังจากนั้นไม่นานบริษัทเริ่มประสบปัญหา สื่อท้องถิ่นรายงานว่า แวนมูฟเสียชื่อเสียงเรื่องจักรยานเสียบ่อย และใช้เวลาซ่อมนาน บริษัทขาดทุนเกือบ 80 ล้านยูโร (เกือบ 3,075 ล้านบาท) ในปี 2564 และขาดทุนใกล้เคียงกันในปี 2565 ศาลกรุงอัมสเตอร์ดัมอนุญาตให้แวนมูฟพักการชำระหนี้เมื่อสัปดาห์ก่อน หลังจากบริษัทยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ อย่างไรก็ดี แวนมูฟแจ้งวันนี้ว่า ศาลได้ถอนคำสั่งพักการชำระหนี้ของนิติบุคคลสัญชาติเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดของแวนมูฟเมื่อวันจันทร์ และมีคำสั่งให้นิติบุคคลเหล่านี้ล้มละลาย ส่วนนิติบุคคลนอกเนเธอร์แลนด์ไม่ได้อยู่ในกระบวนการล้มละลาย เจ้าหน้าที่ 2 คนที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทรัพย์สินกำลังตรวจสอบความเป็นไปได้ที่จะทำให้บริษัทหลุดจากการล้มละลายด้วยการจำหน่ายทรัพย์สินให้แก่บุคคลที่ 3 เพื่อให้แวนมูฟสามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ศาลอินเดียให้พิทักษ์ทรัพย์สายการบิน Go First

ศาลอินเดียมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์สายการบินโก เฟิร์สต์ (Go First) เพื่อเปิดโอกาสให้สายการบินที่ล้มละลายแห่งนี้กลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง ขณะที่บริษัทผู้ให้เช่าเครื่องบินต่างชาติจะมีความยุ่งยากทางกฎหมายมากขึ้นในการนำเครื่องบินกลับ

อินเดียเตรียมชี้ชะตา Go First ที่ยื่นขอล้มละลาย

นิวเดลี 10 พ.ค.- ศาลอินเดียจะมีคำตัดสินในวันนี้ต่อคำยื่นขอล้มละลายของโก เฟิร์สต์ (Go First) ที่เป็นสายการบินใหญ่อันดับ 4 ของประเทศ ซึ่งจะมีผลต่อชะตากรรมของพนักงาน 7,000 คน และบริษัทให้เช่าเครื่องบินต่างชาติที่ต้องการนำเครื่องบินกลับ ศาลจะมีคำตัดสินในเวลา 10:30 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 12:00 น.วันนี้ตามเวลาไทย เป็นที่คาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่า ศาลจะอนุญาตให้ล้มละลายตามที่ขอ และจะเป็นครั้งแรกที่สายการบินอินเดียยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ในฐานนะล้มละลายโดยสมัครใจเพื่อเจรจาเรื่องสัญญาและหนี้สิน คำตัดสินนี้อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทผู้ให้เช่าเครื่องบินต่างชาติที่ยื่นเรื่องต่อสำนักงานกำกับดูแลการบินอินเดียเมื่อไม่กี่วันก่อนว่า ต้องการนำเครื่องบินกลับประมาณ 40 ลำ เนื่องจากโกเฟิร์สต์ไม่ได้จ่ายค่าเช่าเครื่องบิน โก เฟิร์สต์ ที่เพิ่งเปลี่ยนชื่อมาจากโก แอร์ไลน์ (Go Airlines) เมื่อไม่นานมานี้อ้างว่า สายการบินเผชิญวิกฤตทางการเงินเพราะเครื่องยนต์เครื่องบินของบริษัทแพรตต์แอนด์วิทนีย์ (Pratt & Whitney) มีข้อบกพร่อง ทำให้ต้องจอดเครื่องบินมากถึงครึ่งหนึ่งจากที่มีอยู่ทั้งหมด 54 ลำ ด้านบริษัทเครื่องยนต์เครื่องบินโต้ว่าเป็นการกล่าวอ้างโดยไร้หลักฐาน โก เฟิร์สต์เป็นสายการบินราคาประหยัด ครองส่วนแบ่งเกือบร้อยละ 8 ในตลาดการบินของอินเดียที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก หากล้มละลายก็จะตามหลังสายการบินคิงฟิชเชอร์ที่ล้มละลายในปี 2555 และสายการบินเจ็ตแอร์เวย์ที่ล้มละลายในปี 2562.-สำนักข่าวไทย

เวอร์จิน ออบิท ยื่นล้มละลาย-หาผู้ซื้อกิจการ

เวอร์จิ้น ออบิท บริษัทผู้ให้บริการปล่อยดาวเทียมขนาดเล็กที่ก่อตั้งโดยริชาร์ด แบรนสัน มหาเศรษฐีชาวอังกฤษ ยื่นขอล้มละลายตามประมวลกฎหมายบทที่ 11 หรือ แชปเตอร์ 11 (Chapter 11) และจะขายกิจการ

จีนจะมีบทบาทในทางบวกในการช่วยเหลือศรีลังกา

จีนกล่าววันนี้ว่า จะมีบทบาทในทางบวกในการช่วยเหลือศรีลังกาที่อยู่ในสภาพล้มละลาย เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตหนี้สินไปให้ได้ หลังจากที่จีนยอมตกลงปรับโครงสร้างเงินกู้ให้กับศรีลังกา

ชาวศรีลังกานัดหยุดงานท้าทายคำสั่งห้ามประท้วง

โคลัมโบ 1 มี.ค.- คนทำงานชาวศรีลังกาพากันนัดหยุดงานในวันนี้ ท้าทายคำสั่งของรัฐบาลที่ห้ามการประท้วงต่อต้านแผนการกอบกู้ประเทศที่อยู่ในภาวะล้มละลาย การนัดหยุดงานทำให้โรงพยาบาล ธนาคารและท่าเรือต้องปิดทำการ สหภาพแรงงานประมาณ 40 แห่ง เรียกร้องให้สมาชิกนัดหยุดงานในวันนี้ โดยอ้างว่าได้รับแจ้งจากประธานาธิบดีรานิล วิกรมสิงเห เมื่อวันเสาร์ว่า ไม่สามารถลดภาษีรายได้ให้ประชาชน เนื่องจากเป็นเงื่อนไขของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) ที่จะให้เงินช่วยเหลือศรีลังกา แพทย์โรงพยาบาลแห่งชาติศรีลังกาในกรุงโคลัมโบเผยว่า จะรักษาเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น ส่วนการนัดตรวจผู้ป่วยตามคลินิกและโรงพยาบาลเอกชนถูกยกเลิกทั้งหมด ประธานสมาคมบุคคลากรทางการแพทย์ของรัฐบาลเผยว่า จะเดินหน้าเคลื่อนไหวให้หนักขึ้นเพราะคิดว่าการนัดหยุดงานเพียงวันเดียวจะไม่สามารถเปลี่ยนใจทางการได้ ขณะที่คนทำงานด้านการไฟฟ้า พนักงานธนาคารและคนงานท่าเรือก็นัดหยุดงานในวันนี้เช่นเดียวกัน แม้ว่าประธานาธิบดีวิกรมสิงเหใช้อำนาจบริหารเมื่อวันอังคารสั่งห้ามการนัดหยุดงาน และบังคับให้คนทำงานในภาคบริการจำเป็นต้องทำงาน ไม่เช่นนั้นจะถูกไล่ออก ชาวศรีลังกากำลังไม่พอใจประธานาธิบดีวิกรมสิงเหที่ขึ้นภาษีและตัดลดงบประมาณรายจ่าย เพื่อให้ได้เงินช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ หลังจากศรีลังกาผิดนัดชำระหนี้ต่างประเทศ 46,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.6 ล้านล้านบาท) เมื่อเดือนเมษายน 2565 และกำลังรอความช่วยเหลือทางการเงินจากจีน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ระดับทวิภาคีรายใหญ่ที่สุด ศรีลังกาเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจร้ายแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเมื่อปลายปี 2564 ส่งผลให้ขาดแคลนอาหาร เชื้อเพลิง ยา ประชาชนออกมาประท้วงหลายเดือนจนกระทั่งขับไล่ประธานาธิบดีโกตาบายา ราชปักษาในเดือนกรกฎาคม ส่วนประธานาธิบดีวิกรมสิงเหที่ได้รับเลือกจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งเผยว่า เศรษฐกิจศรีลังกาปี 2565 หดตัวร้อยละ 11 และจะอยู่ในภาวะล้มละลายไปจนถึงปี 2569 เป็นอย่างน้อย.-สำนักข่าวไทย

ศรีลังกาขึ้นค่าไฟอีกตามเงื่อนไขขอเงินกู้จากไอเอ็มเอฟ

โคลัมโบ 16 ก.พ.- ศรีลังกาประกาศขึ้นค่าไฟฟ้าอีกเกือบ 3 เท่า เป็นการขึ้นครั้งที่ 2 ในรอบไม่กี่เดือน ตามเงื่อนไขการขอเงินช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) เนื่องจากประเทศอยู่ในฐานะล้มละลาย นายกันชนะ วิเยสเกรา รัฐมนตรีพลังงานศรีลังกาเผยหลังจากคณะกรรมการการไฟฟ้าประกาศขึ้นค่าไฟฟ้าอีกร้อยละ 275 ในวันนี้ว่า รัฐบาลจำเป็นต้องขึ้นค่าไฟฟ้าตามเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟ เพื่อให้มีรายได้มาใช้จ่าย การขึ้นค่าไฟฟ้าครั้งล่าสุดจะทำให้ครัวเรือนในศรีลังกาต้องจ่ายค่าไฟฟ้าขั้นต่ำ 30 รูปี (ราว 2.81 บาท) ต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง หลังจากจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 264 มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 ขณะที่ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 หลังจากจ่ายเพิ่มขึ้นมาแล้วร้อยละ 80 รัฐมนตรีพลังงานศรีลังการะบุว่า การขึ้นค่าไฟฟ้าจะทำให้การไฟฟ้าของรัฐไม่ต้องดับไฟวันละ 140 นาทีอีกต่อไป เพราะรัฐบาลจะมีเงินซื้อเชื้อเพลิงที่จะช่วยให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างสม่ำเสมอ ศรีลังกาเผชิญวิกฤตการเงินครั้งใหญ่ในปี 2565 ประชาชน 22 ล้านคนต้องเดือดร้อนเป็นเวลาหลายเดือนจากการขาดแคลนอาหาร เชื้อเพลิง และถูกตัดกระแสไฟฟ้าวันละหลายชั่วโมง รัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ต่างประเทศ 46,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.57 ล้านล้านบาท) และกำลังเจรจาสรุปข้อตกลงความช่วยเหลือกับไอเอ็มเอฟเพื่อกอบกู้ฐานะการเงินที่ล้มละลาย ประธานาธิบดีรานิล วิกรมสิงเห […]

ยูเอ็นวอนลงทุนขนานใหญ่ฟื้นฟูปากีสถาน

เจนีวา 9 ม.ค.- เลขาธิการสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) เรียกร้องให้ลงทุนขนานใหญ่ เพื่อช่วยปากีสถานฟื้นฟูประเทศที่เสียหายหนักจากอุทกภัยปี 2565 และตกเป็นเหยื่อซ้ำซ้อนทั้งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการล้มละลายทางศีลธรรมของระบบการเงินโลก นายอันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการยูเอ็นกล่าวในการประชุมระหว่างประเทศที่นครเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์ในวันนี้เพื่อระดมทุนช่วยฟื้นฟูปากีสถานว่า ไม่มีประเทศใดควรต้องยอมทนกับภัยพิบัติเหมือนที่เกิดขึ้นในปากีสถาน เขาขอยกย่องปากีสถานและประชาชนที่รับมือกับโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่อย่างกล้าหาญ ประชาคมโลกจะต้องทำให้ได้อย่างชาวปากีสถานด้วยการพยายามและลงทุนขนานใหญ่เพื่อช่วยให้ชาวปากีสถานมีความแข็งแกร่งสำหรับอนาคตที่ดีขึ้น เลขาธิการยูเอ็นระบุว่า ประชาคมโลกมีความรับผิดชอบเป็นพิเศษที่จะต้องช่วยเหลือปากีสถานที่ตกเป็นเหยื่อซ้ำซ้อนทั้งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการล้มละลายทางศีลธรรมของระบบการเงินโลก เขาประณามระบบการเงินที่มักปฏิเสธการผ่อนปรนหนี้ให้แก่ประเทศรายได้ปานกลางและการให้ทุนที่จำเป็นต่อการลงทุนเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการรับมือกับภัยพิบิตทางธรรมชาติ ด้านนายพิลาวัล บุตโต ซาร์ดารี รัฐมนตรีต่างประเทศปากีสถานที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวซึ่งมีผู้ลงทะเบียนประชุมประมาณ 450 คนจาก 40 ประเทศว่า อุทกภัยปี 2565 เป็นภัยพิบัติทางสภาพภูมิอากาศครั้งร้ายแรงที่สุดของประเทศ ปากีสถานต้องการการสนับสนุนในช่วงหลายปีข้างหน้าจากหุ้นส่วนสากลในการฟื้นฟูประเทศ ข้อมูลในแผนงานการฟื้นตัว ฟื้นฟูและบูรณะอย่างยืดหยุ่นที่ปากีสถานจะนำเสนอต่อที่ประชุมระบุว่า ต้องการความช่วยเหลือ 16,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 546,604 ล้านบาท) อุทกภัยดังกล่าวทำให้ปากีสถานจมน้ำมากถึง 1 ใน 3 ของประเทศ เสียชีวิตมากกว่า 1,700 คน เดือดร้อนมากกว่า 33 ล้านคน โดยมีคนพลัดถิ่น 8 ล้านคน และต้องกลายเป็นคนยากจน 9 ล้านคน.-สำนักข่าวไทย

มือสังหารแค้น “อาเบะ” โยงกลุ่มศาสนาที่ทำแม่ล้มละลาย

นารา 10 ก.ค.- ตำรวจญี่ปุ่นเผยว่า ชายที่ยิงอดีตนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะเชื่อว่าอาเบะโยงใยกับกลุ่มทางศาสนาที่เป็นต้นเหตุให้มารดาของเขาล้มละลาย และเคยพยายามจะทำระเบิดเองด้วย สำนักข่าวเกียวโดนิวส์ของญี่ปุ่นอ้างแหล่งข่าวสอบสวนวันนี้ว่า นายเท็ตสึยะ ยามากามิ วัย 41 ปี ให้การกับตำรวจว่า มารดาของเขาได้บริจาคเงินจำนวนมากให้แก่องค์กรทางศาสนาแห่งหนึ่ง จนเขาเกิดความคับแค้นใจองค์กรดังกล่าวที่เขาเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับนายอาเบะ เดิมเขาตั้งใจจะปองร้ายผู้บริหารองค์กรนี้ แต่ได้เปลี่ยนใจไปปองร้ายนายอาเบะแทน ด้านหนังสือพิมพ์โยมิอูริและสื่อญี่ปุ่นหลายแห่งรายงานว่า นายยามากิมิให้การว่า มารดาของเขาบริจาคเงินจนล้มละลาย หนังสือพิมพ์ไมนิจิรายงานว่า หลังปลดประจำการจากกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลในปี 2548 เขาไปทำงานเป็นพนักงานบริษัท และไปทำงานเป็นคนขับรถยกในโรงงานแห่งหนึ่งช่วงปลายปี 2563 โดยไม่มีปัญหาใด ๆ แต่เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา เขาขาดงานโดยไม่ได้ขออนุญาต และแจ้งหัวหน้างานว่าต้องการลาออก โดยได้ใช้วันลาหมดจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม เกียวโดนิวส์รายงานว่า เขาได้ทำปืนขึ้นเองหลายกระบอกและเคยพยายามทำระเบิดเองด้วย ตำรวจค้นบ้านพักในเมืองนารา ทางตะวันตกของประเทศ ยึดได้ปืนหลายกระบอกคล้ายกับปืนทำเองที่พบในที่เกิดเหตุลอบสังหารนายอาเบะเมื่อวันศุกร์ เขาถูกส่งตัวไปพบอัยการในวันนี้ฐานต้องสงสัยก่อคดีฆาตกรรม มีรายงานว่า เขาประกอบปืนขึ้นเองจากชิ้นส่วนที่สั่งซื้อทางออนไลน์ ใช้เวลาหลายเดือนวางแผนก่อเหตุ และเคยไปร่วมฟังการหาเสียงของนายอาเบะมาแล้วหลายครั้ง บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงแห่งญี่ปุ่นหรือเอ็นเอชเค (NHK) รายงานว่า เขาคิดจะใช้ระเบิดก่อเหตุ แต่ได้เปลี่ยนใจไปใช้ปืนแทน.-สำนักข่าวไทย

นายกฯ ศรีลังการับประเทศตกอยู่ในสถานะล้มละลาย

โคลัมโบ 5 ก.ค. – นายกรัฐมนตรีรานิล วิกรามาสิงหะ ของศรีลังกา ยอมรับว่า ศรีลังกาตกอยู่ในสถานะล้มละลายและจะต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อต่อไปจนถึงสิ้นปีหน้าเป็นอย่างน้อย นายกรัฐมนตรีวิกรามาสิงหะกล่าวในที่ประชุมรัฐสภาศรีลังกาวันนี้ว่า ศรีลังกาจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างหนักในปีนี้ รวมถึงปัญหาขาดแคลนอาหาร น้ำมันเชื้อเพลิง และยารักษาโรค เขายอมรับว่าปัญหาเหล่านี้จะยืดเยื้อต่อไปจนถึงปีหน้า ส่วนแผนเจรจาเรื่องกู้ยืมเงินช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ขึ้นอยู่กับการสรุปแผนปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ในเดือนสิงหาคม โดยที่ศรีลังกาจะทำเรื่องกู้ยืมเงินในฐานะประเทศที่มีสถานะล้มละลาย นายกรัฐมนตรีวิกรามาสิงหะเผยว่า ศรีลังกายังคงตกอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ เนื่องจากธนาคารกลางของศรีลังกาคาดการณ์ว่า ศรีลังกาอาจเผชิญกับภาวะหดตัวด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 4-5 ในปีนี้ รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อที่สูงถึงร้อยละ 60 ในช่วงสิ้นปีนี้ ผู้นำศรีลังกายังระบุเพิ่มเติมว่า หลังจากที่บรรลุข้อตกลงระดับเจ้าหน้าที่กับไอเอ็มเอฟ ศรีลังกาได้ตั้งเป้าเปิดประชุมเพื่อรับเงินบริจาคจากประเทศที่เป็นมิตร เช่น จีน อินเดีย และญี่ปุ่น เพื่อใช้ค้ำประกันเงินกู้ผ่านข้อตกลงร่วม. -สำนักข่าวไทย

SAS ยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ในสหรัฐ

สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ หรือเอสเอเอส (SAS) สายการบินประจำชาติของสวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก ยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ในสหรัฐ พร้อมกับเตือนนักบินที่ผละงานว่าทำให้อนาคตของสายการบินตกอยู่ในความเสี่ยง

1 2 3 7
...