ไทย-จีนพร้อมแลกข้อมูลทุนสีเทา-มิจฉาชีพ

“อนุทิน” ต้อนรับทูตจีน ตามงาน Mou ที่ทำร่วมกัน พร้อมประสานความร่วมมือแบ่งปันข้อมูลมิจฉาชีพ ทุนจีนสีเทาที่หนีมาอยู่ในไทย

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: เตือนภัย ! ร้านอาหาร รวมมุกโจรในคราบลูกค้า

24 ตุลาคม 2566 วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨ได้รวบรวมกลโกงของแก๊งมิจฉาชีพในคราบลูกค้า มาเตือนภัยให้แม่ค้า พ่อค้าและเหล่าร้านอาหารระวังตัวกัน ทั้งมุกทำเนียนเป็นลูกค้าแล้วป่วย หลอกเงินค่ารักษาพยาบาล อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ยศใหญ่ หลอกเรียกเก็บค่าสถานที่ และอีกหลายกลโกง พร้อมทั้งวิธีจับไต๋มิจฉาชีพ จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

มิจฉาชีพหลอกซื้อบ้าน-เช่าพระบูชา จ่ายเช็คเด้ง

เจ้าของร้านเช่าพระแห่งหนึ่ง ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ประกาศขายบ้าน เจอมิจฉาชีพหลอก ซื้อบ้านและพระบูชา ก่อนให้เช็ค 1 แสนบาท แต่เจ้าของบ้านผิดสังเกต ตรวจประวัติพบหมายจับอื้อ 

ตร.เตือนภัยมิจฉาชีพปลอมเสียงหลอกเป็นคนรู้จักเพื่อยืมเงิน

ตร.เตือนกลลวง มิจฉาชีพ ตีเนียน ปลอมเสียงเป็นคนรู้จักโทรหลอกยืมเงิน ความจริงอาจไม่ได้ใช้ AI อย่างที่คิด

เตือนมิจฉาชีพหลอกญาติแรงงานไทยในอิสราเอล

มิจฉาชีพระบาด หลอกญาติแรงงานไทยในอิสราเอล อ้างจะช่วยติดตามเงินค้างจ่ายให้กดลิงก์ เจ้าหน้าที่เตือนอย่าตกเป็นเหยื่อ พร้อมเปิดเผยรูปแบบการหลอกลวง

เผาแล้วเด็ก ม.6 เหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์

เคลื่อนร่างนักเรียนหญิง ม.6 เหยื่อแก๊งมิจฉาชีพหลอกโอนเงินซื้อโทรศัพท์มือถือ ไปทำพิธีฌาปนกิจแล้ว ด้านแม่เด็กขอบคุณตำรวจแจ้งความคืบหน้าคดีเป็นระยะ จากนี้จะทำทุกอย่างที่ลูกสั่งไว้

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: เตือน ! สั่งของผ่านไลฟ์ ระวังโจรสวมรอย ทักหา

17 ตุลาคม 2566 ขาชอปออนไลน์ต้องระวัง ! เพราะตอนนี้มิจฉาชีพมีมุกใหม่ สวมรอยเป็นเพจดัง ทักหา หลอกให้โอนเงิน จากสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – วันที่ 14 ตุลาคม 2566 พบว่า การหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ มีผู้เสียหายแจ้งความออนไลน์กว่า 137,719 เรื่อง หรือคิดเป็น 40.12% จากเรื่องการรับแจ้งความทั้งหมด สูงเป็นลำดับที่ 1 โดยมีมูลค่าความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้า และตอนนี้อุบายที่คนร้ายใช้ คือ จะทักไปหาผู้เสียหายที่ได้ทำการสั่งซื้อสินค้าในระหว่างการไลฟ์สดของเพจร้านค้าต่าง ๆ โดยผู้เสียหายจะพิมพ์รหัสสินค้าที่ต้องการจะสั่งซื้อ  หากผู้เสียหายเป็นผู้ได้รับสิทธิในการซื้อสินค้าดังกล่าว จะมีข้อความจากระบบตอบรับอัตโนมัติของเพจจริง แจ้งมายังกล่องข้อความ (Inbox) บัญชีเฟซบุ๊กของผู้เสียหาย เพื่อยืนยันคำสั่งซื้อสินค้า เพื่อแจ้งรหัสการสั่งซื้อ ราคา และช่องทางการชำระเงิน ซึ่งก่อนหน้านี้มิจฉาชีพได้แฝงตัวอยู่ในเพจจริงดังกล่าว เมื่อเห็นผู้เสียหายสั่งซื้อสินค้าแล้วจะฉวยโอกาสใช้เพจปลอมติดต่อไปยังบัญชีเฟซบุ๊กผู้เสียหาย โดยแอบอ้างเป็นร้านค้าจริง ส่งหมายเลขบัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ที่เตรียมไว้ให้ผู้เสียหายทำการโอนเงิน เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ระมัดระวัง […]

หญิงวัย 75 ถูกหลอกให้รัก สูญเงินกว่า 18 ล้าน

เตือนภัยออนไลน์! หญิงวัย 75 ปี ถูกมิจฉาชีพส่งข้อความมาจีบ คุยกันได้ไม่กี่วันก็เชื่อใจ โอนเงินไปให้มิจฉาชีพกว่า 18 ล้านบาท

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: เพจปลอม หลอกขายกล่องสุ่ม สุดท้ายหลอกโอนเงิน

11 ตุลาคม 2566 สายกล่องสุ่มต้องระวัง ! เพราะตอนนี้มีมิจฉาชีพได้เกาะกระแสเทรนด์กล่องสุ่ม ด้วยการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมให้คล้ายกับเพจชื่อดังที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก และโพสต์ข้อความในลักษณะเชิญชวนให้ร่วมกิจกรรมซื้อกล่องสุ่มในราคา กล่องละประมาณ 1,000 บาท โดยอ้างว่ามีสิทธิที่จะได้รับรางวัลใหญ่ต่าง ๆ เช่น เงินสด รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ ทองคำ เป็นต้น หลังจากที่ผู้เสียหายหลงเชื่อซื้อกล่องสุ่มดังกล่าวไปแล้ว มิจฉาชีพจะส่งข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์มาแจ้งผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัลเป็นทองคำ น้ำหนัก 5 บาท แต่ผู้เสียหายจะต้องทำการโอนเงินค่าภาษี 5,000 บาท และค่าประกันทองคำ 9,900 บาท มาให้เสียก่อนถึงจะได้รับทองคำดังกล่าว นอกจากนี้มิจฉาชีพยังแจ้งว่า หากผู้เสียหายเลือกรับเป็นเงินสดแทนทองคำจะได้เงินสด จำนวน 165,000 บาท และต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมอีก 12,000 บาท ผู้เสียหายบางรายหลงเชื่ออยากได้ทองคำจึงโอนไปให้มิจฉาชีพสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨ขอเตือน ก่อนร่วมกิจกรรมใด ๆ ขอให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่า เพจเฟซบุ๊กนั้นเป็นของจริง รวมถึงระมัดระวังการหลงเชื่อข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ที่แจ้งว่าได้รับรางวัลหรือสิทธิพิเศษต่าง ๆ หากมีการให้โอนเงินไปก่อนที่จะได้รับรางวัล ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาชีพอย่างแน่นอน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : 7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์

11 ตุลาคม 2566 ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การทำกิจกรรม หรือการทำธุรกรรมต่าง ๆ แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพใช้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย หลอกลวงทรัพย์สินได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุบายการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ จากสถิติของศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่ามีเฟซบุ๊ก 7 รูปแบบที่มิจฉาชีพชอบใช้หลอก ดังนี้ 7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์ 1.เพจหน่วยงานราชการปลอม แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นข้าราชการระดับสูง สามารถช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางคดี ให้บริการรับแจ้งความ หรือร้องทุกข์ออนไลน์ รวมถึงการรับทำเอกสารราชการออนไลน์ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ บัตรประจำตัวประชาชน อ่านบทความอุบายหลอกแจ้งความปลอม : ระวังเว็บแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกเหยื่อโอนเงินเข้าเว็บพนัน , ทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยไม่ต้องไปขนส่ง จริงหรือ ? 2.เพจบริษัท ตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวม หุ้นปลอม ชักชวนหลอกลวงให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เงินดิจิทัล เงินสกุลต่างประเทศ หุ้นพลังงาน […]

1 8 9 10 11 12 33
...