
เตือนมิจฉาชีพหลอกญาติแรงงานไทยในอิสราเอล
มิจฉาชีพระบาด หลอกญาติแรงงานไทยในอิสราเอล อ้างจะช่วยติดตามเงินค้างจ่ายให้กดลิงก์ เจ้าหน้าที่เตือนอย่าตกเป็นเหยื่อ พร้อมเปิดเผยรูปแบบการหลอกลวง
มิจฉาชีพระบาด หลอกญาติแรงงานไทยในอิสราเอล อ้างจะช่วยติดตามเงินค้างจ่ายให้กดลิงก์ เจ้าหน้าที่เตือนอย่าตกเป็นเหยื่อ พร้อมเปิดเผยรูปแบบการหลอกลวง
เคลื่อนร่างนักเรียนหญิง ม.6 เหยื่อแก๊งมิจฉาชีพหลอกโอนเงินซื้อโทรศัพท์มือถือ ไปทำพิธีฌาปนกิจแล้ว ด้านแม่เด็กขอบคุณตำรวจแจ้งความคืบหน้าคดีเป็นระยะ จากนี้จะทำทุกอย่างที่ลูกสั่งไว้
17 ตุลาคม 2566 ขาชอปออนไลน์ต้องระวัง ! เพราะตอนนี้มิจฉาชีพมีมุกใหม่ สวมรอยเป็นเพจดัง ทักหา หลอกให้โอนเงิน จากสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – วันที่ 14 ตุลาคม 2566 พบว่า การหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ มีผู้เสียหายแจ้งความออนไลน์กว่า 137,719 เรื่อง หรือคิดเป็น 40.12% จากเรื่องการรับแจ้งความทั้งหมด สูงเป็นลำดับที่ 1 โดยมีมูลค่าความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้า และตอนนี้อุบายที่คนร้ายใช้ คือ จะทักไปหาผู้เสียหายที่ได้ทำการสั่งซื้อสินค้าในระหว่างการไลฟ์สดของเพจร้านค้าต่าง ๆ โดยผู้เสียหายจะพิมพ์รหัสสินค้าที่ต้องการจะสั่งซื้อ หากผู้เสียหายเป็นผู้ได้รับสิทธิในการซื้อสินค้าดังกล่าว จะมีข้อความจากระบบตอบรับอัตโนมัติของเพจจริง แจ้งมายังกล่องข้อความ (Inbox) บัญชีเฟซบุ๊กของผู้เสียหาย เพื่อยืนยันคำสั่งซื้อสินค้า เพื่อแจ้งรหัสการสั่งซื้อ ราคา และช่องทางการชำระเงิน ซึ่งก่อนหน้านี้มิจฉาชีพได้แฝงตัวอยู่ในเพจจริงดังกล่าว เมื่อเห็นผู้เสียหายสั่งซื้อสินค้าแล้วจะฉวยโอกาสใช้เพจปลอมติดต่อไปยังบัญชีเฟซบุ๊กผู้เสียหาย โดยแอบอ้างเป็นร้านค้าจริง ส่งหมายเลขบัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ที่เตรียมไว้ให้ผู้เสียหายทำการโอนเงิน เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ระมัดระวัง […]
เตือนภัยออนไลน์! หญิงวัย 75 ปี ถูกมิจฉาชีพส่งข้อความมาจีบ คุยกันได้ไม่กี่วันก็เชื่อใจ โอนเงินไปให้มิจฉาชีพกว่า 18 ล้านบาท
11 ตุลาคม 2566 สายกล่องสุ่มต้องระวัง ! เพราะตอนนี้มีมิจฉาชีพได้เกาะกระแสเทรนด์กล่องสุ่ม ด้วยการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมให้คล้ายกับเพจชื่อดังที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก และโพสต์ข้อความในลักษณะเชิญชวนให้ร่วมกิจกรรมซื้อกล่องสุ่มในราคา กล่องละประมาณ 1,000 บาท โดยอ้างว่ามีสิทธิที่จะได้รับรางวัลใหญ่ต่าง ๆ เช่น เงินสด รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ ทองคำ เป็นต้น หลังจากที่ผู้เสียหายหลงเชื่อซื้อกล่องสุ่มดังกล่าวไปแล้ว มิจฉาชีพจะส่งข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์มาแจ้งผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัลเป็นทองคำ น้ำหนัก 5 บาท แต่ผู้เสียหายจะต้องทำการโอนเงินค่าภาษี 5,000 บาท และค่าประกันทองคำ 9,900 บาท มาให้เสียก่อนถึงจะได้รับทองคำดังกล่าว นอกจากนี้มิจฉาชีพยังแจ้งว่า หากผู้เสียหายเลือกรับเป็นเงินสดแทนทองคำจะได้เงินสด จำนวน 165,000 บาท และต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมอีก 12,000 บาท ผู้เสียหายบางรายหลงเชื่ออยากได้ทองคำจึงโอนไปให้มิจฉาชีพสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨ขอเตือน ก่อนร่วมกิจกรรมใด ๆ ขอให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่า เพจเฟซบุ๊กนั้นเป็นของจริง รวมถึงระมัดระวังการหลงเชื่อข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ที่แจ้งว่าได้รับรางวัลหรือสิทธิพิเศษต่าง ๆ หากมีการให้โอนเงินไปก่อนที่จะได้รับรางวัล ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาชีพอย่างแน่นอน […]
11 ตุลาคม 2566 ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การทำกิจกรรม หรือการทำธุรกรรมต่าง ๆ แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพใช้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย หลอกลวงทรัพย์สินได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุบายการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ จากสถิติของศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่ามีเฟซบุ๊ก 7 รูปแบบที่มิจฉาชีพชอบใช้หลอก ดังนี้ 7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์ 1.เพจหน่วยงานราชการปลอม แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นข้าราชการระดับสูง สามารถช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางคดี ให้บริการรับแจ้งความ หรือร้องทุกข์ออนไลน์ รวมถึงการรับทำเอกสารราชการออนไลน์ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ บัตรประจำตัวประชาชน อ่านบทความอุบายหลอกแจ้งความปลอม : ระวังเว็บแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกเหยื่อโอนเงินเข้าเว็บพนัน , ทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยไม่ต้องไปขนส่ง จริงหรือ ? 2.เพจบริษัท ตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวม หุ้นปลอม ชักชวนหลอกลวงให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เงินดิจิทัล เงินสกุลต่างประเทศ หุ้นพลังงาน […]
ตำรวจไซเบอร์ เปิดเผย 7 รูปแบบ เพจเฟซบุ๊กปลอม ที่มิจฉาชีพมักใช้ในการหลอกลวงประชาชน
6 ตุลาคม 2566 ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ถือเป็นหนึ่งในอาชญกรรมทางเทคโนโลยีที่สร้างความเสียหายให้กับคนจำนวนมาก มีรูปแบบการทำงานเป็นขบวนการ แบ่งหน้าที่กันทำ ทั้งการหลอกลวงผู้เสียหายให้เกิดความหวาดกลัว ใช้ความไม่รู้ของผู้เสียหายเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนในสังคม เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่บริษัทขนส่งสินค้า และแจ้งไปยังผู้เสียหายว่าบัญชีธนาคาร หรือพัสดุที่จัดส่งไปยังต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดกฎหมาย บัญชีธนาคารถูกอายัด หรือเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด รวมถึงหลอกสอบถามข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย นอกจากนี้แล้วยังมีการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของหน่วยงานปลอมที่สามารถควบคุมโทรศัพท์มือถือและโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหายได้ และตอนนี้อุบายล่าสุดที่คนร้ายใช้ในการหลอกผู้เสียหาย คือ การแอบอ้างเป็นพนักงานผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดกลโกงกระบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้าง กสทช. ! เริ่มต้นมิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปหาผู้เสียหาย พร้อมบอกชื่อ นามสกุลอย่างถูกต้อง และแจ้งว่าผู้เสียหายได้เปิดใช้บริการซิมโทรศัพท์มือถือในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก หรือจังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกล โดยหมายเลขที่เปิดใช้บริการในชื่อของผู้เสียหายนั้น ถูกนำไปใช้กระทำผิดกฎหมาย หรือถูกนำไปใช้หลอกลวงบุคคลอื่น โดยแจ้งอีกว่า หากผู้เสียหายไม่ได้เป็นผู้เปิดใช้บริการ ให้ไปดำเนินการแจ้งความยังสถานีตำรวจท้องที่ที่ถูกเปิดใช้งานดังกล่าว แต่หากไม่สามารถเดินทางไปได้ สามารถทำการแจ้งความออนไลน์ผ่านช่องทางไลน์ของสถานีตำรวจดังกล่าวได้ เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อติดต่อไปยังไลน์สถานีตำรวจซึ่งถูกมิจฉาชีพปลอมขึ้นแล้ว ระหว่างการติดต่อ ผู้เสียหายจะได้รับแจ้งว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ต้องทำการโอนเงินที่มีอยู่ในบัญชีมาตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ […]
ตำรวจทางหลวง รวบมิจฉาชีพแอบอ้างเป็น “รอง ผบ.เรือนจำนครปฐม” หลอกเงินญาติของตำรวจ 6 นาย ผู้ต้องหาคดีกำนันนก
MEA เตือนภัย! มิจฉาชีพแอบอ้างหลอกลวงประชาชน ชวนลงทะเบียนรับสิทธิ์ส่วนลดค่าไฟฟรี ย้ำข่าวปลอม
เตือนภัยออนไลน์รายวัน นักเรียน ม.3 ถูกแอปฯ มิจฉาชีพขุดบ่อล่อปลา หลอกลวงให้ลงทุนทำภารกิจออนไลน์ สูญเงินเกือบครึ่งแสน
14 กันยายน 2566 วิธีหลอก : แอบอ้างกรมบัญชีกลางอุบาย : โทรศัพท์หาประชาชนเพื่อหลอกให้อัปเดตข้อมูลส่วนตัวผ่านระบบ Digital Pension ชักจูงให้แอดไลน์ปลอมและหลอกดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมช่องทาง : แอปพลิเคชันไลน์, เว็บไซต์ปลอม, แอปพลิเคชันปลอม แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ภัยร้ายทางไซเบอร์ นับวันจะยิ่งมีกลโกงที่แนบเนียนและใช้หลายวิธีเพื่อลวงให้เราหลงเชื่อ หนึ่งในนั้น คือ การแอบอ้างชื่อหน่วยงานราชการ อย่าง “กรมบัญชีกลาง” โดยอ้างว่า ตอนนี้กรมบัญชีกลางมีระบบใหม่ ผู้รับเงินบำนาญต้องเข้าไปอัปเดตข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบัน หากไม่ดำเนินการ จะถูกตัดสิทธิ์ ซึ่งสร้างความตกใจจนทำให้หลายคนหลงเชื่อและเสียเงินจำนวนมาก วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨จึงได้รวบรวมกลโกงที่แอบอ้างกรมบัญชีกลาง มาเตือนภัยให้ทุกคนไม่ตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ สารพัดกลโกงแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลาง คนร้ายจะโทรศัพท์และอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมบัญชีกลาง พร้อมชี้แจงรายละเอียดว่า ขณะนี้กรมบัญชีกลางได้เปลี่ยนเป็นระบบแบบใหม่ ชื่อว่า Digital Pension และมีนโยบายให้ผู้รับเงินบำนาญทุกคนเข้ามาอัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ทั้ง ข้อมูลส่วนตัว บัญชีเงินเดือน เบี้ยหวัดบำนาญ หรือ ติดต่อเพื่อขอรับบำเหน็จตกทอด จากนั้นมิจฉาชีพจะหลอกให้แอดไลน์ปลอมและลวงให้กดลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอม Digital Pension และให้สแกนใบหน้า 🚨หากได้รับโทรศัพท์ในลักษณะนี้ อย่าบอกข้อมูลส่วนตัว […]