ดูให้ดี ! คนร้ายปลอมเพจ ‘ตำรวจไซเบอร์’ หลอกซ้ำเติมเหยื่อ | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : แอบอ้างชื่อของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)อุบาย : ใช้เพจและบัญชีไลน์ปลอม หลอกให้ส่งข้อมูลสำคัญช่องทาง : Facebook, LINE, โทรศัพท์มือถือ ตร.ไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพปลอมเพจเฟซบุ๊กของหน่วยงาน แอบอ้างเป็นจนท. ช่วยเหลือประชาชน ลวงให้เพิ่มไอดีไลน์ ฉวยข้อมูลไปใช้ ด้าน ‘โฆษก’ แนะเพิ่ม “อย่าหลงเชื่อเพียงเพราะมีเพจ หรือใช้สัญลักษณ์” พร้อมแนบวิธีการหลีกเลี่ยงการเข้าสู่เว็บฯ และเพจปลอมของหน่วยงาน กรุงเทพฯ 3 เม.ย. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ออกประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพปลอมเพจเฟซบุ๊กของหน่วยงาน หลอกลวงให้เพิ่มไอดีไลน์และนำข้อมูลสำคัญของเหยื่อไป เพื่อใช้ก่อเหตุสร้างความเสียหาย และแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ สร้างเพจปลอม แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ บช.สอท. ได้รับรายงานจาก กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) ว่าตรวจสอบพบเพจปลอมชื่อ “สืบสวน สอบสวน การป้องกัน และปราบปรามการกระทำผิดทางเทคโนโลยี” สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 […]

เปิดใจ อ.ปริญญา หอมเอนก เหยื่อรายแรกของแฮกเกอร์ 9Near | ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE

CyberAlert!🚨 โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ “ต้องขอบคุณ คุณแฮกเกอร์ ที่ให้เกียรติผมเป็นคนแรก” อ.ปริญญาเผยหลังข้อมูลถูกขึงสู่สาธารณะ โดนสายโทรเข้ากระหน่ำ ซ้ำโดนยิง SMS ด้วยบอต แนะแฮกเกอร์หันมาพูดคุย นำทักษะความเชี่ยวชาญที่มีกลับมาปกป้องคนไทยด้วยกัน ขณะที่หน่วยงานทุกแห่งควรเรียนรู้จากบทเรียนนี้ และยกระดับความปลอดภัยข้อมูลประชาชน จากกรณีแฮกเกอร์สร้างเว็บไซต์ 9Near.org โดยระบุว่ามีข้อมูลส่วนตัวหลุดรั่วของคนไทย 55 ล้านคน และขีดเส้นตาย 5 เมษายน 2566 เวลา 16.00 น. ให้หน่วยงานที่คิดว่าเป็นผู้ดูแลข้อมูลนั้นติดต่อกลับ ซึ่งล่าสุดเว็บไซต์ดังกล่าวถูกปิดกั้นโดยกระทรวงดิจิทัลฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น พื้นที่ส่วนบนสุดของเว็บไซต์ แฮกเกอร์วางคลิปวิดีโอบทสัมภาษณ์ของ “อ.ปริญญา หอมเอนก” ซึ่งให้สัมภาษณ์กับสื่อแห่งหนึ่งเกี่ยวกับกรณีข้อมูลหลุด 55 ล้านคนดังกล่าว และด้านล่างวิดีโอยังมีข้อมูลส่วนบุคคล ทั้ง ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด หมายเลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ และ เบอร์โทรศัพท์มือถือ ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE สัมภาษณ์สด อ.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน […]

แฮกเกอร์ 9Near ประกาศ “OPERATION STOPPED” ยุติแผนเปิดข้อมูลส่วนตัวคนไทย

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ กรุงเทพฯ 2 เม.ย. 66 – เมื่อเวลา 12.23 น. วันที่ 2 เมษายน 2566 ตัวแทนแฮกเกอร์ 9Near ประกาศผ่านข้อความซึ่งส่งในกลุ่มสนทนาของแอป Telegram ชื่อ 9Near.Aunouncement ซึ่งมีสมาชิกติดตามกว่า 2,200 ราย และเป็นกลุ่มที่ไม่อนุญาตให้มีการส่งข้อความใด ๆ ผู้ใช้งานชื่อ Smit Near ซึ่งเป็นเจ้าของกลุ่ม ได้ส่งข้อความเข้าในกลุ่มดังกล่าว โดยมีเนื้อหาสำคัญ ประกาศข่าวดีว่า “OPERATION STOPPED” as our sponsor conflict. ซึ่งหมายถึงว่า การปฏิบัติการได้หยุดลงแล้ว เนื่องจากความขัดแย้งไม่ลงรอยกับ “สปอนเซอร์” ของเรา เนื้อความซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ยังกล่าวถึงคนทั่วไปว่า พวกตนไม่ต้องการทำร้ายคุณทุกคน และเราไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติการทางการเมืองตามแผนการที่พวกเขาวางไว้ ซึ่งมันกำลังสกปรกยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น เราจึงไม่มีเหตุผลใด ๆ […]

5 คำถาม 3 เคล็ดลับ รับมือภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จในยุค A.I. | ชัวร์ก่อนแชร์

5 คำถาม 3 เคล็ดลับ รับมือภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จในยุค A.I. | ชัวร์ก่อนแชร์

บทความ โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ถึงเวลาปัดฝุ่นฝีมือและวิจารณญาณกันอีกครั้ง เพื่อป้องกันภัยจากการหลอกลวงที่กำลังยกระดับไปอีกขั้น ในยุคที่ “คนร้าย” ร่วมมือกับ “เอไอ” เนื่องในวันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล 2 เมษายน 2566 “ชัวร์ก่อนแชร์” มีเทคนิคสั้นกระชับฉบับเข้าใจง่าย ทุกคนปฏิบัติได้มาฝากไว้ให้เป็นเคล็ดวิชาและวิธีคิดในการรับมือกับ ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ และภัยไซเบอร์ ที่มีอยู่ดาษดื่น เมื่อ “ข่าวปลอม” หล่อหลอมกับ “เอไอ” กลายเป็น “ภัยไซเบอร์” ที่ลึกล้ำ ย้อนไปในช่วงเริ่มต้น ไม่กี่ปีก่อนที่โลกนี้จะรู้จัก “ข่าวปลอม” แบบที่เรารู้จักกันอยู่ เรื่องราวของข้อมูลเท็จและคำลวงหลอก ถูกเผยแพร่ในรูปแบบ “ข่าวลือ” หรือเรื่องที่ “เขาเล่าว่า” ส่งผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งปากต่อปาก ประชาคม หรือแม้กระทั่ง กระดานข่าว และ อีเมล แต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำ ทำให้คนเชื่อมต่อพูดคุยกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แบ่งกลุ่มลับได้ไม่จำกัด และการสร้างเนื้อหาทั้งข่าว ภาพ คลิป เผยแพร่สู่วงกว้าง เป็นไปได้โดยง่ายและราคาถูก ปัญหาที่ดูเหมือนเล็ก จึงกลายเป็น […]

ระวัง! SMS ปลอม หลอกลงทะเบียนเราเที่ยวด้วยกัน | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 

วิธีหลอก : ส่ง SMS ปลอมให้ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5อุบาย : แนบลิงก์ให้เพิ่มเพื่อนบัญชีไลน์ปลอม หลอกติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อดักเอาข้อมูลสำคัญช่องทาง : ข้อความสั้น (SMS), LINE, โทรศัพท์มือถือ ตร.ไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพ ส่ง SMS ปลอม ให้ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ สร้างความน่าเชื่อถือ ก่อนส่งลิงก์ให้เหยื่อโหลดแอปฯ ปลอม หลอกให้ตั้งรหัสผ่าน 6 ตัวซ้ำหลายครั้ง จากนั้นขอสิทธิ์ควบคุมอุปกรณ์ หวังใช้รหัสผ่านเข้าแอปฯ ธนาคารหลอกโอนเงิน กรุงเทพฯ 1 เม.ย. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ประชาสัมพันธ์เตือนภัยกรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐ ส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังประชาชน เพื่อหลอกลวงให้กดลิงก์ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 แนบลิงก์ SMS เพิ่มเพื่อนไลน์ปลอม อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สร้างความน่าเชื่อถือตามที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์กรณีประชาชนหลายรายได้รับ SMS จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา แจ้งข้อความว่า “โครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 […]

เตือน ! คนร้ายปลอมเว็บประกันสังคม หลอกโหลดแอปฯ | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : แอบอ้างชื่อของสำนักงานประกันสังคม (สปส.)อุบาย : ใช้เว็บไซต์ปลอม หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญช่องทาง : ข้อความสั้น (SMS), โทรศัพท์ สำนักงานประกันสังคมเตือนภัย มิจฉาชีพส่ง SMS พร้อมแนบลิงก์เว็บไซต์ปลอม หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญ เป็นเหตุให้สูญเสียเงิน และถูกนำข้อมูลไปก่ออาชญากรรมได้ ล่าสุดเร่งประสานงาน เพื่อปิดเว็บไซต์ปลอมแล้ว ย้ำ ! ทางสำนักงานไม่มีนโยบายดังกล่าว กรุงเทพฯ 1 เม.ย. 66 – นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ประชาสัมพันธ์เตือนกรณีแก๊งมิจฉาชีพอาศัยวิธีการส่ง SMS หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน ผ่านทางเว็บไซต์ปลอม หวังขโมยข้อมูลสำคัญไปสวมรอยทำธุรกรรมทางการเงิน หรือก่ออาชญากรรม แนบลิงก์เว็บไซต์ปลอม พร้อมแนะให้ติดตั้งแอปพลิเคชันแก๊งมิจฉาชีพใช้วิธีการส่ง SMS พร้อมแนบลิงก์เว็บไซต์ปลอม ที่กล่าวอ้างว่า เป็นของสำนักงานประกันสังคม โดยใช้ชื่อและสื่อคล้ายคลึงกันกับเว็บไซต์จริง จนก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ หากมีผู้ประกันตนหลงเชื่อจนเข้าสู่เว็บไซต์ดังกล่าว จะพบการแนะนำให้ดาวน์โหลดเอกสารต่าง ๆ และติดตั้งแอปพลิเคชันที่บังคับให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ นามสกุล […]

Whoscall เผยคนไทยเบอร์โทรรั่ว 13 ล้านเบอร์ เป็นอันดับ 4 รองจากมาเลเซีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 

กรุงเทพฯ 31 มี.ค. 66 – Whoscall แอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก และป้องกันสแปมสำหรับสมาร์ทโฟน เปิดผลรายงานประจำปี พบว่า  มีการหลอกลวงทั้งจากสายโทรเข้า และข้อความ SMS รวม 405.4 ล้านครั้ง ทั่วโลก แม้ว่าตัวเลขโดยรวมจะลดลง จากปีที่แล้ว แต่สำหรับประเทศไทยการหลอกลวงยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง คนไทยยังต้องรับสายจากมิจฉาชีพเพิ่มขึ้น 165% หรือ 17 ล้านครั้งในปี 2565 รายงานยังเผยสถิติที่น่าตกใจ ถึงจำนวนการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทยกว่า 45% หรือ 13.5 ล้านเบอร์  การรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์เป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก รวมถึงการหลอกลวงทางข้อความ SMS ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง   สารพัดกลอุบายหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อ มิจฉาชีพนิยมส่งข้อความหลอกลวง เนื่องจากสามารถเข้าถึงเหยื่อจำนวนมากด้วยต้นทุนต่ำ ข้อความ SMS ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อ “ติดต่อครั้งแรก” โดยหลอกให้เหยื่อกดลิงก์ฟิชชิ่ง เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว เพิ่มบัญชีไลน์ เพื่อหลอกให้ส่งข้อมูล หรือโอนเงินให้ กลอุบายที่พบบ่อย ได้แก่ การเสนอเงินกู้โดยมักอ้างรัฐบาล หรือธนาคาร  และการให้สิทธิ์เข้าตรงเว็บพนันออนไลน์ ที่ผิดกฎหมาย  คีย์เวิร์ดของข้อความหลอกลวงที่ถูกรายงาน […]

รู้ทันภัยไซเบอร์ คิดก่อนคลิกทำธุรกรรมการเงิน

เคทีซีเปิดเวทีเสวนาติดอาวุธทางความคิดให้คนไทย พร้อมรับมือความเสี่ยงก่อนทำธุรกรรมการเงิน จากภัยคุกคามครั้งใหม่บนโลกไซเบอร์

เตือนภัยกลุ่มไลน์! แอดมินปลอมส่งข้อความหลอกให้ย้ายกลุ่ม ที่แท้พาเข้าเว็บพนัน-ล้วงข้อมูล | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

24 มีนาคม 2566 ปอท.เตือนภัยมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ แอบอ้างเป็นแอดมินกลุ่มไลน์ แจ้งว่ากลุ่มจะปิด ต้องย้ายกลุ่ม ก่อนหลอกให้คลิกลิงก์พาเข้าเว็บพนัน ลวงเอาข้อมูลส่วนบุคคล ด้าน LINE แนะสังเกต “มงกุฎ” และดูรายชื่อแอดมิน พร้อมแนะไม่กดลิงก์แปลกปลอม กรุงเทพฯ 24 มี.ค. 66 – ในวันที่ 22 มีนาคม 2566 พ.อ.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (รอง ผบก.ปอท.) ออกมาประชาสัมพันธ์เตือนภัยว่า ในปัจจุบันมีกลุ่มมิจฉาชีพก่อเหตุโดยแอบอ้างเป็นแอดมินของกลุ่ม Line Openchat ส่งข้อความและลิงก์ พร้อมกับแจ้งว่า ต้องเปลี่ยนกลุ่มใหม่ โดยใช้เหตุผลที่แตกต่างกัน เช่น สมาชิกเต็ม หรือมีปัญหาต่าง ๆ เมื่อเหยื่อหลงเชื่อ กดเข้าไปที่ลิงก์จะพบกับกลุ่มโฆษณาเว็บไซต์พนันออนไลน์ หรือมีการหลอกลวงเพื่อรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อ ด้านบริษัท ไลน์ คอร์ปอเรชั่น (LINE Corporation) แนะนำข้อสังเกตเพื่อพิจารณาว่า “เป็นแอดมินปลอมหรือไม่” โดยสังเกตจากสัญลักษณ์รูปมงกุฎ แอดมินตัวจริงจะต้องมีสัญลักษณ์ดังกล่าวทับออกมานอกกรอบ ด้านล่างขวาของรูปโพรไฟล์ นอกจากนี้ยังตรวจสอบผ่านหน้ารายชื่อสมาชิกได้เช่นเดียวกัน […]

สำรวจพบบริษัทไทย 1 ใน 4 พร้อมสู้ภัยไซเบอร์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

22 มีนาคม 2566 กรุงเทพฯ  – 22 มีนาคม 2566 — จากผลสำรวจพบ  27% ขององค์กรในประเทศไทยมีความพร้อมในระดับ ‘มีความพร้อมอย่างเต็มที่’ ในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์สมัยใหม่ ตามรายงานดัชนีความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ของซิสโก้ จากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าทุกองค์กรสามารถดำเนินงานได้เป็นอย่างดีและมีความพร้อมสำหรับความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น  รายงานดัชนีความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของซิสโก้: ความยืดหยุ่นในโลกไฮบริดรายงานดัชนีความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของซิสโก้ : ความยืดหยุ่นในโลกไฮบริด (Cisco Cybersecurity Readiness Index : Resilience in a Hybrid World) ได้ศึกษาความพร้อมของบริษัทต่าง ๆ ที่ได้เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานแบบอยู่กับที่ ซึ่งบุคลากรทำงานโดยใช้อุปกรณ์เครื่องเดียวในสถานที่ตั้งแห่งเดียว เชื่อมต่อกับเครือข่ายที่คงที่ตายตัว ไปสู่โลกไฮบริดที่พนักงานทำงานจากอุปกรณ์หลายเครื่องในหลากหลายสถานที่มากขึ้น โดยเชื่อมต่อกับหลาย ๆ เครือข่าย พร้อมทั้งสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันบนระบบคลาวด์ได้ในขณะเดินทาง และสร้างข้อมูลจำนวนมหาศาล ความเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดปัญหาท้าทายในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์กับบริษัทต่าง ๆ การสำรวจในครั้งนี้เป็นการสำรวจความเห็นแบบปกปิดสองทาง (double-blind) ดำเนินการโดยองค์กรอิสระ โดยสัมภาษณ์ผู้บริหารฝ่ายไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในภาคเอกชน 6,700 คนใน 27 ประเทศ เกี่ยวกับการปรับใช้โซลูชั่น และระดับของการปรับใช้ โดยบริษัทต่าง […]

ระวัง ! มิจฉาชีพปลอมเว็บกระทรวงพาณิชย์ ลวงโหลดแอปฯ ฉกข้อมูล | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

ตร.ไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพปลอมเว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม หวังเข้าคุมมือถือเหยื่อ ก่อนดึงข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงรหัส PIN ไปใช้สวมรอยโอนเงิน เร่งประสานปิดเว็บแล้ว กรุงเทพ 19 มี.ค. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ประชาสัมพันธ์เตือนภัยกรณีการหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม ผ่านทางเว็บไซต์ปลอม หวังสวมรอยขโมยเงินเหยื่อ สร้างความเสียหายแก่ข้อมูลและทรัพย์สินของประชาชน สร้างเว็บฯ ปลอม แอบอ้างใช้สัญลักษณ์กระทรวง บช.สอท. ตรวจสอบพบว่า http://moc-no-th.com เป็นเว็บไซต์ปลอมที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นเพื่อฉวยโอกาสจากความเชื่อถือ และความไม่รู้ของประชาชน โดยสร้างเลียนแบบให้คล้ายคลึงกันกับเว็บไซต์จริงของกระทรวงพาณิชย์ (https://www.moc.go.th) อีกทั้งภายในยังมีการใช้สัญลักษณ์ของหน่วยงาน หากประชาชนไม่ได้สังเกตเห็นความแตกต่างหรือไม่เคยใช้บริการเว็บไซต์จริงมาก่อนอาจตกเป็นเหยื่อได้ หลอกให้ติดตั้งแอปฯ ดึงข้อมูล หวังสวมรอยทำธุรกรรมส่วนสำคัญของหน้าเว็บไซต์ปลอมข้างต้นจะมีปุ่มให้คลิกเพื่อติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมซึ่งแท้จริงแล้วเป็นไฟล์อันตราย นามสกุล .APK โดยอันดับแรกจะมีการขอสิทธิ์เพื่อติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก ขอสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ และขอสิทธิ์ควบคุมอุปกรณ์ จากนั้นทางแอปพลิเคชันดังกล่าวจะให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน ทั้งยังให้ตั้งรหัส PIN 6 หลักจำนวนหลายครั้ง เพื่อหวังให้เหยื่อกรอกเลขชุดเดียวกับรหัสในการทำธุรกรรมทางเงินของแอปพลิเคชันธนาคาร เมื่อมิจฉาชีพได้สิทธิ์ควบคุมอุปกรณ์ไปแล้วจะล็อกหน้าจอโทรศัพท์มือถือของเหยื่อ ทำให้เสมือนว่าโทรศัพท์มือถือค้าง ก่อนจะนำรหัส PIN 6 […]

เปิด บัญชีม้า ซิมม้า ติดคุก

ประกาศแล้ว ! กฎหมายใหม่มีผล 17 มี.ค. เปิด ‘บัญชีม้า-ซิมม้า’ ติดคุก | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎหมายใหม่ “พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566” มีผลบังคับใช้ 17 มีนาคม 2566 ผู้ใดเปิด “บัญชีม้า” หรือ “ซิมม้า” โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรุงเทพฯ 16 มี.ค. 66 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ “พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566” ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหา “บัญชีม้า” รวมไปถึง “ซิมม้า” และ ระงับยังยั้งการโอนเงินของคนร้ายต่อเป็นทอด ๆ เพื่อให้สามารถติดตามทรัพย์สินคืนให้กับผู้เสียหายได้ทันเป็นสำคัญ โดยมีการกำหนดบทลงโทษผู้ที่เปิดหรือใช้ บัญชีม้า หรือ ซิมม้า มีโทษทั้งจำทั้งปรับ “มาตรา ๙ ผู้ใดเปิดหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้หรือยืมใช้เลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตน […]

1 4 5 6 7 8 9
...