ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : เตือนภัยหลอกลงทุน Forex เหยื่อแห่ร้องทุกข์ พบเสียหายหลายสิบล้าน

ตร.ไซเบอร์ เตือนภัยหลอกลงทุน Forex หลังเหยื่อแจ้งความหลายราย พบเสียหายหลายสิบล้าน อ้างลงทุนได้ทั้งกำไรและของสมนาคุณ แถมอ้างเป็นเจ้าของโรงแรม ชำนาญลงทุน โชว์ชีวิตหรูสร้างความน่าเชื่อถือ ตร.ชี้ไม่ใช่ครั้งแรก แต่พบการหลองลวงแล้วหลายครั้ง ด้าน ธปท.แจง ไม่มีสถาบันการเงินในประเทศที่รับรองการลงทุนนี้ กรุงเทพฯ 14 มี.ค. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช. สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ประชาสัมพันธ์เตือนภัยกรณีการหลอกลวงลงทุนในตลาดซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (Forex) หลอกลงทุน Forex ได้ทั้งกำไรและของสมนาคุณพนักงานสอบสวน บช.สอท. ได้รับแจ้งความร้องทุกข์จากผู้เสียหายหลายราย ผ่านระบบการรับแจ้งความออนไลน์ ว่าถูกชักชวนให้ฝากเงินลงทุนในตลาดซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (Forex) ในระบบฝากเทรดของ Xpower Team อ้างว่าเป็นระบบฝากเทรดประกันเงินทุน จะได้รับผลกำไรมากถึง 20 – 35% ของเงินฝากต่อเดือน มีโพรโมชัน (Promotion) ลงทุนเพื่อรับของสมนาคุณต่าง ๆ เมื่อลงทุนตั้งแต่ 3,000 – 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ จะได้รับนาฬิกา iPad […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : แฉอุบายใหม่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เนียนเปิดกล้องอ้างเป็นตำรวจใหญ่ ขู่จับขังคุก

ตำรวจไซเบอร์เผยกลอุบายล่าสุด แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เปิดวิดีโอคอล แอบอ้างเป็นอดีตรอง ผบ.ตร. หลอกเหยื่อโอนเงินแลกพ้นคดีฟอกเงิน ข่มขู่ดำเนินคดีฝากขัง 90 วัน ชี้มีผู้เสียหายหลายรายร้องทุกข์ ย้ำเร่งปราบพร้อมเตือนประชาชนรู้เท่าทัน กรุงเทพฯ 11 มี.ค. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ เปิดเผยว่า บช.สอท.ได้รับการแจ้งความร้องทุกข์จากผู้เสียหายหลายราย ว่าถูกมิจฉาชีพแอบอ้างสวมรอยเป็นอดีตรอง ผบ.ตร.โทรศัพท์มาหาพร้อมเปิดกล้องวิดีโอ (วิดีโอคอล) ให้เห็นภาพจากฝั่งมิจฉาชีพ และมีการออกอุบายต่าง ๆ ข่มขู่ให้โอนเงินหลายครั้ง เปิดอุบายมิจฉาชีพสวมรอยหลอกซ้อนหลอก : เริ่มจากอ้างเป็นพนักงานธนาคารสำหรับอุบายของมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ดังกล่าว พบว่ามีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่และหน่วยงานต่าง ๆ หลายแห่ง หลอกลวงอย่างแนบเนียนและทำเป็นขบวนการ โดยเริ่มจากการพูดคุยผ่านโทรศัพท์แอบอ้างเป็นพนักงานธนาคารแห่งหนึ่ง สร้างความน่าเชื่อถือโดยแจ้งชื่อนามสกุลและหมายเลขพนักงาน จากนั้นแจ้งว่าผู้เสียหายมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน โดยอ้างว่าผู้เสียหายได้ใช้บัตรเครดิตที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท ให้แอดไลน์ตำรวจปลอม อ้างตรวจเส้นทางการเงิน“จากนั้นได้โอนสายต่อไปยังมิจฉาชีพอีกรายซึ่งอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สังกัด สภ.เมืองพิษณุโลก ให้ผู้เสียหายแอดไลน์บัญชีไลน์ตำรวจปลอม ข่มขู่ผู้เสียหายว่าจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ให้โอนเงินที่มีอยู่ในบัญชีมาให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตรวจสอบเส้นทางการเงิน รวมถึงมีการส่งเอกสารราชการปลอมให้ผู้เสียหายตรวจสอบ […]

ธปท.ยกระดับขจัดภัยทางการเงิน

ธนาคารแห่งประเทศไทย จับมือสมาคมธนาคารไทย-สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ร่วมกันยกระดับการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน หรือ “ภัยไซเบอร์” หวังคุ้มครองประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : RANSOMWARE ? — มัลแวร์เรียกค่าไถ่

สร้างความเสียหาย เฉลี่ยถึง 4.3 ล้านดอลลาร์

Ransomware หรือ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ ซึ่งแตกต่างจากมัลแวร์ประเภทอื่นๆ โดย Ransomwareจะมีการเข้ารหัสหรือล็อกไฟล์ จนผู้ใช้งานไม่สามารถเปิดไฟล์ใดๆ ได้ หากติดมัลแวร์ตัวนี้ไปแล้ว ซึ่งคนร้ายอาจจะไม่ได้มีจุดประสงค์แค่ขโมยข้อมูล  แต่ต้องการเงิน “เรียกค่าไถ่”

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberTips : 4 เทคนิคใช้สำเนาบัตรประชาชนให้ปลอดภัย

Tips โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์, เสาวภาคย์ รัตนพงศ์ การใช้สำเนาบัตรประชาชนยังเป็นการยืนยันตัวตนหลักในการทำธุรกรรมต่าง ๆ และยิ่งยุคนี้ธุรกรรมส่วนใหญ่ต้องถ่ายรูปบัตรส่งผ่านทางออนไลน์ แล้วแบบนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่า สำเนาบัตรประชาชนของเราจะปลอดภัย ไม่ตกอยู่ในมือของแก๊งมิจฉาชีพ  วันนี้ชัวร์ก่อนแชร์ Cyber Tips ได้รวบรวม 4 เทคนิค ใช้สำเนาบัตรประชาชนให้ปลอดภัย ไม่เสี่ยงโดนขโมยข้อมูลมาฝากทุกคนกันค่ะ 4 เทคนิคใช้สำเนาบัตรประชาชนอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่เสี่ยงโดนขโมยข้อมูล  หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการถ่ายสำเนาบัตรทั้งหน้า-หลังบัตร เพราะบัตรประชาชนยุคเก่า วันหมดอายุของบัตรจะอยู่ที่ด้านหลังบัตร ทำให้ต้องถ่ายทั้งหน้าและหลัง แต่ตอนนี้บัตรประชนชนเปลี่ยนไปแล้ว ! ที่บริเวณด้านหลังบัตรจะมีชุดตัวเลขที่เรียกว่า ‘Laser ID’ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ  การสมัครลงทะเบียนรับสิทธิ์ต่าง ๆ รวมถึงแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการชำระเงิน จะใช้เลขบัตรนี้ในการยืนยันตัวตนร่วมกับบัตรประชาชน ดังนั้นหากไม่อยากโดนขโมยข้อมูล อย่าถ่ายสำเนาบัตรประชาชนด้านหลังนะคะ  กรณีที่หน่วยงานหรือทางเว็บไซต์กำหนดให้ต้องถ่ายรูปหรือกรอกข้อมูลตัวเลข Laser ID เราจะเช็กอย่างไรว่าปลอดภัย ? การตรวจสอบให้แน่ใจว่าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเหล่านั้น ‘ใช่ตัวจริงหรือไม่? ‘ โดยไล่ดูชื่อเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันทีละตัว รวมถึงดูชื่อผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน ต้องเป็นองค์กรผู้ให้บริการเท่านั้น หากไม่ใช่ชื่อที่เราคุ้นหู อย่าหลงไปกรอกข้อมูลใด ๆ ไม่งั้นข้อมูลส่วนบุคคลของเราที่เราหวงแหน อาจตกไปอยู่ในมือของมิจฉาชีพได้ทันที […]

คึกคัก! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท ร่วม สกมช. เสริมภูมิรู้เท่าทันในงานสัปดาห์ไซเบอร์แห่งชาติ พร้อมเปิดตัว “ชัวร์ก่อนแชร์ for EDUCATION”

งานสัปดาห์ไซเบอร์แห่งชาติ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก มีประชาชนเดินทางเข้าร่วมชมงานกันอย่างคับคั่ง โดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท นำกิจกรรมและสื่อดิจิทัลร่วมมอบเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ ซึ่งเป็นการขยายผลจากโครงการนักสืบสายชัวร์ x ชัวร์ก่อนแชร์สโมสร TRICK or TRUST โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พร้อมเปิดตัว “ชัวร์ก่อนแชร์ for EDUCATION” ชุดสื่อการเรียนรู้เสริมความรู้เท่าทันภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จ เปิดงานอย่างยิ่งใหญ่กับกิจกรรม “นิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปี 2566 หรือ THAILAND NATIONAL CYBER WEEK 2023 ที่ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ เมื่อวันที่ 17 และ 18 กุมภาพันธ์ 2566 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. โดยมีหน่วยงาน องค์กร และ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับชาติ เข้าร่วมให้ความรู้และแสดงเทคโนโลยีกันอย่างคึกคัก ในงานนี้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ บมจ.อสมท ได้รับเชิญให้เข้าร่วมจัดกิจกรรมให้ความรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน ผ่านสื่อดิจิทัลและเนื้อหาหลากหลายรูปแบบ พร้อมกิจกรรมเกมให้ความรู้เกี่ยวกับภัยไซเบอร์ ซึ่งมีผู้ร่วมงานหลากหลายกลุ่มให้ความสนใจ ชมนิทรรศการ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : “เตือนห้ามเปิดดูคลิปแผ่นดินไหว 8.5 ริกเตอร์ เพราะมันคือไวรัสเรียกค่าไถ่” จริงหรือ ?

ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการแชร์ “ประกาศด่วน” เตือนห้ามเปิดดูคลิปแผ่นดินไหว 8.5 ริกเตอร์ เพราะมันคือไวรัสเรียกค่าไถ่ บทสรุป : ❌ มั่วและเก่า ไม่ควรแชร์ต่อ ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีการป้องกันภัยไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า คำเตือนดังกล่าว ไม่มีเหตุผลที่จะเป็นไปได้จริง เนื่องจากตามหลักการทางคอมพิวเตอร์แล้ว ภาพและคลิปวิดีโอดิจิทัล ที่เผยแพร่หรือส่งต่อบนโซเชียล หรือ LINE และสามารถดูได้ด้วยตาทันที โดยไม่ต้องกดคลิกลิงก์ใด ๆ หรือต้องกดติดตั้งก่อนนั้น จะไม่สามารถกลายเป็นไวรัสเรียกค่าไถ่ได้แต่อย่างใด ที่สำคัญ ยังไม่เคยมีการบันทึกว่ามีการเกิดเหตุแผ่นดินไหวระดับ 8.5 ที่กรุงเทพฯ ด้วย สำหรับสิ่งที่ส่งต่อทางออนไลน์แล้วอาจมีอันตราย มักจะส่งต่อมาในรูปแบบของ ลิงก์ หรือ ไฟล์ หรือ แอปพลิเคชัน .apk ที่คนร้ายมักจะใช้เป็นเครื่องมือล่อลวงให้ประชาชนหลงเชื่อ กดคลิก กรอกข้อมูล ตกลง ยอมรับ อนุญาต หรือ ติดตั้ง ในโทรศัพท์มือถือ ทั้งนี้ ข้อความเตือนเรื่องแผ่นดินไหวดังกล่าว ไม่ใช่ข้อความใหม่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : PARASOCIAL ? — ความสัมพันธ์ที่อาจเกิดกับเหล่าแฟนคลับ

PARASOCIAL คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกิดขึ้นเพียงข้างเดียว

ก็คือ เราสนใจในอีกฝ่ายมากๆ จนเกิดเป็นความผูกพันหรือใกล้ชิดกับตัวละครเหล่านั้น จนรู้สึกอินเหมือนกับว่าเขามีตัวตนจริงๆ แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับรู้ถึงการมีตัวตนของเราด้วยซ้ำ

ชัวร์ก่อนแชร์ ภัยไซเบอร์ : แฉทวิต #งานออนไลน์ หลอกวัยรุ่นสร้างตัว

ชัวร์ก่อนแชร์ ภัยไซเบอร์ แฉกลโกงคนร้าย เตือนภัยการหลอกลวงที่มาในคราบงานออนไลน์ที่เชิญชวนอยู่ตามทวิตเตอร์ ติดตาม กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

1 5 6 7 8 9
...