รู้ทันภัยไซเบอร์ คิดก่อนคลิกทำธุรกรรมการเงิน

30 มี.ค. – เคทีซีเปิดเวทีเสวนาติดอาวุธทางความคิดให้คนไทย พร้อมรับมือความเสี่ยงก่อนทำธุรกรรมการเงิน จากภัยคุกคามครั้งใหม่บนโลกไซเบอร์ โดยร่วมกับกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี สถาบันตำรวจแห่งชาติ โชว์เคสการทุจริตของมิจฉาชีพบนออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ พร้อมแนะวิธีสังเกตและเทคนิคการป้องกันเริ่มต้นได้ที่ตนเอง


นายไรวินทร์ วรวงษ์สถิตย์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานควบคุมงานปฏิบัติการและปฏิบัติการร้านค้า “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า ​“ในยุคที่นวัตกรรมดิจิทัลเติบโตแบบก้าวกระโดด ธุรกรรมต่างๆ ย้ายมาอยู่บนออนไลน์ ทำให้ชีวิตของผู้คนทุกกลุ่มทุกวัยได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันภัยเงียบจากอาชญากรรมออนไลน์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้บริโภคควรตระหนักรู้ คิดก่อนคลิกในการทำธุรกรรมการเงินทุกครั้ง เคทีซีในฐานะผู้นำธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค ได้ศึกษาและพัฒนาระบบบริหารการป้องกันภัยทุจริตให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าเป็นสำคัญ เพื่อให้สมาชิกทำธุรกรรมการเงินได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัย และแน่นอนว่าการป้องกันภัยจากการทุจริตต่างๆ จะเกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หากสมาชิกและผู้บริโภคได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และร่วมกันป้องกันตนเองในเบื้องต้นไปกับเคทีซี”

“ปัจจุบันภัยไซเบอร์ที่มิจฉาชีพหลอกขอข้อมูลสำคัญกับผู้เสียหายโดยตรง ได้แก่ 1) Phishing หลอกขอข้อมูลบัตรเครดิต พร้อมรหัส OTP เพื่อนำไปซื้อสินค้าออนไลน์ 2) Phishing หลอกขอข้อมูลส่วนตัว พร้อมรหัส OTP เพื่อให้เข้าครอบครอง (Take Over) แอปพลิเคชัน หรือโมบาย แบงค์กิ้ง (Mobile Banking) ของผู้เสียหาย 3) แก๊งคอลล์เซ็นเตอร์ (Call Center) หลอกให้โอนเงิน โดยแอบอ้างมาจากหน่วยงานต่างๆ เช่น DHL, DSI สถานีตำรวจ และอื่นๆ 4) มิจฉาชีพ หลอกล่อให้กดลิงค์ดาวน์โหลดเพื่อติดตั้งโปรแกรมและเข้าควบคุม (Remote Control) เครื่องสมาร์ทโฟนของผู้เสียหาย”


“สำหรับการหลอกขอข้อมูลส่วนตัวจากมิจฉาชีพเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เพราะคนส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนในการทำธุรกรรมต่างๆ มากขึ้น จึงเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพเข้าหลอกล่อได้ง่ายผ่าน SMS หรือแอปฯ โซเชียล มีเดีย โดยจะหลอกให้เพิ่ม Line Official ปลอม จากนั้นจะโทรศัพท์มาพูดคุย และให้ทำตามขั้นตอนเพื่อติดตั้งแอปฯ ปลอม ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เป็นหลัก และหลอกให้เหยื่อตั้งรหัสเพื่อเข้าแอปฯ ปลอม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรหัสเดียวกันกับแอปฯ โมบาย แบงค์กิ้งของเหยื่อ หลังจากมิจฉาชีพเข้าควบคุมสมาร์ทโฟนของเหยื่อสำเร็จ ระบบหน้าจอจะค้างอยู่ บางแอปฯ หน้าจอจะค้าง และขึ้นว่าอยู่ระหว่างดำเนินการ จึงไม่สามารถกดปิดหรือออกจากแอปฯ นี้ได้ ระหว่างนี้มิจฉาชีพจะเข้าไปยังโมบาย แบงค์กิ้งของสถาบันต่างๆ โดยใช้รหัสที่หลอกให้เหยื่อตั้งรหัสตอนแรก แล้วโอนเงินออกไปยังบัญชีปลายทาง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ต้องดาวน์โหลดแอปฯ ผ่าน App store หรือ Play store เท่านั้น”

​นายนพรัตน์ สุริยา ผู้บริหารแผนกสืบสวนทุจริต “เคทีซี” กล่าวว่า “แนวทางป้องกันให้ไกลจากมิจฉาชีพมี 4 ข้อ คือ 1) ติดตามเหตุการณ์ทุจริตจากข่าวสารในสื่อต่างๆ อย่างรู้เท่าทัน เพราะมิจฉาชีพมักจะใช้มุกใหม่อยู่เสมอ 2) ตระหนักเสมอว่าของถูกไม่มีดี ของฟรีไม่มีในโลก You get what you pay for มิจฉาชีพมักจะส่ง SMS มอบของกำนัลต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เหยื่อ ติดกับดักอยู่เสมอ 3) หยุดคิดก่อนคลิกลิงค์ต่างๆ ที่ตนเองไม่ได้ร้องขอ เพราะ Phishing เป็นจุดเริ่มต้นของกับดัก ลิงค์ที่แนบมาเป็นการให้เหยื่อ Add Line ปลอมของมิจฉาชีพ หรือลิงค์อาจจะถูกฝังมาด้วยมัลแวร์ (Malware) 4) ตรวจสอบเพื่อความแน่ใจ อย่าหลงเชื่อการล่อลวง Deceive ซึ่งมิจฉาชีพมักใช้จิตวิทยาเล่นกับความโลภและความกลัว เข้ามาหลอกล่อให้ติดกับดักอยู่เสมอ เช่น แอบอ้างเป็น DSI แจ้งว่าบัญชีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน หรือแจ้งว่าเป็นผู้โชคดีได้รับบัตรกำนัลได้ตั๋วเครื่องบินฟรี”

“อีกเรื่องที่สำคัญมากคือ การตั้งค่าปิด-เปิดฟังก์ชัน และตั้งเตือนต่างๆ บนสมาร์ทโฟน เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูล กรณีที่พลาดเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพแล้ว ส่วนที่ควรปิด คือ การตั้งค่าการช่วยเหลือพิเศษ ในการเข้าถึงฟีเจอร์ช่วยเหลือจากหน้าจอใดก็ได้ กลายเป็นช่องโหว่ให้มิจฉาชีพใช้รีโมทเข้าควบคุมสมาร์ทโฟนของเหยื่อ ส่วนที่ต้องเปิด คือ การตั้งค่าแจ้งเตือนธุรกรรมการเงินต่างๆ ของโมบาย แบงค์กิ้งผ่านอีเมลหรือแอปพลิเคชัน เพื่อให้เราได้รับรู้ทุกธุรกรรมการเงิน รวมทั้งตัดสัญญาณสมาร์ทโฟน หรือ wifi ให้เร็วที่สุด ด้วยการกดปุ่ม Force Shutdown หากยังไม่สามารถปิดเครื่องได้ ให้หาวิธีดึงซิมการ์ดโทรศัพท์ออกเพื่อตัดสัญญาณ และรีบติดต่อธนาคารและแจ้งความทันที”


​“สำหรับสมาชิกเคทีซี แนะนำให้เพิ่มความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล ด้วยการดาวน์โหลดและใช้แอปฯ “KTC Mobile” ซึ่งปลอดภัยตั้งแต่เริ่มต้นล็อกอินด้วยรหัสผ่าน 6 หลัก บนแป้นพิมพ์แบบไดนามิก เพื่อการยืนยันตัวตนเข้าสู่ระบบผ่านการสแกนลายนิ้วมือ หรือสแกนม่านตาสำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟนซัมซุง แกแลคซี่ สะดวกด้วยระบบตั้งเตือนการใช้จ่ายผ่านบัตรทุกรายการ และยังสามารถกำหนดยอดใช้จ่ายที่ต้องการ พร้อมตั้งเตือนก่อนวันชำระ รวมทั้งบริการจำเป็นอื่นๆ ที่ลูกค้าสามารถตั้งค่าทำรายการได้ด้วยตนเอง เช่น การอายัดบัตรชั่วคราว การกำหนดวงเงินและการขอวงเงินชั่วคราว นอกจากนี้เคทีซียังได้มีการปรับข้อความเมื่อส่งรหัสผ่านสำหรับใช้ครั้งเดียว หรือ OTP โดยย้ำเตือนให้สมาชิกระมัดระวังการแจ้งรหัสให้กับบุคคลอื่น เพื่อลดความเสี่ยงในการทุจริตเข้าถึงบัญชี”

​“ล่าสุดราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศพระราชกำหนด มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 โดยมีประเด็นสำคัญคือ 1. จัดให้มีกระบวนการและระบบในการระงับธุรกรรมบนบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งกรณี (1) ได้รับแจ้งจากลูกค้า (2) ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ (3) ตรวจพบธุรกรรมต้องสงสัยเอง หรือได้รับแจ้งจากธนาคาร หรือผู้ประกอบธุรกิจฯ อื่น รวมทั้งสื่อสารผู้ปฏิบัติงานภายในบริษัทให้รับทราบและปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน 2. จัดให้มีกระบวนการและระบบในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ และธุรกรรมต้องสงสัย โดยประสานงานร่วมกับสมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไทย 3. การรับแจ้งเหตุผ่านช่องทางติดต่อเร่งด่วน (Hotline) ทางโทรศัพท์ หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างมีประสิทธิภาพ 4. มอบหมายผู้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสนับสนุนข้อมูลและช่วยเหลือดูแลลูกค้าในการแก้ไขปัญหา 5.ดำเนินการสื่อสารแจ้งลูกค้าให้ทราบแนวปฏิบัติ เพื่อให้แจ้งข้อมูลที่ถูกต้องแก่บริษัท”

พ.ต.ต.เทียนชัย เข็มงาม สารวัตรกลุ่มงานสนับสนุนทางไซเบอร์ กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า “ทางกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง ซึ่งเคทีซีเป็นหน่วยงานภาคเอกชนแรกๆ ที่ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังและติดตามเหตุผิดปกติวิสัยที่อาจนำไปสู่การทุจริตของมิจฉาชีพ โดยปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ได้พัฒนาไปในหลายรูปแบบ และกลายเป็นปัญหาที่รบกวนและกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคประชาชนรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจากประสบการณ์ในการทำงานพบว่า ประเภทคดีที่มีจำนวนมิจฉาชีพมากที่สุดคือ หลอกลวงซื้อขายสินค้า นอกจากนี้ยังพบเจอคดีอีกหลายรูปแบบ อาทิ หลอกให้โอนเงินเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรม หลอกให้หลงรักแล้วโอนเงิน (Romance scam) หลอกให้ลงทุนออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ หลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน รับจ้างเปิดบัญชีธนาคารหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ซึ่งเข้าข่ายความผิดตามพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566

สำหรับวิธีสังเกตและการดูแลตนเองเกี่ยวกับอาชญากรรมทางออนไลน์เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้
1) ไม่กรอกข้อมูลส่วนตัวในลิงก์หรือแอปพลิเคชันที่ไม่น่าเชื่อถือ และควรติดตั้งแอปพลิเคชันจาก App Store หรือ Play Store เท่านั้น
2) อัปเดตระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์และแอปพลิเคชันให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
3) หมั่นติดตามข่าวสารจากทางราชการ รวมถึงแจ้งเตือนไปยังบุคคลใกล้ตัวเพื่อลดโอกาสในการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

ส่วนผู้ที่ได้รับความเสียหายสามารถแจ้งความคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ผ่านเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com หรือขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำได้ที่โทร 1441” . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผู้เสียหายรวมตัวถามความคืบหน้าซื้อขายทอง จากร้านดังแล้วไม่ได้ทอง

กรุงเทพฯ 22 พ.ค. – ผู้เสียหายกว่า 30 ราย บุกทวงถามความคืบหน้าคดีซื้อขายทอง จากร้านชื่อดังแล้วไม่ได้ทอง ยอดความเสียหายพุ่งกว่า 700 ล้านบาท พ้อเดือดร้อนอย่างหนัก ผู้เสียหายจากการซื้อขายทองคำรายย่อยจากทั่วประเทศกว่า 30 ราย จากการซื้อขายกับร้านทองชื่อดัง ย่านเยาวราช พร้อมนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ประธานมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน เข้าติดตามความคืบหน้าคดีฉ้อโกงซื้อขายทองคำ ที่ศูนย์แจ้งความกองบัญชาการสอบสวนกลาง นายปานเทพ เปิดเผยว่า ขณะนี้รวมมูลค่าความเสียหายจาการซื้อขายทองคำกับร้านทองชื่อดัง พุ่งไปกว่า 700 ล้านบาทแล้ว โดยกลุ่มผู้เสียหายมีหลายรูปแบบ ทั้งกลุ่มที่ซื้อทอง กลุ่มที่ฝากเงิน และกลุ่มที่ซื้อทองและฝากเงิน นอกจากนี้จะยื่นคำร้องขอให้สอบสวนเพิ่มเติมสอบกับ 8 บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทและบริษัทในเครือ พิจารณาดำเนินคดีความอาญากับผู้เกี่ยวข้องในคดีที่ผู้เสียหาย ซื้อทองไม่ได้ทอง ขายทองไม่ได้เงิน ฝากทองไม่ได้คืน ลงทุนไม่ได้อะไร กับบริษัทดังกล่าว และต้องการให้ออกหมายจับผู้กี่ยวข้องทั้งหมด เนื่องจากกลัวจะมีการหลบหนี ส่วนการอ้างโฆษณาว่า ร้านรับซื้อทองคำให้ราคาสูงกว่าร้านอื่น การซื้อขายแต่ไม่ได้ทอง มองว่ามีเจตนาชัดเจนอยู่แล้ว การอ้างขาดสภาพคล่อง แต่ยังเปิดแอปพลิเคชั่นให้ประชาชนมาซื้อขายทองคำต่อได้อย่างไร ส่วนที่ผ่านมาทางร้านมีความพยายามเคลียร์กับผู้เสียหายรายย่อย มีการจ่ายเงินคืนไปแล้วบางรายไม่ถึงล้านบาท และตอนนี้ไม่สามารถติดต่อได้แล้ว มองว่าเป็นแทคติกที่ต้องการเปลี่ยนเป็นสัญญา เพื่อหลีกเลี่ยงจากคดีอาญาเป็นคดีแพ่งแทน […]

ทรูประกาศชดเชยลูกค้าจากเหตุขัดข้อง

กรุงเทพฯ 22 พ.ค. – ทรูประกาศชดเชยสำหรับลูกค้า กรณีเหตุขัดข้องของระบบเครือข่ายในวันนี้ ทรูแจ้งว่าขออภัยเป็นอย่างยิ่งในเหตุขัดข้องของระบบเครือข่ายที่เกิดขึ้น ขณะนี้บริการต่างๆ ทั้งวอยซ์และดาต้ากำลังกลับมาให้บริการเต็มประสิทธิภาพได้ในทุกพื้นที่ ทั่วประเทศ บริษัทขอชดเชยให้ผู้ใช้งานระบบรายเดือนและเติมเงินที่ได้รับผลกระทบจากสาเหตุเครือข่ายขัดข้อง ทั้งนี้ ผู้ใช้งานในระบบเครือข่ายทรูที่ได้รับผลกระทบ จะได้รับ SMS แจ้งถึงรายละเอียดการชดเชยต่อไป โดยเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา คณะผู้บริหารของบริษัทได้เข้าพบ กสทช.เพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว รวมทั้งแนวทางในการป้องกันเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต. -511- สำนักข่าวไทย

ปลาติดเชื้อจากสารเคมีปนเปื้อนในแม่น้ำกก

เชียงราย 22 พ.ค. – วิกฤติน้ำกก หลังพบสารหนู-สารเคมีปนเปื้อนจากการทำเหมืองแร่ ลุกลามไปแม่น้ำสายและแม่น้ำโขงแล้ว ล่าสุดตรวจพบปลาในแม่น้ำมีอาการผิดปกติที่ผิวหนัง ส่วนช้างอาบน้ำในน้ำกกมีผื่นและตุ่มใส ติดเชื้อจนเกิดแผล หลังจากมีการตรวจสอบหาสารหนู และสารเคมีอื่นๆ ในแม่น้ำกก แม่น้ำสาย และแม่น้ำโขง ทำให้พบว่ามีปริมาณเกินกว่ามาตรฐานหมายเท่าตัว จากการทำเหมืองแร่ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมา และตรวจพบปลาในแม่น้ำมีอาการผิดปกติที่ผิวหนัง ซึ่งทางกรมประมงได้ติดตามการติดเชื้อของปลาในแม่น้ำทั้ง 3 สาย โดยนำปลาที่ชาวประมงพื้นบ้านจับได้จากแม่น้ำกก แม่น้ำสาย และแม่น้ำโขง นำมาตวรจสอบหาสารตกค้าง และเชื้อโรคที่ปลาได้รับ เพื่อป้องกันการติดเชื้อสู่มนุษย์ หากนำไปบริโภค นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา นายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต เปิดเผยว่าสมาคมพยายามจะมอนิเตอร์ปลาในแม่น้ำกก แม่น้ำรวก แม่น้ำโขง เพื่อติดตามว่ามีการติดเชื้อแพร่กระจายไปถึงไหนบ้าง เพื่อจะเก็บตัวอย่างรีบส่งให้กับทางกรมประมง ในการตรวจหาสาเหตุภายในของปลาว่ามีเชื้ออะไรบ้าง ซึ่งต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ ป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำ ซึ่งขณะนี้เกิดความวิตก และกังวลใจของชาวประมงที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ที่ต้องหาปลาในแมน้ำ เมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นการค้าขายปลาเกิดผลกระทบ ทางเศรษฐกิจในชุมชน คนไม่นิยมปลาจากแม่น้ำ ทำให้ขาดรายได้เลี้ยงชีพ นอกจากนี้ที่บ้านรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พบว่าน้ำในแม่น้ำกกมีลักษณะขุ่นจัด เมื่อเทียบกับลำห้วยสาขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำ ซึ่งมีน้ำใสกว่ามาก เทศบาลตำบลแม่ยาวได้เร่งติดตั้งป้ายเตือนประชาชน […]

จับแล้ว! มือฆ่ารัดคอพยาบาลสาวเกาะสมุย

สุราษฎร์ธานี 22 พ.ค.- จับแล้ว! มือฆ่ารัดคอพยาบาลสาวเกาะสมุย ตร.เค้นสอบ สารภาพก่อเหตุจริงก่อนขโมยรถผู้ตายหนี ความคืบหน้าคดีคนร้ายฆ่าเปลือยพยาบาลสาววัย 36 ปี ในหอพัก 2 ชั้น พื้นที่ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และขโมยรถยนต์ผู้เสียชีวิตไปด้วย ซึ่งผู้ต้องสงสัยคือแฟนของผู้ช่วยพยาบาลที่อยู่ห้องติดกับผู้เสียชีวิต โดยศาลจังหวัดเกาะสมุย ได้ออกหมายจับนายสุวัฒน์ อายุ 30 ปี ความผิดฐาน ลักทรัพย์ในเวลากลางคืนหรือรับของโจร ล่าสุด มีรายงานว่าชุดสืบสวน สภ.บ่อผุด สามารถจับกุมคนร้ายได้แล้ว เบื้องต้นรับว่า เป็นบุคคลตามภาพจากกล้องวงจรปิดที่ขับรถยนต์ของพยาบาลสาวไปจอดในห้างฯ และก่อเหตุฆ่าพยาบาลสาวก่อนขโมยรถยนต์ เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการสอบสวนถึงเหตุจูงใจ .-สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

ศาลพิพากษายกฟ้อง “แซน-กระติก-จ๊อบ” ฐานประมาท คดีแตงโม

นนทบุรี 23 พ.ค. – ศาลนนทบุรี พิพากษายกฟ้อง “แซน-กระติก-จ๊อบ” ฐานประมาทจนทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต คดีแตงโม ศาลจังหวัดนนทบุรี อ่านคำพิพากษาคดีอาญา หมายเลขดำที่ อ.292/1566 (คดีหมายเลขแดง อ.769/2568) ที่พนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี โจทก์ และนางภนิดา ศิระยุทธโยธิน โจทก์ร่วม ยื่นฟ้อง นายวิศาพัช หรือ แซน มโนมัยรัตน์ กับพวกรวม 4 คน เป็นจำเลยที่ 1-4 คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์หลัก โดยมีนางภนิดา เป็นโจทก์ร่วม ฟ้องจำเลยในความผิดฐานประมาท, แจ้งความเท็จ และทำลายหลักฐาน กรณีแตงโมตกเรือสปีดโบ๊ทจมแม่น้ำเจ้าพระยาเสียชีวิต เหตุเกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 หรือกว่า 3 ปีที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งในชั้นสอบสวน และชั้นศาล จำเลยทั้ง 4 คน ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ทนายเดชา กล่าวว่า คดีนี้เป็นการต่อสู้กันในข้อหาประมาท ซึ่งทราบว่าอัยการที่เป็นโจทก์หลักได้บรรยายฟ้องถึงพฤติกรรมของจำเลยทั้ง 4 […]

ค้นหาคนงานตกหลุมเสาเข็มคืบ พบร่องรอยร่างใต้ดิน เดินหน้าขุดต่อ

กรุงเทพฯ 23 พ.ค. – ผู้ว่าฯ กทม. เผยความคืบหน้าการค้นหาคนงานตกหลุมเสาเข็ม พบร่องรอยร่างใต้ดิน เป็นกลิ่นและไขมัน แต่ยังไม่มั่นใจว่าใช่ เดินหน้าขุดต่อ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามปฏิบัติการค้นหาคนงานพลัดตกหลุมระหว่างการรื้อถอนเสาเข็มสะพานลอยเดิม บริเวณพื้นที่ก่อสร้างสถานีหลานหลวง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา ทีมทำการค้นหาถึงประมาณตี 2 กว่า คาดว่าพบร่องรอยของคนงานที่ตกลงไป โดยเป็นกลิ่นและไขมัน แต่ยังไม่มั่นใจว่าใช่ เพราะตอนนี้ยังขุดไปไม่ถึง ได้ใช้เหล็กแหย่ลงไปก่อน พบลักษณะดินแตกต่างจากปกติ สำหรับปัญหาเมื่อคืนนี้ คือ มีท่อน้ำรั่ว กำลังทำการแก้ไข ส่วนดินมีการสไลด์ตัวบ้าง ต้องใช้แผ่นเหล็กค้ำยันป้องกันใกล้เคียงทรุดตัว โดยขณะนี้ขุดลึกลงไปประมาณ 9 เมตรแล้ว คาดว่าวันนี้น่าจะมีความคืบหน้ามากขึ้น.-420.-สำนักข่าวไทย

เด้งนายอำเภอปลายพระยา เซ่นจับบ่อนใหญ่กลางสวนปาล์ม

กระบี่ 23 พ.ค.- อธิบดีกรมการปกครอง ลงนามสั่งเด้งนายอำเภอปลายพระยา เซ่นจับบ่อนใหญ่กลางสวนปาล์ม อธิบดีกรมการปกครอง ลงนามในคำสั่งให้ นางนันทิชา เกิดแก้ว นายอำเภอปลายพระยา จ.กระบี่ ช่วยราชการ ที่วิทยาลัยการปกครอง ตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค. 2568 เป็นต้นไป หลังจากช่วงเย็นวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา ชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง เปิดปฏิบัติการ “บองหลาไฟ” บุกทลายบ่อนกลางสวนปาล์ม พื้นที่ ต.เขาต่อ อ.ปลายพระยา จับกุมนักพนันได้กว่า 70 คน เบื้องต้นพบว่าบ่อนดังกล่าวมีเงินหมุนเวียนกว่า 12 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนนักพนันทั้งหมด เจ้าหน้าที่นำตัวส่งศาลแพ่งจังหวัดกระบี่ ดำเนินการตามกฎหมายแล้ว .-สำนักข่าวไทย

จับตาศาลชี้ชะตา “คดีแตงโม” จำเลยมาตามนัดพร้อมเพรียง

นนทบุรี 23 พ.ค.- ศาลจังหวัดนนทบุรี นัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีการเสียชีวิตของดาราสาว “แตงโม ภัทรธิดา” ขณะที่จำเลยต่างเดินทางมาศาลอย่างพร้อมเพรียง. -สำนักข่าวไทย