โรฮีนจาเกือบ 200 คนติดค้างบนชายหาดอินโดนีเซีย
ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาเกือบ 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและสตรี ติดค้างอยู่บนชายหาดทางฝั่งตะวันตกของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นจุดที่เรือของพวกเขามาขึ้นฝั่ง เนื่องจากคนในพื้นที่ไม่ยอมรับผู้ลี้ภัยชุดใหม่
ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาเกือบ 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและสตรี ติดค้างอยู่บนชายหาดทางฝั่งตะวันตกของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นจุดที่เรือของพวกเขามาขึ้นฝั่ง เนื่องจากคนในพื้นที่ไม่ยอมรับผู้ลี้ภัยชุดใหม่
อาเจะห์ 2 ธ.ค.- ชาวโรฮีนจามากว่า 100 คนล่องเรือขึ้นฝั่งจังหวัดอาเจะห์ ทางตะวันตกสุดของอินโดนีเซียในวันนี้ ขณะที่ชาวบ้านขู่จะผลักดันให้กลับขึ้นเรือออกจากฝั่งหากไม่มีฝ่ายใดเข้ามาดำเนินการ หัวหน้าหมู่บ้านจุดที่เรือโรฮีนจาล่องมาขึ้นฝั่งในวันนี้เผยว่า ตอนที่มาถึงก็เห็นชาวโรฮีนจาเหล่านี้อยู่บนชายหาดแล้ว มีทั้งเด็ก ผู้หญิง และผู้ชายรวม 139 คน เรือมาขึ้นฝั่งประมาณเวลา 02:30 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลาเดียวกันในไทย หมู่บ้านจะผลักดันผู้ลี้ภัยชุดล่าสุดนี้ขึ้นเรือออกจากฝั่ง หากไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดำเนินการภายในบ่ายวันนี้ โดยในระหว่างนี้จะให้ความช่วยเหลือไปก่อน พร้อมกับย้ำว่าคนในหมู่บ้านคัดค้านอย่างยิ่งเรื่องเรือโรฮีนจามาขึ้นฝั่ง สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) เผยว่า เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจามากกว่า 1,000 คน ล่องเรือมาขึ้นฝั่งจังหวัดอาเจะห์ของอินโดนีเซีย มากที่สุดนับจากปี 2558 ยูเอ็นเอชซีอาร์ประเมินว่า ปี 2565 มีชาวโรฮีนจามากกว่า 3,500 คนพยายามล่องเรือเสี่ยงชีวิตมายังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่เป็นอินโดนีเซียและมาเลเซีย โดยเดินทางมาจากเมียนมาหรือค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ และในจำนวนนี้เกือบ 350 คนเสียชีวิตหรือสูญหายกลางทะเล.-814.-สำนักข่าวไทย
อาเจะห์ 29 พ.ย. – ชาวโรฮีนจาที่หนีจากค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศมายังอินโดนีเซียเผยสาเหตุที่ยอมเสี่ยงชีวิตล่องเรือนาน 12 วันว่า ต้องการหนีจากการถูกลักพาตัว กรรโชกทรัพย์และถูกฆ่า เฉพาะเดือนพฤศจิกายนนี้เดือนเดียว มีชาวโรฮีนจาล่องเรือมาถึงจังหวัดอาเจะห์ ทางตะวันตกของอินโดนีเซียมากกว่า 1,000 คน มากที่สุดนับจากปี 2558 ชายโรฮีนจาวัย 27 ปีเผยว่า เขาและอีกหลายคนหนีความโหดร้ายในค่ายผู้ลี้ภัยที่อยู่ทั้งในและรอบเมืองค็อกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศ ที่ซึ่งมีผู้ลี้ภัยมากกว่า 1 ล้านคน และแก๊งอาชญากรรมมักก่อเหตุลักพาตัวและทรมานเพื่อเรียกค่าไถ่ เขาถูกแก๊งลักพาตัวเรียกค่าไถ่ 500,000 ตากา (ราว 158,600 บาท) เพื่อนำเงินไปซื้อปืน ไม่เช่นนั้นจะถูกฆ่า ในที่สุดหาเงินไถ่ตัวได้ 300,000 ตากา (ราว 95,200 บาท) เมื่อเดือนตุลาคม จึงรีบหาทางหนีพร้อมกับครอบครัว โดยเสี่ยงชีวิตล่องเรือมาถึงอินโดนีเซียในวันที่ 21 พฤศจิกายน อินโดนีเซียเผยว่า ไม่มีพันธกิจที่จะต้องรับผู้ลี้ภัยจากเมียนมา เพราะไม่ได้เป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ แต่เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ไม่ยอมให้เรือโรฮีนจาขึ้นฝั่ง อินโดนีเซียจึงกลายเป็นทางเลือกเดียว ขณะที่คนท้องถิ่นพยายามลาดตระเวนและผลักดันเรือผู้ลี้ภัยออกไป กลุ่มฮิวแมนไรท์วอทช์รายงานในปีนี้ว่า แก๊งอาชญากรรมและแก๊งสาขาของกลุ่มติดอาวุธอิสลามสร้างความหวาดกลัวตอนกลางคืนตามค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ โดยที่ทางการบังกลาเทศไม่ได้ดำเนินการเท่าที่ควร ขณะที่กระทรวงกลาโหมบังกลาเทศเผยว่า […]
ธากา 27 พ.ย. – องค์กรสิทธิมนุษยชนในบังกลาเทศเผยว่า ช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม ปี 2566 มีผู้หญิงถูกข่มขืนทั้งหมด 397 ราย และมีผู้หญิงและเด็กผู้หญิงตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงอย่างน้อย 2,575 ราย สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนอ้างรายงานที่บังกลาเทศ มาหิลา ปาริซาด (BMP) ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนในบังกลาเทศเผยแพร่เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากลที่ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปีว่า จากการเก็บรวบรวมข้อมูลตามรายงานข่าวของสื่อมวลชนระดับชาติ 12 แห่งพบว่า มีเหยื่อเหตุข่มขืนถูกฆ่า 31 ราย และตัดสินใจฆ่าตัวตาย 12 ราย มีผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกาย 221 ราย และถูกฆ่าด้วยสาเหตุต่าง ๆ 443 ราย นอกจากนี้ยังพบว่า มีการแต่งงานในวัยเด็ก 21 กรณี การใช้ความรุนแรงทางเพศ 142 กรณี และการทรมานเพื่อเอาสินสอด 61 กรณี ที่สำคัญยังพบว่า มีผู้หญิงเสียชีวิตอย่างเป็นปริศนาในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้อย่างน้อย 231 ราย รายงานเรียกร้องให้มีการลงโทษผู้ก่อเหตุข่มขืนและฆาตกรให้เป็นตัวอย่างแก่สาธารณชน.-สำนักข่าวไทย
อารกันโปรเจค ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อสิทธิชาวโรฮีนจา กล่าววันนี้ว่า เรือที่จะบรรทุกผู้อพยพชาวโรฮีนจาอย่างน้อย 2 ลำ ที่มีผู้โดยสารหลายร้อยคนเตรียมที่จะออกจากบังกลาเทศในสัปดาห์นี้
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอชซีอาร์ กล่าววันนี้ว่า ผู้อพยพชาวโรฮีนจาประมาณ 200 คน เดินทางด้วยเรือถึงจังหวัดปลายสุดด้านตะวันตกของอินโดนีเซียเมื่อคืนที่ผ่านมา
ผู้อพยพโรฮีนจาประมาณ 250 คน บนเรือไม้ที่อยู่กันอย่างแออัด ถูกปฏิเสธจากประชาชนในพื้นที่ทางตะวันตกของอินโดนีเซีย และถูกผลักดันให้กลับไปสู่ท้องทะเลอีกครั้ง
โรงงานสิ่งทอในบังกลาเทศเปิดดำเนินการอีกครั้งในวันนี้ คนงานสิ่งทอกลับเข้าทำงาน แม้ว่ายังไม่สามารถตกลงเรื่องค่าแรงตามที่เรียกร้อง หลังจากมีการประท้วงที่เกิดความรุนแรง
ธากา 11 พ.ย.- โรงงานสิ่งทอในบังกลาเทศ 150 แห่งปิดโดยไม่มีกำหนดตั้งแต่วันนี้ ขณะที่ตำรวจตั้งข้อหากับคนงาน 11,000 คน ว่าพัวพันกับการใช้ความรุนแรงประท้วงเรียกร้องขอขึ้นค่าแรง คนงาน 15,000 คนปะทะกับตำรวจบนทางหลวงสายหลักและปล้นข้าวของในโรงงานสิ่งทอสิบกว่าแห่งเมื่อวันพฤหัสบดี ตำรวจแจ้งข้อหาโดยไม่ระบุชื่อกับคนงาน 11,000 คนที่เข้าไปปล้นข้าวของในตูชูกา (Tusuka) ซึ่งเป็นโรงงานสิ่งทอรายใหญ่ ขณะเดียวกันโรงงาน 150 แห่งในย่านกาซิปูร์และย่านอาชูเลียที่อยู่ทางเหนือของกรุงธากาพากันปิดอย่างไม่กำหนดตั้งแต่วันนี้ โดยอ้างมาตราในกฎหมายแรงงานที่ให้ปิดได้หากมีการนัดหยุดงานอย่างผิดกฎหมาย บังกลาเทศมีโรงงานสิ่งทอ 3,500 แห่ง จ้างงานคน 4 ล้านคน ผลิตสินค้ามากถึงร้อยละ 85 ของสินค้าส่งออกมูลค่าปีละ 55,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.95 ล้านล้านบาท) ส่วนใหญ่ผลิตให้แก่แบรนด์ดังตะวันตก คนงานขอขึ้นเงินเดือนเป็น 23,000 ตากา (ราว 7,390 บาท) หรือเกือบ 3 เท่าของเงินเดือนเริ่มต้นที่ 8,300 ตากา (ราว 2,670 บาท) แต่คณะทำงานที่รัฐบาลแต่งตั้งเสนอเมื่อวันอังคารให้ขึ้นค่าแรงร้อยละ 56.25 เป็นเดือนละ 12,500 […]
ธากา 10 พ.ย.- นายกรัฐมนตรีชีค ฮาสินาของบังกลาเทศ ไม่ยอมรับข้อเรียกร้องของคนงานสิ่งทอที่ต้องการขึ้นเงินเดือนเกือบ 3 เท่า หลังจากเกิดเหตุผู้ชุมนุมปะทะกับตำรวจและมีการปล้นข้าวของในโรงงานสิ่งทอ นายกรัฐมนตรีฮาสินากล่าวต่อที่ประชุมพรรคสันนิบาต อวามี ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของเธอเมื่อค่ำวันพฤหัสบดีว่า อยากบอกกับคนงานสิ่งทอว่า ควรต้องทำงานต่อไปไม่ว่าเงินเดือนจะขึ้นเท่าใดก็ตาม หากออกมาชุมนุมตามท้องถนนตามการยุยงของใครบางคน คนงานสิ่งทอจะตกงานและต้องกลับบ้านเกิด เพราะหากโรงงานต้องปิดตัว การผลิตและการส่งออกต้องสะดุด คนงานจะมีงานทำได้อย่างไร ผู้นำบังกลาเทศเผยด้วยว่า มีโรงงาน 19 แห่งถูกทำลายทรัพย์สินและปล้นข้าวของ ทั้งที่โรงงานเหล่านี้ทำให้ผู้ชุมนุมประท้วงมีอาหารกินมีงานทำ และว่าเรื่องที่คณะทำงานที่รัฐบาลแต่งตั้งเสนอเมื่อวันอังคารให้ขึ้นค่าแรงให้คนงานสิ่งทอร้อยละ 56.25 เป็นเดือนละ 12,500 ตากา (ราว 4,062 บาท) ถือว่าดีมาก เมื่อเทียบกับข้าราชการที่จะได้รับการขึ้นเงินเดือนร้อยละ 5 ในยามที่เกิดเงินเฟ้อทั่วโลก บังกลาเทศมีโรงงานสิ่งทอ 3,500 แห่ง จ้างงานคน 4 ล้านคน ผลิตสินค้ามากถึงร้อยละ 85 ของสินค้าส่งออกมูลค่าปีละ 55,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.95 ล้านล้านบาท) ส่วนใหญ่ผลิตให้แก่แบรนด์ดังตะวันตก คนงานขอขึ้นเงินเดือนเป็น 23,000 ตากา (ราว […]
กาซิปูร์ 9 พ.ย.- ตำรวจบังกลาเทศยิงแก๊สน้ำตาและกระสุนยางสลายคนงานสิ่งทอที่ใช้ความรุนแรงในการชุมนุมประท้วงเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงมากกว่าที่รัฐบาลเสนอ ตำรวจเผยว่า เหตุรุนแรงเกิดขึ้นในวันนี้ที่เขตกาซิปูร์ แหล่งโรงงานสิ่งทอชานกรุงธากา เมื่อคนงานมากกว่า 1,000 คนปักหลักประท้วงปิดทางหลวง ตำรวจจึงต้องยิงแก๊สน้ำตาและกระสุนยางเพื่อสลายการชุมนุม นอกจากนี้คนงานสิ่งทอยังขว้างปาก้อนอิฐก้อนหินใส่ตำรวจ และจุดไฟเผาสิ่งของบนถนนด้วย ส่วนที่เขตอาชูเลีย ชานเมืองทางเหนือของกรุงธากา คนงานสิ่งทอจำนวนมากพากันนัดหยุดงาน ตำรวจเผยด้วยว่า นับตั้งแต่การประท้วงเริ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อน มีคนงานเสียชีวิตแล้ว 3 คน หนึ่งในนั้นเป็นสตรีวัย 23 ปีที่ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันพุธ และมีตำรวจบาดเจ็บ 5 นาย บังกลาเทศมีโรงงานสิ่งทอ 3,500 แห่ง จ้างงานคน 4 ล้านคน ผลิตสินค้ามากถึงร้อยละ 85 ของสินค้าส่งออกมูลค่าปีละ 55,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.95 ล้านล้านบาท) ส่วนใหญ่ผลิตให้แก่แบรนด์ดังตะวันตก คนงานขอขึ้นเงินเดือนเป็น 23,000 ตากา (ราว 7,390 บาท) หรือเกือบ 3 เท่าของเงินเดือนเริ่มต้นที่ 8,300 ตากา (ราว 2,670 […]
แรงงานโรงงานทอผ้าของบังกลาเทศ ที่นัดผละงานเรียกร้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ มานานกว่า 1 สัปดาห์ เริ่มกลับเข้าทำงานบ้างแล้ว