สังเวย 7 ศพประท้วงขับไล่นายกฯ บังกลาเทศ

ธากา 4 ส.ค.- มีผู้เสียชีวิตแล้ว 7 คน และบาดเจ็บหลายสิบคนในวันนี้ จากเหตุปะทะที่เกิดขึ้นระหว่างที่ตำรวจบังกลาเทศยิงแก๊สน้ำตาและขว้างระเบิดแสงสลายผู้ชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเชค ฮาซีนาลาออก การประท้วงในขณะนี้ถือว่าใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่มีการประท้วงนองเลือดเมื่อนางฮาซีนาชนะเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4 ติดต่อกันเมื่อเดือนมกราคมในการเลือกตั้งที่ฝ่ายค้านหลักคว่ำบาตรไม่เข้าร่วม รัฐบาลต้องปิดบริการอินเทอร์เน็ตหวังควบคุมการปลุกระดมคนเข้าร่วมการประท้วง โดยในวันนี้มีรายงานคนงานก่อสร้าง 2 คนเสียชีวิต และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 30 คน จากการปะทะกัน 3 ฝ่ายระหว่างผู้ประท้วง ตำรวจ และนักเคลื่อนไหวของพรรคสันนิบาตอวามีของนางฮาซีนาในพื้นที่ตอนกลางของประเทศ ขณะเดียวกันมีผู้เสียชีวิต 2 คน และได้รับบาดเจ็บ 50 คน จากการปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงกับนักเคลื่อนไหวของพรรครัฐบาลในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ และมีผู้เสียชีวิตอีก 2 คนในพื้นที่ทางเหนือ ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกรกฎาคม มีคนในบังกลาเทศถูกสังหารไม่ต่ำกว่า 150 คน บาดเจ็บหลายพันคน และถูกจับกุมประมาณ 10,000 คน จากเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการประท้วงนำโดยนักศึกษาที่ไม่พอใจนโยบายกำหนดโควต้าตำแหน่งงานราชการ การประท้วงซาลงเมื่อศาลฎีกามีคำสั่งยกเลิกโควต้าดังกล่าว อย่างไรก็ดี นักศึกษาได้กลับมาประท้วงประปรายเมื่อสัปดาห์ก่อน เรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตในการประท้วง.-814.-สำนักข่าวไทย

บังกลาเทศสงบหลังศาลสั่งยกเลิกโควต้างานราชการ

ธากา 22 ก.ค.- สถานการณ์ในบังกลาเทศในวันนี้เป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย หลังจากศาลมีคำสั่งให้รัฐบาลยกเลิกการกำหนดโควต้าการเข้าทำงานราชการ ซึ่งเป็นชนวนเหตุของการประท้วงมาตั้งแต่เดือนที่แล้ว บรรยากาศในกรุงธากาในเช้าวันนี้ทุกอย่างเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย แต่ยังคงมีทหารออกลาดตระเวนและตรวจตราดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ส่วนการประกาศเคอร์ฟิวที่เริ่มมาตั้งแต่วันเสาร์ สื่อรายงานว่า จะมีการผ่อนคลายเป็นเวลา 3 ชั่วโมงในช่วงบ่าย จากเดิม 2 ชั่วโมงเมื่อวันอาทิตย์ เพื่อให้เวลาประชาชนในการซื้อหาสิ่งของจำเป็น ศาลฎีกาบังกลาเทศมีคำสั่งเมื่อวันอาทิตย์ให้รัฐบาลยกเลิกการกำหนดโควต้าเข้ารับราชการ โดยให้ตำแหน่งงานร้อยละ 93 พิจารณารับคนเข้าทำงานตามความเหมาะสม จากเดิมที่เคยมีการกำหนดโควต้าถึงร้อยละ 56 ให้กับกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะลูกหลานของทหารผ่านศึกที่เคยร่วมรบในการเรียกร้องเอกราชจากปากีสถานที่ได้โควต้าถึงร้อยละ 30 ในขณะที่มีคนหนุ่มสาวว่างงานถึง 37 ล้านคน รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีชีค ฮาซินา ยกเลิกระบบโควตาไปในปี 2561 แต่ศาลชั้นต้นสั่งให้นำระบบโควตากลับมาใช้เมื่อเดือนมิถุนายน ส่งผลให้เกิดการประท้วงอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามกลุ่มนักศึกษาที่เคยประท้วงประกาศจะเดินหน้าต่อจนกว่าจะมีการปล่อยตัวแกนนำที่ถูกจับกุม พร้อมกับยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกเคอร์ฟิว และเปิดมหาวิทยาลัยที่ถูกสั่งปิดมาตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม โดยกำหนดเส้นตายให้ดำเนินการภายใน 48 ชั่วโมง การยกระดับการชุมนุมตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมไปแล้วอย่างน้อย 139 คนทั่วประเทศและมีผู้บาดเจ็บอีกนับพันคน.-816(814).-สำนักข่าวไทย

ศาลสูงบังกลาเทศยกเลิกโควตางานภาครัฐเกือบทั้งหมด

ศาลสูงสุดของบังกลาเทศสั่งให้ยกเลิกโควตางานในภาครัฐเกือบทั้งหมดที่เป็นชนวนให้เกิดการประท้วงใหญ่ที่มีนักศึกษาเป็นแกนนำ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 114 ราย

บังกลาเทศขยายเคอร์ฟิวขณะรอศาลพิจารณาปมโควตางานภาครัฐ

บังกลาเทศขยายระยะเวลามาตรการห้ามออกนอกเคหะสถานหรือเคอร์ฟิวในวันนี้ออกไปอีก เพื่อควบคุมการประท้วงที่มีนักศึกษาเป็นแกนนำที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 114 ราย

กองทัพบังกลาเทศบังคับใช้เคอร์ฟิว หลังเกิดเหตุประท้วงใหญ่

ทหารบังกลาเทศเดินลาดตระเวนไปตามท้องถนนที่อยู่ในสภาพร้างผู้คนในกรุงธากา วันนี้ ระหว่างที่มีการประกาศใช้มาตรการห้ามออกนอกเคหสถาน หรือเคอร์ฟิว เพื่อหยุดการประท้วงที่มีนักศึกษาเป็นแกนนำต่อต้านการกำหนดโควตาตำแหน่งงานในหน่วยงานรัฐบาล ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 105 คน ในสัปดาห์นี้

กต.เผยไม่มีคนไทยได้รับผลกระทบจากเหตุประท้วงในกรุงธากา

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เผยยังไม่มีรายงานคนไทยได้รับผลกระทบจากเหตุประท้วงรุนแรงของกลุ่มนักศึกษาในกรุงธากา บังกลาเทศ เตือนงดการเดินทางออกจากที่พัก ติดตามประกาศจากทางการท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด

บังกลาเทศปิดมหาวิทยาลัยทุกแห่งอย่างไม่มีกำหนด

ธากา 17 ก.ค.- บังกลาเทศประกาศว่า จะปิดมหาวิทยาลัยทุกแห่งอย่างไม่มีกำหนดตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทั้งของรัฐและของเอกชน หลังจากการประท้วงต่อต้านระบบโควต้ารับราชการกลายเป็นเหตุรุนแรง มีผู้เสียชีวิตแล้ว 6 คน บาดเจ็บอีก 10 กว่าคน คณะกรรมาธิการเงินอุดหนุนมหาวิทยาลัยมีคำสั่งเมื่อค่ำวันอังคารให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งปิดการเรียนการสอน และให้นักศึกษาออกจากมหาวิทยาลัยทุกแห่งโดยทันที ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย นอกจากนี้ยังรวมถึงโรงเรียนมัธยมศึกษา วิทยาลัย และสถานศึกษาอื่น ๆ ด้วย นักศึกษาในบังกลาเทศประท้วงมาหลายสัปดาห์ เนื่องจากไม่พอใจระบบโควต้าที่สงวนตำแหน่งงานรับราชการไว้ร้อยละ 56 โดยแบ่งเป็นร้อยละ 30 ให้แก่ครอบครัวนักต่อสู้ในสงครามเรียกร้องเอกราชจากปากีสถานปี 2514, ร้อยละ 10 ให้แก่สตรี, ร้อยละ 10 ให้แก่ผู้มาจากเขตด้อยพัฒนา, ร้อยละ 5 ให้แก่ชุมชนคนพื้นเมือง และร้อยละ 1 ให้แก่คนพิการ ขณะที่คนหนุ่มสาวชาวบังกลาเทศเกือบ 32 ล้านคนไม่มีงานทำ หรือออกจากระบบการศึกษา จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ 170 ล้านคน การประท้วงรุนแรงขึ้นเมื่อนายกรัฐมนตรีเชค ฮาสินาไม่ทำตามข้อเรียกร้องของผู้ประท้วง โดยอ้างเรื่องกระบวนการทางศาล และตราหน้าผู้ประท้วงด้วยคำที่บังกลาเทศเคยใช้เรียกผู้ถูกกล่าวหาว่าคบคิดกับกองทัพปากีสถานช่วงสงครามเรียกร้องเอกราช การประท้วงกลายเป็นความรุนแรงในสัปดาห์นี้ เมื่อผู้ประท้วงจำนวนมากปะทะกับสมาชิกกลุ่มนักศึกษาของพรรคสันนิบาตอวามี ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ตำรวจใช้กระสุนยางและแก๊สน้ำตาสลายการประท้วงที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ […]

“นลินี” หารือนายกฯ บังกลาเทศ มุ่งขยายการค้า-ลงทุน

“นลินี ทวีสิน” หารือนายกฯ บังกลาเทศ มุ่งขยายการค้า-ลงทุน ส่งเสริมความสัมพันธ์ทุกมิติ นักธุรกิจบังกลาเทศร่วมกิจกรรมจับคู่กับนักธุรกิจไทยกว่า 120 คู่

น้ำท่วมบังกลาเทศทำให้ประชาชนต้องอพยพ 40,000 คน

กระทรวงด้านกิจการภัยพิบัติและบรรเทาทุกข์ของบังกลาเทศกล่าววันนี้ว่า อุทกภัยในบังกลาเทศได้พัดพาบ้านเรือนประชาชนและทำให้โรงเรียนต้องปิดการเรียนการสอน

ไซโคลน “ริมาล” ทำเหมืองหินในอินเดียถล่ม

นิวเดลี 28 พ.ค.- ฝนตกกระหน่ำเพราะไซโคลนริมาล (Remal) ทำให้เหมืองหินแห่งหนึ่งในรัฐมิโซรัม ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียพังถล่ม มีคนเสียชีวิต 15 คน และติดอยู่ข้างใน 7 คน เจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยาแจ้งว่า ไซโคลนได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว หลังจากพัดกระหน่ำพื้นที่ริมชายฝั่งเมื่อวานนี้ ทำให้ประชาชนหลายล้านคนทางตะวันออกของอินเดียและบังกลาเทศไม่มีไฟฟ้าใช้ อย่างไรก็ดี ฝนที่ยังตกไม่หยุดในวันนี้เป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือผู้ติดอยู่ในเหมืองหิน 7 คน บริเวณชานเมืองไอซอล ที่เป็นเมืองเอกของรัฐมิโซรัม หลังจากเหมืองหินพังถล่มเพราะฝนตกหนัก นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตอีก 7 คน ในพื้นที่อื่นของรัฐมิโซรัมและ  1 คนในรัฐอัสสัมของอินเดีย ส่วนที่บังกลาเทศประชาชนตามริมฝั่งยังคงไม่มีไฟฟ้าใช้และถูกตัดขาดด้านการสื่อสาร เจ้าหน้าที่ด้านภัยพิบัติระบุว่า ไซโคลนสร้างความเสียหายด้านทรัพย์สิน แต่ไม่ทำให้มีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บมากนัก เนื่องจากมีการอพยพประชาชนครั้งใหญ่เป็นการล่วงหน้า ริมาลเป็นไซโคลนลูกแรกในปีนี้ของเอเชียใต้ คาดว่าพื้นที่ลุ่มต่ำของภูมิภาคนี้จะเผชิญกับพายุถี่ขึ้น อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้ผิวน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น.-814.-สำนักข่าวไทย  

ไซโคลน “ริมาล” ถล่มอินเดีย-บังกลาเทศ

ไซโคลนริมาลถล่มพื้นที่ชายฝั่งของอินเดียและบังกลาเทศ สร้างความเสียหายหนัก โดยเฉพาะตามแนวชายฝั่ง ผู้คนตามเมืองต่างๆ หลายล้านคนไม่มีไฟฟ้าใช้ เนื่องจากเสาไฟฟ้าถูกลมพัดโค่น

1 2 3 4 5 36
...