บังกลาเทศอพยพหนี “โมคา” ไซโคลนรุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี
บังกลาเทศเตรียมอพยพผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย เนื่องจากไซโคลนโมคา (Mocha) ที่มีความรุนแรงที่สุดในรอบเกือบ 2 ทศวรรษกำลังมุ่งหน้ามายังบังกลาเทศและเมียนมา
บังกลาเทศเตรียมอพยพผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย เนื่องจากไซโคลนโมคา (Mocha) ที่มีความรุนแรงที่สุดในรอบเกือบ 2 ทศวรรษกำลังมุ่งหน้ามายังบังกลาเทศและเมียนมา
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงของบังกลาเทศระดมกำลังหลายร้อยคนในกรุงธากา นครหลวงในวันนี้ เพื่อช่วยกันดับไฟที่โหมไหม้อย่างรุนแรงในตลาดค้าเสื้อผ้า ซึ่งเป็นสถานที่ยอดนิยม และส่งผลให้ควันไฟสีดำปกคลุมย่านเมืองเก่าของเมืองหลวง
ฮิวแมนไรตส์วอตช์ (Human Rights Watch) หรือ เอชอาร์ดับเบิลยู กล่าววันนี้เรียกร้องให้บังกลาเทศระงับแผนการส่งตัวผู้อพยพชาวโรฮีนจากลับไปยังเมียนมา โดยเตือนว่า สภาพความเป็นอยู่ในเมียนมายังไม่ปลอดภัยสำหรับผู้อพยพเหล่านี้
ธากา 19 มี.ค.- เกิดเหตุรถโดยสารชนแนวกั้นบนทางด่วนแล้วตกลงไปยังร่องข้างทางในบังกลาเทศ มีคนเสียชีวิตแล้ว 19 คน บาดเจ็บอีก 25 คน ตำรวจบังกลาเทศเผยหลังจากเกิดเหตุที่เมืองทางตอนใต้ของประเทศในวันนี้ว่า สันนิษฐานว่าคนขับรถโดยสารเสียการควบคุมรถเมื่อเวลา 08:00 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 09:00 น.วันนี้ตามเวลาไทย ทำให้รถพุ่งชนแนวกั้นบนทางด่วนสายหลักที่เพิ่งสร้างใหม่ แล้วพุ่งตกลงไปยังร่องข้างทางที่อยู่ต่ำลงไป 10 เมตร มีคนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 19 คน ส่วนผู้บาดเจ็บอีก 25 คนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล เอเอฟพีระบุว่า บังกลาเทศเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนอยู่เสมอ สาเหตุเพราะยวดยานและถนนใช้งานมานานโดยขาดการซ่อมบำรุง ประกอบกับคนขับรถไม่ผ่านการฝึกอบรมอย่างเพียงพอ ปีที่แล้วบังกลาเทศมีคนเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุบนท้องถนนทั้งหมด 9,951 คน.-สำนักข่าวไทย
โรงงานรีดเหล็กขึ้นรูปในบังกลาเทศ ระเบิด มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 คน บาดเจ็บอีก 25 คน บ้านหลายหลังใกล้โรงงานได้รับความเสียหาย
ธากา 27 ธ.ค.- เจ้าหน้าที่รัฐบาลบังกลาเทศเผยว่า บังกลาเทศพยายามหยุดยั้งชาวโรฮีนจาไม่ให้เสี่ยงชีวิตล่องเรือไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากมีความกังวลว่าปีนี้อาจมีชาวโรฮีนจาเสียชีวิตกลางทะเลมากที่สุดปีหนึ่ง นายโมฮัมหมัด มิซานูร์ ราห์มาน กรรมาธิการบรรเทาทุกข์และส่งกลับผู้ลี้ภัยของบังกลาเทศเผยว่า บังกลาเทศพยายามทำทุกอย่างเพื่อหยุดยั้งชาวโรฮีนจาไม่ให้เดินทางเสี่ยงอันตราย และจะตระเวนคุยกับแกนนำกลุ่มในค่ายผู้ลี้ภัยเพื่อให้เข้าใจถึงอันตรายของการเสี่ยงล่องเรือ ขณะที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย กองทัพเรือและหน่วยยามฝั่งได้เฝ้าระวังและจับกุมผู้ที่พัวพันกับการค้ามนุษย์ อย่างไรก็ดี เขาคิดว่าชาวโรฮีนจาที่ออกไปเสี่ยงชีวิตกลางทะเลไม่ได้เดินทางออกจากบังกลาเทศทุกคน เพราะสถานการณ์ในเมียนมาเลวร้ายกว่าในค่ายผู้ลี้ภัยมากนัก ชาวโรฮีนจาคนหนึ่งที่เคยเป็นแกนนำกลุ่มในค่ายผู้ลี้ภัยและเดินทางไปถึงมาเลเซียแล้ว แต่ได้กลับมาบังกลาเทศเพื่อมาอยู่กับน้องสาว 2 คน เผยว่า ชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัยไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้คนล้วนแต่สิ้นหวัง ขณะที่แกนนำชาวโรฮีนจาในบังกลาเทศ เผยว่า ชาวโรฮีนจาจำนวนมากพร้อมเสี่ยงชีวิตบนเรือของแก๊งค้ามนุษย์ เพราะท้อแท้กับชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัย และไม่มีหวังจะได้กลับบ้าน ชาวโรฮีนจาถูกทอดทิ้งจากประชาคมโลกที่ไม่สามารถกดดันบรรดานายพลในเมียนมา ปัจจุบันมีชาวโรฮีนจาเกือบ 1 ล้านคนอาศัยอยู่ในบังกลาเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย หลายคนหลบหนีออกจากเมียนมาในปี 2560 เมื่อกองทัพยกกำลังขึ้นไปปราบปราม สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) ประเมินว่า ปีนี้มีชาวโรฮิงญาประมาณ 2,400 คนล่องเรือหรือพยายามล่องเรือไปยังประเทศอื่น เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เพิ่มขึ้น 5 เท่าจากปี 2564 ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าเหตุใดตัวเลขดังกล่าวจึงเพิ่มขึ้นมาก บางคนเชื่อว่า อาจเป็นเพราะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด.-สำนักข่าวไทย
ธากา 26 ธ.ค.- หน่วยงานของสหประชาชาติสันนิษฐานว่า เรือลำหนึ่งที่มีชาวโรฮีนจาอยู่บนเรือประมาณ 180 คนน่าจะอับปางลงแล้ว ตั้งแต่ล่องออกจากบังกลาเทศเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) แจ้งช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า เกรงว่าเรือลำดังกล่าวซึ่งไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมออกทะเลได้สูญหายกลางทะเลไปแล้ว และคนบนเรือเสียชีวิตหมดทั้ง 180 คน เพราะเรือน่าจะเริ่มแตกตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม ก่อนขาดการติดต่อไป โฆษกระบุด้วยว่า ปีนี้มีชาวโรฮีนจาเสียชีวิตหรือสูญหายกลางทะเลแล้วเกือบ 200 คน ถือเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดปีหนึ่ง หลังจากที่มีชาวโรฮีนจาเสียชีวิตหรือสูญหายกลางทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอลเกือบ 900 คนในปี 2556 และมากกว่า 700 คนในปี 2557 นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนชาวโรฮีนจาที่พยายามเสี่ยงตายหนีออกจากค่ายอพยพได้กลับมาใกล้ระดับก่อนโควิดระบาด เฉพาะที่ล่องเรือออกจากบังกลาเทศในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 5 เท่า ยูเอ็นเอชซีอาร์ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า การที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นจุดหมายหลักของชาวโรฮีนจาผ่อนคลายมาตรการจำกัดโควิด มีส่วนทำให้ชาวโรฮีนจาพากันล่องเรือเสี่ยงตายมากขึ้นหรือไม่.-สำนักข่าวไทย
เรือบรรทุกน้ำมันของเวียดนามเข้าช่วยเหลือชาวโรฮีนจา 154 คนบนเรือที่ประสบเหตุล่มในทะเลอันดามัน และนำชาวโรฮีนจาทั้งหมดส่งให้แก่กองทัพเรือของเมียนมา
ทร. ส่ง เรือหลวง ประจวบคีรีขันธ์ เรือที่ไทยต่อเอง เข้าร่วมสวนสนามทางเรือนานาชาติ (International Fleet Review) ณ ประเทศบังกลาเทศ ระหว่างวันที่ 6-9 ธ.ค.65
รัฐบาลทหารเมียนมาแจ้งวันนี้ว่า ควบคุมตัวชาวโรฮีนจา 70 คนที่หลบซ่อนตัวอยู่ในรถบรรทุกคันหนึ่งที่ชนแล้วตกลงคลองข้างทาง
จาการ์ตา 15 พ.ย.- เรือที่มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญามากถึง 111 คน ขึ้นฝั่งจังหวัดอาเจะห์ ทางเหนือสุดของอินโดนีเซียในวันนี้ เจ้าหน้าที่จังหวัดอาเจะห์เผยว่า ผู้ลี้ภัยทั้ง 111 คนมีสุขภาพแข็งแรงดี ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 18 คน และสตรี 27 คน ทางการได้นำไปพักในหมู่บ้านใกล้เคียงเป็นการชั่วคราว และจะหารือกันในวันนี้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญามักอาศัยช่วงคลื่นลมในทะเลสงบระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนล่องเรือออกจากภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเมียนมาหนีมายังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยในช่วงหลายปีมานี้ได้ล่องเรือมาขึ้นฝั่งที่จังหวัดอาเจะห์แล้วหลายร้อยคน บางครั้งต้องลอยเรืออยู่กลางทะเลนานหลายเดือน เมียนมาถือว่าชาวโรฮิงญา ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม เป็นผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายจากบังกลาเทศแม้ว่าเกิดในเมียนมาก็ตาม ชาวโรฮิงญามากกว่า 730,000 คนหนีออกจากเมียนมาในปี 2560 หลังจากกองทัพเมียนมายกกำลังขึ้นไปโดยอ้างว่าเพื่อปราบปรามกลุ่มก่อเหตุไม่สงบ แต่ผู้เห็นเหตุการณ์แย้งว่า ทหารเมียนมาได้สังหารหมู่และข่มขืนชาวโรฮิงญา.-สำนักข่าวไทย
ธากา 26 ต.ค. – บังกลาเทศมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 24 คน หลังพายุไซโคลน ‘สีตรัง’ (Sitrang) พัดขึ้นฝั่งถล่มชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเมื่อคืนวันจันทร์ และมีบ้านเรือนเกือบ 10,000 หลังถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายจากไซโคลนดังกล่าว ตำรวจและเจ้าหน้าที่บังกลาเทศเผยว่า พบผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 24 คน หลังไซโคลนสีตรังถล่มชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเมื่อคืนวันจันทร์ เหตุดังกล่าวทำให้มีประชาชนหลายล้านคนต้องใช้ชีวิตท่ามกลางไฟดับ และทำให้ทางการต้องอพยพชาวบังกลาเทศราว 1 ล้านคนออกจากพื้นที่ประสบภัย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ถูกต้นไม้ล้มทับ นอกจากนี้ มีผู้เสียชีวิต 2 คนจากเหตุเรือล่มในแม่น้ำยมุนา ทางตอนเหนือของบังกลาเทศ และมีแรงงานชาวเมียนมา 1 คนที่ทำงานอยู่บนเรือเสียชีวิตจากเหตุตกดาดฟ้าเรือ ขณะนี้ ทางการบังกลาเทศยังไม่ได้รับรายงานความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากไซโคลนสีตรัง ตำรวจและเจ้าหน้าที่ยังระบุว่า มีประชาชนราว 10 ล้านคนในพื้นที่ตามแนวชายฝั่งต้องใช้ชีวิตท่ามกลางไฟดับเมื่อวันอังคาร ขณะที่โรงเรียนในพื้นที่ทางตอนใต้ของบังกลาเทศต้องสั่งหยุดการเรียนการสอนเป็นการชั่วคราว ในขณะเดียวกัน รัฐมนตรีกระทรวงจัดการภัยพิบัติของบังกลาเทศ ระบุว่า ไซโคลนสีตรังได้พัดขึ้นฝั่งถล่มพื้นที่ทางตอนใต้ของบังกลาเทศเมื่อช่วงคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา ทางการศรีลังกาได้สั่งอพยพประชาชนราว 1 ล้านคนออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำหรือริมฝั่งแม่น้ำก่อนไซโคลนสีตรังพัดถล่ม โดยย้ายประชาชนเหล่านี้ไปพักอาศัยอยู่ในศูนย์หลบภัยไซโคลนที่เป็นอาคารสูงหลายชั้น ทั้งยังระบุว่า มีบ้านเรือนเกือบ 10,000 หลังที่ถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายจากไซโคลนสีตรัง และมีฟาร์มเลี้ยงกุ้งราว 1,000 แห่งได้รับความเสียหายจากเหตุน้ำท่วม.-สำนักข่าวไทย