ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : 2 พ.ค. 67 วันรหัสผ่านโลก ! รหัสผ่านของคุณปลอดภัยแล้วหรือยัง ?

ทุกวันนี้พาสเวิร์ดได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่การล็อกอินเข้าโซเซียลมีเดีย ช็อปปิ้งออนไลน์ ดูหนังผ่านแพลตฟอร์มสตรีมมิง โอนเงินผ่านแอปพลิเคชัน รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวทางดิจิทัลอีกหลายอย่าง ล้วนต้องใช้พาสเวิร์ดด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นการตั้งรหัสผ่านหรือพาสเวิร์ดที่รัดกุมจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่รู้หรือไม่ว่า รหัสผ่านที่คนใช้มากที่สุดในโลก และครองแชมป์ติดต่อกันหลายปี กลับเป็นตัวเลขเรียงต่อกัน อย่าง 123456 ซึ่งเป็นรหัสผ่านที่ทั้งจดจำง่ายและแฮกได้ภายในไม่ถึง 1 นาที ทำให้วันรหัสผ่านโลก ถือกำเนิดขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของการตั้งรหัสผ่านที่รัดกุม และวันนี้ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate จะพาทุกคนไปรู้จักกับที่มาของวันพาสเวิร์ดโลกกันค่ะ จุดเริ่มต้นของวันพาสเวิร์ดโลก  วันพาสเวิร์ดโลก (World Password Day) เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2556 โดยบริษัท Intel จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีแรกของเดือนพฤษภาคม ในปีนี้ตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เพื่อเน้นย้ำให้ทุกคนเห็นความสำคัญในการตั้งค่ารหัสผ่านที่ปลอดภัย เนื่องจากปัญหาภัยไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลบัญชีรั่วไหล หรือการโดนแฮกบัญชีออนไลน์เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จากรายงานของบริษัท NordPass (2023) เผยให้เห็นว่า  86% ของการโจมตีทางโลกไซเบอร์ได้มาจากข้อมูลส่วนตัวที่ถูกขโมยมา โดยมีทั้ง บัญชีธนาคารออนไลน์ อีเมล และรหัสผ่าน ซึ่งเป็นสินค้าที่ขายบ่อยที่สุดบน Dark Web […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀: SMS ยังเสี่ยง! เผยมิจฯ ยังกระหน่ำส่งข้อความ SMS หลอกลวงหลายรูปแบบ พนัน-ปล่อยกู้-แอบอ้าง

28 มีนาคม 2567 แอปพลิเคชัน Whoscall เผยรายงานประจำปี 2566 พบมิจฉาชีพทำงานหนักก่อกวนคนไทยเพิ่มขึ้น 12.2 ล้านครั้ง คนไทยรับข้อความหลอกลวงมากที่สุดในเอเชียถึง 58 ล้านข้อความ ทั้งแนบลิงก์ปลอม ลิงก์ขอล็อกอินปลอม การดาวน์โหลดมัลแวร์อันตราย และเพจปลอมหลอกขายของหลอกลวง เตือนระวังมุขใหม่ แอบอ้างผู้ให้บริการส่งสินค้า หน่วยงานรัฐ เช่น การไฟฟ้า ภาพรวมสถานการณ์การหลอกลวงในเอเชียคลี่คลายลง ข้อมูลจากรายงานปี 2566 พบว่ามีการหลอกลวง ทั้งจากสายโทรเข้าและข้อความ SMS รวม 347.3 ล้านครั้ง ลดลงจาก ปีก่อนหน้า 14% (405.3 ล้านครั้ง ในปี 2565) ลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เนื่องจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ และประชาชน เพื่อสร้างความตระหนักถึงภัยการหลอกลวงออนไลน์  คนไทยเสี่ยงถูกหลอกมากขึ้นกว่าเดิม ขณะที่เทรนด์การหลอกลวงในเอเชียดูเหมือนจะคลี่คลายลง ปี 2566 คนไทยกลับเสี่ยงโดนหลอกจากสายโทรเข้าและข้อความ รวม 79 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 18% จากยอดรวม 66.7 ล้านครั้ง […]

พลาดท่าบอกข้อมูลโจร ทำยังไงดี ?  | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

15 กุมภาพันธ์ 2567 ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้มิจฉาชีพนั้นได้แฝงตัวอยู่เกือบทุกกิจกรรมการดำเนินชีวิต คอยหลอกล่อให้เราสูญเสียทั้งเงินและข้อมูลส่วนตัว  ทั้ง โทรศัพท์มาหลอก ส่ง SMS ปลอม  Line ปลอม  เว็บไซต์ปลอม รวมถึงเพจเฟซบุ๊กปลอม  หลายครั้งที่ช่องทางเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นอย่างแยบยล จนเราไม่ทันสังเกตเห็น ทำให้หลายคนพลาดท่าเสียข้อมูลส่วนตัวและทรัพย์สินให้กับโจรออนไลน์ จนเกิดความกังวลใจว่าแบบนี้มีความเสี่ยงอะไรหรือไม่ ? แล้วควรจะทำอย่างไรดี ?  วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 มีคำตอบจาก พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาคลายความกังวลให้ทุกคนกันค่ะ  ถาม : รับสายมิจฉาชีพไปแล้ว ทำอย่างไรดี ? “รับสายเบอร์แปลก มีโอกาสถูกแฮกข้อมูลหรือไม่”“รับมือเบอร์โทรศัพท์มิจฉาชีพ““มิจฉาชีพโทรมาควรทำอย่างไร” พล.ต.ต.นิเวศน์ ตอบ : แจ้งเครือข่ายโทรศัพท์ให้ทราบ เพื่อปิดเบอร์นั้น หากรับสายโทรศัพท์แล้วไม่มั่นใจว่าเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ แนะนำให้วางสาย และขอเป็นฝ่ายโทรศัพท์กลับ เพราะถ้าเป็นเบอร์ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่จริง แน่นอนว่าเราจะสามารถโทรศัพท์กลับไปหาได้  ถาม : เผลอบอกเลขบัญชีธนาคารไปแล้ว ต้องปิดบัญชีไหม ?“การที่บอกเลขที่บัญชี และชื่อบัญชีธนาคารของเราให้คนอื่นรู้ จะมีคนสามารถโจรกรรมบัญชีเราได้ไหม”“โดนหลอกให้ส่งเลขบัญชีไปเป็นไรไหมคะ”“ส่งบัตรประชาชน เลขที่บัญชี ให้คนแปลกหน้า อันตรายไหม”  […]

โดนหลอกออนไลน์ แจ้งใครดี ฉบับปี 2567  | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

30 มกราคม 2567 พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์เกี่ยวกับวิธีการแจ้งความออนไลน์ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ ฉบับปี 2567 มาดูกันว่ามีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง ?  ปัจจุบันการแจ้งความออนไลน์ สามารถแจ้งความในคดีที่เกี่ยวกับการหลอกลวงที่ทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สิน  รวมถึงมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง  เช่น หลอกโอนเงิน กรรโชกทรัพย์ หลอกซื้อของไม่ได้ของ และตอนนี้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เปลี่ยนชื่อเว็บไซต์เป็น https://thaipoliceonline.go.th แล้ว เพื่อให้ประชาชนสามารถแยกแยะเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการกับมิจฉาชีพออกจากกันได้ แต่ขั้นตอนการแจ้งความยังคงเหมือนเดิม (ดูขั้นตอนการแจ้งความออนไลน์ ได้ที่นี่)  หากเคยลงทะเบียนไว้กับเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์เดิม สามารถใช้บัญชีเดิมในการแจ้งความออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องสมัครใหม่ ข้อดีของการแจ้งความออนไลน์ คือ ผู้เสียหายสามารถเข้าไปดูความคืบหน้าได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปสถานีตำรวจ แต่อย่างไรก็ตามหากคดีมีความคืบหน้า พนักงานสอบสวนจะมีการนัดผู้เสียหายให้เดินทางไปพบพนักงานสอบสวน เพื่อลงลายมือชื่อและให้รายละเอียดต่าง ๆ ต่อไป  นอกจากการแจ้งความออนไลน์แล้ว ตอนนี้ยังมีเบอร์สายด่วน 1441 ที่สามารถติดต่อแจ้งความหรือปรึกษาได้ 24 ชั่วโมง ช่องทางนี้จะมีพนักงานสอบสวนกรอกข้อมูลให้ทั้งหมด โดยที่ผู้เสียหายไม่ต้องดำเนินการเอง และสำหรับกรณีเร่งด่วนที่มีการโอนเงินออกไปแล้ว พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ได้ให้คำแนะนำว่า ให้ผู้เสียหายรีบโทรศัพท์ไปยังธนาคารที่เราใช้โอนเงินออกไป เพื่อยับยั้งเส้นทางการเงิน ก่อนที่มิจฉาชีพจะโอนเงินเหล่านั้นไปยังบัญชีอื่น หากดำเนินการเร็ว โอกาสที่จะยับยั้งเงินไว้ได้ทันก็สูงขึ้น ดังนั้นข้อสำคัญ […]

ตำรวจไซเบอร์เผยเหตุเปลี่ยนที่อยู่เว็บแจ้งความออนไลน์ เป็นลงท้าย .go.th | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

4 มกราคม 2567 4 มกราคม 2567 – “ตำรวจไซเบอร์” เผยสาเหตุเปลี่ยนที่อยู่เว็บไซต์แจ้งความออนไลน์เป็น .go.th เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนและให้แยกเว็บไซต์จริงกับปลอมออกจากกันได้ แนะประชาชนตกเป็นผู้เสียหายโทร. 1441 พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (บช.สอท.) เปิดเผยกับทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ว่า แนวคิดในการเปลี่ยนชื่อ URL หรือชื่อโดเมนเนมของเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์มีนานแล้ว แต่เนื่องจากช่วงต้นได้ประชาสัมพันธ์กับประชาชนไป ทำให้ต้องใช้เวลา และการจดชื่อโดเมนเนมใหม่ที่เป็น .go.th มีกลไกในการระบุตัวตน ถ้าเป็นโดเมนเนมในประเทศไทย ที่ลงท้ายว่า .th ต้องมีการลงทะเบียนชัดเจน สามารถระบุตัวตนได้ ดังนั้นหากเป็นเว็บไซต์ที่ลงท้ายด้วย .th จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องไปโกงหรือหลอกลวงผู้อื่น เป็นนโยบายระดับรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนให้เว็บไซต์ของหน่วยงานราชการเป็น .go.th ทั้งหมด และด้วยปัจจุบันมีเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ปลอมเป็นหน่วยงานราชการเยอะมาก โดยเฉพาะเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์ เวลาประชาชนเห็นชื่อเว็บไซต์ .com ก็จะเข้าใจว่าเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือและทางตำรวจเคยประชาสัมพันธ์ แต่หากดูกลไกการลงทะเบียนชื่อเว็บไซต์จะพบว่า .com สามารถลงทะเบียนปลอมได้ ดังนั้นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนว่าอันไหนเป็นเว็บไซต์จริง เว็บไซต์ปลอม โดเมนเนมจึงมีความสำคัญมาก ทางตำรวจไซเบอร์จึงรีบเปลี่ยนชื่อเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์ เป็น https://thaipoliceonline.go.th […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : ใครใช้อยู่ เปลี่ยนด่วน ! 123456 รหัสผ่านที่คนใช้มากที่สุดในโลก

18 พฤศจิกายน 2566 “รหัสผ่านที่เดาง่าย ก็เหมือนบ้านที่ไม่ได้ล็อก” Tomas Smalakys ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ของ NordPass บริษัทแอปพลิเคชันสำหรับจัดการรหัสผ่าน คำพูดนี้คงจะไม่เกินจริง โดยเฉพาะยุคดิจิทัล ที่เราต่างก็มีบัญชีในโลกออนไลน์มากมาย รวมถึงบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน แอปพลิเคชันธนาคารต่าง ๆ ในทุกปีบริษัท NordPass จะ เปิดผลการศึกษารหัสผ่านที่คนทั่วโลกชอบใช้ และในปี 2023 ทางบริษัทฯ ยังได้สำรวจเพิ่มเติมว่ารหัสผ่านที่ชาวเน็ตใช้กับบริการต่าง ๆ นั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปสำรวจกันให้แน่ใจว่าประตูบ้านดิจิทัลของเรานั้นปลอดภัยหรือไม่ และหากใครยังใช้รหัสผ่านเหล่านี้อยู่ รีบเปลี่ยนด่วน ก่อนจะโดนโจรขึ้นบ้านไม่รู้ตัว 20 รหัสผ่านที่คนไทยชอบใช้มากที่สุด ! 1. 1234562. Aa1234563. admin4. 123456785. 1234567896. password7. Ar1234558. aa1234569. 1234510. 123456Za11. 123456789za12. Aa11223313. P@ssw0rd14. 123456789015. 123456za16. UNKNOWN17. […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : 7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์

11 ตุลาคม 2566 ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การทำกิจกรรม หรือการทำธุรกรรมต่าง ๆ แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพใช้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย หลอกลวงทรัพย์สินได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุบายการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ จากสถิติของศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่ามีเฟซบุ๊ก 7 รูปแบบที่มิจฉาชีพชอบใช้หลอก ดังนี้ 7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์ 1.เพจหน่วยงานราชการปลอม แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นข้าราชการระดับสูง สามารถช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางคดี ให้บริการรับแจ้งความ หรือร้องทุกข์ออนไลน์ รวมถึงการรับทำเอกสารราชการออนไลน์ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ บัตรประจำตัวประชาชน อ่านบทความอุบายหลอกแจ้งความปลอม : ระวังเว็บแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกเหยื่อโอนเงินเข้าเว็บพนัน , ทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยไม่ต้องไปขนส่ง จริงหรือ ? 2.เพจบริษัท ตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวม หุ้นปลอม ชักชวนหลอกลวงให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เงินดิจิทัล เงินสกุลต่างประเทศ หุ้นพลังงาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : ระวังมุกใหม่ ! รับสมัครนักพากย์เสียง ที่แท้หลอกโอนเงิน

6 ตุลาคม 2566 จากสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – วันที่ 30 กันยายน 2566 พบว่า การหลอกลวงโอนเงินเพื่อหารายได้เสริมจากการทำกิจกรรม มีผู้เสียหายแจ้งความออนไลน์กว่า 44,250 เรื่อง หรือคิดเป็น 13.20% จากเรื่องการรับแจ้งความทั้งหมด สูงเป็นลำดับที่ 2 รองจากการหลอกลวงซื้อขายสินค้าออนไลน์ โดยมีมูลค่าความเสียหายกว่า 5,425 ล้านบาท สูงเป็นลำดับที่ 3 ของมูลค่าความเสียหายทั้งหมด รองลงมาจากการหลอกลวงให้ลงทุน และการหลอกลวงทางโทรศัพท์เป็นขบวนการ (แก๊ง Call Center) และตอนนี้หนึ่งในกลโกงที่มิจฉาชีพนำมาใช้หลอกผู้เสียหาย คือ การรับสมัครนักพากย์เสียงผ่านทางสื่อออนไลน์ โดยใช้รูปนักแสดงหญิงชื่อดังมาแอบอ้าง ทำให้มีคนหลงเชื่อและสูญเสียเงิน วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูกันว่า กระบวนการของมิจฉาชีพเป็นอย่างไร สร้างเพจปลอม ยิงโฆษณา หลอกทำภารกิจและให้โอนเงินก่อน ! เริ่มจากมิจฉาชีพจะสร้างบัญชีสื่อออนไลน์ปลอม ทั้ง  Facebook Page Instagram […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : เตือนภัย ! เว็บปลอม หลอกขายของเล่น อ้าง POP MART

3 ตุลาคม 2566 กระแสข่าวการเปิดตัวร้านขายของเล่นชื่อดังจากประเทศจีน อย่าง “POPMART” ได้สร้างเสียงฮือฮาให้กับเหล่าบรรดานักสะสมชาวไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการเปิดตัวสาขาแรกในประเทศไทย และในร้านยังได้จำหน่ายสินค้าตัวพิเศษที่มีขายแค่ในประเทศไทยเท่านั้นและมีจำนวนจำกัด ทำให้นักสะสมและคนที่สนใจแห่ไปรอกันตั้งแต่คืนก่อนเปิดร้าน และในวันเปิดร้าน ได้เกิดเหตุความชุลมุนระหว่างการต่อคิวเข้าร้าน มีทั้งคนเป็นลมและล้ม  จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้มิจฉาชีพได้ฉวยโอกาสนำมาสร้างเป็นมุกหลอกขายของเล่นอ้างชื่อ “POPMART” ผ่านเพจเฟซบุ๊กปลอม ซึ่งมีผู้เสียหายจำนวนมาก วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูกันว่า เพจปลอมหลอกขายสินค้ามีรูปแบบและกลวิธีการหลอกอย่างไรบ้าง สร้างเพจปลอม เล่าเรื่องราวให้น่าสนใจและยิงโฆษณา ขั้นแรก มิจฉาชีพจะสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมา โดยใช้ชื่อ “Frances Cannon” อ้างตัวเป็นเพจขายสินค้าออนไลน์หลายประเภท ทั้ง เครื่องใช้ภายในบ้าน ลำโพงและของเล่น และเพจนี้ได้จ่ายเงินซื้อโฆษณาเพื่อทำให้คนเห็นโพสต์อย่างกว้างขวาง  จากนั้นมิจฉาชีพจะสร้างเรื่องราวให้น่าติดตามและเป็นเหตุเป็นผล เพื่อหลอกล่อให้คนหลงเชื่อ จากฐานข้อมูลของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า เพจปลอมหลอกขายสินค้า จะเปลี่ยนสถานการณ์ไปตามความสนใจของสังคม ณ ตอนนั้น เช่น ช่วงสถานการณ์โควิด-19 จะอ้างว่า ต้องปิดร้านด่วน เนื่องจากขาดทุน จึงต้องนำสินค้ามาล้างสต็อก จัดโปรโมชันลดราคาที่ถูกกว่าปกติ และนำภาพสินค้าจริง มาแอบอ้าง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า สินค้าเป็นของแท้ รวมถึงกรณีล่าสุด ที่อ้างว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : วัยเกษียณ ระวัง ! 3 มุกยอดฮิตภัยไซเบอร์

28 กันยายน 2566 เดือนกันยายนของทุกปี ถือเป็นช่วงครบกำหนดอายุการรับราชการ หรือที่เรียกว่า เกษียณอายุราชการ ทำให้มิจฉาชีพมักอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวมาหลอกลวงและแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย จากสถิติการแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – 17 กันยายน 2566 พบว่า มีหลายกลโกงที่มักใช้หลอกคนวัยเกษียณ วันนี้ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูมุกยอดฮิตของเหล่าโจรออนไลน์ว่ามีอะไรกันบ้าง 1. หลอกลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จำนวน 26,827 เรื่อง มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 14,313 ล้านบาท 🚨กลโกง 🚨 มิจฉาชีพจะสร้างบัญชีทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยแอบอ้างบุคคล หรือบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการลงุทน หลอกลวงผู้เสียหายให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เหรียญดิจิทัล พลังงาน เป็นต้น โดยมีการใช้คำโฆษณาสวยหรู อ้างว่าเป็นการลงทุนของผู้สูงวัยใกล้เกษียณอายุ เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินหลักพันบาท แต่ได้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว  อ่านกลโกงเพิ่มเติม : ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก จริงหรือ ? 2. หลอกติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์มือถือ จำนวน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : จดหมายปลอมอ้างธนาคาร หลอกสแกนรับสิทธิพิเศษ จริงหรือ ?

6 สิงหาคม 2566 ตามที่มีการแชร์ จดหมายปลอมอ้างธนาคาร หลอกสแกนรับสิทธิพิเศษ นั้น 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ จดหมายจริงของธนาคารกสิกรไทย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ธนาคารกสิกรไทย ยืนยันผ่านเพจเฟซบุ๊ก “KBank Live” ว่า จดหมายดังกล่าว เป็นของจริง โดยเป็นจดหมายเพื่อแจ้งสิทธิพิเศษของขวัญThe Wisdom Delight Gift ปี 2566 ลงวันที่ 24 ก.ค. 2566 ที่จัดส่งแบบลงทะเบียนให้ลูกค้าผู้ถือบัตรเดอะวิสดอมกสิกรไทยที่ได้รับสิทธิ์ ไม่ใช่มิจฉาชีพแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ก่อนหน้านี้เคยมีจดหมายจริงจากหลายองค์กรถูกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นมิจฉาชีพ ทั้ง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ไปรษณีย์ไทย ใบสั่งจราจร แบบสำรวจของศาลปกครอง ดังนั้นควรตรวจสอบความถูกต้องจากหน่วยงานต้นทางก่อนทุกครั้ง ก่อนส่งต่อข้อมูล 6 สิงหาคม 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์บันทึกการแก้ไข : […]

วิเคราะห์เทรนด์สื่อออนไลน์ สะท้อนพฤติกรรมผู้เสพสื่อในปัจจุบัน | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

23 เมษายน 2566 กรุงเทพฯ  – 23 เมษายน 2566 — กองทุนสื่อฯ ร่วมกับ Wisesight จัดประชุมเสวนาออนไลน์ วิเคราะห์ผลการศึกษาการสื่อสารในโลกออนไลน์ของสังคมไทยในปี 2565 และแนวโน้มทิศทางในปีถัดไป ภายใต้หัวข้อ “จาก Trend ในโลกออนไลน์ปี 65 สู่การวิเคราะห์ทิศทางการสื่อสารออนไลน์ ปี 66” ในปัจจุบันข้อมูลในโลกออนไลน์มีความสำคัญ และถูกใช้ต่อยอดในสื่อหลักมากขึ้น จนเรียกได้ว่าสื่อออนไลน์กลายเป็นสื่อกระแสหลักแทนที่สื่อหลักเดิม ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ตามมาคือ สื่อจะขับเคลื่อนด้วยการค้ามากขึ้น เช่น ต้องการจำนวนยอดไลก์ จำนวนคลิกเบตเพื่อหวังรายได้ จึงเห็นได้ว่า สื่อในยุคปัจจุบันการพาดหัวให้ดึงดูด หรือทำให้ผู้เสพสื่อมีอารมณ์ร่วมเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันการใช้ข้อมูลหลักจากโลกออนไลน์ ก็ส่งผลต่อคุณภาพของสื่อที่ลดลงเช่นกัน ดร. ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนสื่อฯ กล่าวว่า “Digital Society ทำให้ทุกคนเป็นสื่อ เราไม่ได้เป็นเพียงผู้รับอย่างเดียว” ซึ่งผู้ใช้สื่อออนไลน์ในปัจจุบัน มีความเป็น Smart Consumer คือจะปกป้อง และให้ความสำคัญกับสิทธิของตัวเองมากขึ้น อีกทั้งยังมีการแสดงออกทางความคิดอย่างเปิดเผย โดย Wisesight […]

1 2
...