ผู้นำอาเซียนเรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมาหยุดโจมตีพลเรือน

ผู้นำชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ประณามการใช้ความรุนแรงและการโจมตีพลเรือนในเมียนมา ซึ่งพุ่งเป้ากล่าวโทษรัฐบาลทหาร โดยอินโดนีเซียที่เป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในครั้งนี้กล่าวว่า มีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยเรื่องแผนสันติภาพที่ตกลงกันไว้

ผู้ถูกกระทำรุนแรงในวัยเด็ก มีแนวโน้มก่อคดีอาชญากรรมตอนโต

นักอาชญาวิทยายอมรับ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ-กระทำรุนแรงในวัยเด็กเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ถูกกระทำ และมักก่อความรุนแรง หรือก่อคดีอาชญากรรม เมื่อโตขึ้น

นายกฯ เล็กทั่วฝรั่งเศสชุมนุมเรียกร้องยุติความรุนแรง

นายกเทศมนตรีของเมืองต่างๆ ทั่วฝรั่งเศส จัดการชุมนุมเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น เรียกร้องให้ยุติการปะทะด้วยความรุนแรงที่เกิดขึ้น หลังจากวัยรุ่นชายถูกตำรวจยิงเมื่อวันอังคารที่แล้ว ขณะที่เหตุไม่สงบเริ่มลดลงทั่วประเทศ

จิตแพทย์หวั่นสังคมส่งต่อความรุนแรง วอนยึดหลัก 1 เตือน 2 ไม่

จิตแพทย์ วอนยึดหลัก 1 เตือน 2 ไม่ หวั่นสังคมส่งต่อความรุนแรง ทั้งข้อความเกลียดชังและข่าวเท็จจริง เพิ่มอุณหภูมิการเมืองให้ร้อนขึ้น กลายเป็นชุมนุมได้ ย้ำเห็นต่างไม่มีถูกผิด และทุกคนต่างหวังดีกับประเทศ ส่วนการจับขั้วทางเมือง ต้องเข้าใจเสียงส่วนมาก แม้เป็นประชามติ แต่ก็ต้องรับฟังความคิดเห็นคนอื่น

สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย จัดดีเบต พรรคการเมือง ประชันวิสัยทัศน์

เลือกตั้ง 66 พบสถิติความรุนแรงในไทยพุ่งปีละ 1.5 พันราย สสส. สานพลังภาคีเครือข่าย จัดดีเบต 8 พรรคการเมือง ประชันวิสัยทัศน์หยุดความรุนแรงเด็ก-ผู้หญิง-ครอบครัว ตัดตอนปัญหาถูกทำร้ายซ้ำซาก แก้ช่องโหว่กฎหมาย สร้างระบบคุ้มครองสิทธิ-ช่วยเหลือมีประสิทธิภาพ

ดีเดย์กฎหมายคุมทำผิดซ้ำคดีทางเพศ-ใช้ความรุนแรง

วันนี้ (23 ม.ค.) กฎหมายป้องกันการกระทำความผิดซ้ำคดีทางเพศและใช้ความรุนแรง มีผลบังคับใช้แล้ว และวันพรุ่งนี้ (24 ม.ค.) จะมีผู้ต้องขังชุดแรก 29 คนที่เข้าข่ายภายใต้กฎหมายนี้ทยอยพ้นโทษ

นักอาชญวิทยา ชี้สังคมไทยมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มสูง

นักอาชญวิทยา ชี้สังคมไทยมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น แนะระดับนโยบาย เร่งส่งสัญญาณ ไม่สนับสนุนใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา พร้อมทำให้กฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์ ยกทฤษฎี “หน้าต่างแตก” แก้ไขคดีเล็กน้อย-ป้องกันคดีใหญ่ สร้างค่านิยมความดี ศีลธรรม ไม่บูชาวัตถุ

แนะผู้ปกครองหมั่นดูแลสภาพจิตใจและอารมณ์

กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะผู้ปกครอง หมั่นดูแลผลกระทบสภาพจิตใจและอารมณ์ของบุตรหลานจากเหตุการณ์ความรุนแรง โดยเฉพาะการใช้สื่อด้วยความระมัดระวัง

ย้อนรอยเส้นทางความรุนแรงของฟุตบอลอินโดนีเซีย

จาการ์ตา 2 ต.ค.- ภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสนามฟุตบอลจังหวัดชวาตะวันออกของอินโดนีเซียเมื่อคืนวันเสาร์ที่มีผู้เสียชีวิตแล้ว 129 คน สะท้อนถึงความรุนแรงและความล้มเหลวที่ผ่านมาในการบริหารจัดการกีฬาฟุตบอลของอินโดนีเซีย รอยเตอร์ย้อนรอยเส้นทางกีฬาฟุตบอลของอินโดนีเซียว่า ฟุตบอลเป็นกีฬายอดนิยมที่สุดของประเทศนี้ที่มีประชากรมากเกือบ 275 ล้านคน แต่ไม่สามารถนำศักยภาพมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และไม่เคยได้เข้ารอบคัดเลือกฟุตบอลโลก ยกเว้นปี 2481 ที่เข้ารอบในฐานะที่เป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ในชื่อ หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ กีฬาฟุตบอลของอินโดนีเซียมีปัญหารุมเร้าทั้งในสนามและนอกสนาม รัฐบาลเคยเข้าไปแทรกแซงจนถูกสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือฟีฟ่า (FIFA) ลงโทษด้วยการสั่งห้ามทีมชาติอินโดนีเซียเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติทุกรายการในปี 2558 ก่อนที่ฟีฟ่าจะยกเลิกโทษแบนในอีกหนึ่งปีถัดมา หลังจากอินโดนีเซียดำเนินการปฏิรูปหลายอย่าง รอยเตอร์ระบุว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันฟุตบอลในอินโดนีเซียยังคงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เมื่อแฟนฟุตบอลของทีมที่เป็นคู่แข่งมาเจอกันและจบลงด้วยเหตุนองเลือด พร้อมกับอ้างรายงานของบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงออสเตรเลียหรือเอบีซี (ABC) ว่า ช่วงปี 2537-2557 อินโดนีเซียมีแฟนฟุตบอลเสียชีวิตเพราะความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลทั้งหมด 74 คน อินโดนีเซียเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี ในเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งถูกเลื่อนมา 2 ปีเพราะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 และได้สมัครขอเป็นเจ้าภาพฟุตบอลเอเชียนคัพ 2023 แข่งกับกาตาร์และเกาหลีใต้ เนื่องจากจีนขอถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพ คาดว่าคณะกรรมการบริหารของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียหรือเอเอฟซี (AFC) จะประกาศชื่อประเทศที่จะได้เป็นเจ้าภาพในวันที่ 17 ตุลาคมนี้.-สำนักข่าวไทย

ทูตพิเศษยูเอ็นเยือนเมียนมาเป็นครั้งแรก

สหประชาชาติ 16 ส.ค.- นางโนลีน เฮย์เซอร์ ทูตพิเศษของสหประชาชาติหรือยูเอ็นเรื่องเมียนมาเดินทางเยือนเมียนมาเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน โฆษกยูเอ็นแถลงว่า นางเฮย์เซอร์จะมุ่งแก้ไขสถานการณ์ที่ย่ำแย่ลงและความกังวลเร่งด่วนในเมียนมา รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่อยู่ในอำนาจของเธอ หลังจากที่ได้หารืออย่างถี่ถ้วนกับแกนนำจากทุกพรรคการเมือง ภาคประชาสังคม และชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ แต่ไม่ได้เปิดเผยว่า เธอจะเข้าพบผู้นำกองทัพเมียนมาหรือพบนางออง ซาน ซู จี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่ถูกยึดอำนาจตามที่ยูเอ็นเรียกร้องมานานหรือไม่ ทูตพิเศษยูเอ็นเรื่องเมียนมาไปเยือนเมียนมาหลังจากคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นหรือยูเอ็นเอสซี (UNSC) เรียกร้องครั้งล่าสุดให้เมียนมายุติความรุนแรงในทุกรูปแบบและเปิดทางให้แก่การจัดส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือน นายปรัก สุคน รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาในฐานะทูตพิเศษของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนเรื่องเมียนมาเตือนว่า การที่เมียนมาประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวทางการเมือง 4 คน เป็นอุปสรรคต่อความพยายามของประเทศเพื่อนบ้านเมียนมาที่จะช่วยฟื้นฟูสันติภาพและความเป็นปรกติในเมียนมา หากมีการประหารชีวิตเกิดขึ้นอีก อาเซียนจำเป็นต้องทบทวนว่าจะดำเนินการกับเมียนมาอย่างไรต่อไป.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 4 9
...