นักอาชญวิทยา ชี้สังคมไทยมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มสูง

กรุงเทพฯ 30 ต.ค.-นักอาชญวิทยา ชี้สังคมไทยมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น แนะระดับนโยบาย เร่งส่งสัญญาณ ไม่สนับสนุนใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา พร้อมทำให้กฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์ ยกทฤษฎี “หน้าต่างแตก” แก้ไขคดีเล็กน้อย-ป้องกันคดีใหญ่ สร้างค่านิยมความดี ศีลธรรม ไม่บูชาวัตถุ

รศ. พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล นักอาชญวิทยา ผู้ช่วยอธิการบดีและประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ม.รังสิต ระบุว่า สังคมไทยกำลังมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น หลายกรณีไม่น่าจะมีการใช้ความรุนแรง เช่น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากเหตุอดีตตำรวจกราดยิงใน จ.หนองบังลำภู,การทำร้ายร่างกายนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย หรือ เหตุการณ์ใช้มีด ปืน ทำร้ายหรือฆ่ากันตายรายวันในหลายจังหวัด


โดยแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา คือ ระดับนโยบาย ต้องส่งสัญญาณให้ชัดเจนว่าจะไม่ส่งเสริม หรือ สนับสนุน ให้คนในสังคมใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา เริ่มตั้งแต่ การพูด ภาษา ที่ใช้ในการสื่อสารกับสาธารณะของนักการเมือง ดารานักแสดง บุคคลสาธารณะ ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี หากมีการใช้ภาษา กิริยา อาการ ที่มีความรุนแรง จะทำให้ผู้รับสาร ซึมซับโดยไม่รู้ตัว ยิ่งมีการนำเสนอข่าวซ้ำๆ จากคนที่ได้รับความนิยมชื่นชอบ จะยิ่งเพิ่มพฤติกรรมความรุนแรง

ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องทำให้กฎหมายยังศักดิ์สิทธิ์ในทุกกรณีที่มีการทำผิด ที่ผ่านมาเรามักให้ความสำคัญกับคดีที่เกิดความรุนแรงถึงขั้น แทงกัน ยิงกัน ถึงจะไปตามจับ แต่กรณีที่เริ่มต้นทำผิดเล็กน้อย เช่น ชกต่อยกันธรรมดา ทำร้ายร่างกายไม่สาหัส กลับถูกมองข้าม ซึ่งทฤษฎี “หน้าต่างแตก” ทางอาชญวิทยา หากเราเห็นการทำผิดเล็กน้อยแล้วรีบเข้าไปแก้ไข ความผิดที่ใหญ่โตกว่าจะไม่เกิดขึ้น เช่น กรณีที่เกิดขึ้นในนิวยอร์ค ปี 1980 มีสถิติคดีอาชญากรรมร้ายแรงสูงมาก หัวหน้าตำรวจนิวยอร์ค ไม่ได้ไล่จับคดีร้ายแรง แต่ให้ความสำคัญกับเรื่องเล็กๆ เช่น การรวมตัวของกลุ่มเยาวชน จัดเระเบียบคนเร่ร่อน หรือขับขี่รถแล้วเกิดกระทบกระทั่งกัน


ส่วนสังคมไทยอาจต้องมองย้อนกลับไปในอดีตถึงการถ้อยทีถ้อยอาศัย หรือการยกย่องกันที่คุณงามความดี ไม่ใช่ชื่นชมกันที่วัตถุ ใครมีรถ มีบ้านหรู มีเงินทอง แต่คุณธรรม ศีลธรรมกลับลดลง โดยสามารถใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของ ร.9 มาปรับใช้

“ เราอาจไม่ต้องมีเครื่องบินเหนือเสียงเหมือนต่างประเทศ อาจไม่ต้องรีบสร้างทางด่วน ขณะที่ไม่ได้พัฒนาจิตใจคนเท่าที่ควร ดูง่ายๆจากงบประมาณของ 2 กระทรวง คือ กระทรวง พม. กับกระทรวงคมนาคม ที่มีความแตกต่างกันมาก สะท้อนให้เห็นว่าทิศทางนโยบายให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหา พัฒนาจิตใจคน น้อยกว่าการสร้างถนนหนทาง ทั้งที่ความจริงสามารถทำควบคู่กันไปได้” รศ. พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์

นักอาชญวิทยา ยังเสนอแนะด้วยว่า จากสภาพเศรษฐกิจที่บีบรัดตัว ปัญหาความเครียด สถานกาณ์โควิด เราจึงต้องหันมาเอาใจใส่ คนรอบข้าง คนรอบตัวมากขึ้น ทั้งในครอบครัว หรือ ในสถาบันการศึกษา ต้องไม่ใช้ความรุนแรง และต้องช่วยกันนำเสนอสิ่งที่ถูกต้อง ต้องไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง กรณีที่นายศรีสุวรรณถูกทำร้าย แต่มีการบริจาคเงินสนับสนุน ต้องมาทบทวนว่าทำไมคนในสังคมจำนวนมาก ถึงเห็นด้วยกับความรุนแรง เพราะอาจทำให้เด็กหรือเยาวชน เห็นว่าสามารถใช้ความรุนแรงแบบนี้ได้ เราต้องแยกกันระหว่างความไม่พอใจไม่ชอบใจ กับการใช้ความรุนแรงในการตอบโต้ ไม่เช่นนั้น สุดท้ายบ้านเมืองจะวุ่นวาย และจะพบปัญหาแบบที่เจอกันอยู่ในขณะนี้.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยตึก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค้นหาผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม พร้อมสอบถามถึงอุปสรรคในการทำงานและความต้องการเพิ่มเติม

ปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

รองผู้ว่าฯ กทม. เผยยอดผู้เสียชีวิตเหตุตึกถล่ม ที่ผ่านการพิสูจน์อัตลักษณ์แล้ว อยู่ที่ 16 ราย และอยู่ระหว่างการค้นหาอีก 78 ราย พร้อมแจงปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน