วสท.จี้รัฐออก พ.ร.บ.การจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ
วสท.เตรียมทำหนังสือถึงรัฐบาล เร่งรัดการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ จี้ออกพ.ร.บ.การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้
วสท.เตรียมทำหนังสือถึงรัฐบาล เร่งรัดการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ จี้ออกพ.ร.บ.การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้
ปลัดกระทรวงการคลัง ยอมรับมาตรการภาษีป้องกันนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่เพียงพอ ต้องใช้หลายมาตรการช่วยควบคุมดูแล
ศุลกากรฯ-กรมโรงงาน เสนอทบทวนอนุสัญญาบาเซล งัดกฎหมาย ห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เตรียมเสนอใช้มาตรา 44 แก้ไขปัญหาการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ หลังพบ 19 บริษัทเข้าข่ายความผิดซึ่งส่วนใหญ่เป็นของต่างชาติ
ตำรวจจ่อเสนอใช้ ม.44 แก้ลักลอบนำเข้าขยะพิษ หลังพบข้อติดขัดเกี่ยวกับกฎหมายทำให้การดำเนินการล่าช้า
กรุงเทพฯ 21 มิ.ย. – หลังรัฐบาลสั่งระงับการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่งผลกระทบและสร้างปัญหาหลายพื้นที่ หลายฝ่ายสนับสนุนแนวทางดังกล่าว และคาดว่าใช้กฎหมายปกติแก้ไขปัญหาได้ โดยไม่ต้องอาศัยมาตรา 44 รัฐบาลเดินหน้าจัดการปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้าจากต่างประเทศไม่ถูกต้อง หลังตรวจพบในหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะ ออกมาตรการเร่งด่วนให้ระงับการอนุญาตนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากโรงงานที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามอนุสัญญาบาเซล และกรณีที่พบการสำแดงเท็จ จะผลักดันให้นำขยะอิเล็กทรอนิกส์กลับไปยังประเทศต้นทาง อีกทั้งหากนำเข้ามาและส่งไปโรงงานกำจัดที่ไม่ถูกต้องตามใบอนุญาต ให้ส่งกลับไปยังโรงงานที่ได้รับอนุญาต หรือนำไปกำจัดให้ถูกต้อง ซึ่งผู้กระทำผิดต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ขณะเดียวกัน สั่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด ดูแลแก้ไขข้อกฎหมาย แต่หากติดขัดก็ให้เสนอใช้คำสั่งตามมาตรา 44 รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เห็นด้วยกับการห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพราะถือเป็นผลเสียมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ สร้างปัญหามลพิษรุนแรง และต้องมีบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนอย่างจริงจัง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เห็นว่า การสั่งระงับการนำเข้า ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะขีดความสามารถในการกำจัดขยะของโรงงานยังไม่ถูกต้อง ซึ่งจากนี้โรงงานต้องหยุดการนำเข้าทันที แม้จะมีจำนวนขยะที่เหลืออยู่ก็ตาม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะกำหนดประกาศห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนกฎหมายภายในประเทศก็สามารถออกประกาศได้ทันที ด้วยการยกระดับวัตถุอันตรายที่ห้ามนำเข้า เชื่อว่าสามารถดำเนินการได้ด้วยกฎหมายปกติ โดยไม่ต้องออกเป็นคำสั่งตามมาตรา 44 สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น […]
สมุทรปราการ 21 มิ.ย. – ปฏิบัติการตรวจค้นจับกุมโรงงานที่ลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่มีเจ้าของกิจการเป็นต่างชาติ ใช้พื้นที่โรงงานคัดแยกกำจัดขยะพิษอย่างไม่ได้มาตรฐาน จนทำให้มีขยะพิษตกค้างปริมาณมหาศาล ล่าสุดวันนี้ตำรวจตรวจค้นจับกุมโรงงานที่สมุทรปราการ ซึ่งเชื่อมโยงกับโรงงานผิดกฎหมายที่ฉะเชิงเทราและลาดกระบัง แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ สภาพบวมและแตกหัก ใช้งานไม่ได้แล้ว ถูกนำมาเทกองรวมกัน หลังจากเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานบุกเข้าตรวจค้นโกดังของบริษัทนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง ย่านบางพลี จ.สมุทรปราการ และยังตรวจพบถุงบรรจุแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก รวมทั้งผงเชื่อมจุดระเบิดเพื่อเชื่อมทองแดง ซึ่งเป็นสารเคมีอันตราย กองรวมอยู่ด้วย ตำรวจระบุว่า บริษัทแห่งนี้มีโควตานำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกกฎหมาย 45,000 ตัน/ปี แต่จากการตรวจสอบลักษณะโรงงานไม่สอดคล้องกับกำลังการผลิต ที่มีคนงานเพียง 18 คน มีเครื่องจักร 1 เครื่อง จึงไม่สามารถกำจัดได้ตามที่ขออนุญาต และมีข้อมูลว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากที่เคยตรวจพบในโรงงานผิดกฎหมายที่ฉะเชิงเทราและลาดกระบังก่อนหน้านี้ ก็มาจากบริษัทแห่งนี้ เจ้าหน้าที่ยังได้บุกเข้าตรวจค้นโรงงานอีกแห่ง ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 500 เมตร เป็นโรงงานหลอมพลาสติก และถูกสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราวตั้งแต่ปลายเดือนที่แล้ว หลังถูกชาวบ้านร้องเรียนเรื่องมลพิษทางกลิ่น เจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ ตรวจพบว่า เครื่องจักรเหมือนเพิ่งผ่านการเดินเครื่องมาไม่นาน กองเศษขยะพลาสติกกระจายอยู่ทั่วโรงงาน ที่นี่ไม่มีระบบกำจัดสารอันตราย เช่น สารอินทรีย์ระเหย และสารไดออกซิน ไม่มีระบบบำบัดของเสีย ไม่มีเครื่องฟอกอากาศ และมีการขยายต่อเติมโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเจ้าหน้าที่คาดว่า […]
กลุ่มผู้เดือดร้อนจาก 7 จังหวัด ยื่นหนังสือถึงนายกฯ แก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างจริงจัง
นักวิจัยด้านขยะพิษ แสดงความพอใจการแก้ปัญหาของรัฐบาล แต่ยังไม่พอเพราะเป็นมาตรการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เป็นปัญหาจึงแก้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เดินหน้ากวาดล้างโรงงานคัดแยกขยะผิดกฏหมายอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดวันนี้ขยายผลไปที่ย่านลำลูกกา ปทุมธานี พบขยะอิเล็กทรอนิกส์อันตรายที่มาจากทั้งในและต่างประเทศรวม 700 ตัน ถูกขนไปซุกซ่อนในพื้นที่ปิด ห่างจากตัวโรงงาน 200 เมตร เพื่อตบตาเจ้าหน้าที่
กรมศุลฯ คุมเข้มนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตรวจสอบทุกตู้คอนเทนเนอร์ หลังอายัดกว่า 100 ตู้ ส่งกลับต้นทาง 40 ตู้
พล.ต.อ.วิระชัย รับ ส่วนตัวอยากยกเลิกสนธิสัญญา “บาเซิล” เพื่อไม่ต้องนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หลังส่งผลเสียมากกว่าผลดี