fbpx

PEA ร่วมกับ อ.ส.ค. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ติดตั้ง Solar Rooftop​ และ​ Solar​ Floating 4 แห่ง

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ร่วมกับ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการติดตั้ง Solar Rooftop​ และ​ Solar​ Floating จำนวน 4 แห่ง

การบินไทยจับมือ GC ร่วมสร้างธุรกิจเติบโต

การบินไทย และ GC ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและพันธมิตรทางธุรกิจ หวังสร้างการเติบโตควบคู่กับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

ญี่ปุ่นขยายอายุการใช้งานเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์

โตเกียว 10 ก.พ.- รัฐบาลญี่ปุ่นเห็นชอบนโยบายที่จะเปิดทางให้ขยายอายุการใช้งานเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จากเพดานที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60 ปี และสร้างเตาปฏิกรณ์เครื่องใหม่เพื่อใช้งานแทนเครื่องเดิม ตามนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยที่ประเทศยังมีปริมาณไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นให้ความเห็นชอบนโยบายปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมเรื่องการใช้งานพลังงานนิวเคลียร์อย่างกว้างขวางควบคู่ไปกับพลังงานหมุนเวียน เป็นการเปลี่ยนนโยบายครั้งสำคัญสำหรับญี่ปุ่นที่เคยเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ในปี 2554 โดยจะนำร่างกฎหมายเพื่อปฏิบัติตามนโยบายนี้เข้าสู่การพิจารณาการประชุมสภาวาระปัจจุบัน นโยบายใหม่จะขยายอายุการใช้งานของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ยังใช้งานอยู่ในปัจจุบันให้ใช้งานได้เกิน 60 ปี ด้วยการไม่นับรวมเวลาที่เตาปฏิกรณ์หยุดเดินเครื่องเพื่อรับการตรวจสอบและซ่อมบำรุง และจะสนับสนุนให้สร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เครื่องใหม่ที่ทันสมัยกว่าเดิมเพราะเชื่อว่าจะมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยต้องสร้างภายในที่ตั้งของเตาปฏิกรณ์ที่มีกำหนดถูกปลดระวาง ตั้งเป้าจะเริ่มเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์รุ่นใหม่ได้ในคริสต์ทศวรรษ 2030 นอกจากนี้ยังกำหนดให้รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบการกำจัดกากนิวเคลียร์ที่มีกัมมันตรังสีปริมาณสูง ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ภัยพิบัตินิวเคลียร์ในปี 2544 ที่เกิดจากแผ่นดินไหวและสึนามิขนาดใหญ่ซัดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เสียหาย ทำให้ชาวญี่ปุ่นไม่สนับสนุนให้ใช้พลังงานนิวเคลียร์เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศ แต่หลังจากรัสเซียทำสงครามในยูเครน ญี่ปุ่นซึ่งพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลนำเข้าอย่างมากจึงได้รับผลกระทบจากราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก นายกรัฐมนตรีฟุมิโอะ คิชิดะ สั่งการเมื่อฤดูร้อนปีที่แล้วให้รัฐบาลหาทางใช้ประโยชน์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศอย่างเต็มที่.-สำนักข่าวไทย

TCAS แจงข้อสอบ TGAT เรื่องภาวะโลกร้อน มุ่งพัฒนาทักษะในอนาคต

TCAS แจงข้อสอบ TGAT วิชาความถนัดทั่วไป “เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด” ชี้หวังให้ตระหนักถึงผลกระทบต่อการเกิดก๊าซเรือนกระจก มุ่งพัฒนาทักษะในอนาคต ควบคู่การเรียนรู้

สหรัฐจะช่วยไทยพัฒนาเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก

วอชิงตัน 19 พ.ย.- รองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริสของสหรัฐเผยวันนี้ว่า สหรัฐจะช่วยเหลือไทยพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ด้วยเตาปฏิกรณ์ขนาดเล็ก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เอเอฟพีรายงานอ้างทำเนียบขาวสหรัฐว่า ความช่วยเหลือนี้เป็นส่วนหนึ่งของความริเริ่มโลกเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero World Initiative) ที่สหรัฐจับมือกับภาคเอกชนและกลุ่มผู้ใจบุญเปิดตัวในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกร้อนครั้งที่ 26 หรือคอป 26 (COP26) ที่กลาสโกว์ของสกอตแลนด์เมื่อปี 2564 เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด สหรัฐจะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ไทยในการพัฒนาเทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์ชนิดโมดูลขนาดเล็กหรือเอสเอ็มอาร์ (Small Modular Reactors : SMR) ที่ผลิตในโรงงานและสามารถเคลื่อนย้ายได้ โดยทั่วไปแล้วเตาปฏิกรณ์แบบนี้ถือว่าปลอดภัยเพราะไม่จำเป็นต้องให้คนเข้าไปปิดเครื่องในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ระดับสูงในคณะของนางแฮร์ริสที่เดินทางมาร่วมการประชุมสุดยอดความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหรือเอเปค (APEC) ที่กรุงเทพฯ เผยโดยขอสวนนามว่า สหรัฐมุ่งหวังที่จะทำงานร่วมกับไทยเพื่อใช้ประโยชน์จากเอสเอ็มอาร์และแหล่งพลังงานสะอาดที่ไว้ใจได้ ทำเนียบขาวไม่ได้ให้กรอบเวลาในเรื่องนี้ แต่เผยว่าจะสนับสนุนไทยในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2608 ซึ่งเป็นการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้เท่ากับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับกลับคืน นอกจากนี้ยังได้ประกาศความริเริ่มร่วมกับไทยในการเสริมสร้างความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ตยุค 5 จี และโครงการสร้างศูนย์รักษามะเร็งระดับโลกที่จังหวัดชลบุรีของไทย.-สำนักข่าวไทย

ปลื้มพื้นที่ศูนย์ข่าวสีเขียว APEC ลดก๊าซเรือนกระจก

นายกฯ ปลื้มพื้นที่ศูนย์ข่าวสีเขียว APEC 2022 ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก 14,969.02 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ 1,663 ต้น ต่อปี

เปิดประชุมโลกร้อน COP27 ที่อียิปต์วันนี้

ชาร์มเอลเชค 6 พ.ย.- การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 27 หรือคอป 27 (COP27) ที่อียิปต์เปิดฉากแล้วในวันนี้ เพื่อหาทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และให้ความช่วยเหลือในการจำกัดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การประชุมมีขึ้นที่ชาร์มเอลเชค เมืองตากอากาศริมทะเลแดง จะดำเนินไปจนถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน โดยจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีและผู้นำรวมอยู่ด้วย มีประเทศและดินแดนต่าง ๆ เข้าร่วมมากกว่า 190 แห่ง ที่ประชุมจะหารือเรื่องการเร่งดำเนินการตามแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2573 การให้ความช่วยเหลือทางการเงินและเทคโนโลยีในการจำกัดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ของสกอตแลนด์เมื่อปี 2564 เห็นพ้องกันว่า ภาคีทุกแห่งจะร่วมกันหาทางทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่สำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือยูเอ็นเอฟซีซีซี (UNFCCC) คาดการณ์ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะสูงขึ้นราว 2.5 องศาเซลเซียสภายในสิ้นคริสต์ศวรรษที่ 21 หรือภายในสิ้นปี พ.ศ.2643 หากภาคียังคงเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นในปัจจุบัน ทั่วโลกกังวลเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น เนื่องจากเกิดสภาพอากาศผิดปกติบ่อยครั้งขึ้น และมีความเสียหายรุนแรงมากกว่าที่ผ่านมา เช่น ปากีสถานเกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้าง ญี่ปุ่นมีอุณหภูมิฤดูร้อนปีนี้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่การประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่หรือจี 20 (G20) ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อเดือนสิงหาคมไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้ และถูกตำหนิว่าเป็นเพราะชาติตะวันตกและรัสเซียเป็นอริกันจากเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครน.-สำนักข่าวไทย

ย้ำเตรียมพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ หลังโควิดคลี่คลาย

นายกฯ ย้ำทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ร่วมมือกันลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) เพื่อไปสู่เป้าหมายที่กำหนด ลดความเสี่ยงจากการถูกกีดกันทางการค้า เพิ่มโอกาสเข้าร่วมในเวทีการค้าได้มากขึ้น

“ดักจับ-กักเก็บคาร์บอน” มุ่ง Net Zero ก๊าซเรือนกระจก

ไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ในที่ประชุม COP26 ว่าจะร่วมแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนก่อน ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ก่อน ค.ศ. 2065

นิวซีแลนด์เล็งเก็บค่าปล่อยก๊าซโลกร้อนจากปศุสัตว์

นิวซีแลนด์เผยแพร่ร่างแผนการเก็บค่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากปศุสัตว์ เพราะเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งของประเทศ

คลื่นความร้อนรุนแรงทำชาวอินเดียกว่า 300 ล้านคนเสี่ยงสูง

เดลี 23 พ.ค.- รายงานฉบับใหม่เตือนว่า ชาวอินเดียเกือบ 323 ล้านคนทั่วประเทศ ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงสูงจากคลื่นความร้อนรุนแรงและขาดแคลนอุปกรณ์คลายร้อนอย่างพัดลมและตู้เย็น กลุ่มซัสเทนเนเบิลเอเนอร์จีฟอร์ออล (SE4ALL) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติออกรายงานเมื่อไม่กี่วันก่อนว่า แม้ชาวอินเดียมีไฟฟ้าใช้เกือบทุกครัวเรือนแล้ว แต่มีประชากรเพียงส่วนเดียวจากทั้งหมด 1,400 ล้านคนที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าคลายความร้อน ขณะเดียวกันความต้องการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าคลายความร้อนที่จะเพิ่มขึ้นในอีกหลายปีข้างหน้าจะเพิ่มแรงกดดันให้แก่ระบบจ่ายไฟฟ้าของอินเดียที่ตึงตัวอยู่แล้ว และจะทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนยิ่งขึ้นไปอีก เสี่ยงทำให้เกิดคลื่นความร้อนรุนแรงและยาวนานยิ่งกว่าเดิม รายงานเรียกร้องให้ทางการอินเดียเร่งดำเนินการตาม “แผนปฏิบัติการทำความเย็นอินเดีย” ที่เปิดตัวไปตั้งแต่ปี 2562 แผนนี้ตั้งเป้าลดความต้องการทำความเย็นลงให้ได้ 1 ใน 4 ภายในปี 2581 ด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น พัฒนาเทคโนโลยีทำความเย็นแบบใหม่ ออกแบบอาคารให้อากาศไหลเวียนตามธรรมชาติ เพราะขณะนี้อินเดียกำลังเผชิญวิกฤตไฟฟ้าครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 6 ปี เนื่องจากคลื่นความร้อนทำให้มีความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศสูงมาก จนเกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง อุณหภูมิในเขตนิวเดลีช่วงกลางเดือนพฤษภาคมนี้สูงทะลุ 49 องศาเซลเซียส หลังจากอินเดียทั้งประเทศร้อนผิดปกติในเดือนเมษายน และมีเดือนมีนาคมที่ร้อนทำสถิติสูงสุดในรอบ 122 ปี สำนักอุตุนิยมวิทยาอินเดียพยากรณ์ว่า อุณหภูมิในเขตนิวเดลีที่ลดลงในเช้าวันนี้เพราะเกิดฝนตกหนักและพายุฝนฟ้าคะนอง จะกลับไปแตะ 40 องศาอีกครั้งในสัปดาห์นี้ จากนั้นจะเย็นลงเมื่อเข้าสู่ฤดูมรสุมในเดือนมิถุนายน ข้อมูลของรัฐบาลเผยว่า มีคนเสียชีวิตเพราะโรคลมแดดแล้วอย่างน้อย 25 คนตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม […]

กยท. – อ.อ.ป. ลงนาม MOU ทำสวนยางลดก๊าซเรือนกระจก

กรุงเทพฯ 20 พ.ค. – กยท. ร่วมมือกับอ.อ.ป. เดินหน้ามาตรการ ZERO CARBON ลงนาม MOU ส่งเสริมเกษตรกรทำสวนยางพาราแบบลดก๊าซเรือนกระจก พร้อมสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตจากสวนยางพาราได้อย่างยั่งยืน นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และนายสุกิจ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การส่งเสริมการทำสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากลและการบริหารจัดการการลดก๊าซเรือนกระจกจากสวนยางพารา นายณกรณ์กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกต่างให้ความสำคัญด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการลดก๊าซเลือนกระจก หรือ มาตรการ ZERO CARBON กยท. เริ่มเดินหน้ามาตรการ ZERO CARBON เพื่อเพิ่มโอกาสทางการเกษตรภาคยางพารา พร้อมวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสียที่จะเกิดขึ้นกับภาคเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่ง กยท. เล็งเห็นว่า โครงการนี้เป็นโอกาสใหม่ของเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. ที่ได้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ไปพร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อม  ทั้งนี้โครงการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตในสวนยางพารา จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วนให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม กยท จึงร่วมกับอ.อ.ป. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการทำสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากล และการบริหารจัดการการลดก๊าซเรือนกระจกจากสวนยางพารา เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านการจัดทำโครงการ การฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ นวัตกรรมให้แก่ บุคลากรทั้ง […]

1 2 3 4 5
...