ปลื้มพื้นที่ศูนย์ข่าวสีเขียว APEC ลดก๊าซเรือนกระจก
นายกฯ ปลื้มพื้นที่ศูนย์ข่าวสีเขียว APEC 2022 ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก 14,969.02 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ 1,663 ต้น ต่อปี
นายกฯ ปลื้มพื้นที่ศูนย์ข่าวสีเขียว APEC 2022 ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก 14,969.02 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ 1,663 ต้น ต่อปี
ชาร์มเอลเชค 6 พ.ย.- การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 27 หรือคอป 27 (COP27) ที่อียิปต์เปิดฉากแล้วในวันนี้ เพื่อหาทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และให้ความช่วยเหลือในการจำกัดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การประชุมมีขึ้นที่ชาร์มเอลเชค เมืองตากอากาศริมทะเลแดง จะดำเนินไปจนถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน โดยจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีและผู้นำรวมอยู่ด้วย มีประเทศและดินแดนต่าง ๆ เข้าร่วมมากกว่า 190 แห่ง ที่ประชุมจะหารือเรื่องการเร่งดำเนินการตามแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2573 การให้ความช่วยเหลือทางการเงินและเทคโนโลยีในการจำกัดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ของสกอตแลนด์เมื่อปี 2564 เห็นพ้องกันว่า ภาคีทุกแห่งจะร่วมกันหาทางทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่สำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือยูเอ็นเอฟซีซีซี (UNFCCC) คาดการณ์ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะสูงขึ้นราว 2.5 องศาเซลเซียสภายในสิ้นคริสต์ศวรรษที่ 21 หรือภายในสิ้นปี พ.ศ.2643 หากภาคียังคงเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นในปัจจุบัน ทั่วโลกกังวลเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น เนื่องจากเกิดสภาพอากาศผิดปกติบ่อยครั้งขึ้น และมีความเสียหายรุนแรงมากกว่าที่ผ่านมา เช่น ปากีสถานเกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้าง ญี่ปุ่นมีอุณหภูมิฤดูร้อนปีนี้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่การประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่หรือจี 20 (G20) ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อเดือนสิงหาคมไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้ และถูกตำหนิว่าเป็นเพราะชาติตะวันตกและรัสเซียเป็นอริกันจากเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครน.-สำนักข่าวไทย
นายกฯ ย้ำทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ร่วมมือกันลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) เพื่อไปสู่เป้าหมายที่กำหนด ลดความเสี่ยงจากการถูกกีดกันทางการค้า เพิ่มโอกาสเข้าร่วมในเวทีการค้าได้มากขึ้น
ไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ในที่ประชุม COP26 ว่าจะร่วมแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนก่อน ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ก่อน ค.ศ. 2065
นิวซีแลนด์เผยแพร่ร่างแผนการเก็บค่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากปศุสัตว์ เพราะเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งของประเทศ
เดลี 23 พ.ค.- รายงานฉบับใหม่เตือนว่า ชาวอินเดียเกือบ 323 ล้านคนทั่วประเทศ ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงสูงจากคลื่นความร้อนรุนแรงและขาดแคลนอุปกรณ์คลายร้อนอย่างพัดลมและตู้เย็น กลุ่มซัสเทนเนเบิลเอเนอร์จีฟอร์ออล (SE4ALL) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติออกรายงานเมื่อไม่กี่วันก่อนว่า แม้ชาวอินเดียมีไฟฟ้าใช้เกือบทุกครัวเรือนแล้ว แต่มีประชากรเพียงส่วนเดียวจากทั้งหมด 1,400 ล้านคนที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าคลายความร้อน ขณะเดียวกันความต้องการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าคลายความร้อนที่จะเพิ่มขึ้นในอีกหลายปีข้างหน้าจะเพิ่มแรงกดดันให้แก่ระบบจ่ายไฟฟ้าของอินเดียที่ตึงตัวอยู่แล้ว และจะทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนยิ่งขึ้นไปอีก เสี่ยงทำให้เกิดคลื่นความร้อนรุนแรงและยาวนานยิ่งกว่าเดิม รายงานเรียกร้องให้ทางการอินเดียเร่งดำเนินการตาม “แผนปฏิบัติการทำความเย็นอินเดีย” ที่เปิดตัวไปตั้งแต่ปี 2562 แผนนี้ตั้งเป้าลดความต้องการทำความเย็นลงให้ได้ 1 ใน 4 ภายในปี 2581 ด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น พัฒนาเทคโนโลยีทำความเย็นแบบใหม่ ออกแบบอาคารให้อากาศไหลเวียนตามธรรมชาติ เพราะขณะนี้อินเดียกำลังเผชิญวิกฤตไฟฟ้าครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 6 ปี เนื่องจากคลื่นความร้อนทำให้มีความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศสูงมาก จนเกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง อุณหภูมิในเขตนิวเดลีช่วงกลางเดือนพฤษภาคมนี้สูงทะลุ 49 องศาเซลเซียส หลังจากอินเดียทั้งประเทศร้อนผิดปกติในเดือนเมษายน และมีเดือนมีนาคมที่ร้อนทำสถิติสูงสุดในรอบ 122 ปี สำนักอุตุนิยมวิทยาอินเดียพยากรณ์ว่า อุณหภูมิในเขตนิวเดลีที่ลดลงในเช้าวันนี้เพราะเกิดฝนตกหนักและพายุฝนฟ้าคะนอง จะกลับไปแตะ 40 องศาอีกครั้งในสัปดาห์นี้ จากนั้นจะเย็นลงเมื่อเข้าสู่ฤดูมรสุมในเดือนมิถุนายน ข้อมูลของรัฐบาลเผยว่า มีคนเสียชีวิตเพราะโรคลมแดดแล้วอย่างน้อย 25 คนตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม […]
กรุงเทพฯ 20 พ.ค. – กยท. ร่วมมือกับอ.อ.ป. เดินหน้ามาตรการ ZERO CARBON ลงนาม MOU ส่งเสริมเกษตรกรทำสวนยางพาราแบบลดก๊าซเรือนกระจก พร้อมสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตจากสวนยางพาราได้อย่างยั่งยืน นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และนายสุกิจ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การส่งเสริมการทำสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากลและการบริหารจัดการการลดก๊าซเรือนกระจกจากสวนยางพารา นายณกรณ์กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกต่างให้ความสำคัญด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการลดก๊าซเลือนกระจก หรือ มาตรการ ZERO CARBON กยท. เริ่มเดินหน้ามาตรการ ZERO CARBON เพื่อเพิ่มโอกาสทางการเกษตรภาคยางพารา พร้อมวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสียที่จะเกิดขึ้นกับภาคเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่ง กยท. เล็งเห็นว่า โครงการนี้เป็นโอกาสใหม่ของเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. ที่ได้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ไปพร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้โครงการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตในสวนยางพารา จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วนให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม กยท จึงร่วมกับอ.อ.ป. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการทำสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากล และการบริหารจัดการการลดก๊าซเรือนกระจกจากสวนยางพารา เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านการจัดทำโครงการ การฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ นวัตกรรมให้แก่ บุคลากรทั้ง […]
“พล.อ.ประวิตร” ประชุมนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หนุน ปลูกป่า-อนุรักษ์ป่าเศรษฐกิจ ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ค.ศ.2065
รายงานของสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ระบุว่า ความมุ่งมั่นของประเทศต่าง ๆ ในขณะนี้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้โลกมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2.7 องศาเซลเซียสในศตวรรษนี้ โดยที่รายงานดังกล่าวมีขึ้นก่อนเปิดฉากการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของยูเอ็น (COP26) ในสัปดาห์หน้า
ซาอุดีอาระเบียประกาศจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2603 เพื่อร่วมกับอีก 100 กว่าประเทศหาทางรับมือและจำกัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของคน
นายกรัฐมนตรีสก็อตต์ มอร์ริสัน ของออสเตรเลีย กล่าววันนี้ว่า รัฐบาลออสเตรเลียไม่ได้เร่งรีบในการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่ามีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
พล.อ.ประวิตรห่วงภาวะโลกร้อน