ชัวร์ก่อนแชร์: อิทธิพลสื่อ และการก่ออาชญากรรมเลียนแบบ (Copycat Crime)

สื่อมีอิทธิพลในการชักนำความคิดและการกระทำของประชาชนเป็นอย่างมาก หากสื่อนำเสนอข่าวอย่างชัดเจน โปร่งใส และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนได้มาก ก็จะไม่มีการเข้าใจผิดหรือส่งผลกระทบด้านลบตามมา
แต่บางครั้ง สื่อก็ใช้อำนาจนี้ก่ออิทธิพลในทางที่ไม่ถูกต้อง จึงมีผลกระทบต่าง ๆ มากมาย ที่เป็นผลพวงมาจากการนำเสนอข่าวของสื่อ ซึ่งหนึ่งในผลกระทบที่ยังคงเป็นที่น่ากังวลอยู่ในขณะนี้ก็คือ ปรากฏการณ์พฤติกรรมลอกเลียนแบบ หรือ Copycat นั่นเอง


Copycat คืออะไร ?

Copycat หมายถึง การลอกเลียนแบบเหตุการณ์หรือพฤติกรรมบางอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยต้นแบบที่ลอกเลียนมาอาจจะได้มาจากการศึกษาเอง หรือมาจากอิทธิพลในการนำเสนอข่าวของสื่อก็ได้ ซึ่งหนึ่งในปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดเจน ก็คือ “copycat crime (อาชญากรรมเลียนแบบ)” นั่นเอง

Copycat Crime (อาชญากรรมเลียนแบบ)

มีผลการวิจัยพบว่า สื่อ เป็นตัวการสำคัญที่ส่งผลให้เกิดอาชญากรรมเลียนแบบ เพราะสื่อเป็นตัวการในการนำเสนอ “อาชญากรรมต้นแบบ” ให้กับเรา เช่น การบรรยายพร้อมภาพประกอบว่าผู้กระทำก่อเหตุอย่างไร ทำด้วยวิธีไหนจึงสำเร็จ และจะปกปิดร่องรอยอย่างไร ซึ่งสามารถเปรียบได้กับสำนวนไทยที่ว่า ชี้โพรงให้กระรอก


ประชาชนส่วนใหญ่มักจะให้ความสนใจกับข่าวอาชญากรรมที่มันรุนแรง ป่าเถื่อน หรือเป็นคดีปริศนาที่ยังคลุมเครือ เช่น ข่าวการเสียชีวิตของน้องชมพู่ ข่าวอุบัติเหตุของนักแสดง แตงโม นิดา เพราะเป็นคดีที่สร้างความสะเทือนใจ และความอยากรู้อยากเห็น เพราะฉะนั้นสื่อจึงตามติด และรายงานข่าวอย่างละเอียดเป็นพิเศษ เพื่อตอบสนองผู้เสพสื่อ

ดังนั้น จึงมีบ่อยครั้งที่สื่อมักจะนำเสนอข่าวที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคดีมากเกินความจำเป็น เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับตัวของอาชญากรเอง ไม่ว่าจะเป็นชื่อ รูปพรรณ อายุ และแรงจูงใจต่าง ๆ รวมถึงเบื้องหลังอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลัก เช่น การไปสัมภาษณ์ครอบครัวผู้ก่อเหตุ หรือการขุดคุ้ยปมวัยเด็ก ปัญหาชีวิตส่วนตัว ซึ่งอาจไปมีส่วนกระตุ้นให้ผู้เสพสื่อมีอารมณ์ที่อ่อนไหวคล้อยตามได้

และการที่สื่อนั้นยัดเยียดเรื่องราวชีวิตของผู้ก่อเหตุมากเกินความจำเป็น ผู้เสพสื่อที่ติดตามอาจจะมีอารมณ์ร่วม เกิดความเห็นใจ และเข้าอกเข้าใจผู้ก่อเหตุได้ ดั่งตัวอย่าง เหตุการณ์การกราดยิงที่จังหวัดโคราช ผู้ก่อเหตุคือพลทหารที่ขโมยอาวุธจากในค่ายมากราดยิงผู้บริสุทธ์จนเสียชีวิตหลายราย

สื่อได้ติดตามการรายงานอย่างใกล้ชิด แม้กระทั่งการไลฟ์สดลงบนโซเชียลมีเดีย และได้มีการเปิดเผยปมของพลทหารรายนี้ว่า ที่ก่อเหตุไป เป็นเพราะโดนกดขี่ข่มเหงจากทหารชั้นผู้ใหญ่มาอีกที ทำให้มีคนจำนวนไม่น้อยรู้สึกเห็นใจและหาความชอบธรรมให้กับผู้ก่อเหตุ


เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า สื่อมีส่วนควบคุมทิศทางทัศนคติของผู้เสพต่อข่าวนั้น ๆ ได้ โดยการเลือกใช้คำบรรยาย ที่ควรจะไม่ไปกระตุ้นอารมณ์ของผู้เสพสื่อจนเกินไป จนทำให้เกิดอาการเห็นอกเห็นใจ และเอนเอียงไปฝั่งผู้ก่อเหตุได้

ซึ่งจากตัวอย่างคดีดังกล่าว สื่อได้นำเสนอข้อมูลของอาชญากรอย่างละเอียด จนทำให้เขาเป็นที่จดจำของสังคม
และสิ่งที่น่ากังวลตามมาก็คือ การเพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ที่จะมีคนก่อเหตุเลียนแบบ อาจจะเพื่อให้เป็นที่จดจำ หรือเพราะสื่อได้ชี้ให้เห็นหนทางเอาตัวรอดทางอ้อม จากการก่อเหตุอาชญากรรมที่ผ่านมา เช่น ได้รู้ว่าควรปกปิดหลักฐานอย่างไร เป็นต้น

ต้นกำเนิดของ Copycat Crime

พฤติกรรมนี้ไม่ใด้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะ Copycat Crime มีมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งนักวิจัย เขาได้ศึกษาความสัมพันธ์ของเหตุอาชญากรรมกับการรายงานข่าว โดยข่าวที่เป็นตัวริเริ่มในช่วงนั้นก็คือ ข่าวการฆาตกรรมของ “แจ็คเดอะริปเปอร์” นั่นเอง ซึ่งวิธีการฆ่าของเขาเป็นที่สนใจของประชาชนอย่างมาก จนทำให้มีหลายคนก่อเหตุเลียนแบบฆาตกรรายนี้ และถึงแม้เรื่องนี้จะเกิดที่อังกฤษ และสื่อในสมัยนั้นก็ไม่ได้เข้าถึงง่าย แต่ก็มีการก่อเหตุเลียนแบบตามฆาตกรรายนี้จากทั่วทุกมุมโลกเลยทีเดียว

“รู้เท่าทันสื่อ” หนึ่งในวิธีการป้องกัน Copycat Crime

โดยหลักแล้ว ความรับผิดชอบควรจะต้องตกไปอยู่ที่สื่อเป็นหลัก โดยการรับผิดชอบในการนำเสนอข่าวต่าง ๆ ให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับข่าวอาชญากรรมใหญ่ ๆ ที่มีผู้คนสนใจมาก ไม่ควรให้รายละเอียดเกินวามจำเป็น หรือแสดงให้ผู้เสพสื่อเห็นถึงความพิเศษในตัวของผู้ก่อเหตุ จนทำให้คนเหล่านั้นดูเหมือน ‘ฮีโร่’ ในสายตาของผู้ชม แทนที่จะเป็นผู้กระทำความผิด

และสำหรับผู้เสพข่าว ก็ควรใช้วิจารณญาณในการติดตามข่าวให้รอบคอบ คอยตระหนักรู้เท่าทันสื่ออยู่เสมอ รู้ตัวว่ากำลังรับฟังอะไรอยู่ และตั้งคำถามกับตัวเองว่าเราจะได้ประโยชน์อะไรจากข่าวเหล่านี้บ้าง เป็นต้น


ที่มา: บทความเรื่อง “อิทธิพลของสื่อ ที่มีผลต่อพฤติกรรมเลียนแบบอาชญากรรม”/ helloคุณหมอ
เรียบเรียงโดย: ชณิดา ภิรมณ์ยินดี

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Satellite images show wake of destruction of wildfires burning across California

เปิดปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าแอลเอไหม้ลามหนัก

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าในเทศมณฑลลอสแอนเจลิสหรือแอลเอ (LA) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐไหม้ลามเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นวิกฤตไฟป่าครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูงฝั่งปอยเปต พบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูง 18 ชั้น ฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เบื้องต้นพบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา และอาคารดังกล่าวถูกระบุเป็นฐานบัญชาการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีคนไทยถูกหลอกไปทำงานที่นี่จำนวนมาก

Palisades Fire

สหรัฐสั่งอพยพกว่าแสนคนหนีไฟป่า 6 จุดในแคลิฟอร์เนีย

ลอสแอนเจลิส 9 ม.ค.- สหรัฐสั่งอพยพประชาชนมากกว่า 100,000 คน เนื่องจากจำนวนไฟป่าที่โหมไหม้ในเทศมณฑลลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 6 จุดแล้ว เพราะกระแสลมแรงเทียบเท่าเฮอริเคนและสภาพอากาศแล้ง เจ้าหน้าที่เผยว่า ในจำนวนไฟป่าทั้ง 6 จุด มีอยู่ 4 จุดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้เลย ไฟป่าจุดแรก คือ พาลิเซดส์ไฟร์ (Palisades Fire) เกิดขึ้นช่วงเช้าวันที่ 7 มกราคมตามเวลาท้องถิ่นใกล้แปซิฟิก พาลิเซดส์ ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทศมณฑล ต้นเพลิงมาจากไฟไหม้พุ่มไม้ที่โหมไหม้จนเกินควบคุมเพราะกระแสลมแรง ต้องอพยพคนอย่างน้อย 30,000 คน ไฟป่าจุดที่ 2 คือ อีตันไฟร์ (Eton Fire) เกิดขึ้นในเย็นวันเดียวกันที่หุบเขาอีตันแคนยอน เผาไหม้พื้นที่ขยายวงกว้างมากพอ ๆ กับไฟป่าจุดแรก ไฟป่าจุดที่ 3 คือ เฮิร์ตส์ไฟร์ (Hurst Fire) เกิดขึ้นกลางดึกวันเดียวกันในย่านซิลมาร์ของนครลอสแอนเจลิส จากนั้นในเช้าวันที่ 8 มกราคมเกิดไฟป่าจุดที่ 4 คือ วูดลีไฟร์ […]

ข่าวแนะนำ

เบื้องหลังล่าจ่าเอ็ม

เปิดเบื้องหลังตามล่า “จ่าเอ็ม” ข้ามแดนกัมพูชา

“บิ๊กจ๋อ” เปิดเบื้องหลังตามล่า “จ่าเอ็ม” ข้ามแดนกัมพูชา ชี้ คลาดกันแบบหายใจรดต้นคอ ก่อนประสานตำรวจกัมพูชารวบตัว เผย ผู้ต้องหาร้องขอเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย หวั่น ถูกประชาทัณฑ์

ไฟไหม้บ้านสจ.สุพรรณ

เพลิงไหม้บ้านอดีต สจ.ดังเมืองสุพรรณ ดับยกครัว 4 ศพ

สลด! เพลิงไหม้บ้านพักของ สจ.ดังเมืองสุพรรณบุรี ทำให้คนในครอบครัวเสียชีวิตทั้ง 4 คน เบื้องต้นคาดสาเหตุจากไฟฟ้าลัดวงจร

งานวันเด็ก

วันเด็กทั่วไทยคึกคัก สร้างความสุขและรอยยิ้ม

ผู้ใหญ่ใจดี ทั้งภาครัฐ เอกชน หลายหน่วยงานทั่วประเทศ จัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ร่วมสนุก สร้างรอยยิ้มเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2568