29 มิถุนายน 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Check (ยูเครน)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จบางส่วน
บทสรุป:
- โควิด 19 เป็นไวรัสชนิด RNA ซึ่งมีอัตราการกลายพันธุ์บ่อย แต่ไม่มากเท่าไวรัสไข้หวัดใหญ่
- แม้ประสิทธิผลต่อไวรัสกลายพันธุ์จะลดลง แต่วัคซีนยังป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตได้
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อความเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศยูเครนว่า ไวรัสทุกชนิดจะกลายพันธุ์ทุกๆ 23 วัน ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อด้วยการฉีดวัคซีนจึงไม่ได้ผล
อย่างไรก็ดี ข้ออ้างดังกล่าวไม่สามารถพิสูจน์ได้
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
ไวรัสทุกชนิดมีคุณสมบัติในการผ่าเหล่า เหตุผลเพื่อเพิ่มโอกาสการแพร่เชื้อได้มากขึ้น
สารพันธุกรรมของไวรัสแต่ละชนิดจะมีการเข้ารหัสใน DNA หรือ RNA ในทุกๆ ครั้งที่ไวรัสทำการแบ่งตัว จะเกิดความผิดพลาดที่นำไปสู่การผ่าเหล่า การผ่าเหล่าเช่นนี้ช่วยให้ไวรัสมีโอกาสรอดชีวิดมากขึ้น
ไวรัสที่เกิดจากการผ่าเหล่า มีความสามารถในการหลีกเลี่ยงสารภูมิต้านทานในร่างกายมนุษย์และยาต้านไวรัส การผ่าเหล่าทำให้ไวรัสสามารถติดเชื้อในเซลล์ของอวัยวะอื่นๆ หรือแม้แต่ข้ามสายพันธุ์ไปติดเชื้อต่างสปีชีส์ได้ และเป็นเหตุผลว่าทำไมเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือโควิด 19 ซึ่งพบในค้างคาวจึงสามารถก่อโรคในมนุษย์ได้
แต่กระนั้น ก็ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันได้ว่าไวรัสทุกชนิดจะเกิดการกลายพันธุ์ทุก 23 วัน เนื่องจากไวรัสแต่ละชนิดมีอัตราในการผ่าเหล่าไม่เท่ากัน
ในกรณีของไวรัสชนิด RNA จะมีอัตราการผ่าเหล่าถี่กว่าไวรัสชนิดอื่นๆ ประกอบไปด้วย ไวรัสในกลุ่ม Coronavirus, ไวรัสไข้หวัดใหญ่ และไวรัส HIV
อย่างไรก็ดี ไวรัสในกลุ่ม Coronavirus จะมีอัตราการผ่าเหล่าน้อยกว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ และไวรัส HIV
นักวิทยาศาสตร์ที่วิจัยตัวอย่างของไวรัส SARS-CoV-2 จากผู้ป่วยโควิด 19 นับพันตัวอย่าง พบว่าไวรัส SARS-CoV-2 จะเกิดการผ่าเหล่าเดือนละ 2 ครั้ง โดย GISAID ฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมพบว่า ในช่วงต้นปี 2021 เกิดการผ่าเหล่าของไวรัสโควิด 19 ถึง 12,000 ครั้ง
แต่การกลายพันธุ์ของไวรัส ไม่ได้หมายความว่าวัคซีนที่ผลิตออกมาจะป้องกันโรคไม่ได้ การกลายพันธุ์อาจทำให้ไวรัสต่อต้านวัคซีนได้ดีขึ้น แต่กระบวนการดังกล่าวต้องใช้เวลาหลายปี วัคซีนของไวรัสชนิด RNA ที่ผลิตออกมาเมื่อ 90 ถึง 40 ปีที่แล้ว เช่นวัคซีนไข้เหลือง, วัคซีนโรคหัด และวัคซีนโรคคางทูม ยังคงมีประสิทธิผลในการป้องกันโรคได้ดีจนถึงปัจจุบัน
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า วัคซีนโควิด 19 ที่พัฒนาเพื่อป้องกันไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์ดั้งเดิม ยังสามารถป้องกันไวรัสโควิด 19 กลายพันธุ์ได้ แม้ประสิทธิผลจะลดลงก็ตาม
นักวิทยาศาสตร์ในประเทศอิสราเอลพบว่า วัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer มีประสิทธิผลลดลงในการป้องกันไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้
ส่วนวัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca สามารถป้องกันไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์อังกฤษได้ดี แต่ประสิทธิผลจะลดลงกับไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ กระนั้นก็ยังสามารถป้องกันการป่วยหนักได้
ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่าวัคซีนโควิด 19 ของ Moderna มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ได้ดี แต่ระดับภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นอาจไม่สูงนัก และอาจจะอยู่ในร่างกายได้ไม่นานเท่าที่ควร
แม้ไวรัสโควิด 19 กลายพันธุ์จะทำให้ประสิทธิผลของวัคซีนลดลง แต่วัคซีนยังสามารถป้องกันการป่วยด้วยโรคโควิด 19 ได้
ดร.แอนโทนี เฟาชี ผู้อำนวยการสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID) อธิบายกับนิตยสาร Time ว่าเทคโนโลยี mRNA ที่ใช้ในวัคซีนของ Pfizer และ Moderna ช่วยให้วัคซีนปรับตัวเข้ากับไวรัสกลายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่มีการปรับปรุงสูตรใหม่ๆ ออกมาทุกปี
ข้อมูลอ้างอิง:
https://voxukraine.org/bezdokazovo-usi-virusy-mutuyut-kozhni-23-dni-tomu-vaktsynatsiya-ne-maye-sensu
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter