จอประสาทตาอักเสบเกิดได้จากสาเหตุใด และจะมีอาการเป็นอย่างไร ?
🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
“จอประสาทตา” เป็นอวัยวะที่อยู่ข้างในลูกตา มีความสำคัญมาก ๆ สำหรับดวงตาของมนุษย์
จอประสาทตามีหน้าที่รับภาพต่าง ๆ ส่งไปที่สมองเพื่อแปลผลว่าเราเห็นอะไร
ภาวะจอประสาทตาอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีหลายโรคที่ทำให้จอประสาทตาอักเสบ
จอประสาทตาอักเสบพบร่วมกับความผิดปกติส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ที่เรียกภาวะนี้ว่า โรคโวกต์ โคยานางิ ฮาราดะ (Vogt Koyanagi Harada disease : VKH) โรคนี้มักพบในคนวัยทำงาน ช่วงอายุมากกว่า 20 ถึงมากกว่า 40 ปี
คนที่เป็นโรค Vogt Koyanagi Harada ถ้าได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้องก็จะทำให้เกิดอันตรายกับจอประสาทตาถาวรและเกิดความพิการตามมาได้
โรค Vogt Koyanagi Harada ทำให้จอประสาตาอักเสบ เกิดจากสาเหตุอะไร ?
โรค Vogt Koyanagi Harada มักจะหาสาเหตุกระตุ้นได้ยาก ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิด และร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับไวรัส แต่อาจเป็นความโชคร้ายที่การสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายอาจมีลักษณะการต่อต้านคล้าย ๆ กับเม็ดสีที่อยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะบางส่วน
การใช้สายตามาก ๆ ทำให้เกิดการล้าที่ดวงตา แต่ไม่ได้กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำให้เกิดโรค Vogt Koyanagi Harada
โรค Vogt Koyanagi Harada ทำให้เกิดความผิดปกติได้ 2 ส่วน
1. คุณ Vogt Koyanagi Harada ค้นพบว่าเมื่อร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาต่อสู้กับไวรัส แต่ไปทำลายเม็ดสีตามอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เช่น ที่ผิวหนัง ก็อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการดำขาว ทั้งที่ขนตาควรจะเป็นสีดำก็จะหงอกเป็นสีขาว
2. ต่อมาคุณ Harada มาค้นพบว่า ผู้ป่วยโรคกลุ่มนี้ นอกจากเกิดด่างขาวที่ผิวหนัง หรือมีขนตาหงอกแล้ว ยังเกิดการทำลายที่ระบบประสาท ที่พบบ่อย ๆ คือมีอาการหูอื้อ และเกิดการอักเสบของจอประสาทตา มักจะเป็นทั้งสองข้าง
อาการ “อักเสบ” ของจอประสาทตา ?
การมองเห็นภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพตรงกลางที่เกิดการเสียไป มองดูแล้วเห็นเงาดำบังบริเวณตรงกลางภาพ นี่คืออาการแสดงที่ชัดเจนว่าเกิดภาวะจอประสาทตาอักเสบตามมา
ภาวะจอประสาทตาอักเสบจำเป็นต้องได้รับการรักษาทันทีด้วยยาสเตียรอยด์และยากดภูมิฯ เพื่อให้การอักเสบลดลง ไม่เกิดความเสียหายกับดวงตาลดลง และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับจอประสาทตาจนถึงขั้นพิการอย่างถาวรได้
ป้องกัน โรค Vogt Koyanagi Harada ได้อย่างไร
โรค Vogt Koyanagi Harada ไม่ได้พบบ่อย และไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน ไม่เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน การป้องกันจึงทำได้ยาก เพียงแต่ถ้าสงสัยว่ามีอาการผิดปกติที่เข้าได้กับโรค Vogt Koyanagi Harada ตั้งแต่เริ่มต้น ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้นสามารถป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับจอประสาทตา รวมถึงป้องกันความพิการถาวรที่จะตามมาได้
การใช้สายตาอย่างเหมาะสม และสังเกตความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้น จะช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากโรค Vogt Koyanagi Harada
สัมภาษณ์โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์
เรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล
ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : จอประสาทตาอักเสบ จากโรค VKH
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter