19 มกราคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล
ข้อมูลที่ถูกแชร์ :
มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา ที่อ้างว่า Pixar Animation Studios บริษัทผู้บุกเบิกการสร้างแอนิเมชันด้วยกระบวนการ Computer-Generated Imagery (CGI) ได้แอบสอดแทรกรหัสลับ A113 ที่เชื่อว่าเป็นชื่อทางเคมีของสารอะดรีโนโครม (Adrenochrome) สารที่เชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะที่ต้องสกัดจากร่างกายเด็ก โดยพบว่ารหัสลับ A113 ยังปรากฏในหนังเกือบทุกเรื่องของ Pixar ตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา
บทสรุป :
- อะดรีโนโครมไม่มีคุณสมบัติเป็นยาหลอนประสาทหรือยาอายุวัฒนะ
- A113 ไม่ใช่ชื่อทางเคมีของสารอะดรีโนโครม
- รหัส A113 ถูกใส่ไว้ในการ์ตูนของ Pixar หลายเรื่องเพื่ออุทิศให้กับห้องเรียนแอนิเมชันของ CalArts
FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :
รายงานจากเว็บไซต์ Insider เมื่อปี 2023 พบว่า Pixar Animation Studios ได้สอดแทรกรหัส A113 อยู่ในผลงานแอนิเมชันไม่ต่ำกว่า 23 เรื่อง
QAnon และ Adrenochrome
การเชื่อมโยงรหัส A113 กับสารอะดรีโนโครม มาจากทฤษฎีสมคบคิดทางการเมืองที่รู้จักในชื่อว่า QAnon ที่อ้างว่า มีความพยายามขัดขวางอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จากการเปิดโปงขบวนการค้ามนุษย์เด็ก โดยฝีมือนักการเมืองและผู้มีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา โดยผู้ที่เชื่อใน QAnon มักจะเผยแพร่แนวคิดของกลุ่มผ่าน #SaveTheChildren
QAnon อ้างว่าเด็กที่ถูกจับมา จะถูกสกัดเอาสารอะดรีโนโครมจากต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) ซึ่งเชื่อว่ามีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ
อย่างไรก็ดี ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า สารอะดรีโนโครมไม่มีคุณสมบัติเป็นยาหลอนประสาทหรือยาอายุวัฒนะ ไม่จำเป็นต้องสกัดจากมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิต สามารถสังเคราะห์ในห้องแล็บและมีจำหน่ายเพื่อใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป
นอกจากนี้ A113 ยังไม่ใช่ชื่อทางเคมีของสารอะดรีโนโครม (C9H9NO3) แต่เป็นชื่อทางเคมีของ Gibberellin (A113) ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่พบในพืช ซึ่งมีโครงสร้างและคุณสมบัติทางเคมีแตกต่างจากอะดรีโนโครมอย่างสิ้นเชิง
Pixar กับรหัส A113
สาเหตุที่ผู้สร้างแอนิเมชันของ Pixar Animation Studios ซ่อนรหัส A113 อยู่ในผลงานเกือบทุกเรื่องของพวกเขา เพื่อเป็นการรำลึกถึงห้องเรียนสำหรับการออกแบบกราฟิกและตัวละครแอนิเมชัน ที่อยู่ในมหาวิทยาลัย California Institute of the Arts (CalArts) โดยผู้สร้างแอนิเมชันส่วนใหญ่ของ Pixar ต่างเป็นศิษย์เก่าของสถาบันแห่งนี้นั่นเอง
ข้อมูลอ้างอิง :
https://www.reuters.com/article/factcheck-pixar-a113/fact-check-online-conspiracies-link-pixars-use-of-the-number-a113-with-adrenochrome-idUSL1N3941LO/
https://leadstories.com/hoax-alert/2020/08/fact-check-a113-in-animated-films-is-not-satanic-code-it-is-a-harmless-easter-egg.html
https://en.wikipedia.org/wiki/A113
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Pixar_film_references
https://tna.mcot.net/sureandshare-1219707
ชัวร์ก่อนแชร์: “อะดรีโนโครม” ยาอายุวัฒนะจากเลือดเด็ก จริงหรือ?
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter