สงสัยติดเชื้อโอไมครอน 14 ราย ยืนยันผล 9 ราย

สธ.15 ธ.ค.-ไทยพบผู้ต้องสงสัยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนแล้ว 14 ราย ยืนยันผล 9 ราย กรมวิทย์ฯ มั่นใจสูตรการตรวจหาเชื้อ สามารถตรวจจับได้แม่นยำ แนะประชาชนเข้ารับวัคซีน ตามกรอบเวลาที่สาธารณสุขแนะนำ


สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ร่วมกับ องค์การอนามัยโลก จัดเสวนาวิชาการออนไลน์ “เปิดข้อมูล(ไม่) ลับ กับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เผยทุกข้อมูลเรื่องวัคซีนโควิด-19 รับมืออย่างไรเมื่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ มาเยือน” โดยมีนายแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ จากกระทรวงสาธารณสุข มาให้ความรู้ข้อมูล เกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการตรวจเชื้อโควิด “โอไมครอน”ว่า ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยเคยจะลดการตรวจ RT-PCR โดยจะให้ตรวจเฉพาะ ATK เฉพาะกลุ่มเดินทางเข้ามาแบบ Test and Go แต่เมื่อมีเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเข้ามา จึงคงมาตรการตรวจ RT-PCR ตามเดิม อย่างไรก็ตามในการตรวจโควิดนั้น ปัจจุบันมีแล็บ 465 แล็บทั่วประเทศที่ให้การรับรองมาตรฐาน แต่การตรวจสายพันธุ์ดำเนินการได้ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 15 แห่งทั่วประเทศ ส่วนกลางและมหาวิทยาลัยบางแห่ง ซึ่งถือว่าครอบคลุมมากพอสมควร เนื่องจากเรามีการตรวจมาตั้งแต่เริ่มระบาด ส่วนการตรวจด้วย RT-PCR ไม่ได้เป็นปัญหา และตรวจด้วย ATK ก็ยังสามารถตรวจสอบว่าติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อได้ แต่หากจะตรวจหาสายพันธุ์ต้องเข้าสู่กระบวน การตรวจหา Whole genome sequencing ด้วยวิธีการตรวจสอบอย่างละเอียด ล่าสุดกรมวิทย์ฯ ได้มีการตรวจเพิ่มเติม ข้อมูล ณ วันที่ 15 ธ.ค.64 พบผู้เข้าข่ายติดเชื้อโอไมครอน14ราย ยืนยันด้วยวิธีWhole genome sequencing ถอดรหัสพันธุกรรมแล้ว 9 ราย


“การตรวจหาสายพันธุ์ในผู้ติดเชื้อจะสุ่มตรวจจากคนไข้อาการหนัก ชายแดน ผู้เดินทางจากต่างประเทศทุกราย เกิดคลัสเตอร์แปลกๆและไม่รู้สาเหตุ เป็นต้น โดยตรวจสัปดาห์ละเป็นพัน ถ้ามีเข้ามาก็จะเจอ ดังนั้น วันนี้ยังเป็นระยะแรกของประเทศไทย ที่เริ่มมีสายพันธุ์โอไมครอนเข้ามา แต่ไม่ต้องตกใจ ยืนยันสูตรการตรวจหาสายพันธุ์โอไมครอน ของกรมวิทยาศาสตร์ฯ สามารถดักเชื้อโอไมครอนได้แน่นอน ถ้าเจอและจำกัดวงของการแพร่ระบาดได้เร็ว ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร และสถานการณ์การติดเชื้อในประเทศไทยขณะนี้เป็นการระบาดของสายพันธุ์เดลตา ดังนั้นวัคซีนที่ฉีดอยู่ขณะนี้สามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว

ด้าน พญ.ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมด้านวัคซีน เมื่อเกิดการระบาดของสายพันธุ์โอไมครอน ว่า ปัจจุบันวัคซีนทุกชนิดที่ใช้กันทั่วโลก จะช่วยป้องกันการป่วยหนักเสียชีวิตได้ โดยไทยมีผลการศึกษาต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ผลศึกษา 90 ++ ทุกวัคซีน ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง และเสียชีวิตได้ ซึ่งวัคซีนทุกชนิดยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100 เปอร์เซนต์ และเมื่อเวลาผ่านไป ภูมิจะ ตกลงมา ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีการกระตุ้นซ้ำอีกครั้ง

สำหรับผลการฉีดบูสเตอร์ สัปดาห์แรกวัดภูมิคุ้นกันได้ 90% ผ่านไป 1 เดือนเหลือประมาณ 80% ซึ่งเป็นผลที่น่าพอใจ ดังนั้นกลุ่มที่ฉีดซิโนแวคหรือซิโนฟาร์มสามารถเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นได้แล้ว ส่วนกลุ่มที่ฉีดแอสตราเซเนกา ซึ่งเป็นวัคซีนที่ป้องกันการป่วยหนักได้อย่างดี แอสตราฯ 2 เข็มป้องกันการติดเชื้อได้ 70% ขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างการรณรงค์ให้ประชาชนเข้ารับเข็มกระตุ้น หากได้รับเข็มกระตุ้นภูมิจะขึ้นสูง 80-90 % ด้านประชาชนได้รับ mRna 2เข็มยังมีภูมิคุ้มกันสูงอยู่ ดังนั้นจึงยังไม่ควรฉีดกระตุ้น อาจจะต้องรอประมาณ 6เดือนขึ้นไป อย่างไรก็ตามในช่วงที่เกิดการระบาดของเดลตาและอาจจะเกิดการระบาดของโอไมครอนจำเป็นจะต้องได้รับเข็ม 3 อย่างรวดเร็ว หากประชาชนฉีดซิโนแวค 2 เข็ม หรือซิโนฟาร์ม 2 เข็ม สามารถเข้ารับเข็มกระตุ้นด้วย แอสตราเซเนกา หรือไฟเซอร์ ได้เลย ส่วนผู้ที่ได้รับแอสตราเซเนกา 2 เข็ม สามารถเข้ารับเข็มกระตุ้นด้วยไฟเซอร์หลังจากเข็ม 2 เป็นระยะเวลา 3 เดือน


สำหรับสถานการณ์วัคซีนในขณะนี้ และในปี 2565 ไทยมีวัคซีนจำนวนมากขึ้น มี หลายชนิด หลายสูตร โดย ในปีหน้า มีการสั่งวัคซีน อีกประมาณ 120 ล้านโดส เซ็น สัญญาไปแล้ว 90 ล้านโดส

นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิและรองผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร เปิดเผยถึงความจำในการฉีดวัคซีน เร่งสร้างภูมิคุ้มกัน ในกลุ่มเปราะบางคือกลุ่ม 608 ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ดังนั้น ควรได้รับการการฉีดวัคซีนเข็มเสริม เป็นเข็ม 3 ที่เร็วขึ้น ( ประมาณ 1เดือน) จะทำให้ภูมิต้านทานดีขึ้น ก่อนจะรอเป็นเข็มกระตุ้น ซึ่งกลุ่มเปราะบางที่ควรได้รับเข็มเสริม คือกลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง โรคเลือด กินยากดภูมิ ปลูกถ่ายอวัยวะ 2 ปี แรก ได้ยากดภูมิ , กลุ่มผู้ป่วยความต้านทานต่ำ รุนแรง ล้างไตต่อเนื่อง กลุ่มผู้ป่วยเอดส์ เพื่อให้ร่างกายตอบสนองได้เหมือนคนร่างกายปกติ

คำแนะนำ หากได้รับวัคซีนเชื้อตาย ครบ 2 เข็มแล้ว ให้รีบมารับวัคซีน ชนิด mRNA รวม 3 เข็ม ห่างกันทุก 1 เดือน หากได้วัคซีนแอสตราฯ 2เข็มให้รีบมารับวัคซีน ชนิด m RNA 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน รวมถึงการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ด้วย .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า