สธ. 29 พ.ย.-กรมวิทย์ฯ เตรียมพัฒนาน้ำยาโอไมครอนโดยเฉพาะ 2 สัปดาห์สำเร็จ ระหว่างนี้ใช้เทคนิคตรวจยืนยันจาก 2 น้ำยาทั้งอัลฟา และเบตา หากเป็นบวกทั้งคู่ แสดงว่าเป็นโอไมครอน เนื่องจากตำแหน่งของตรงกัน ทั้ง HV69-70deletion ในอัลฟา และ K417N ในเบตา
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงการตรวจหาสายพันธุ์ของโอไมครอน ว่า ปัจจุบันการตรวจหาเชื้อโควิดด้วย RT-PCR และ ATK ที่ได้รับการรับรองจาก อย. ยังสามารถใช้ตรวจโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์อะไร แต่หากจะมีการตรวจแบบจำแนกสายพันธุ์ ว่าเป็นอัลฟา เบตา เดลตา ในปัจจุบันเนื่องจากยังไม่มีชุดน้ำยาตรวจของโอไมครอนโดยเฉพาะ ต้องอาศัยการตรวจพันธุกรรมแบบทั้งตัว (whole genome Srquencing ) ใช้เวลา 7 วัน ถึงทราบผล ดังนั้นกรมวิทย์ จึงเตรียมพัฒนาน้ำยาตรวจแยกสายพันธุ์ โดยเฉพาะคาดว่าอีกประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะสำเร็จ ระหว่างนี้ใช้เทคนิคการตรวจแยก จากน้ำตรวจโดยเฉพาะ 2 สายพันธุ์ คือ อัลฟา และเบตา ไปก่อน หากตรวจพบเป็นบวกตรงกันทั้งคู่ แสดงว่าเป็นโอไมครอน โดยได้ประสานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้ง 15 ศูนย์ให้ใช้เทคนิคการตรวจนี้ เพื่อค้นหาแยกเชื้อโอไมครอน
นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า สำหรับเทคนิคการตรวจหาเชื้อด้วยวิธีดังกล่าว เนื่องจากตำแหน่งที่ใช้ยืนยัน ว่าเป็นโอโมครอน พบตำแหน่งของยีนส์ที่ตรงกันในอัลฟาคือ HV69-70deletion ส่วนในเบตา คือตำแหน่งที่ K417N และยังเป็นตำแหน่งที่ตรงกันในเดลตาพลัสอีกด้วย ซึ่งการใช้เทคนิคนี้ จะช่วยให้การตรวจยืนยันหาโอไมครอนมีความรวดเร็ว ก่อนที่จะมีการพัฒนาน้ำยาตรวจสำเร็จ สำหรับการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ต้องมีการตรวจยืนยันมากกว่า 1 ขึ้นไป มากว่า 1 ตำแหน่ง และหากไม่พบ ต้องไม่พบทุกตำแหน่ง ส่วนข้อกังวลเรื่อง ATK ที่ผ่าน อย.รับรอง 104 ยี่ห้อ ในจำนวนนี้มี 2 ยี่ห้อเท่านั้นที่ตรวจตำแหน่งของสไปร์ทไปรตีน ซึ่งหากเชื้อมีการกลายพันธุ์ที่ไสร์ทโปรตีน อาจตรวจไม่เจอนั้น เรื่องนี้จะได้ประสานทางผู้นำเข้า พร้อมติดตามข้อมูลรายละเอียดจากต่างประเทศ
นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ขณะนี้เพื่อความมั่นใจในมาตรการป้องกัน ได้นำผู้ที่เดินทางเข้าไทยและมีผลเป็นบวกมากตรวจแยกหาพันธุกรรมอีกครั้ง เพื่อความมั่นใจว่าเป็นโอไมครอนหรือไม่ และมีการรายงานต่อ GISAID เบื้องต้นการตรวจหาเชื้อในผู้เดินทางเข้าไทยตั้งแต่ 1 พ.ย.64 จำนวน 75 ตัวอย่าง 45 ตัวอย่าง พบเป็นเดลตา.-สำนักช่าวไทย