fbpx

กรมสุขภาพจิต แนะสอนลูกเรียนรู้ความแตกต่าง

กทม. 6 พ.ย.-กรมสุขภาพจิต ชู 5 แนวคิด สอนลูกให้เรียนรู้ความแตกต่าง ไม่เหยียดไม่เกลียด จากประเด็น #คลับเฮ้าส์toxic

วันนี้ (6 พฤศจิกายน 2564) กรมสุขภาพจิตแนะนำแนวทางการดูแลบุตรหลานในครอบครัวจากประเด็น #คลับเฮ้าส์toxic ที่กำลังเป็นประเด็นบนโลกโซเชียล ให้เด็กและเยาวชนสามารถพัฒนาตนเองโดยเรียนรู้และเข้าใจความแตกต่าง ลดอคติ ไม่แบ่งแยก และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายหรือมีลักษณะพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข


พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากเหตุการณ์ล่าสุดที่กำลังเป็นกระแสในโลกโซเชียลมีเดีย เรื่อง #คลับเฮ้าส์toxic นั้น กรมสุขภาพจิตได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิด และพบว่าในเหตุการณ์ดังกล่าวมีการใช้ถ้อยคำที่ค่อนข้างรุนแรง อาจมีผลกระทบต่อความรู้สึกของพี่น้องที่มีภูมิลำเนาอยู่ในบางภูมิภาคของไทยเป็นอย่างมาก กรมสุขภาพจิตจึงขอรณรงค์ให้คนไทยทุกคนใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติ ไม่สร้างความเกลียดชัง ไม่ดูถูก ดูหมิ่น หรือเหยียดหยาม แต่ให้เปิดใจยอมรับและเข้าใจความแตกต่าง ลดความรู้สึกแตกแยกและขัดแย้งการใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีคุณภาพจึงไม่ควรไปละเมิดหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น และไม่ควรใช้พื้นที่สาธารณะในการก่อให้เกิดความเสียหายทางจิตใจต่อคนในสังคมด้วยกันเอง

สังคมไทยนั้นเป็นสังคมแห่งความหลากหลายหรือมีความเป็นพหุวัฒนธรรม มีความผสมผสานของวัฒนธรรมที่หลากหลายมากมาย และเป็นสังคมที่มีค่านิยมเปิดกว้างต่อความแตกต่างที่มีอยู่ ซึ่งการที่คนในสังคมมีถิ่นที่อยู่ วัฒนธรรมในการใช้ชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อความศรัทธา และภาษาถิ่นที่แตกต่างกันนั้น ไม่ได้ทำให้เรามีความเป็นคนไทยแตกต่างกัน ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และควรได้รับการให้เกียรติเหมือน ๆ กัน ถ้าเราทุกคนทำได้ก็จะช่วยให้สังคมไทยโดยรวมพัฒนาขึ้นและเป็นสังคมแห่งความสุขโดยแท้จริง โดยจากเหตุการณ์นี้ เราอาจใช้เป็นโอกาสในการแนะนำเด็กและวัยรุ่นในครอบครัวเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันและการยอมรับความแตกต่างในสังคม เพื่อให้เติบโตขึ้นและสามารถใช้ชีวิตสอดคล้องกับสภาพสังคมแห่งความหลากหลายได้อย่างมีความสุข ซึ่งเราสามารถแนะนำได้ดังนี้


  1. ให้สังเกตและทำความเข้าใจความเหมือนและความแตกต่างกันของแต่ละคน โดยให้มองเห็นว่าความแตกต่างนั้นเป็นสีสันตามธรรมชาติของทุกสังคม แม้ในบางจุดเราอาจจะมีความแตกต่างกันและมีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง แต่โดยส่วนมากแล้วทุกคนก็ล้วนมีส่วนที่เหมือนกัน และไม่มีอัตลักษณ์ใดที่ด้อยไปกว่ากัน ทุกคนบนโลกมีความเป็นคนเท่าๆ กัน
  2. ให้เด็กสามารถตั้งคำถามได้เกี่ยวกับความแตกต่างของแต่ละบุคคล โดยเด็กบางคนอาจจะสงสัยในความแตกต่าง เช่น สีผิว เพศ รูปร่าง ภาษา ศาสนา และวิถีชีวิตของเพื่อน ซึ่งผู้ปกครองสามารถให้คำตอบหรือชวนมาช่วยกันค้นคว้าผ่านแหล่งความรู้ที่หลากหลาย โดยใช้ใจที่เป็นกลาง ปราศจากอคติ
  3. เรียนรู้ร่วมกันในครอบครัวผ่านตัวอย่างเหตุการณ์บนโลกโซเชียล เช่น เหตุการณ์การเกลียดชังในอดีต หรือกรณีที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ เนื่องจากแหล่งข้อมูลหลักของเด็กและวัยรุ่นในยุคปัจจุบันมาจากสื่อโซเชียลมีเดียเป็นหลัก เราจึงสามารถหาตัวอย่างการเหยียดและอคติที่เกิดขึ้นและนำมาพูดคุยกันในประเด็นต่าง ๆ เช่น เพราะเหตุใดเหตุการณ์แบบนี้จึงเกิดขึ้น ตัวเรามีความเสี่ยงอย่างไรในการถูกเหยียดหรือแบ่งแยก และเราสามารถปกป้องตนเองได้อย่างไรในอนาคต
  4. ชวนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับผู้คนต่างพื้นที่ หรือกิจกรรมที่มีคนจากหลายวัฒนธรรมมาทำกิจกรรมร่วมกัน ได้มีการพูดคุยในสำเนียงภาษาที่แตกต่างกัน มีอาหารการกินที่แตกต่างกัน หรือแบ่งปันเรื่องขนบธรรมเนียมของแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน ก็จะช่วยทำให้เด็กเปิดโลกและเข้าใจสังคมพหุวัฒนธรรมมากขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจหาโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการกลั่นแกล้งและการเหยียด ที่มักมีในชมรมหรือสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน
  5. ผู้ใหญ่ในครอบครัวควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กและวัยรุ่น ด้วยการหลีกเลี่ยงการเหยียดความแตกต่าง ไม่ใช้คำบ่งชี้ลักษณะภายนอกของเด็กมาแทนชื่อเด็ก ไม่ชื่นชมลูกเพียงเพราะรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ชมเชยลูกโดยเอาไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น เป็นตัวอย่างในการมีความเห็นอกเห็นใจให้ผู้อื่น รวมถึงปฏิบัติต่อเด็กอย่างเท่าเทียม ให้เกียรติ และเคารพสิทธิของเด็กและวัยรุ่นในครอบครัว.-สำนักข่าวไทย
ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มหาวิทยาลัยแจงเหตุ นศ.สาวปี 3 แทงแฟน นศ.ปี 1 สาหัส

มหาวิทยาลัยออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีนักศึกษาหญิงทำร้ายนักศึกษาชาย ในหอพักจนบาดเจ็บสาหัส ด้านตำรวจยืนยันนักศึกษาหญิงที่ก่อเหตุมอบตัวแล้ว ยอมรับเป็นแฟนและทะเลาะกัน

รวบผู้ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพที่นนทบุรี นำตัวเข้าเซฟเฮาส์

รวบตัวชายไทย อายุประมาณ 35-40 ปี ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพ ภายในซอยจัดสรรสวิง 2 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำรวจนำตัวเข้าเซฟเฮาส์ อยู่ระหว่างสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

ข่าวแนะนำ

คุมเพลิงไหม้ “วิน โพรเสส” ได้แล้ว 95%

เหตุไฟไหม้โรงงานเก็บขยะเคมีอันตราย วินโพรเสส อ.บ้านค่าย จ.ระยอง วันนี้ เจ้าหน้าที่ควบคุมเพลิงได้แล้ว 95% เหลือเพียงจุดความร้อนที่อยู่ใต้ซากกองเพลิง ซึ่งยังต้องใช้สาร F500 ฉีดลดความร้อน แต่ยังมีกลิ่นฉุนแอมโมเนีย ด้านกรมโรงงานอุตสาหกรรมเช็กกล้องวงจรปิดตรวจสอบว่าเป็นการวางเพลิงเพื่อทำลายหลักฐานเช่นเดียวกับเหตุที่เกิดขึ้นใน อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา หรือไม่

นายกฯ แจงเรียก “สุชาติ-รัฐมนตรี” เข้าพบ แค่ตามงาน

นายกฯ อารมณ์ดี เดินลงตึกไทยฯ พบสื่อ แจงเรียก “สุชาติ-รมต.” มีชื่อหลุด ครม.เข้าพบแค่ตามงาน ย้ำปรับ ครม.เสร็จเมื่อไหร่เดี๋ยวก็รู้ ยันกินข่าวเที่ยงวานนี้ไม่มี ”ทักษิณ“

รวบ 2 ใน 4 อุ้มฆ่าหนุ่มไทใหญ่ทิ้งป่า อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

รวบแล้ว 2 ใน 4 ผู้ต้องหาอุ้มฆ่า “จ๋อมวัน” หนุ่มไทใหญ่ ก่อนนำศพไปทิ้งในป่าที่ จ.เชียงใหม่ ปมสังหารอ้างไม่พอใจถูกแซวเรื่องหญิงคนสนิท

ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก กทม.ครั้งแรกของปี

วันนี้เป็นครั้งแรกของปีที่ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่ กทม. ส่งผลให้ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะ หรือตั้งฉากกับพื้นที่บริเวณต่างๆ ของไทย 2 ครั้งต่อปี คือช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. และเดือน ก.ค.-ก.ย.