fbpx

ACT แนะทุกภาคส่วนหนุน “คบเด็กสร้างชาติ” ดึงคนรุ่นใหม่ผสานพลังสังคม

กทม. 6 ก.ย. – ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ เตือนอย่ามองข้าม “คนรุ่นใหม่” แนะทุกภาคส่วนหนุน “คบเด็กสร้างชาติ” ดึงคนรุ่นใหม่ผสานพลังสังคมร่วมยกระดับเครื่องมือตรวจสอบการโกง ด้าน 5 องค์กรเทคภาครัฐ พร้อมสนับสนุนผลักดัน เครื่องมือปราบโกง ให้ใช้งานได้จริง


เมื่อวันที่ 6 ก.ย. องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย จัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชัน 2564 ภายใต้แนวคิด “คบเด็กสร้างชาติ” ในรูปแบบ Online Event ถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน โดยเชิญชวนหน่วยงาน องค์กรทั้งราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ร่วมแสดงพลังต่อต้านคอร์รัปชัน ด้วยการแชร์ Live พร้อมติด hashtag #ชื่อหน่วยงาน #วันต่อต้านคอร์รัปชัน2564 #คบเด็กสร้างชาติ มีหลายหน่วยงาน หลายองค์กรให้ความสนใจร่วมทำกิจกรรมอย่างคึกคัก

นายวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวเปิดงานว่า องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ร่วมกับองค์กรสมาชิก และเครือข่าย ได้จัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันในวันที่ 6 กันยายน เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา เพื่อเป็นเวทีแสดงออกถึงพลังของทุกภาคส่วนในการร่วมแก้ปัญหาการโกงกินที่กัดกร่อนประเทศไทยมาอย่างยาวนาน หลายปีที่ผ่านมาองค์กรฯ ให้ความสำคัญและผลักดันการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐเพื่อให้เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ ช่วยในการต่อต้านการโกงในทุกระดับ จึงได้พัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ภายใต้โครงการ ACT Ai และในปีนี้องค์กรฯ ได้จัดกิจกรรม ACTkathon 2021 ชวนคนรุ่นใหม่มาร่วมแข่งขันออกไอเดียสร้างเครื่องมือต้านโกงพัฒนาต่อยอดการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยี เพิ่มความโปร่งใส สร้างการมีส่วนร่วม จากพลังที่เต็มเปี่ยมด้วยความสามารถและความตั้งใจของคนรุ่นใหม่ทุกทีม ได้จุดประกายความหวังว่าพลังของคนรุ่นใหม่จะสืบทอด ขยายผล ขยายฐานการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่อีกจำนวนมาก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่จะร่วมสร้างอนาคตประเทศไทยให้ดีขึ้น จึงอยากเรียกร้องหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ หรือภาคประชาสังคม ร่วมทำงานกับคนรุ่นใหม่ทั้งในองค์กร หรือในสังคมภายนอก โดยองค์ประกอบความเป็นเด็กสร้างชาติ มี 3 ข้อ คือ 1. ออกแบบอย่างเป็นระบบ จากการเริ่มตั้งคำถามเชิงลึกของเหตุการณ์ที่ไม่ปกติที่เกิดขึ้นในสังคมรอบตัว 2. เข้าถึงและประมวลผลจากฐานข้อมูลที่เป็นความจริง เพื่อวิเคราะห์และค้นหาคำตอบโดยใช้ฐานข้อมูล อย่างโปร่งใส 3. สามารถขยายผล “ขนาดใหญ่” จากที่คนจำนวนมากสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเหล่านั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่ปกติในสังคม


“ดังนั้น “คนรุ่นใหญ่” จะต้องร่วมผนึกกำลังกับ “คนรุ่นใหม่” ให้มากขึ้น เพื่อร่วมพัฒนาประเทศไปด้วยกัน อันเป็นที่มาของชื่องานวันต่อต้านคอร์รัปชันในปีนี้ว่า “คบเด็กสร้างชาติ” ผม และทุกคนใน องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) “คบเด็กสร้างชาติ” เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า คนรุ่นใหญ่พร้อมที่จะจับมือคนรุ่นใหม่ “สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน” ให้เป็น “พลังสังคมขนาดใหญ่” ที่ขับเคลื่อนให้คนไทยและสังคมไทยไม่ยอมรับ และออกมาร่วมต่อต้านคอร์รัปชัน ร่วมเดินไปด้วยกันให้ถึงเป้าหมายปลายทางเดียวกัน คือ การได้เห็นประเทศไทยของเราที่ปราศจากการคอร์รัปชันในอีกไม่ไกล” นายวิเชียร กล่าว

“คนรุ่นใหม่” เผยเบื้องหลังสุดล้ำปล่อยพลังพัฒนาเทคโนโลยีจับทุจริต
ในงานได้มีเปิดไอเดียของ “เด็ก” ในการคิดค้นเครื่องมือ “สร้างชาติ” โดยนำ 3 ทีมที่ชนะเลิศการนำเสนอไอเดีย ACTkatron 2021 คือ ทีมกินยกแก๊ง Corruption Analysis ที่มาของโครงการคือ ความพยายามจัดการกับข้อมูลของรัฐที่กระจัดกระจาย มีข้อมูลจำนวนมาก ขาดการเชื่อมโยงกัน โดยได้สร้างเครื่องมือเพื่อวิเคราะห์ ว่าโครงการไหนมีโอกาสจะเกิดคอร์รัปชันบ้าง บริษัทที่ได้งบประมาณไปมีเบื้องหลังเกี่ยวข้องกับนักการเมืองหรือไม่ และโครงการที่เราสนใจมีโอกาสที่จะเกิดการฮั้วประมูลหรือไม่

ทีมขิงบ้านเรา สนใจงบประมาณของท้องถิ่นที่คนมักจะมองข้าม การนำฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้วบน ACT Ai มาออกแบบใหม่และนำเสนอให้เข้าใจง่ายขึ้น เลือกเฉพาะข้อมูลในส่วนของการบริหารส่วนท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่การ “ให้คนในชุมชนรู้จักชุมชนของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น”


ทีม PICA เรดาร์จับโกง แอปพลิเคชันร้องเรียนที่เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลของโครงการ โดยผู้ที่ต้องการร้องเรียนลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนและเก็บข้อมูลไว้ในบล็อกเชน PICA สามารถทำงานได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ข้อมูลที่ได้จะส่งต่อให้ภาคีต่อต้านการคอร์รัปชัน

5 องค์กรเทคภาครัฐพร้อมสนับสนุนผลักดัน เครื่องมือปราบโกง ให้ใช้งานได้จริง
ทางองค์กรต้านคอร์รัปชันฯ ยังได้เชิญ 5 องค์กรเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพูดคุยในหัวข้อ Mentors Perspective : แผนการต่อยอดเครื่องมือ-What’s Next for ACTkathon เพื่อมาพูดคุยถึงการทำให้ไอเดียของคนรุ่นใหม่ใช้งานได้จริง

รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) กล่าวว่า จีบีดีไอเป็นหน่วยงานที่ดูเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับบิ๊กดาต้าภาครัฐ ดังนั้น ถ้าทีมใดต้องการข้อมูลในการต่อยอด สิ่งที่ให้ความช่วยเหลือได้ คือ การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญสาย AI ที่สามารถเข้ามาช่วยแนะนำได้ หรือกลุ่มที่ต้องการเชื่อมโยงประวัติของนักการเมือง จีบีดีไอพอจะมีคนช่วยให้คำแนะนำ รวมทั้งการสนับสนุนในส่วนของเทคโนโลยี

ดร.อณูวรรณ วงศ์พิเชษฐ์ รองผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมประเทศไทย (TIJ) กล่าวว่า รู้สึกชื่นชมกับเครื่องมือที่คนรุ่นใหม่ได้พัฒนาขึ้นมา และอยากเป็นพื้นที่ต่อยอดให้ประเด็นที่เกี่ยวกับความเป็นธรรมและความยุติธรรมของสังคมได้ถูกนำไปแก้ไข โดยได้ตั้งสำนักนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้เกิดระบบนิเวศและความคิดนอกกรอบ ซึ่งได้เปิดพื้นที่เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน รวมถึงนักคิดนักสังคม และในปลายปีหน้าจะเปิดพื้นที่ สำหรับประชาชนทุกช่วงวัยได้เข้ามาเรียนรู้ถึงการนวัตกรรมเพื่อสังคม

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยกาสำนังานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) กล่าวว่า ข้อมูลจะทำให้เราเห็นและตั้งคำถามได้ บทบาทของดีจีเอ คือการทำให้หน่วยงานรัฐสบายใจที่จะเปิดเผยข้อมูล โดยจะขับเคลื่อนประสานกับหน่วยราชการให้นำข้อมูลเปิด (Open Data) ไปต่อยอดได้ โดยมุ่งไปที่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หรือข้อมูลพื้นฐาน 6 ด้าน คือ เกษตร เอสเอ็มอี การศึกษา สวัสดิการประชาชน ความโปร่งใส และสุขภาพ โดยบูรณาการทำให้ข้อมูลเปิดมีมากขึ้น

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กล่าวว่า การเอาเด็กรุ่นใหม่มาทำเรื่องทุจริตเป็นเรื่องที่ดีมาก การจะทำให้เกิดการนำนวัตกรรมไปใช้ได้จริงคงต้องเริ่มจากเจ้าของข้อมูลที่ยินยอมให้นำข้อมูลมาใช้ได้ DEPA พร้อมให้การสนับสนุน การนำเครื่องมือไปพัฒนาต่อทั้งด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและหาช่องทางที่จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาเครื่องมือให้ใช้งานได้จริง

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) กล่าวว่า NIA พร้อมสนับสนุนทุนเพื่อทำให้นวัตกรรมนำไปใช้งานได้จริง เราหวังว่าจะทำให้เกิดนวัตกรรมสังคม คือ เกิดนวัตกรรมของภาครัฐ นวัตกรรมของภาคสังคม เป็นการสร้างประชาธิปไตยทางนวัตกรรม

ดร.มานะ นิมิตร มงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ทุกหน่วยงานการสนับสนุนเครื่องมือต้านโกง เรื่องเงินและเทคโนโลยีไม่ใช่หัวใจสำคัญ การสนับสนุนด้วยการเปิดเผยข้อมูลและการนำเครื่องมือไปใช้จะเกิดประโยชน์มากกว่าในการทำให้เครื่องมือมีความสมบรูณ์มากมากขึ้น หากทุกหน่วยงานมาร่วมกันพัฒนาเครื่องมือให้เข้มแข็งและทรงพลังมากขึ้นคือการสนับสนุนที่เราต้องการ คนรุ่นใหม่ได้มาให้ไอเดียแล้วถึงเวลาที่คนรุ่นใหญ่จะช่วยสนับสนุนเพื่อให้การสร้างเครื่องมือต่อต้านการคอร์รัปชันเกิดขึ้นได้จริง

ทีมพัฒนา ACT Ai ต่อยอดพัฒนาตัวตรวจงบโควิด-19 โครงการก่อสร้างภาครัฐ พร้อมตั้งเป้าสร้างระบบนิเวศปราบโกงเชื่อมโยงเครื่องมือไฮเทคตรวจทุจริต ในงานยังมีการนำเสนอแนวทางพัฒนาเครื่องมือ ACT Ai ให้รองรับ-เชื่อมต่อเครื่องมือต้านโกง โดย ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค และนายณัฐภัทร เนียวกุล ผู้ดูแลโปรเจ็กต์ ACT Ai

นายณัฐภัทร กล่าวว่า ACT Ai คือ ทำให้มีช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการต่อต้านการคอร์รัปชัน การเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความโปร่งใสและการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน โดยเริ่มจากข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และข้อมูลนิติบุคคลที่มีความสำคัญมาก จากนั้นจึงพัฒนาต่อจน ACT Ai ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพความสำเร็จของ ACT Ai คือการมีประชาชนเข้ามาใช้เครื่องมือ 40,000 – 50,000 ราย การตรวจสอบเสาไฟฟ้ากินรี ก็เป็นสิ่งที่ค้นพบด้วย ACT Ai ยังได้พัฒนาตัวจับโกงงบโควิด-19 เพราะการแก้ไขปัญหาโควิด -19 เกี่ยวกับโครงการเงินกู้ 4 แสนล้านบาท และยังได้พัฒนาเครื่องมือตรวจสอบงบประมาณก่อสร้างร่วมกับกรมบัญชีกลาง เพื่อนำข้อมูลมาเป็นส่วนเชื่อมและส่วนขยายของ ACT Ai ตัว ACT Ai จึงเป็นเครื่องมือที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของการตรวจสอบการคอร์รัปชันรอให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับเครื่องมือใหม่ๆ สำหรับระบบนิเวศของ ACT Ai ในภาพใหญ่ ตัว ACT Ai ชุดข้อมูลที่เราเตรียมไว้สามารถนำไปใช้ได้กับไอเดียที่เกิดขึ้นใหม่สามารถเชื่อมโยงกับ ACT Ai ได้ทันที โดยเอาข้อมูลที่เราเตรียมไว้ไปใช้ได้ทันที

ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค กล่าวว่า ACT Ai เป็นจุดเริ่มต้นของระบบนิเวศการต้านโกง เมื่อเราทำให้การเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้นได้แล้ว จึงต้องมีระบบนิเวศเชื่อมต่อข้อมูลมีเครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาใช้งานจะทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันเกิดขึ้น Open Data เป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการทำให้ข้อมูลมีความง่ายสามารถติดตามได้ เครื่องมือที่ได้จากทีมที่มาเสนอไอเดียทำให้เกิดระบบนิเวศที่ชัดเจนที่จะช่วยสนับสนุนให้เครื่องมือเกิดประสิทธิภาพที่แท้จริง. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

ภูเก็ตฝนตกต่อเนื่อง ชาวบ้านหวั่นเขาถล่มซ้ำ

หลังจากตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้ จ.ภูเก็ต มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้หลายพื้นที่เผชิญกับน้ำท่วมขัง ขณะที่พื้นที่ ต.กะรน จุดที่เคยเกิดดินถล่ม มีผู้เสียชีวิต 13 ราย เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้านในพื้นที่อยู่อย่างผวา เพราะกลัวดินจากภูเขาจะถล่มซ้ำอีก

ช่วย 143 นักท่องเที่ยวติดเกาะราชาใหญ่ ขึ้นฝั่งภูเก็ตปลอดภัย

ศรชล.ภาค 3 ร่วมกับทัพเรือภาคที่ 3 ส่งเรือ ต.111 ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวต่างชาติ 143 คน ติดค้างบนเกาะราชาใหญ่ กลับเข้าฝั่ง จ.ภูเก็ต ได้อย่างปลอดภัย

น้ำในตัวเมืองหนองคายใกล้แห้ง หลังโขงพ้นวิกฤติ

หลายตำบลใน อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย น้ำยังท่วมสูงและเพิ่มระดับ บางจุดถูกตัดขาดมากว่า 2 สัปดาห์ ถือว่าหนักสุดในรอบ 30 ปี ขณะที่ในตัวเมือง น้ำใกล้แห้ง หลังระดับแม่น้ำโขงใกล้พ้นจุดวิกฤติ

ภาคเหนือเร่งฟื้นฟูความเสียหาย ชาวบ้านหวั่นพายุถล่มซ้ำ

หลายพื้นที่ทางภาคเหนือยังไม่ทันฟื้นฟูความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา แต่ชาวบ้านต้องเตรียมตัวรับกับพายุลูกใหม่ หลายคนยังไม่กล้ากลับไปอาศัยในบ้าน เพื่อรอจนกว่าพายุลูกนี้จะผ่านพ้นไปก่อน