รัฐมนตรีคลังอาเซียน คาดจีดีพีปี 68 โตร้อยละ 2.8

กรุงเทพฯ 5 พ.ค. – รัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 28 หวั่นเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยง หลัง IMF หั่นจีดีพีโลกปี 68 โตร้อยละ 2.8 อาเซียน+3 โตร้อยละ 3.8


นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM+3) ครั้งที่ 28 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ เมืองมิลาน สาธารณรัฐอิตาลี ที่ประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้

1. การประชุม AFMGM+3 ครั้งที่ 28 ที่ประชุมได้หารือและแสดงความเห็นในประเด็นสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและภูมิภาคอาเซียน+3 คาดว่าเศรษฐกิจโลกและภูมิภาคอาเซียน+3 ในปี 2568 และ 2569 ยังมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนในการดำเนินมาตรการทางการค้าของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะส่งผลกระทบทางลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคอาเซียน+3 อย่างมีนัยสำคัญ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกในปี 2568 ร้อยละ 3.3 ลดลงเหลือร้อยละ 2.8 ขณะที่ ASEAN+3 คาดเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน+3 ในปี 2568 โตร้อยละ 3.8 และ 2569 โตร้อยละ 3.4

    อาเซียนมุ่งใช้นโยบายทางการคลังเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคในประเทศ และสนับสนุนการบูรณาการทางการค้าและบริการภายในภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพ เพื่อกระจายการส่งออกและลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐอเมริกา หารือความช่วยเหลือทางการเงินของภูมิภาค การเสริมสร้างประสิทธิภาพของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี การจัดหาเงินทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การดำเนินการของ AMRO มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย และข้อริเริ่มภายใต้กรอบความร่วมมือทางการเงินอาเซียน+3

    2. การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการคลังระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 นอกจากการประชุม AFMGM+3 ครั้งที่ 28 นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการคลังระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดเห็นในการดำเนินนโยบายของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ใน 2 หัวข้อหลัก ประกอบด้วย (1) การส่งเสริมการเติบโตควบคู่กับการรักษาความยั่งยืนทางการคลัง (Promoting Growth While Maintaining Fiscal Sustainability) และ (2) การรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ (Addressing Population Aging)


      นายจุลพันธ์ เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมและยั่งยืน ควบคู่กับการรักษาวินัยทางการคลัง ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ การเพิ่มรายได้ภาครัฐ การส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชน และการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio – Circular – Green (BCG) Economy) พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับความร่วมมือระดับภูมิภาคผ่านความร่วมมืออาเซียน+3 เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ ความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน และการเติบโตในระยะยาวอย่างยั่งยืนร่วมกัน

      นอกจากนี้ ในประเด็นการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ ประเทศไทยเผชิญความท้าทายด้านโครงสร้างจากปัญหาสังคมสูงวัย ซึ่งในปี 2567 ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนเกินร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งส่งผลต่อกำลังแรงงานและภาระทางการคลังที่เพิ่มขึ้น ประเทศไทยจึงดำเนินกลยุทธ์หลายด้าน เช่น การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ การส่งเสริมการจ้างงานและพัฒนาทักษะผู้สูงวัย การลงทุนในระบบสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุ การส่งเสริมการออมโดยสมัครใจพร้อมสิทธิประโยชน์ทางภาษี และการเปิดตัวสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณเพื่อกระตุ้นการออมระยะยาว ทั้งนี้ ประเทศไทยเห็นความสำคัญของความร่วมมือระดับภูมิภาค เพื่อรับมือกับปัญหาสังคมสูงวัยร่วมกันอย่างยั่งยืนในระยะยาว

      3. การประชุมหารือทวิภาคี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) ได้หารือทวิภาคีกับนาย Scott Morris รองประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ABD) ถึงแนวทางในการเร่งผลักดันการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและ ADB ที่มีความสำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา และโครงการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข เพื่อก่อสร้างอาคารและขยายเตียงการให้บริการรองรับผู้ป่วย รวมทั้งโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร ระหว่าง ADB กองทุน Climate Investment Funds (CIF) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศ (ธพว.) ตลอดจนความเป็นไปได้ในการกระชับความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน เพื่อรับมือกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว.-515-สำนักข่าวไทย


        ดูข่าวเพิ่มเติม

        Top Viewed • อ่านมากสุด

        ดูทั้งหมด

        ค้นหาร่างใต้ตึกถล่ม

        คาดไม่เกิน 1 สัปดาห์ ทราบชัดมีผู้ติดค้างในซากอาคาร สตง.หรือไม่

        คาดไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะทราบชัดมีผู้ติดค้างในซากอาคาร สตง. หรือไม่ ปัจจุบันการทำงานบริเวณทางเชื่อมด้านอาคารจอดรถด้านหลังยังลงไปไม่ถึงพื้นของชั้นใต้ดิน

        ผบ.ตร. สั่งเร่งตรวจสอบ ตร.พาผู้ต้องหาลอบนำข้อสอบฯ ออกจากโรงพัก

        ผบ.ตร. สั่งเร่งตรวจสอบกรณีมีตำรวจพาผู้ต้องหาลักลอบนำข้อสอบฯ ออกจากโรงพัก ทั้งที่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ย้ำใครผิดว่าไปตามผิด

        รวบมือปาหิน

        รวบแล้วมือปาหินใส่รถ ย่านบางนา-ตราด อ้างขาดสติเพราะดื่มเหล้า

        รวบแล้วมือปาหินใส่รถประชาชน ย่านบางนา-ตราด อ้างขาดสติเพราะดื่มเหล้า พบประวัติเคยถูกจับมาแล้ว 12 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 13

        ข่าวแนะนำ

        สร้างสถานการณ์ ปาประทัดบอลใส่บ้านชาวไทยพุทธที่ปัตตานี

        คนร้ายสร้างสถานการณ์ปาประทัดบอลใส่บ้านชาวไทยพุทธ ในพื้นที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบลายนิ้วมือ หาตัวผู้ก่อเหตุ