แนะ3 รูปแบบหลักสูตร ทางรอดมหาวิทยาลัยยุคใหม่

กรุงเทพฯ 18 ต.ค..-แนะ3 รูปแบบหลักสูตรตอบคนทุกGEN หนทางรอดมหาวิทยาลัยยุคใหม่


รศ.ดร.ปรัชญา ชุ่มนาเสียว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (มร.) กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กเกิดใหม่ลดลงทั่วโลกรวมทั้งไทย และค่านิยมของคนรุ่นใหม่ที่ใบปริญญาอาจจะไม่สำคัญอีกต่อไป รวมถึงการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตผู้คน และการเกิดโรคระบาดอย่างโควิด-19 ล้วนเป็นสถานการณ์ที่กระตุ้นให้
“สถาบันอุดมศึกษา” ทุกแห่งต้องเร่งปรับโฉม พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการเรียนการสอนตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ ตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ

ด้วยลักษณะของกลุ่มผู้เรียนในอนาคตจะมีความหลากหลายทั้ง GEN X ,GEN Y และGEN Z ที่มีความต้องการต่างกัน รูปแบบการเรียนรู้ก็จะแตกต่างกัน โดยคนกลุ่ม Gen X และ Gen Y ต้องการเสริมสมรรถนะให้ตนเอง ส่วน Gen Y ซึ่งมีจำนวนประมาณ 19 ล้านคน ชอบความท้าทาย และกลุ่ม Gen Z จำนวนประมาณ 10 ล้านคน ต้องการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ สามารถปรับใช้ได้หลากหลาย ดังนั้น สิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องปรับตัว คือ การปรับหลักสูตรให้ตอบโจทย์วัยแรงงานและขยายตลาดผู้เรียนไปยังกลุ่มผู้สูงอายุ มีการ Reskill/Upskill พัฒนาหลักสูตรให้มีความน่าสนใจและองค์ความรู้ใหม่อยู่ตลอด แบบตั้งรับและเคลื่อนที่เร็ว


เช่น ม.รามคำแหงเป็นการเรียนแบบตลาดวิชา ทำให้นักศึกษาได้เลือกเรียนอย่างอิสระ และสอดคล้องกับงานที่เกิดขึ้นใหม่ ที่สำคัญต้องมีการพัฒนาทักษะ คุณภาพของนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตสายพันธุ์ใหม่ โดยมีการจัดทำหลักสูตรอิงสมรรถนะและทักษะ แบบเรียนเป็นชุดวิชา (Modules) แทนการเรียนทั้งสาขาวิชา เน้นการมีทักษะมากกว่าเน้นปริญญา และต้องเพิ่มหลักสูตรจากการเรียนรายวิชา เป็นการเรียนตามหัวข้อ สามารถขอเทียบโอนหน่วยกิตหรือขอใบรับรองได้

รศ.ดร.ปรัชญา กล่าวด้วยว่า มีความเป็นไปได้ว่านักศึกษาที่จบใหม่ในปี 2564 ที่มีมากกว่า 1.8 ล้านคน จะยังเข้าสู่ตลาดแรงงานไม่ได้ในทันที และคาดว่าประมาณ 4-5 แสนคน อาจจะกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น เช่น ปริญญาโทหรือปริญญาตรีใบที่ 2 ในขณะที่หางานทำไปด้วย หรือเป็นฟรีแลนซ์งานอื่นๆไปด้วย รวมถึงกลุ่มคนที่ยังอยู่ใน Gen X, Y ที่ต้อง Reskill/Upskill หรือ หาทักษะใหม่ให้กับตนเองเพื่อเปลี่ยนสายงาน/สายอาชีพไปเลย ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงต้องปรับตัวให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยบูรณาการสิ่งที่มีอยู่เดิมและพัฒนาหลักสูตรใหม่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน

ขณะเดียวกันข้อมูลจากการสัมมนา Flagship Summit :Skills for the future ณ จุฬาลงกรณ์ วิทยาลัย ได้สรุปถึงงานในอีก 12ปี ข้างหน้า ว่า กว่า 80% ของงานที่มีในอนาคต ยังไม่ปรากฏในปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าอนาคตจะมีงานรูปแบบใหม่ เกิดขึ้นอีกมากมาย ทำให้การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ต้องเน้นเสริมสมรรถนะ ทักษะที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีไม่สามารถเลียนแบบได้ เมื่อเทรนด์การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดเฉพาะในห้องเรียน และกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนของมหาวิทยาลัยไม่ได้มีเพียงกลุ่มเด็กจบมัธยมศึกษาตอนปลาย การเกิดหลักสูตรใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบันจึงมีความจำเป็นอย่างมาก โดยหลักสูตรแห่งอนาคตจะต้องมี 3 รูปแบบ ดังนี้
1.Formal Education เน้นหลักสูตร 4-5ปี (วิชาชีพ) หรือหลักสูตรต่อเนื่อง ออกแบบหลักสูตรตามจุดแข็งดั้งเดิมของมหาวิทยาลัย และสร้างหลักสูตรสอดคล้องกับตลาดแรงงานตอบโจทย์กลุ่มผู้เรียนตาม Gen Z เพื่อรองรับแนวโน้มของงานในอนาคต ต้องเป็นการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ และสามารถปรับใช้ได้อย่างหลากหลาย โดยพยายามนำสาขาวิชาในแต่ละคณะมาบูรณาการร่วมกันเพื่อสร้างหลักสูตรใหม่ อาทิ สาขาแพทย์แผนไทยร่วมกับสาขาคหกรรมศาตร์ กับสาขาเทคโนโลยีด้านอาหาร สร้างผลิตภัณฑ์อาหาร และยาจากพืชสมุนไพรไทย สาขาวิชาเคมี กับสาขาการเกษตร ผลิตเครื่องสำอางจากสมุนไพร เป็นต้น


2.Non formal Education หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ทั้งระบบ Online และ Offline เพื่อตอบโจทย์ New Normal และ การเรียนที่สามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพได้จริง ด้วยแนวคิดการเรียนรู้อย่างสนุกและสร้างงาน เช่น การสร้างยูทูปเบอร์, การขายของออนไลน์, Life Coach, Reviewer, เจ้าของธุรกิจ Start up เป็นต้น

3. Informal Education หรือการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ของคนทุกวัย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นรูปแบบ Online หรือ MOOC (Massive Open Online Course) เพื่อต่อยอดเพิ่มพูนความรู้ ทักษะในอาชีพตามความถนัดและสนใจของกลุ่มเป้าหมายนอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังต้องปรับบทบาทหน้าที่ นอกจากสร้างทุนมนุษย์แล้ว ยังต้องเป็นแหล่งพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตให้เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนในการแก้ปัญหาท้องถิ่น สร้างงาน สร้างอาชีพแก่ชุมชน เป็นการฝึกให้นักศึกษามีความรับผิดชอบ พัฒนาทักษะการสื่อสาร มนุษย์สัมพันธ์ การทำงานเป็นทีมและการมีทักษะศตวรรษที่ 21 นอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจ ลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร ด้านบริษัท 9PK นำเอกสารชี้แจง พร้อมขอให้บริษัทจีนช่วยอนุมัติเงินมาจ่ายให้กลุ่มผู้รับเหมาก่อน

จับแล้วโจรบุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่

จับแล้วโจรมาเลย์บุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่ จนมุมสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ เผยมาหาลูกชายที่ จ.นนทบุรี แต่ลูกไม่ให้เข้าบ้าน

ปิดล้อมจับชายวัย 43 ยิงเพื่อนบ้าน-ตร.เจ็บ 4

ตำรวจปิดล้อมนานถึง 11 ชั่วโมง จับชายวัย 43 ปี ใช้ปืนยิงเพื่อนบ้านและตำรวจที่เข้าระงับเหตุ บาดเจ็บรวม 4 ราย หลังโมโหเพื่อนบ้านติดกล้องวงจรปิดหันส่องไปทางบ้านผู้ก่อเหตุ ยิงแก๊สน้ำตา-ญาติเกลี้ยกล่อม ยังไม่เป็นผล

แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ในไต้หวัน-ไม่มีรายงานความเสียหาย

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไต้หวันรายงานวันนี้ว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดด 5.8 ที่เทศมณฑลอี้หลาน (Yilan) ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบทห่างไกลทางตจะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

ข่าวแนะนำ

สงกรานต์เชียงใหม่ “ปี๋ใหม่เมือง” เริ่มแล้วอย่างเป็นทางการ

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์ล้านนา ที่เชียงใหม่ เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วในวันนี้ ชาวเชียงใหม่ทำบุญตักบาตรเพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมชมความงามของแม่หญิงขี่รถถีบกางจ้อง หนึ่งเดียวในไทย

นายกฯ อวยพรสงกรานต์ 2568 เติมเต็มพลังใจวันหยุดยาว

นายกรัฐมนตรี กล่าวอวยพรเนื่องในโอกาสประเพณีสงกรานต์ ปี 2568 ขอให้ทุกคนมีความสุขสันต์ในวันสงกรานต์ กลับบ้านปลอดภัย เติมเต็มพลังใจ ใช้เวลากับครอบครัวตลอดช่วงวันหยุดยาวนี้อย่างอบอุ่น

บขส.เสริมรถอีก 1,000 คัน รองรับผู้โดยสารขาออกวันนี้

การเดินทางขาออกในเทศกาลสงกรานต์ 2568 ถือว่ารถโดยสารของ บขส. ยังมีบทบาทสำคัญ เพราะเป็นวันหยุด มีผู้โดยสารเดินทางแน่นตลอดวัน วันนี้ บขส.เสริมรถอีก 1,000 คัน รองรับผู้โดยสาร