fbpx

แรงงานเครียดพิษโควิด ผลดีสูบบุหรี่ลด

กทม. 12 ต.ค.-วิกฤติโควิด-19 ทำแรงงานสูญเสียรายได้ เกิดภาวะเครียด ทำให้สูบบุหรี่ลดลง เกือบร้อยละ 65 วางแผนงดสูบ


ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวในการแถลงข่าว “ปฏิรูปวิถีแรงงาน เลิกสูบ เลิกจน” จัดโดย ศจย.และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า กลุ่มผู้ใช้แรงงานมีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และบุหรี่เป็นปัจจัยหนึ่งของต้นตอปัญหาทางเศรษฐกิจในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ศจย. สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสำรวจพฤติกรรมการบริโภคยาสูบของกลุ่มผู้ใช้แรงงานทั้งในและนอกระบบ และจะนำผลสำรวจนี้มาพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานควบคุมยาสูบในกลุ่มผู้ใช้แรงงานของประเทศให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยจะร่วมกับสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่เชิญชวนชาวแรงงานปฏิรูปวิถีชีวิต “เลิกสูบ เลิกจน” โดยขับเคลื่อนผ่านกลไกของสมาพันธ์จังหวัดในการส่งต่อคนอยากเลิกบุหรี่ไปยังสายเลิกบุหรี่ 1600 เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูบบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ

ดร.ณัฐพล แย้มฉิม ประธานสวนดุสิตโพล กล่าวว่า ได้สำรวจพฤติกรรมการบริโภคยาสูบของกลุ่มผู้ใช้แรงงานทั้งในและนอกระบบจำนวน 1,098 คน ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เปรียบเทียบการสูบบุหรี่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2563 กับช่วงหลังสถานการณ์โควิด-19 ทุเลาลงตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2563 พบว่าช่วงสถานการณ์โควิด-19 กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่สูบบุหรี่น้อย (1-5 มวนต่อวัน) ร้อยละ 17.76 มีการสูบบุหรี่น้อยลงหลังสถานการณ์โควิด-19 โดยมีสาเหตุจากรายได้ลดลง รองลงมาคือ ต้องการดูแลสุขภาพ และกังวลว่าการสูบบุหรี่จะทำให้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่ายขึ้น และร้อยละ 64.10 ของกลุ่มดังกล่าวมีการวางแผนที่จะเลิกสูบบุหรี่


“ขณะที่กลุ่มที่สูบบุหรี่มาก (11-15 มวนต่อวัน) ร้อยละ 5.01 มีการสูบบุหรี่มากขึ้นหลังสถานการณ์โควิด-19 เนื่องจากมีความเครียดในการทำงานและความเครียดจากสถานการณ์โควิด-19 และร้อยละ 29.09 มีการวางแผนที่จะเลิกสูบบุหรี่ โดยจะใช้วิธีการลดปริมาณการสูบ หักดิบ และการใช้ยา ตามลำดับ ในส่วนของผู้ใช้แรงงานที่ไม่เคยสูบบุหรี่ ส่วนใหญ่มีบุคคลใกล้ชิดสูบบุหรี่ และมีความกังวลเรื่องผลกระทบด้านสุขภาพจากคนใกล้ชิดที่สูบบุหรี่” ดร.ณัฐพล กล่าวว่า

รศ.ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ กรรมการกำกับทิศทางของ ศจย. กล่าวว่า ปัญหาความยากจนกับการสูบบุหรี่เป็นเรื่องควบคู่กันในระดับโลกถึงระดับครัวเรือนแม้แต่ตัวบุคคล ในระดับโลกพบว่าผู้สูบบุหรี่ร้อยละ 84 อยู่ในประเทศยากจนโดยเฉพาะกับประชากรวัยทำงานซึ่งเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น การแก้ปัญหาการติดบุหรี่ในประชากรวัยทำงานจึงเป็นการปลดล็อกให้กับการพัฒนาประเทศโดยตรง สาเหตุที่สำคัญของการติดบุหรี่ในประชากรวัยแรงงาน มีทั้งปัญหาในเชิงโครงสร้างของระบบการทำงานและปัญหาส่วนตัว ในเชิงโครงสร้างสภาพการจ้างและสภาพการทำงานที่มีชั่วโมงยาวนานระหว่าง 8-12 ชั่วโมงต่อวัน สร้างความเครียดให้กับคนงานได้มากจนอาจต้องหาทางผ่อนคลายด้วยการสูบบุหรี่

ส่วนปัญหาส่วนตัวนั้นอาจมาจากการเลียนแบบตามเพื่อนร่วมงานโดยไม่ได้รับรู้ผลร้ายอย่างแท้จริงของการสูบบุหรี่ ทั้งหมดนี้ทำให้การแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องทำทั้งการปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างการทำงานให้มีความผ่อนคลายมากขึ้น และการให้ความรู้ในเรื่องผลร้ายของการสูบบุหรี่ทั้งต่อส่วนตัวและส่วนรวมอย่างจริงจัง ซึ่ง สสส. โดย ศจย. และภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบ ดำเนินการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากควันบุหรี่


นายอนุชิต ธูปเหลือง อดีตรองประธานสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย กล่าวว่า บุหรี่ยิ่งสูบยิ่งจน ยิ่งเครียด เป็นวงจรอุบาทว์ เพราะบุหรี่หรือยาสูบมีสารนิโคตินที่ก่อให้เกิดการเสพติด เป็นเรื่องที่ดีที่จากผลการสำรวจพบว่า เหตุผลที่สูบน้อยลงมาจากเรื่องรายได้ เพราะบุหรี่ทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นต่อตัวเองและครอบครัว รวมถึงปัญหาค่าใช้จ่ายที่จะเกิดแก่สุขภาพของตนเองในอนาคตด้วย โดยบุหรี่เพิ่มความจนและภาระทางการคลังให้แก่ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล การสูญเสียแรงงานการผลิตอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยและตายก่อนวัยอันควร รวมถึงการทำลายสิ่งแวดล้อม จึงขอเชิญชวนแรงงานทั้งในและนอกระบบรวมถึงแรงงานรัฐวิสาหกิจ “เลิกบุหรี่ เลิกจน”.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มหาวิทยาลัยแจงเหตุ นศ.สาวปี 3 แทงแฟน นศ.ปี 1 สาหัส

มหาวิทยาลัยออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีนักศึกษาหญิงทำร้ายนักศึกษาชาย ในหอพักจนบาดเจ็บสาหัส ด้านตำรวจยืนยันนักศึกษาหญิงที่ก่อเหตุมอบตัวแล้ว ยอมรับเป็นแฟนและทะเลาะกัน

รวบผู้ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพที่นนทบุรี นำตัวเข้าเซฟเฮาส์

รวบตัวชายไทย อายุประมาณ 35-40 ปี ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพ ภายในซอยจัดสรรสวิง 2 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำรวจนำตัวเข้าเซฟเฮาส์ อยู่ระหว่างสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

ข่าวแนะนำ

คุมเพลิงไหม้ “วิน โพรเสส” ได้แล้ว 95%

เหตุไฟไหม้โรงงานเก็บขยะเคมีอันตราย วินโพรเสส อ.บ้านค่าย จ.ระยอง วันนี้ เจ้าหน้าที่ควบคุมเพลิงได้แล้ว 95% เหลือเพียงจุดความร้อนที่อยู่ใต้ซากกองเพลิง ซึ่งยังต้องใช้สาร F500 ฉีดลดความร้อน แต่ยังมีกลิ่นฉุนแอมโมเนีย ด้านกรมโรงงานอุตสาหกรรมเช็กกล้องวงจรปิดตรวจสอบว่าเป็นการวางเพลิงเพื่อทำลายหลักฐานเช่นเดียวกับเหตุที่เกิดขึ้นใน อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา หรือไม่

นายกฯ แจงเรียก “สุชาติ-รัฐมนตรี” เข้าพบ แค่ตามงาน

นายกฯ อารมณ์ดี เดินลงตึกไทยฯ พบสื่อ แจงเรียก “สุชาติ-รมต.” มีชื่อหลุด ครม.เข้าพบแค่ตามงาน ย้ำปรับ ครม.เสร็จเมื่อไหร่เดี๋ยวก็รู้ ยันกินข่าวเที่ยงวานนี้ไม่มี ”ทักษิณ“

รวบ 2 ใน 4 อุ้มฆ่าหนุ่มไทใหญ่ทิ้งป่า อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

รวบแล้ว 2 ใน 4 ผู้ต้องหาอุ้มฆ่า “จ๋อมวัน” หนุ่มไทใหญ่ ก่อนนำศพไปทิ้งในป่าที่ จ.เชียงใหม่ ปมสังหารอ้างไม่พอใจถูกแซวเรื่องหญิงคนสนิท

ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก กทม.ครั้งแรกของปี

วันนี้เป็นครั้งแรกของปีที่ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่ กทม. ส่งผลให้ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะ หรือตั้งฉากกับพื้นที่บริเวณต่างๆ ของไทย 2 ครั้งต่อปี คือช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. และเดือน ก.ค.-ก.ย.