สธ.ชี้โควิดไทยยังมีหลายปัจจัยเสี่ยง

สธ.29 ก.ย.-ผอ.กองโรคติดต่อทั่วไป เผยสถานการณ์โควิดในไทยยังมีหลายปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในที่อาจมีผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการปะปนอยู่ในสังคม-พื้นที่แนวชายแดน สิ่งสำคัญเปรียบเสมือนวัคซีน คือการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง เลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และลงทะเบียน “ไทยชนะ”


กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 29 กันยายน 2563 ว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 14 ราย เป็นผู้เดินทางจากต่างประเทศ (ซูดานใต้ 7 ราย, ตุรกี 1 ราย, เขตปกครองพิเศษฮ่องกง 3 ราย, อินเดีย 3 ราย) ทุกรายเข้ากักตัวในสถานที่รัฐจัดให้, สถานกักตัวที่รัฐกำหนด มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 1 ราย ทำให้ผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,370 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 94.69 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 130 ราย หรือร้อยละ 3.65 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 59 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,559 ราย

สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้


เป็นผู้เดินทางมาจากซูดานใต้ 7 ราย ทุกรายเป็นเพศชาย สัญชาติไทย อายุระหว่าง 29 – 53 ปี อาชีพรับราชการทหาร (ปฏิบัติภารกิจทางทหาร) เดินทางถึงประเทศไทยโดยเครื่องบินเช่าเหมาลำ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ที่จังหวัดชลบุรี ตรวจพบเชื้อผลไม่ชัดเจนจากการตรวจครั้งแรกวันที่ 26 กันยายน 2563 (วันที่ 4 ของการกักตัว) ทุกรายไม่มีอาการ รอตรวจซ้ำ จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทหารที่กรุงเทพมหานคร โดยก่อนหน้านี้พบผู้ติดเชื้อจากเที่ยวบินเดียวกัน 16 ราย ทุกรายได้เข้าสู่ระบบกักกันและส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาล

ตุรกี 1 ราย เป็นเพศหญิง อายุ 44 ปี สัญชาติไทย อาชีพว่างงาน เดินทางถึงประเทศไทยวันที่ 22 กันยายน 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ที่กรุงเทพมหานคร พบเชื้อจากการตรวจครั้งแรก วันที่ 26 กันยายน 2563 (วันที่ 4 ของการกักตัว) ไม่มีอาการ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร

เขตปกครองพิเศษฮ่องกง 3 ราย ทุกรายเป็นเพศหญิง สัญชาติไทย อาชีพรับจ้าง เดินทางถึงประเทศไทยวันที่ 23 กันยายน 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ที่กรุงเทพมหานคร พบเชื้อจากการตรวจครั้งแรก วันที่ 26 กันยายน 2563 (วันที่ 3 ของการกักตัว) ผลพบเชื้อ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร
รายแรก อายุ 28 ปี เริ่มป่วยวันที่ 19 กันยายน 2563 ด้วยอาการไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว มีน้ำมูก และอาเจียน ไม่ได้ไปพบแพทย์ ซื้อยาลดไข้มารับประทานเอง
รายที่ 2 อายุ 28 ปี เริ่มป่วยวันที่ 26 กันยายน 2563 ด้วยอาการเจ็บคอ ครั่นเนื้อครั่นตัว
รายที่ 3 อายุ 50 ปี ไม่มีอาการ


อินเดีย 3 ราย ทุกรายมีสัญชาติอินเดีย เป็นหญิง อายุ 31 ปี และทารก 9 เดือน เป็นมารดาและบุตร และชาย อายุ 34 ปี อาชีพผู้จัดการบริษัท มีใบอนุญาตทำงาน เดินทางถึงประเทศไทยวันที่ 23 กันยายน 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) พบเชื้อจากการตรวจครั้งแรกวันที่ 26 กันยายน 2563 (วันที่ 3 ของการกักตัว) ไม่มีอาการ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร ก่อนหน้านี้พบผู้ติดเชื้อจากเที่ยวบินเดียวกัน 3 ราย ทุกรายได้เข้าสู่ระบบกักกันและส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาล โดยผู้เดินทางเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการกักตัว ส่วนค่ารักษาพยาบาลเก็บจากประกันโควิด- 19

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ประเทศไทยขณะนี้ นับว่ายังคงมีความเสี่ยง ทั้งปัจจัยภายในประเทศที่อาจมีผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการปะปนอยู่ในสังคม และสถานการณ์ในพื้นที่แนวชายแดนที่พบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ของประเทศเพื่อนบ้านที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจเกิดการลักลอบเข้าประเทศของแรงงานผิดกฎหมายที่ไม่ได้รับการคัดกรอง เฝ้าระวังโรคตามมาตรการ ซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจนำเชื้อเข้ามาแพร่ให้กับคนในประเทศไทยได้

ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยลดความเสี่ยง เปรียบเสมือนวัคซีน ช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ได้ คือการสวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างระหว่างผู้อื่น เลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัดและเลี่ยงการนำมือสัมผัสบริเวณใบหน้า ตา จมูกปากและล้างมือบ่อย ๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำและสบู่ เมื่อเข้าใช้บริการในสถานที่ต่าง ๆ ให้ลงทะเบียนเข้า-ออกผ่าน “ไทยชนะ” จะทำให้ลดความเสี่ยงที่จะติดชื้อโควิด-19 และป้องกันการแพร่ระบาดครั้งใหม่

นอกจากการขอความร่วมมือให้ทุกคนช่วยกันปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคแล้ว อีกสิ่งสำคัญคือขอให้ทุกคนช่วยกันสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นในชุมชนหากพบจำนวนแรงงานต่างด้าวไม่สบายมาซื้อยาแก้ไข้ หวัดรักษาตนเองในจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าปกติ ขอให้สอบถามข้อมูลและแจ้งไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังการแพร่เชื้อโควิด-19 ในชุมชน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

เจาะโซน C และ D สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์-บันไดหนีไฟ

กู้ภัย เผยเจาะโซน C และ D ได้สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์และบันไดหนีไฟ เชื่อมีผู้สูญหายติดอยู่โซนนี้จำนวนมาก หลังพบเสียงขอความช่วยเหลือจากโซน B ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา

ลุ้นช่วยผู้รอดชีวิต หลังพบสัญญาณชีพ

ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ยังเดินหน้าต่อเนื่อง ขณะนี้ในพื้นที่เสียงเครื่องจักรหนักหยุดลง เป็นสัญญาณว่าทีมกู้ภัย ทั้งเจ้าหน้าที่ค้นหาและสุนัข K9 กำลังเข้าไปเดินสำรวจหลายจุด ซึ่งปฏิบัติการตลอดทั้งวันนี้เน้นจุดโซน B หลังจากช่วงคืนที่ผ่านมา (2 เม.ย.) มีสัญญาณตอบกลับจากผู้ที่คาดว่าจะรอดชีวิต

สภาฯ ถก 11 ญัตติ หาทางรับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติ

สภาฯ ถก 11 ญัตติ หาทางรับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติ ชง “ครม.” ผุดมาตรการตรวจสอบ “บ.รับจ้าง” ขึ้นบัญชีดำผู้รับเหมา หวังป้องกันเหตุซ้ำรอยตึก สตง. ถล่ม

“วันนอร์” ของขึ้น! ขอ ตร.สภาเข้าชาร์จ หลังเถียงกันวุ่นปมญัตติใครขึ้นก่อน

สภาเดือด “วันนอร์” ของขึ้น! ลุกยืน ขอ ตร.สภาเข้าชาร์จ หลังเถียงกันวุ่น เอาญัตติใครขึ้นก่อน เหตุ “อนุสรณ์” เสนอญัตติเลื่อนระเบียบวาระเอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ ไปพิจารณาครั้งถัดไป ซ้อน “เท้ง” เรื่องแผ่นดินไหว “ไอติม” ก็เดือด ทุบโต๊ะ แซะรัฐบาล ไม่กี่ชั่วโมงก็รอไม่ได้ จะเอา “กาสิโน” เข้าทันทีเลย ด้าน “ชัยชนะ” นั่งไม่ติดขอใช้สิทธิพาดพิง ยันพรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้เห็นด้วยกับฝ่ายค้าน ทำ “ปกรณ์วุฒิ” โต้กลับ เบรกอย่าประท้วงมั่วซั่ว ขณะ “โรม” ลุกโวยปิดไมค์แต่ฝ่ายค้าน สุดท้ายแพ้ ญัตติขอเลื่อนระเบียบวาระถูกพิจารณาก่อน