เชิญชวนร่วมกิจกรรมในงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2565”

กรุงเทพฯ 13 ต.ค. – สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2565” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปิยมหาราช ปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Siam Renaissance” ถ่ายทอดพระราชกรณียกิจที่ทรงวางรากฐานและพระราชทานกำเนิดกิจการต่างๆ จนรุ่งเรืองจวบจนถึงปัจจุบัน


ผศ. ดร. ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า เมื่อถึงวันที่ 23 ตุลาคม วันปิยมหาราชชาวจุฬาฯ จะจัดงานปิยมหาราชานุสรณ์ขึ้นทุกปี เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปิยมหาราช พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัจจุบันจุฬาฯ ก้าวสู่ปีศตวรรษที่ 2 ได้น้อมนำระบบบริหารราชการแผ่นดินจากที่ทรงวางรากฐานไว้ พระราชทานกำเนิดโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก จากนั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่า ภาคราชการและเอกชนมีความต้องการบุคลากรทำงานในสาขาวิชาต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น จึงมีพระราชดำริขยายการศึกษาสู่ประชาชนทั่วไปที่ต้องการศึกษาขั้นสูง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459


นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมฯ กล่าวว่า งานปิยมหาราชานุสรณ์ที่ผ่านมา มีการระดมทุนจุฬาสงเคราะห์ให้กับนิสิตที่มีปัญหาด้านค่าครองชีพ เพื่อดูแลค่าเทอม ค่าหอพัก อุปกรณ์การเรียน ค่าใช้จ่ายส่วนตัว จนจบการศึกษา ปัจจุบันยังคงให้ทุนมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 15 ซึ่งในปีที่ผ่านมาสามารถจัดสรรทุนได้ 476 ทุน รวมถึงทุนอาหารกลางวัน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมด้านสาธารณกุศลอื่นๆ เช่น โครงการข้าวแสนกล่อง กล่องรอดตาย เกิดขึ้นในยามที่ประเทศเกิดวิกฤติ และจัดหาทุนให้แก่มูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปภัมภ์ เป็นต้น

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานฯ กล่าวว่า งานปิยมหาราชานุสรณ์ 2565 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Siam Renaissance” นำพาคนไทยย้อนกลับไปซึมซับพระราชกรณียกิจแห่งการวางรากฐานและพระราชทานกำเนิดกิจการต่างๆ จนรุ่งเรืองจวบจนถึงปัจจุบัน

ในปีนี้จัดกิจกรรมตลอดทั้งวันที่ 23 ตุลาคม ทั้งแบบออนกราวด์และออนไลน์ ภาคเช้ามีพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะณ พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพระบรมรูปทรงม้า ลานพระราชวังดุสิต ภาคค่ำมีกิจกรรม “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2565 : The Charity Gala Night” ณ ศาลาพระเกี้ยว มีคอนเสิร์ตการกุศล โดยนักร้องและศิลปินนิสิตเก่าจุฬาฯ ชื่อดัง นำโดย รัดเกล้า อามระดิษ, วสุ แสงสิงแก้ว, รศ.ดร.นรอรรถ จันทร์กล่ำ, กิตตินันท์ ชินสำราญ, น้ำฝน ภักดี, รัฐพงศ์ ปิติชาญ ติดตามรับชม Live สดได้ทาง FB page : MONO29, Chulalongkorn University และ Chula Alumni


ในปีนี้ยังเปิดกิจกรรมใหม่ “CU-DSR : เติมเลือดใหม่ ช่วยคนไทย ไม่ขาดเลือด” ชวนคนรุ่นใหม่ทั่วไทย มาบริจาคโลหิตวิถีใหม่ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยประสบภาวะขาดแคลนเลือด โดยมีความต้องการใช้เลือดประมาณวันละ 7,000 – 9,000 ยูนิต แต่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยสามารถจ่ายได้เพียงวันละ 3,000 ยูนิต

ดังนั้นจึงเชิญชาวจุฬาฯ และประชาชนไทยสนับสนุนกิจกรรมสาธารณกุศลของสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ด้วยการร่วมบริจาคได้ตั้งแต่บัดนี้ ผ่าน 5 ช่องทาง

(1) สแกน QR Code เข้าสู่เว็บบริจาค www.chula-alumni.com/donation
(2) App CHAM
(3) LINE OA “CHULA ALUMNI” เลือกเมนู “บริจาค”
(4) K Plus ที่ฟีเจอร์ K Plus Market และ TTB ให้เข้าไปที่ “ปันบุญ”
(5) บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 038-4-62388-9 ชื่อบัญชี “สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์” .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ฆ่าตัดนิ้วชิงทรัพย์

เร่งล่าฆาตกรโหดตัดนิ้วชิงทรัพย์หญิงวัย 67 ทิ้งศพกลางสวนปาล์ม

ตำรวจเร่งล่าฆาตกรโหดฆ่าตัดนิ้วหญิงวัย 67 ปี ชิงทรัพย์ ก่อนทิ้งศพกลางสวนปาล์ม อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ชาวบ้านเผยพบรถเก๋งต้องสงสัยสีขาววิ่งเข้าไปในจุดพบศพ

จับนายก อบต.นาบัว

คอมมานโดบุกจับนายก อบต.นาบัว-พวก รวม 16 คน

คอมมานโดกองปราบฯ บุกจับฟ้าผ่า! นายก อบต.นาบัว อ.นครไทย ประธาน “ธนาคารหมู่บ้าน” พร้อมพวก รวม 16 คน ฐานร่วมกันฉ้อโกงและร่วมกันกู้ยืมเงิน มูลค่าความเสียหายนับร้อยล้านบาท

New Zealanders march towards Wellington to protest Indigenous treaty bill

ชาวเมารีเต้นฮากาประท้วงร่าง กม.นิวซีแลนด์

เวลลิงตัน 15 พ.ย.- ผู้คนในหลายเมืองทั่วนิวซีแลนด์เข้าร่วมการเดินขบวนมุ่งหน้าไปยังกรุงเวลลิงตัน เพื่อประท้วงร่างกฎหมายลิดรอนสิทธิของชนพื้นเมือง โดยมีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารีในระหว่างการประท้วงด้วย รัฐสภานิวซีแลนด์ผ่านความเห็นชอบในเบื้องต้นเมื่อวานนี้ เรื่องการตีความใหม่สนธิสัญญาอายุ 184 ปี ที่มกุฎราชกุมารอังกฤษกับหัวหน้าชาวเมารีมากกว่า 500 คนลงนามในปี พ.ศ.2383 กำหนดเรื่องการปกครองนิวซีแลนด์ร่วมกัน ซึ่งเป็นแนวทางในการออกกฎหมายและนโยบายของประเทศมาจนถึงปัจจุบัน ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงตามเมืองต่าง ๆ ทั่วนิวซีแลนด์ โดยมีการจัดเดินขบวนเป็นเวลา 9 วันมุ่งไปยังกรุงเวลลิงตัน คาดว่าขบวนจะถึงเมืองหลวงในวันที่ 19 พฤศจิกายน ตำรวจแถลงวันนี้ว่า มีคนประมาณ 10,000 คน เข้าร่วมการเดินขบวนในเมืองโรโตรัว ห่างจากกรุงเวลลิงตันไปทางเหนือราว 450 กิโลเมตร ผู้ประท้วงแต่งกายในชุดชนพื้นเมือง มีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารี โดยได้รับการต้อนรับจากคนจำนวนมากที่มาโบกธงเมารีและร่วมร้องเพลง.-814.-สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

ลิงลพบุรีแหกกรง กว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพัก

ลิงลพบุรีกรงแตก เพ่นพ่านกว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพักท่าหิน ตำรวจปิดประตูหน้าต่างวุ่น ล่าสุดกลับมากินอาหารในกรงแล้วกว่า 100 ตัว กรมอุทยานฯ เร่งลุยจับ คาดใช้เวลา 2-3 วัน

มนุษย์ ภัยคุกคามพะยูน ?

ช่วงนี้พบพะยูนในทะเลฝั่งอันดามันตายเพิ่มขึ้นแบบถี่ยิบ จนน่าเป็นห่วงว่าพะยูนอาจสูญพันธุ์ไปในอนาคต โดยเฉพาะล่าสุดเมื่อมีการพบพะยูนตายในทะเลภูเก็ต อยู่ในสภาพถูกตัดหัว คาดนักล่าหวังเอาเขี้ยว

typhoon Man-Yi barrels through the Philippines

ซูเปอร์ไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” เข้าฟิลิปปินส์

มะนิลา 17 พ.ย.- ซูเปอร์ไต้ฝุ่นหม่านหยี่ พัดเข้าเกาะลูซอนที่เป็นเกาะหลักและมีประชากรอยู่หนาแน่นที่สุดของฟิลิปปินส์แล้วในวันนี้ เสี่ยงทำให้เกิดฝนตกหนักในกรุงมะนิลาที่เป็นเมืองหลวง หม่านหยี่ เป็นภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นชื่อของอ่างเก็บน้ำในฮ่องกง นับเป็นพายุลูกที่ 6 ที่พัดเข้าฟิลิปปินส์ในรอบ 1 เดือน มีความเร็วลม 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อ่อนกำลังลงเล็กน้อยหลังจากขึ้นฝั่งเมืองปางานีบัน จังหวัดคาตันดัวเนส ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เมื่อคืนวันเสาร์ ข้ามมาจนถึงจังหวัดคามารีเนส นอร์เต บนเกาะลูซอน ในเช้าวันนี้ ไต้ฝุ่นลูกนี้มีแนวโน้มจะทำให้เกิดฝนตกหนักทั่วเขตมหานครมะนิลา ซึ่งมีการอพยพประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงแล้วกว่า 1 ล้านคน แต่ยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต แม้ว่ากระแสลมแรงได้สร้างความเสียหายให้แก่สิ่งปลูกสร้างในจังหวัดคาตันดัวเนสก็ตาม.-820(814).-สำนักข่าวไทย

ดอยอินทนนท์คึกคักรับลมหนาว สัมผัสหมอกหนายามเช้า

นักท่องเที่ยวแห่ขึ้นดอยอินทนนท์รับลมหนาว สัมผัสหมอกหนายามเช้าวันหยุด หลายคนบอกไม่ผิดหวัง เพราะพระอาทิตย์สาดแสงเป็นประกายประทับใจ