“ศักดิ์สยาม” แจงเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน-โครงข่ายคมนาคม

รัฐสภา 18 ก.พ. – “ศักดิ์สยาม” แจงเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายคมนาคมของประเทศ รองรับการค้าการลงทุนและอำนวยความสะดวกให้ประชาชน คาดการลงทุนปี 65 จะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าถึง 2.24 ล้านล้านบาท


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้แจงในการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ถึงการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม ว่า แม้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่กระทรวงคมนาคมไม่ได้หยุดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายคมนาคมของประเทศ เพื่อรองรับการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ รองรับการค้า การลงทุนจากต่างประเทศ โดยการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และการขนส่งจะเป็นการช่วยให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้เดินหน้าแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างถนนพระราม 2 หรือหากมีโครงการใดสามารถเร่งดำเนินการได้ ก็จะทำงานอย่างต่อเนื่อง หรือโครงการใดติดปัญหาอุปสรรค หรือต้องทำความเข้าใจกับประชาชน ก็จะทำข้อมูลเตรียมไว้ เพื่อสามารถดำเนินการได้ทันที


นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า การดำเนินการทุกขั้นตอนของกระทรวงคมนาคม ยึดหลักผลประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชน และยืนยันว่า การดำเนินการไม่ได้ล่าช้า แต่โครงการต่างๆ ของคมนาคมเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ

นายศักดิ์สยาม กล่าวถึงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีระบบรถไฟฟ้า 14 สายทาง ระยะทาง 554 กิโลเมตร สำหรับการใช้ระบบตั๋วร่วม และจะเชื่อมทั้งระบบรางและเรือ แต่ต้องยึดตามกฎหมายและระเบียบที่ต้องปฏิบัติอย่างรอบคอบ อีกทั้งต้องตามแก้ปัญหาในอดีต เนื่องจากหน่วยงานกำกับดูแลในอดีตยังไม่มี โดยในรัฐบาลชุดนี้ได้จัดตั้งกรมการขนส่งทางราง ซึ่งจะทำหน้าที่ดูแลมาตรฐานความปลอดภัยและความเหมาะสมของอัตราค่าโดยสาร ไม่ให้เกิดการเอาเปรียบประชาชน แต่กรมการขนส่งทางรางเกิดขึ้น หลังจากที่มีสัญญาสัมปทานต่างๆ แล้ว กระทรวงคมนาคมจึงต้องใช้วิธีเจรจาและต่อรองเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถใช้วิธีอื่นๆ ได้ ไม่เช่นนั้นจะนำมาสู่ความเสียหายที่เรียกว่า ค่าโง่ ซึ่งตนเองและกระทรวงคมนาคมจะไม่ให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นอีก

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า เรื่องระบบตั๋วร่วมได้มีการจัดทำกฎหมาย คือ ร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และคาดว่าจะเสนอ ครม.ในกลางปี 2565 และหลังจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ จะสามารถบังคับใช้บัตรใบเดียวและอัตราค่าโดยสารเดียว สำหรับระบบขนส่งสาธารณะได้ทุกระบบ โดยคิดค่าแรกเข้าครั้งเดียวทั้งระบบ ไม่ใช่เพียงแค่รถไฟฟ้าเท่านั้น


นอกจากนั้น กระทรวงคมนาคม มีการจัดให้มีระบบฟีดเดอร์ ทั้งระบบรถเมล์ และเรือ โดยใช้พลังงานไฟฟ้า หรืออีวี (EV) ซึ่งภายในปี 2565 ขสมก.จะเริ่มหาผู้รับจ้างและให้บริการรถเมล์อีวีในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมีแผนจัดหารถเมล์อีวี จำนวน 2,511 คัน และดำเนินโครงการจ้างเอกชนเดินรถ 1,500 คัน เพื่อทดแทนระบบรถโดยสารเดิม

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมได้พัฒนาระบบฟีดเดอร์ทางน้ำ เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยใกล้กับคลอง สามารถเดินทางไปต่อรถไฟฟ้าได้ โดยมีแผนดำเนินการระยะที่ 1 จำนวน 5 สายทาง เป็นระยะทาง 95 กิโลเมตร และมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า รวมเป็น 44 จุด ส่วนระยะที่ 2 จำนวน 9 สายทาง เป็นระยะทาง 113 กิโลเมตร ทำให้มีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเป็น 50 จุด ทำให้ประชาชนเดินทางเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าได้สะดวกยิ่งขึ้น

ส่วนการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ จะเชื่อมโยงจากด้านตะวันออกสู่ตะวันตก และด้านเหนือสู่ด้านใต้ เชื่อมต่อระบบขนส่งทางรางไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีแผนพัฒนาท่าเรือบก เพื่อเป็นศูนย์กลางขนถ่ายสินค้าจากรถบรรทุกไปสู่รถไฟ และขณะนี้แผนแม่บทท่าเรือบกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันการท่าเรือแห่งประเทศไทยกำลังดำเนินการศึกษา และจัดทำการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

นายศักดิ์สยาม ยังกล่าวถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางของประชาชนที่ขณะนี้ได้พัฒนาระบบผ่านทางหลวงพิเศษแบบไม่มีไม้กั้น หรือ M-Flow เพื่อลดปัญหาติดขัดของการจราจร โดยเริ่มนำร่องที่ด่านทับช้าง 1 ด่านทับช้าง 2 ด่านธัญบุรี 1 และด่านธัญบุรี 2 ซึ่งรถสามารถเคลื่อนผ่านได้เร็วกว่าเดิมประมาณ 5 เท่า คือ ชั่วโมงละ 2,500 คัน และจะขยายผลต่อไปอีกในด้านอื่นๆ โดยในปี 2565-2566 จะขยายได้เต็มพื้นที่

นายศักดิ์สยาม กล่าวโดยสรุปว่า การดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม จะช่วยให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการลงทุนของรัฐบาล อาทิ เพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยานหลัก ทั้งสุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา จาก 80 ล้านคน เป็น 120 ล้านคน/ปี เพิ่มโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้ครบ 14 สายทาง 554 กิโลเมตร เพิ่มโครงข่ายรถไฟทางคู่ และแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟเป็น 1,111 กิโลเมตร

ขณะที่การลงทุนของกระทรวงคมนาคมในปี 2565 มีทั้งแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยมีเม็ดเงินในการลงทุน 1.4 ล้านล้านบาท ขณะนี้มีการลงนามในสัญญาผูกพัน 5.16 แสนล้านบาท โดยจะสามารถสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าสูงถึง 2.24 ล้านล้านบาท มีการจ้างงาน 154,000 ตำแหน่ง และจะทำให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแบบทวีคูณ หรือจำนวน 4 แสนล้านล้านบาท/ปี. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ชนแล้วหนี! 2 หนุ่มกลัวถูกจับดึงสลักระเบิดดับ

2 หนุ่มชนแล้วหนี โบกรถมาขึ้นสามล้อเครื่อง ตำรวจตามกระชั้นชิด ตัดสินใจดึงสลักระเบิด แต่สะดุดล้มระเบิดตูมสนั่นดับ 1 ส่วนอีกคน ถูกจับโดยละม่อม

“ไบเดน” เปิดทำเนียบขาวต้อนรับ “ทรัมป์” ถกถ่ายโอนอำนาจ

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐเปิดห้องทำงานรูปไข่ในทำเนียบขาวหารือนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดี ซึ่งต่างให้คำมั่นการถ่ายโอนอำนาจจะเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด

“อี้ แทนคุณ” เผยคดีใหม่ “ฟิล์ม” ชวนลงทุนคล้าย forex เสียหายกว่า 60 ล้าน

“อี้ แทนคุณ” เผยคดีใหม่ “ฟิล์ม รัฐภูมิ” ชักชวนลงทุนในดูไบ คล้าย forex ความเสียหายกว่า 60 ล้านบาท ขณะที่อีกฝ่ายอ้างนำเงินไปลงทุนจริงแต่ขาดทุน

ข่าวแนะนำ

พะยูนตัวแรกของฤดูกาลท่องเที่ยวโผล่

นับตั้งแต่เปิดฤดูกาลท่องเที่ยว 1 ตุลาคมที่ผ่านมา เพิ่งพบพะยูนบริเวณหน้าเกาะลิบง จังหวัดตรัง เป็นตัวแรก สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวอย่างมาก

“เจ๊พัช” ขอโทษรัฐมนตรีน้ำ ยืนยันไม่รู้จักส่วนตัว

“กฤษอนงค์” โพสต์ขออภัยรัฐมนตรีน้ำและคุณพ่อ ปมคลิปเสียงแอบอ้าง พร้อมขอน้อมรับผิดไว้แต่เพียงผู้เดียว แจงเป็นการสนทนาแนวทางส่งเสริมอาชีพเท่านั้น

“หนุ่ม กรรชัย” งดเคลียร์ “ฟิล์ม” ย้ำดำเนินคดีถึงที่สุด

“หนุ่ม กรรชัย” ประกาศตัดสัมพันธ์ “ฟิล์ม รัฐภูมิ” ย้ำดำเนินคดีถึงที่สุด งดเคลียร์ ซัดเป็นคนไร้ศักดิ์ศรี ชี้เรื่องนี้ไม่ต้องเตือน ให้ย้อนไปดูที่บ้านได้สั่งสอนหรือไม่