กมธ.กิจการสภาฯ จัดเสวนาบทบาท ส.ส.-กมธ.

ดอนเมือง 3 เม.ย. – กมธ.กิจการสภาฯ จัดเสวนาบทบาท ส.ส. และ กมธ. ขณะที่อดีต กกต. ชี้ประเด็นวุ่นแก้ พ.ร.บ.ประชามติ 7 เม.ย.นี้ ทำ ส.ว.อำนาจเพิ่ม มอง พปชร.ชงแก้ รธน.รายมาตรา หวังตัวเองได้เปรียบก่อนชิงยุบสภาเลือกตั้งใหม่


คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร จัดโครงการสัมมนาเรื่องบทบาทของสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ที่วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง เขตดอนเมือง กทม. โดยมีนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), นายวีระ สมความคิด ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน และเลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน, นายบุญส่ง ชเลธร รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ น.ส.นภาพร เพ็ชร์จินดา ส.ส.พรรคเสรีรวมไทย ร่วมเป็นวิทยากร โดยมี น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา นักเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นผู้ดำเนินรายการ

น.ส.นภาพร กล่าวว่า นอกจาก ส.ส.ในเขตต่างๆ แล้ว กรรมาธิการเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้ โดยที่ประชาชนสามารถส่งเรื่องร้องเรียนมาได้ในแต่ละกรรมาธิการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องเป็นเรื่องที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่ใส่ร้ายใคร


ด้านนายวีระ กล่าวว่า บางเรื่องที่เจอตอหรือเจออิทธิพล ก็ต้องอาศัยกรรมาธิการสภาฯ ให้ช่วยดำเนินการ เพราะมีอำนาจที่จะติดตามเรื่องต่างๆ ได้ โดยเฉพาะกรรมาธิการ ป.ป.ช. เป็นกรรมาธิการที่ตนเองยื่นเรื่องไปมากที่สุด หลายเรื่องก็มีความคืบหน้าจนประสบความสำเร็จ เช่น การครอบครองที่ดินของ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ที่กรรมาธิการช่วยติดตามเรื่องดังกล่าวด้วยการเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจงและสอบถาม จนทำให้คดีมีความคืบหน้า

ขณะที่นายบุญส่ง ขอประชาชนอย่ากลัวการเมือง อย่าเกลียดการเมือง เพราะประชาธิปไตยจะทำให้กำหนดอนาคตของตัวเราเองได้ และเลือกรัฐบาลของเราเองได้

ด้านนายสมชัย ระบุว่า จะผ่านไปกี่ปี ประเทศก็ยังเดินเป็นวงกลม ไม่พ้นวังวนแบบเดิม พร้อมกันนี้ยังกล่าวถึงเหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่สะพานวันชาติ และมีกลุ่มผู้ชุมนุมได้รับผลกระทบ ซึ่งเรื่องนี้ได้นำเข้าสู่กรรมาธิการ และกรรมาธิการได้เรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจมาชี้แจงเหตุการณ์ดังกล่าว โดยกรรมาธิการจะเป็นกลไกที่ช่วยประชาชนในการสอบถามและแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งนี้ กรรมาธิการสามารถเรียกข้าราชการมาชี้แจงได้ แต่ไม่สามารถเรียกศาลหรือองค์กรอิสระได้ ส่วนกรณีนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่สามารถเรียกประธานศาลฎีกาได้ แต่ให้ใช้คำว่า เชิญประธานศาลฎีกาได้


นายสมชัย ในฐานะรองประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ยังกล่าวถึงการพิจารณาปรับแก้ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ในวาระ 2 ประเด็นให้ประชาชนและรัฐสภาเข้าชื่อเสนอคณะรัฐมนตรีขอออกเสียงประชามติได้ว่า การพิจารณาของรัฐสภา ในวันที่ 7-8 เมษายนนี้ มีประเด็นปัญหาที่รัฐสภาจะต้องอภิปรายกัน โดยเฉพาะการให้อำนาจรัฐสภาเสนอให้มีการออกเสียงประชามติได้ ประกาศรัฐธรรมนูญ กำหนดเงื่อนไขการประชุมร่วมรัฐสภาไว้ ให้ประชุมได้เพียง 16 กรณีเท่านั้น ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาขอจัดทำประชามติ ทำให้กรรมาธิการแก้เงื่อนไขตรงนี้ โดย ส.ส. และ ส.ว. แยกสภากันพิจารณาแทน เพื่อให้แต่ละสภามีมติเห็นชอบ ก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อขอจัดทำประชามติ ซึ่งจะเป็นปัญหาว่า หากสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบ ก็จะไม่สามารถเสนอจัดทำประชามติได้ ส่วนตัวมองว่า ประเด็นนี้ทำให้ ส.ว. มีความเป็นใหญ่ หาก ส.ส. อยากทำประชามติในบางเรื่อง แต่ ส.ว.ไม่เห็นด้วย ก็จะไม่สามารถทำได้

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการกำหนดเงื่อนไขเสนอชื่อของประชาชนเพื่อขอทำประชามติ ที่กำหนดไว้เทียบเท่ากับการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50,000 รายชื่อขึ้นไป ทางกรรมาธิการบางคนเสนอว่า ควรกำหนดเพียง 10,000 รายชื่อเท่านั้น

ส่วนที่ก่อนหน้านี้ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ และ ส.ว.บางคน มองว่า การแก้ไขร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติครั้งนี้ ขัดรัฐธรรมนูญนั้น คงขึ้นอยู่กับรัฐสภาว่าจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาหรือไม่ ซึ่งตามเงื่อนไขสามารถส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้ หลังผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบในวาระ 3 แล้ว แต่หากมีการคว่ำในวาระ 3 เกิดขึ้น ก็ไม่จำเป็นจะต้องยื่นศาล แต่ตอนนี้ไม่สามารถประเมินได้ว่าจะมีสัญญาณโหวตหรือไม่ เพราะตัวร่างกฎหมายที่ออกมาไม่ถือว่าดีที่สุด เพราะท้ายที่สุดอำนาจในการจัดทำประชามติ ก็ขึ้นอยู่กับคณะรัฐมนตรี

นายสมชัย ยังกล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราที่พรรคพลังประชารัฐและพรรคร่วมรัฐบาลกำลังเสนอว่า อาจมีบางอย่างแอบแฝง และเชื่อว่าเป็นการแก้ไขให้ตัวเองได้เปรียบก่อนการยุบสภา โดยเฉพาะการแก้ไขระบบเลือกตั้งที่จะกลับไปใช้ระบบบัตร 2 ใบ แบบปี 2540 ที่ทำให้พรรคการเมืองใหญ่ได้เปรียบ เพราะตอนนี้พรรคพลังประชารัฐ ถือเป็นพรรคใหญ่แล้ว และประเด็นพรรคใหญ่ฝ่ายค้านก็ไม่ได้รู้สึกเสียเปรียบ และส่งผลให้สภาฯ ในอนาคตจะเหลือเพียงพรรคใหญ่ได้. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ฉายาตำรวจปี67

เปิด 10 ฉายาตำรวจ ปี 67

สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมฯ เปิด 10 ฉายา ตำรวจ “บิ๊กต่าย” ฉายา “กัปตันเรือกู้” จากภารกิจร้อนในการกอบกู้วิกฤติศรัทธา-ภาพลักษณ์องศ์กร “สารวัตรแจ๊ะ” ได้ฉายา “อย่าเล่นกับระบบ แจ๊ะ”

นายกฯ เปิดนิทรรศการกล่องของขวัญปีใหม่68 จากตำรวจ

“แพทองธาร” นายกฯ เปิดนิทรรศการกล่องของขวัญจากตำรวจ มอบให้ประชาชน 4 โครงการ ช่วงปีใหม่ 2568 ทั้งที่พักฟรี-ราคาถูก ชวนโหลดแอปฯ Cyber Check ตรวจสอบป้องกันมิจฉาชีพหลอกลวง

ฉายาสภาปี67

ฉายาสภาปี 67 สส. “เหลี่ยม(จน)ชิน” ด้าน วุฒิสภา “เนวิ(น)เกเตอร์”

สื่อสภาตั้งฉายาปี 67 สส. “เหลี่ยม(จน)ชิน” ด้านวุฒิสภา “เนวิ(น)เกเตอร์” ส่วน “วันนอร์” รูทีนตีนตุ๊กแก ประธานวุฒิฯ “ล็อกมง” ส่วนผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง”