วิปวุฒิสภา ปิดห้องลับถกแก้ รธน.

รัฐสภา 22 ก.ย. – วิปวุฒิสภา ปิดห้องลับถกแก้รธน. พรเพชร อ้างวิป 3 ฝ่าย ชงตั้ง กมธ.ศึกษา 6 ญัตติ ยืดเวลาลงมติอีก 45 วัน ก่อนโหวตในที่ประชุมสมัยหน้า



นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภาในฐานะรองประธานรัฐสภา กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประสานงานกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) ซึ่งเป็นการประชุมลับ เพื่อวางกรอบการพิจารณาของวุฒิสภาในการประชุมร่วมรัฐสภา พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับ ในวันที่ 23-24 ก.ย. ซึ่งใช้เวลาการประชุมนาน 2 ชั่วโมง โดยระบุว่า ที่ประชุมวิปวุฒิให้สิทธิส.ว.โหวตอย่างอิสระในการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และยืนยันว่าไม่มีใบสั่งมาจากฝ่ายใด ส.ว.หลายคนบอกว่าอยากให้การลงมติครั้งนี้ยึดประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ และส.ว.บางคนบอกว่ามีคำตอบอยู่ในใจแล้วแต่ไม่ต้องการบอก เพราะกลัวเป็นการชี้นำ และยอมรับว่าขณะนี้ส.ว.มีความเห็นต่างกันในเรื่องการลงมติ
ส่วนที่กลุ่มนิสิตนักศึกษามาชุมนุมหน้ารัฐสภา ในวันที่ 24 ก.ย. นายพรเพชร ยอมรับเป็นความกดดัน โดยไม่อยากให้ผู้ชุมนุมมาทำอะไรในสิ่งที่ไม่สมควร ไม่ถูกต้อง แต่เชื่อว่าจะไม่มีการทำลายทรัพย์สิน แต่ไม่มีผลต่อการลงมติของส.ว. เพราะเชื่อว่าแต่ละคนมีความคิดเป็นของตัวเอง ดังนั้นอยากให้กลุ่มผู้ชุมนุมติดตามการอภิปรายอยู่ที่บ้านจะดีกว่า หากไม่เห็นด้วยกับประเด็นใดสามารถแสดงความคิดเห็นมาได้ และเป็นการช่วยเหลือ ส.ว.ด้วย


นายพรเพชร กล่าวต่อว่า ในการประชุมวิปวุฒิวันนี้ (22 ก.ย.)มีการรายงานให้ทราบถึงข้อเสนอจากที่ประชุมวิป 3 ฝ่าย เมื่อช่วงเช้าว่า มีข้อเสนอไม่ให้มีการลงมติในวันที่ 24 ก.ย. โดยให้ใช้วิธีการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อศึกษาญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด เพื่อความรอบคอบ ซึ่งตามระเบียบระยะเวลาการศึกษา 45 วัน ซึ่งสามารถใช้เวลาช่วงที่ปิดสมัยประชุมไปพิจารณาหารือ และนำกลับมาพิจารณาอีกครั้งช่วงเปิดสมัยประชุม วันที่ 1 พ.ย. ซึ่งส.ว.ขอฟังเหตุผลก่อนว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว แล้วคอยตัดสินใจ เพราะขณะนี้ 4 ญัตติของฝ่ายค้านที่ให้แก้ไขรายมาตรา ส.ว.ยังไม่ค่อยเข้าใจ เพราะเป็นการเสนอมาอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวไม่ใช่มาจากแนวคิดของ ส.ว.



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแนวทางการเสนอให้ตั้ง กมธ.ขึ้นมาศึกษาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ญัตติ เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมร่วมรัฐสภา ข้อที่ 121 วรรค 3 ที่ให้ที่ประชุมรัฐสภาสามารถตั้งกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาศึกษาออกมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก่อนที่จะมีการลงมติรับหลักการ แนวทางดังกล่าวเป็นข้อเสนอจากทางวิปรัฐบาล เพื่อเป็นการยืดเวลาไม่ให้มีการลงมติในวันที่ 24 ก.ย.นี้ เพราะขณะนี้เสียงของ ส.ว.มีความเห็นต่างเป็นอย่างมากในเรื่องของการแก้หรือไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังไม่รู้ว่าจะออกมาในแนวทางใด เพราะถ้าเสี่ยงให้โหวตในวันที่ 24 ก.ย. อาจจะถูกคว่ำทั้ง 6 ญัตติ จึงได้เสนอแนวทางดังกล่าว เพื่อยื้อเวลานำร่างทั้ง 6 ฉบับไปศึกษาเพื่อความรอบคอบอีกครั้ง รวมถึงนำร่างของภาคประชาชนที่เสนอมาเข้ามาพิจารณารวมด้วย จากนั้นนคอยนำมาโหวตในที่ประชุมสมัยประชุมหน้าต่อไป .- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง