ปิดเทอมดูแลเด็กใกล้ชิด ระวังอุบัติเหตุจากการจมน้ำ

ทำเนียบ 25 มี.ค.- เตือนผู้ปกครองเฝ้าระวังบุตรหลานอย่างใกล้ชิดช่วงปิดเทอมฤดูร้อน ระมัดระวังอุบัติเหตุจากการจมน้ำ ขอความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ


นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรมควบคุมโรคคาดว่าในช่วงนี้มีโอกาสพบการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการตกน้ำ จมน้ำ ในกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีมากขึ้น ประกอบกับระยะนี้เป็นช่วงที่เด็กปิดเทอมและอากาศร้อน เด็กอาจลงเล่นน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งน้ำที่ใช้ในเกษตรกรรมบริเวณใกล้เคียง รวมถึงแหล่งน้ำที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ทะเล น้ำตก สวนน้ำ ก็เป็นที่นิยมในช่วงฤดูร้อน อาจมีความเสี่ยงเหตุการณ์เด็กตกน้ำหรือจมน้ำเพิ่มขึ้นได้

รัฐบาลจึงขอเน้นย้ำการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เช่น ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ไม่ให้เด็กไปเล่นน้ำกันตามลำพัง ไม่ให้เล่นในบริเวณห้ามเล่นน้ำ/แหล่งน้ำลึก/คลื่นลมแรง ควรสอนวิธีการว่ายน้ำเอาชีวิตรอดและการขอความช่วยเหลือ และให้ลงเล่นน้ำโดยสวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น เสื้อชูชีพ หรือห่วงยาง บุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ควรร่วมดำเนินการร่วมกับชุมชนในการสำรวจแหล่งน้ำเสี่ยง จัดการแหล่งน้ำให้ปลอดภัย เช่น การสร้างรั้วกั้น ป้ายเตือน เตรียมอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง และให้ความรู้เรื่องแหล่งน้ำเสี่ยง การป้องกัน และการปฏิบัติตัวเมื่อพบคนตกน้ำ/จมน้ำกับประชาชนทั่วไป รวมถึงเน้นย้ำโรงเรียนให้ความรู้เรื่องดังกล่าวกับนักเรียนอย่างต่อเนื่องตามบริบทพื้นที่ด้วยเช่นกัน


“ช่วงฤดูร้อนและปิดเทอมนี้ ผู้ปกครองนิยมพาเด็ก ๆ ไปเที่ยวพักผ่อนภูเขา น้ำตก ทะเล อ่างเก็บน้ำ สวนน้ำ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีแหล่งน้ำ หรือสระว่ายน้ำ ครอบครัวกินเลี้ยงสังสรรค์และปล่อยให้เด็กเล่นน้ำกันเอง สถานที่ท่องเที่ยวทางน้ำ จึงควรมีการกำหนดให้มีพื้นที่เล่นน้ำที่ปลอดภัย หรือบางกรณีพบว่าผู้ใหญ่ลงน้ำหาปลาหรือทำกิจกรรมทางน้ำ มักจะพาเด็กไปด้วยและปล่อยให้เล่นน้ำหรืออยู่ตามลำพัง ผู้ปกครองควรดูแลเด็กใกล้ชิด ไม่ให้เด็กยืนใกล้ขอบสระหรือบริเวณขอบแหล่งน้ำ เพราะอาจลื่นและพลัดตกลงไปในน้ำได้ ไม่ปล่อยให้เด็กเล่นน้ำกันเองตามลำพัง โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจเสี่ยงที่จะจมน้ำเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ แหล่งน้ำต่าง ๆ ที่จัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล มีเสื้อชูชีพให้สวมใส่ทุกครั้งที่เดินทางหรือทำกิจกรรมทางน้ำ กำหนดพื้นที่เล่นน้ำที่ปลอดภัย มีอุปกรณ์ช่วยชีวิต เข้าถึงได้ง่าย ติดป้ายแจ้งเตือน และป้ายบอกความลึกของน้ำ รวมทั้งต้องมีเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอต่อผู้รับบริการ มีอุปกรณ์ช่วยชีวิต ป้ายบอกกฎระเบียบความปลอดภัยทางน้ำ ที่สำคัญผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กคลาดสายตาแม้เพียงชั่วขณะ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ นายอนุชา กล่าว

นายอนุชากล่าวด้วยว่า กรมควบคุมโรคมีข้อแนะนำประชาชนทั่วไปในกรณีพบเห็นคนตกน้ำ ไม่ควรกระโดดลงไปช่วยเพราะอาจจมน้ำพร้อมกันได้ ควรใช้มาตรการ “ตะโกน โยน ยื่น” คือ 1) “ตะโกน” เรียกขอความช่วยเหลือ และโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ เบอร์ 1669 2) “โยน” อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัว เช่น ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า หรือวัสดุที่ลอยน้ำ และ 3) “ยื่น” อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้ เสื้อ ผ้าขาวม้า ให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยข้อมูลกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2555-2564 พบคนไทยจมน้ำ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จำนวน 35,915 คน หรือ เฉลี่ยวันละ 10 คน โดยระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 สิงหาคม 2565 พบว่า ประชากรทุกกลุ่มอายุเสียชีวิตจากจมน้ำ รวม 2,883 คน และพบว่าระหว่างปี 2555 – 2564 มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต รวม 7,374 คน หรือ เฉลี่ยวันละ 2 คน คิดเป็นอัตราอัตราเสียชีวิต 5.0 – 8.6 ต่อประชากรแสนคน โดยจากข้อมูลดังกล่าวพบว่า แม้แนวโน้มการจมน้ำของเด็กลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่กลับมาพบมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดโควิด 19 (ปี 2564 และ 2565) ขณะที่กลุ่มอายุอื่นมีแนวโน้มคงที่มาตลอด แต่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด 19 เช่นเดียวกัน ซึ่งจากผลการวิเคราะห์อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี พบว่า เด็กอายุแรกเกิด – 4 ปี และอายุ 5-9 ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด คิดเป็น 7.3 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 10 – 14 ปี มีอัตราการเสียชีวิต 4.7 ต่อประชากรแสนคน และในปี 2566 ข้อมูลจากโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาด ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 16 มีนาคม 2566 พบการรายงานเหตุการณ์จมน้ำเสียชีวิต จำนวน 4 เหตุการณ์ ในเดือนมกราคมถึงมีนาคม ตามลำดับ เดือนมกราคม มี 3 เหตุการณ์ ที่จังหวัดสงขลา นราธิวาส และกระบี่ พบผู้จมน้ำเสียชีวิต 2 ราย/1 ราย/2 ราย ล่าสุดเหตุการณ์ที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี พบจมน้ำเสียชีวิตจำนวน 5 ราย เกิดเหตุแพข้ามฟากแม่น้ำมูลล่ม เนื่องจากมีผู้โดยสารจำนวนมากทำให้แพรับน้ำหนักไม่ไหว .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พ่อเลี้ยงล่วงละเมิด

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA ส่วนเด็กอาการดีขึ้น

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA เชื่อ แม่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แค่เชื่อผัวเพราะลูกเคยโกหก เผย ตอนแม่รู้ความจริงว่าใครทำลูกถึงกับร้องไห้โฮโผกอดลูก ส่วนเด็ก 10 ขวบอาการดีขึ้น แต่ต้องรักษาตัวอีกหลายสัปดาห์

งานแต่งธนกร

วิวาห์ชื่นมื่น “ธนกร-แคทลีน” คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น

งานวิวาห์ “ธนกร-แคทลีน” ชื่นมื่น คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น ด้าน “ทักษิณ” ไม่ได้มาร่วม แต่ส่งของขวัญแสดงความยินดี

ทรัมป์สั่งปลด

“ทรัมป์” สั่งปลดประธานคณะเสนาธิการร่วมตามแผนปรับปรุงกลาโหม

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ออกคำสั่งในวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นปลด พลอากาศเอก ซี. คิว. บราวน์ จูเนียร์ (Charles Quinton Brown Jr.) เป็นประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐออกจากตำแหน่ง

ข่าวแนะนำ

“ทักษิณ” ถึงนราธิวาส กลับมาในรอบ 19 ปี

“ทักษิณ” ถึงนราธิวาส บอกคนนราธิวาสน่ารักเสมอ ต้อนรับอบอุ่นกับการกลับมาในรอบ 19 ปี ก่อนเดินทางต่อตามกำหนดเดิม แม้มีระเบิดที่สนามบิน

บึ้มรถกระบะ สนามบินนราธิวาส ก่อน “ทักษิณ” ลงพื้นที่

บึ้มรถกระบะจอดใกล้กับหอบังคับการบิน ท่าอากาศยานนราธิวาส ก่อน “ทักษิณ” ลงพื้นที่สนามบินบ้านทอน ในอีก 50 นาที ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ

น้ำป่าหลากท่วม อ.ไทรโยค กลางดึก

ระทึกกลางดึก น้ำป่าหลากท่วมบ้านเรือนประชาชน อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ถนนหลายเส้นถูกน้ำป่าพัดขาด จนท.เร่งอพยพประชาชนด้วยความยากลำบาก

Pope at Vatican on Feb 5, 2025 says have a strong cold

โป๊ปฟรันซิสพระอาการวิกฤต

วาติกัน 23 ก.พ.- พระอาการประชวรของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ทรุดลงอยู่ในขั้นวิกฤตในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา สำนักวาติกันออกแถลงการณ์ฉบับล่าสุดเมื่อวันเสาร์ว่า พระอาการประชวรของสมเด็จพระสันตะปาปาทรุดลงในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา และระบุเป็นครั้งแรกว่า พระอาการของพระองค์อยู่ในขั้นวิกฤตจากโรคระบบทางเดินหายใจคล้ายกับโรคหอบหืดในช่วงเช้าวันเสาร์ ทำให้ขณะนี้พระองค์จำเป็นต้องได้รับออกซิเจนเสริมและการถ่ายเลือด โดยรวมแล้วถือว่า พระอาการอยู่ในขั้นวิกฤตและยังไม่พ้นขีดอันตราย อย่างไรก็ดี พระองค์ยังทรงตื่นตัว และประทับนั่งบนเก้าอี้ตลอดวัน แม้ว่าทรงประชวรมากกว่าวันก่อนหน้านี้ก็ตาม พระสันตะปาปาฟรันซิส พระชนมายุ 88 พรรษา ทรงเข้ารับการถวายการรักษาที่โรงพยาบาลเจเมลลี ในกรุงโรม ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ หลังทรงมีพระอาการหายใจติดขัดต่อเนื่องหลายวัน และตรวจพบว่าปอดอักเสบทั้งสองข้าง ทรงร้องขอให้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับพระอาการของพระองค์อย่างตรงไปตรงมา สำนักวาติกันจึงออกแถลงการณ์ชี้แจงความคืบหน้าอาการประชวรของพระองค์ต่อเนื่องทุกวัน แต่แถลงการณ์ฉบับล่าสุดถือเป็นครั้งแรกที่มีเนื้อหาระบุชัดเจนว่า อาการประชวรของพระองค์อยู่ในขั้นวิกฤต ขณะที่แพทย์คาดการณ์ว่า พระองค์จะต้องประทับอยู่ในโรงพยาบาลอย่างน้อยตลอดสัปดาห์หน้า ภารกิจต่อสาธารณชนทั้งหมดของพระสันตะปาปาจึงถูกยกเลิกตลอดสัปดาห์ ทั้งพิธีมิสซาประจำวันอาทิตย์ รวมถึงการสวดภาวนาแองเจลัส (Angelus) ตามปกติทุกสัปดาห์ด้วย.-815(814).-สำนักข่าวไทย